WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ฟื้นตัวจำกัด ติดแนวต้าน 1680-1690 จุด แม้สงครามการค้าจีน-สหรัฐผ่อนคลาย แต่ผลกระทบจากการขึ้นภาษี 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ก่อนหน้ายังมีอยู่ กดดันเศรษฐกิจและความต้องการโลก และ supply น้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กดดันราคาน้ำมันดิบดูไบหลุด 70 เหรียญฯ ส่งผลหุ้นน้ำมันยังมีความเสี่ยงปรับฐานต่อ กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นที่เติบโตโดยการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งความคืบหน้าการลงทุน EEC และการบริโภคในประเทศในช่วงปลายปี และก่อนการเลือกตั้ง Top picks ROBINS(FVปี 2562@B72) และ WHA([email protected])     
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….SET Index ฟื้นแต่น่าจะเริ่มจำกัด  
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index ดีดตัวเพิ่มขึ้นอีก 14.29 จุด ปิดตลาดที่ 1681.84 จุด (+0.86%) มูลค่าการซื้อขายกว่า 6.09 หมื่นล้านบาท ตลาดหุ้นไทยกลับมาดีดตัวแรงในช่วงปลายสัปดาห์ เพราะตลาด คาดการณ์เชิงบวกต่อ การเจรจาสหรัฐ-จีนนอกรอบ ก่อนการประชุม G20 ใน 30 พ.ย.-1 ธ.ค. ที่จะถึง รวมถึงแรงขายของต่างชาติที่เบาบางลง  ทั้งนี้หุ้นที่ฟื้นตัวหลักๆ มาจากหุ้นพลังงาน-ปิโตรเคมี (Global) และธนาคารฯ  (Domestic) กล่าวคือ  หุ้น Global  นำโดย  PTTEP (+2.2%) PTT (+0.5%) และ IVL (+1.9%) และ กลุ่ม ธ.พ. นำโดย SCB 2.9% TMB 1.7%  BBL0.9%  และ KTB 0.9%  ตรงข้ามหุ้นที่มีแรงขายรับงบ 3Q61 ของ ADVANC ลดลง  3.8%  หลังกำไรต่ำคาด  แนวโน้ม SET Index วันนี้คาดมีโอกาสฟื้นตัวต่อ แต่ยังติดแนวต้าน 1680-1690 จุด แม้ตลาดผ่อนคลาย  สงครามการค้า สหรัฐ-จีน ที่อาจจะมีผลต่อการขึ้นภาษีนำเข้ารอบใหม่อีก 2.57 แสนล้านเหรียญฯ  ซึ่งกำหนดเจรจาในงานประชุมผู้นำ G-20  30 พ.ย.-1 ธ.ค. นี้ ที่ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาเจนตินา  ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบยังมีแนวโน้มหลุด 70 เหรียญฯ หลังสหรัฐผ่อนปรนบางประเทศ ค้าขายน้ำมันกับอิหร่านได้ แม้อยู่ช่วงของการคว่ำบาตรการค้าอิหร่านก็ตาม  แรงงานสหรัฐทรงตัว แต่น่าจะเริ่มชะลอตัว ขณะตลาดหุ้นผ่าน Peak แล้วปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังคงสะท้อนความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ ตลาดแรงงาน  พบว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตร(Nonfarm payroll) เดือน ต.ค. อยู่ที่  2.5 แสนราย เพิ่มจากเดือนก่อนหน้า 11.8% และดีกว่าที่ตลาดคาด 1.9 แสนราย หนุนให้อัตราการว่างงานเดือน ต่ำสุด 3.7% ติดต่อเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 49 ปี บ่งชี้ภาวะการจ้างงานเต็มที่ (Full employment)  ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐน่าจะเข้าสู่ช่วงขยายตัวสูงสุด (Peak)  
และจากนี้ 14 พ.ย. นี้จะมีการเงินเฟ้อสหรัฐ  ของเดือน ต.ค. ซึ่งตลาดคาด2.4% yoy  กระเตื้องขึ้น จาก 2.3% เดือน ก.ย. แม้มีแนวโน้มขยับขึ้น แต่อาจไม่เร็วและแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา (เงินเฟ้อเดือน  ส.ค. ที่ 2.7%) จึงคาดว่าในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันที่ 7-8 พ.ย. นี้จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ฯ  แต่น่าจะไปขึ้นในการประชุมรอบ ธ.ค. ราว 0.25% แทน  ส่วนในปี 2562-2563  แผนการขึ้นดอกเบี้ยฯ ของ   Fed  อีก  3 ครั้ง  0.75% ในปี 2562 และ 2 ครั้ง 0.5% ในปี 2563 จะทำได้หรือไม่ ขึ้นกับ  เงินเฟ้อหลังจากนี้จะขยับขึ้นอย่างไร  แต่เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัว ส่งผลให้ Dollar Index ชะลอ การแข็งค่าในช่วงสั้น แม้ภาพระยะกลางยาวน่าจะยังแข็งค่าตราบที่ Fed ยังมีการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง   
 
