- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 25 October 2018 20:08
- Hits: 10673
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ดาวโจนส์ดิ่งถึง 608 จุด เพื่อนบ้านลด 2-3%”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : DELTA (จากถือเป็นซื้อ)
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้– SET Index ปิดตลาด -35.19 จุด ที่ 1623.37 จุด ถือว่าปรับลงมากกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าการซื้อขายสูงขึ้นเป็น 65.3 พันล้านบาท ดัชนีฯได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศคือ ดาวโจนส์ลดลง ราคาน้ำมันดิ่งลงถึง 4% กังวลเศรษฐกิจจีนบอนด์ยิลด์ 10 ปีและดัชนีความกลัว (VIX) เพิ่ม รวมทั้งวันจันทร์ประกาศตัวเลขส่งออกไทย ก.ย. ลดลง 5.2% เป็นครั้งแรกในรอบ 19 เดือน การท่องเที่ยวฟื้นตัวช้า กำไรสุทธิ 3Q61 SCC ลดลง 20% y-o--y และปัจจัยต่างประเทศที่เป็นลบยังค้างคาเช่นกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย ความขัดแย้งสหรัฐ-ซาอุ สหรัฐ-จีน ปัญหางบประมาณอิตาลี หุ้นกลุ่มหลักปรับตัวลง โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน ส่วนหุ้นใหม่ TIGER สูงกว่าจองเพียง 0.8% ด้านผู้ขายสุทธิเป็น ต่างประเทศ 4.0 พันล้านบาท พอร์ตโบรกเกอร์ 1.0 พันล้านบาท และสถาบัน 0.8 พันล้านบาท ส่วนผู้ซื้อสุทธิรายเดียวคือ นักลงทุนทั่วไป 5.8 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ถูกปัจจัยลบจากต่างประเทศยังกระทบแรง ดาวโจนส์ดิ่งลงถึง 608 จุด หลังตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ชะลอ PMI ยูโรโซนอ่อน ดัชนีความกลัว (VIX) เพิ่ม ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ลด 2-3% ทีเดียว ปัจจัยบวกที่มีบ้างคือ บอนด์ยิล 10 ปี ปรับลด ส่วนปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา เช่น ต่างชาติขายหนัก กลัวเฟดขึ้นดอกเบี้ย ความขัดแย้งสหรัฐ-ซาอุ สหรัฐ-จีน ปัญหางบประมาณอิตาลี ส่วนตัวเลขส่งออกไทย ก.ย.พลิกลดลง 5.2% ก็ยังสร้างความวิตกเพิ่มขึ้น สำหรับดาวโจนส์ล่วงหน้า +53 จุด ณ 8:13 น. น้ำมันล่วงหน้าลดลงอีก ส่วนมาตรการคุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัย Hearing ผ่านไปแล้ว ติดตาม ธปท.จะผ่อนคลายบ้างไหม แต่ CEO แบงค์หนุนให้ทำ ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป แม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วง ธ.ค.) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1590-1645 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวเมื่ออ่อนตัว ตามปัจจัยต่างประเทศที่กดดันหนัก
Update หุ้นเด่น: SEAFCO– คาดว่ากำไร 3Q61 เบื้องต้นสูงเป็น 108 ล้านบาท (+141% y-o-y, +16% q-o-q) งานในมือ (Backlog) 2.8 พันล้านบาท รับประกันรายได้ปีนี้และปีหน้าถึง 100%/46% และประมูลงานใหม่อีก 5-6 พันลบ. คงคำแนะนำ ซื้อ คาดกำไรหลักปีนี้และปีหน้าทำสถิติสูงสุดใหม่และเติบโตสดใส +90%/+18% y-o-y ด้านราคาพื้นฐานกำหนดไว้ที่ 10.02 บาท ประเมินด้วย Forward P/E ปี 61 ที่ 22 เท่า และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจปีนี้ประมาณ 2.7% และปี 62 ที่ 3.2%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆ ก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1630-1640 แนวรับ 1600-1590/1580
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ PTT หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ RCI, HMPRO หุ้นที่หลุด List คือ SOLAR หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ ไม่มี
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ดิ่งแรง วิตกแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ Nasdaq ร่วงแรงเช่นกัน
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,583.42 จุด ร่วงลง 608.01 จุด หรือ -2.41% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,108.40 จุด ลดลง 329.14 จุด หรือ -4.43% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,656.10 จุด ลดลง 84.59 จุด หรือ -3.09%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (24 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากมีรายงานว่ายอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐร่วงลงติดต่อกัน 4 เดือน รวมทั้งรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งระบุว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้า ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงกว่า 300 จุด เนื่องจากแรงขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมถึงบริษัทเท็กซัส อินสตรูเมนท์ ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ ที่เปิดเผยแนวโน้มผลประกอบการที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในวอลล์สตรีท
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับขึ้น สต็อกน้ำมันเบนซินสหรัฐลดมากกว่าคาด
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 39 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 66.82 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 27 เซนต์ หรือเกือบ 0.4% ปิดที่ 76.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (24 ต.ค.) หลังสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันเบนซินของสหรัฐลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ยังได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะน้ำมันตึงตัว อันเนื่องมาจากการที่สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน
# นอกเหนือจากสต็อกน้ำมันเบนซินที่ลดลงแล้ว ตลาดยังได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะน้ำมันตึงตัว อันเนื่องมาจากการที่สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน โดยแหล่งข่าวเปิดเผยว่า การส่งออกน้ำมันจากอิหร่านลดลงใกล้ระดับ 1.5 ล้านบาร์เรล/วันในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนนี้ โดยลดลงจากระดับ 2.5 ล้านบาร์เรลในเดือนเม.ย. ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เตรียมคว่ำบาตรน้ำมันอิหร่านในวันที่ 4 พ.ย.
