WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
“ลุ้นรีบาวด์ต่อ ดาวโจนส์ดีดกลับแรง”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้– SET Index ปิดตลาดดีดกลับ +20.96 จุด ที่ 1644.33 จุด ถือว่าปรับขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าการซื้อขายสูงขึ้นเป็น 76.1 พันล้านบาท ดัชนีฯกลับมารีบาวด์แรงหลังวันพุธ SET มี Forward P/E ที่เพียง 14.8 เท่า แม้ปัจจัยต่างประเทศยังรุมเร้าคือ ดาวโจนส์ดิ่งลงถึง 608 จุด หลังตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ชะลอ PMI ยูโรโซนอ่อน ดัชนีความกลัว (VIX) เพิ่ม ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านบางตลาดลดถึง 2-3% ทีเดียวหุ้นกลุ่มหลักปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน และ SCC ด้านผู้ขายสุทธิยังเป็น ต่างประเทศ 4.1 พันล้านบาท พอร์ตโบรกเกอร์ 0.6 พันล้านบาท ส่วนผู้ซื้อสุทธิคือ สถาบัน 4.4 พันล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป 0.3 พันล้านบาท
  แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีปัจจัยบวกจากต่างประเทศ มีโอกาสลุ้นรีบาวด์ต่อ คือ ดาวโจนส์ตีกลับแรงถึง 401 จุด หลังผลประกอบการออกมาดี น้ำมันปรับขึ้น บอนด์ยิลด์ และดัชนีความกลัว (VIX) ลดลง ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้บางตลาดบวกต่อ ปัจจัยลบที่มีคือ บาทอ่อนค่า หลังดอลลาร์แข็งเทียบยูโรที่อ่อน เมื่อ ECB คงอัตราดอกเบี้ย สำหรับดาวโจนส์ล่วงหน้า -118 จุด ณ 8:21 น. น้ำมันล่วงหน้าลดลง ส่วนปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา จึงต้องระวังการลงทุน เช่น ต่างชาติขายหนัก กลัวเฟดขึ้นดอกเบี้ย ความขัดแย้งสหรัฐ-ซาอุ สหรัฐ-จีน ปัญหางบประมาณอิตาลี ส่วนตัวเลขส่งออกไทย ก.ย.พลิกลดลง 5.2% ก็ยังสร้างความวิตกเพิ่มขึ้น ส่วนมาตรการคุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัย Hearing ผ่านไปแล้วติดตาม ธปท.จะผ่อนคลายบ้างไหม แต่ CEO แบงค์หนุนให้ทำ ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป แม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วง ธ.ค.) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1590-1670 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวเมื่ออ่อนตัว ตามปัจจัยต่างประเทศที่กดดันหนัก
  Update หุ้นเด่น: KKP – คาด 4Q61 จะมีกำไรสุทธิสูงสุดในปีนี้ เพราะสินเชื่อยังคงขยายตัวดี และรายได้จากตลาดทุนเข้ามาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านวาณิชธนกิจ ซึ่งมีรายได้ค่าธรรมเนียมจากดีลใหญ่, ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ก็ทำรายได้และกำไรดี สินเชื่อโต 14%YTD (สิ้นสุดก.ย.61) เป็น 220 พันล้านบาท จากการเติบโตในทุกประเภทสินเชื่อ คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น โดย NPL ratio ทยอยลดลง ณ สิ้น 3Q61 อยู่ที่ 4.2% ลดลงจาก 4.5% ในสิ้น 2Q61 คงคำแนะนำซื้อ KKP ให้ราคาพื้นฐาน 97 บาท เทียบเท่ากับ P/BV ปี 62 ที่ 1.7 เท่า คาดการณ์ Dividend Yield ปี 61-62 เท่ากับ 7.2% ต่อปี (จ่ายปีละ 2 ครั้ง)
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เปลี่ยนเป็นบวกเล็กๆน แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1650-1660 แนวรับ 1600-1590/1580 แนวตัดขาดทุน คือ ต่ำกว่า 1620 จุด
  สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KTB,AP,SCC,AOT,CPALL,IVL,BH หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ RCI หุ้นที่หลุด List คือ HMPRO หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ PTT
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ฟื้นตัวแรง สอดรับผลการดำเนินงานออกมาแกร่ง
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,984.55 จุด พุ่งขึ้น 401.13 จุด หรือ +1.63% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,705.57 จุด เพิ่มขึ้น 49.47 จุด หรือ +1.86% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,318.34 จุด เพิ่มขึ้น 209.94 จุด หรือ +2.95%
  # ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 400 จุดเมื่อคืนนี้ (25 ต.ค.) ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ ซึ่งรวมถึงไมโครซอฟท์, เทสลา และคอมแคสต์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงติดต่อกัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับขึ้น ขานรับตลาดหุ้นสหรัฐดีดกลับ ซาอุลดสต็อก
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 51 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 67.33 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 72 เซนต์ หรือเกือบ 1% ปิดที่ 76.89 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 ต.ค.) เนื่องจากการดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งของตลาดหุ้นสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนเริ่มกลับเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันยังได้รับแรงบวกจากการที่ซาอุดีอาระเบียส่งสัญญาณเข้าแทรกแซงเพื่อลดสต็อกน้ำมันในตลาด
• ทองคำ : ปรับขึ้นน้อย สนใจตลาดหุ้นมากกว่า
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 1.30 ดอลลาร์ หรือ 0.11% ปิดที่ 1232.40 ดอลลาร์/ออนซ์
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (25 ต.ค.) ท่ามกลางภาวะการซื้อขายที่ซบเซา เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่นหุ้น
-/+ ยูโรอ่อนค่า ดอลลาร์แข็งค่า ECB คงอัตราดอกเบี้ย
  # สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ต.ค.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจหลายรายการ ซึ่งรวมถึงดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่ยังคงมีการขยายตัวในเดือนก.ย.