ส่วนด้านตลาดหุ้น  ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ  น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว หลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐฟื้นตัวติดต่อกันมาหลายปี   และหลังจากนี้น่าจะเห็นตลาดหุ้นสหรัฐปรับฐานต่อ แม้จะมีการฟื้นตัวในช่วงสั้น แต่เชื่อว่าดัชนีเศรษฐกิจที่จะรายงานหลังจากนี้คือ 4Q61  เป็นต้นไปน่าจะเป็นสะท้อนภาวะชะลอตัว และยิ่งชะลอตัวมากขึ้นในปี 2562 เพราะนอกจากผลของการใช้นโยบายการเงินตึงตัวผ่านการถอนเงิน QE ออกจากระบบแล้ว การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายรวม 8 ครั้งนับจากปี 2558 น่าจะส่วนสำคัญทำให้เศรษฐกิจสหรัฐลดความร้อนแรง นอกเหนือจากมีแรงซ้ำเติมจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่เป็นปัจจัยบั่นทอนกำลังซื้อสหรัฐอีกทางหนึ่ง 
 
Supply น้ำมันเพิ่ม กดดันน้ำมันดูไบหลุด 70 เหรียญฯ กดดัน PTTEP    
ราคาน้ำมันดิบดูไบยังมีแนวโน้มอ่อนตัวต่อ ตาม Supply ที่เพิ่มขึ้น เริ่มจากสหรัฐ ที่ยังผลิตเพิ่มขึ้นมาที่ 11.2 ล้านบาร์เรล/วัน (สูงสุดเป็นประวัติการณ์) จนสามารถทดแทนการนำเข้า 56% ของการใช้ ทั้งหมด และ  ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก  2 ราย คือ  ซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย ยังคงเพิ่มการผลิตเป็นวันละ 10.7 ล้านบาร์เรล(10.1 ล้านบาร์เรล เดือน พ.ค.) และ 11.41  ล้านบาร์เรล (เทียบ  10.9 ล้านบาร์เรลเดือน พ.ค.) ตามลำดับ  และคาดจะผลิตเพิ่มหลังสิ้นสุดสัญญาควบคุมการผลิต OPEC และ Non OPEC ใน  ธ.ค. นี้  เพื่อชดเชย Supply ที่หายไปจากอิหร่านราววันละ 5-6 แสนบาร์เรล  (สหรัฐคว่ำบาตรทางการค้ากับอิหร่านมีผล 4 พ.ย.ที่ผ่านมา) ประกอบกับสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาสหรัฐได้ยกเว้น 8 ประเทศให้ซื้อขายน้ำมันกับอิหร่านได้ แม้ไม่ได้ประกาศรายชื่อเป็นทางการ แต่อ้างอิงจากแหล่งข่าว Reuters คาดน่าจะหมายถึง อินเดีย, เกาหลีใต้, ตุรกี, อิตาลี, สหรัฐอาหรับฯ, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันหลักจากอิหร่านรวมกันราว   85.7%ของการส่งออกน้ำมันทั้งหมดของอิหร่าน 
ขณะที่ด้านความต้องการใช้น้ำมันโลก มีแนวโน้มชะลอจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ เป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก คือ สหรัฐเป็นผู้ใช้น้ำมันสูงสุด ราว 25.5% ของการบริโภคน้ำมันทั่วโลก  และจีนเป็นผู้ใช้น้ำมันอันดับ 2 ราว 12.8% 
 
ด้วยเหตุนี้จะทำให้ Supply-Demand น้ำมันดิบดูไบเข้าสู่ภาวะสมดุล และ น่าจะกลับมา oversupply อีกครั้งในปี 2562 ซึ่งน่าจะกดดันราคาน้ำมันดิบดูไบต่ำกว่า 70 เหรียญฯ แต่อย่างไรก็ตาม ASPS ยังคงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ  ปี 2562 ที่  70  เหรียญฯ และ 75 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป  และหากราคาน้ำมันดิบต่ำกว่าสมมติฐานข้างต้น ผลจากการศึกษา พบว่า ทุกราคาน้ำมันดิบระยะยาวที่ลดลง 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากสมมติฐาน มูลค่าพื้นฐานของ PTTEP และ PTT จะลดลงราวหุ้นละ 10 บาท และ 2 บาท ตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันของทั้ง PTTEP และ PTT แม้เริ่มมี upside จากมูลค่าหุ้นปี 2562 แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ จึงยังแนะนำ switch ทั้ง PTTEP(FV@B161) และ PTT(FV@B54)  
ต่างชาติกลังมาซื้อหุ้นภูมิภาค แต่ยังขายไทย
 
วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ยังคงหยุดทำการเนื่องจากเป็นวัน “All Saints’ Day” แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยรวมพบว่า ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 748 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกแห่ง นำโดย เกาหลีใต้ 506 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามด้วยไต้หวัน 182 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5), อินโดนีเซีย 78 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ยกเว้นไทยที่ยังขายสุทธิอีก 19 ล้านเหรียญ หรือ 611 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 22 วัน) ขณะที่สถาบันฯที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องอีกกว่า 2.6 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 มีมูลค่ารวม 2.13 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 2.64 พันล้านบาท (หลังจากซื้อติดต่อกัน 4 วัน มูลค่ารวม 1.8 หมื่นล้านบาท) แรงซื้อที่มีมาต่อเนื่อง กดดัน Bond Yield 10 ปี ลดลงมาอยู่ที่ 2.80% จากที่เคยทำจุดสูงสุด ที่ระดับ 2.89% เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 61
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
หุ้นค้าปลีกให้ผลตอบแทน 4Q61 ตามฤดูกาลและใกล้เลือกตั้ง
หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศเมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา ถึงกำหนดการเลือกตั้งปี 2562  ในช่วงวันที่ 24 ก.พ. – 5 พ.ค. 2562  แต่ปรากฏว่า ตลาดหุ้นไทยตอบรับประเด็นดังกล่าวเพียงวันนี้ โดยปรับขึ้นถึง 38.5 จุด หรือ 2.30% (สูงสุดในปีรอบเกือบ 2 ปี) ด้วยมูลค่าซื้อขายที่สูงเกือบ 8 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดีเชื่อว่า ตลาดฯน่าจะตอบรับประเด็นการเลือกตั้งเร็วและแรงเกินไป เนื่องจากสถิติในช่วง 6 เดือนก่อนมีการเลือกตั้ง (6 ครั้งหลังสุด) ชี้ให้เห็นว่า SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 0.84% เท่านั้น (ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 4 ใน 6 ครั้ง) อีกทั้งเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในระดับที่ไม่สูงมาก โดยมียอดซื้อสุทธิเฉลี่ยเพียง 2.6 พันล้านบาท/ครั้ง ในช่วง 6 เดือนก่อนเลือกตั้ง (เป็นการซื้อสุทธิ 2 ใน 6 ครั้ง) (รายละเอียดตาม Market Talk วันที่ 14 ก.ย.)
ผลตอบแทน SET Index 6 เดือนก่อนเลือกตั้ง (6 ครั้งหลังสุด)
 
ที่มา: SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อเข้าใกล้ช่วงเวลาเลือกตั้ง จะมีบางกลุ่มฯ ที่มักจะตอบรับกับกระแสการเลือกตั้งได้ดีกว่าตลาดฯ โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก ที่ผลตอบแทนเฉลี่ยกลุ่มฯ ในช่วง 3 เดือนก่อนการเลือกตั้งสูงถึง 7.1% ด้วยความน่าจะเป็นถึง 75% ซึ่งฝ่ายวิจัยประเมินว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ กลุ่มค้าปลีก น่าจะเป็นกลุ่มที่สามารถ outperform ได้อีกครั้ง 
นอกจากนี้  ช่วงไตรมาสที่ 4 เป็นช่วง High Season ของกลุ่มค้าปลีก เนื่องจากจะเข้าสู่ช่วงของการจับจ่ายใช้สอยช่วงปลายปี อีกทั้งรายได้ภาคเกษตรที่ดีขึ้น หนุนให้กำลังซื้อของผู้บริโภคดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าผู้ประกอบการห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น ROBINS และ BIGC (BJC ถือหุ้น 99.85%) รวมทั้งร้านค้าสะดวกซื้ออย่าง CPALL น่าจะได้ประโยชน์จากประเด็นดังกล่าว
 
ผลตอบแทนหุ้นในกลุ่มค้าปลีกฯ ก่อนการเลือกตั้ง 3 เดือน จากการเลือกตั้ง 4 ครั้งหลังสุด
 
หมายเหตุ : 
- ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งปี 2544, 2548, 2550 และ 2554 (ไม่นับการเลือกตั้งในปี 2549 และ 2557 เนื่องจากเป็นโมฆะ) 
- หากคิดเฉพาะผลตอบแทนเฉลี่ยก่อนการเลือกตั้ง 3 เดือน ปี 2544, 2548 และ 2554 (3 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9%  
ประกอบกับ Valuation ที่น่ายังน่าสนใจ ฝ่ายวิจัยจึงเลือก ROBINS (FV@B68), BJC (FV@B69) และ CPALL (FV@B75) เป็นหุ้นเด่นรับกระแสเลือกตั้ง 2562 
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!