• ทองคำ : ปรับลง ดอลลาร์แข็งค่า และมีแรงขายทำกำไร
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 5.70 ดอลลาร์ หรือ 0.46% ปิดที่ 1231.10 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (24 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ และจากการที่นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อวันอังคาร
-/+ ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ดิ่งลงถึง 5.5% สร้างความกังวลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์ค
# กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ดิ่งลง 5.5% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 553,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2559 และเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 4 เดือน โดยยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงในเดือนก.ย.ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้น
# ไอเอชเอส มาร์กิต ระบุว่า ดัชนี PMI รวมภาคการผลิต และภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.8 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน หลังจากแตะระดับ 53.9 ในเดือนก.ย.
-ดัชนี PMI ยุโรป ต่ำสุดในรอบ 25 เดือน
# ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นของยูโรโซนอยู่ที่ 52.1 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 26 เดือน จากระดับ 53.2 ในเดือนก.ย. ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นอยู่ที่ 53.3 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 24 เดือน จากระดับ 54.7 ในเดือนก.ย.
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศต่อไป
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ย., ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนก.ย., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
-/• หลังการทำ Hearing เกณฑ์สินเชื่อเของ ธปท.เสร็จ คาดว่าประกาศต้น พ.ย.61 CEO แบงค์หนุนให้คุมสินเชื่อ
# สัปดาห์ที่แล้วได้สิ้นสุดการรับฟังความเห็น (Hearing) เกี่ยวกับเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มที่อยู่อาศัย (LTV) ตลาดฯ และผู้ประกอบการต่างติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าจะผ่อนเกณฑ์บางอย่างหรือไม่ เช่น ครอบคลุมถึงบ้านหลังที่สาม เพิ่มขึ้นจากหลังที่สอง และผ่อนระยะเวลาการเริ่มใช้จาก 1 ม.ค.62 ให้เลื่อนออกไป เพื่อมีเวลาในการเตรียมตัวเพิ่มมากขึ้น หากมี ก็อาจจะส่งผลดีต่อหลักทรัพย์กลุ่มที่อยู่อาศัย แต่หุ้นที่อยู่อาศัยยังปรับลงมาก อาจเป็นเพราะกังวลว่า ธปท. จะยังคงเกณฑ์เข้มงวดต่อไป ทั้งนี้คาดว่า ธปท.จะประกาศความคืบหน้าอีกครั้ง ต้น พ.ย.61 นี้
# CEO ธนาคาร ต่างพากันสนับสนุนให้ ธปท.คุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อให้ระบบเดินหน้าอย่างมีเสถียรภาพ
-/• ผิดหวังตัวเลขส่งออก ก.ย.61 เป็น -5.2% แต่ ก.พาณิชย์คงเป้าปีนี้โต 8%
# เดือนกันยายน การส่งออกมีมูลค่า 20,699 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 5.2% เมื่อเทียบจากระยะเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 19 เดือน และต่ำกว่าที่ตลาดคาดคือ เติบโต 5.4-5.6% ส่วนการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่า 189,729 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8.13% ถือเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 ปี
# โดยการส่งออกเดือนกันยายนที่ลดลงเกิดจาก 3 ปัจจัยหลักได้แก่ ฐานการส่งออกสินค้าที่สูงในเดือนกันยายนของปีก่อนโดยเฉพาะสินค้าประเภททองคำ //ผลกระทบจากสงครามการค้า ทำให้การส่งออกภาพรวมติดลบ 1.8% โดยเฉพาะตลาดจีนติดลบ 14.1% // และปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ทำให้การนำเข้าสินค้าลดลง
# อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่า การส่งออกปีนี้ยังขยายตัวได้ที่ระดับ 8% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แม้มีปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก เนื่องจากการส่งออกสินค้าของไทยมีความหลากหลาย และมีการผลักดันการส่งออกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเร่งส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพ เพื่อทดแทนสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดใหม่
# ส่วนข้อดีคือ ดุลการค้าเดือนกันยายน มีการเกินดุล 487 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วง 9 เดือน ของปีนี้มีการเกินดุล 2,839 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
-/+ ตลาดส่งออกที่ลดลง คือ ออสเตรเลีย จีน ไต้หวัน และฮ่องกง แต่ตลาด CLMV ยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐ ยังเพิ่ม
# สินค้าที่ส่งออกไปจีนลดลงคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และยางพารา จึงอาจทำให้หลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจประเภทนี้ปรับตัวลงได้ วันศุกร์ หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลงแรงคือ HANA และ SVI ส่วน STA อยู่ในเกณฑ์ทรงตัว
# ด้านการส่งออกสินค้าในกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบ ก็ปรับตัวลดลงด้วย โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ในการส่งออกไปออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ ด้านรถกระบะที่ส่งออกไปออสเตรเลีย รวมทั้งชิ้นส่วนประกอบที่ส่งออกไปยังจีน ก็ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
# แต่การส่งออกไปตลาดหลัก ยังเติบโตได้คือ CLMV ยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐ ยังเพิ่ม สินค้าส่งออก เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และเม็ดพลาสติก เป็นต้น
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO15413