+/- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ออกมาหลายรายการ ส่งสัญญาณ Mix
  # กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนก.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อเครื่องบินและรถยนต์
  # ทางด้านสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน ส่วนกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่าจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 5,000 ราย สู่ระดับ 215,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 214,000 ราย
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศต่อไป
  # นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ หุ้นกลุ่มโรงกลั่นกลับมาขยับตัว หลังค่าการกลั่นฟื้นตัว
  # ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ ปิดตลาดวันที่ 24 ต.ค.61 สูงเป็น 5.31 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลล์
  # หลักทรัพย์กลุ่มโรงกลั่นได้ประโยชน์จากฤดูกาลที่ค่าการกลั่นดี ที่แนะนำ ซื้อ คือ BCP ราคาพื้นฐาน 39.00 บาท และ TOP ราคาพื้นฐาน 96.50 บาท ด้าน IRPC แนะนำ ถือ แต่ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมากไป ทำให้มีส่วนเพิ่มจากราคาพื้นฐานที่ 7.10 บาท ถึง 17% จึงแนะนำ ซื้อเก็งกำไรในระยะสั้นได้
+ มูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นน่าพอใจ
  # กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 (ม.ค.-ก.ย) ขยายตัวต่อเนื่องที่มูลค่า 1,036,864 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.14% โดยเป็นการส่งออก 584,791 ล้านบาท ลดลง 0.29% และการนำเข้า 452,073 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.80% เกินดุลการค้า 132,718 ล้านบาท
  # กลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้ประโยชน์คือ พาณิชย์ ที่แนะนำ ซื้อ คือ CPALL, HMPRO และ BJC ด้านอสังหาฯ CPN ก็คาดว่าจะได้ประโยชน์ เพราะมีศูนย์การค้าในเขตจังหวัดชายแดน รวมทั้งกลุ่มสื่อสาร ก็คาดว่าจะได้รับผลบวก แนะนำ ซื้อ ADVANC และ DTAC
+ รองนายกฯ สมคิด กระตุ้นการท่องเที่ยวช่วงปลายปี
  # นายสมคิด ได้สั่งให้กระทรวงการคลัง ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), บมจ.การบินไทย (THAI) และภาคเอกชน ออกแพ็คเกจกระตุ้นการท่องเที่ยวเที่ยวในช่วงปลายปี เพื่อเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มาตรการมีผลในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว
+ ดัชนีความเชื่อมั่นการค้าปลีกไทย ประจำไตรมาสที่ 3/2561
  # ดัชนีความเชื่อมั่นการค้าปลีกไทย ประจำไตรมาสที่ 3/2561 อยู่ที่ 50.0 ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2560 พบว่าในส่วนของรายรับ กำไร และการจ้างงานดีขึ้น อยู่ที่ 51.9, 64.9 และ 79.7 ตามลำดับ ส่วนในด้านต้นทุน และสินค้าคงคลังที่เหลือจากการขาย ลดลงอยู่ที่ 13.0 และ 40.8 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการค้ายังคงฟื้นตัวต่อเนื่องแบบอ่อนๆ เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงระวังในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
+ นิด้าคาด ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4/61 นี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวดี
  # สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 นี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของภาคส่งออกและการท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดี รวมถึงความคึกคักในช่วงใกล้ถึงการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน ก.พ.62 ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ช่วยสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย NIDA คาดการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 61 มีแนวโน้มขยายตัวได้ 4.5%
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO15487

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!