WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
  ภาพรวมตลาดหุ้นวันนี้ยังแกว่งตัวลง จากปัญหาภายนอก ทั้งเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัว สะท้อนจากการส่งออกของไทยติดลบเป็นครั้งแรก หลังจากที่เติบโตอัตราชะลอตัวใน 3 เดือนก่อนหน้า รวมถึงการส่งออกกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ในเอเชีย ชะลอตัวทิศทางเดียวกัน และ Fund Flow ไหลออกไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยกว่า ส่วนในประเทศยังเป็นการรายงานงบ 3Q61 ของหุ้นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์  สัปดาห์นี้น่าจะเป็นการรายงาน SCC และ PTTEP Top Picks GLOW ([email protected]) และ SAT (FV@B29)
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …. เงินทุนต่างชาติไหลออก กดดันหุ้นไทยร่วงต่อ
  วันจันทร์ที่ผ่านมา SET Index แกว่งอ่อนตัวในแดนลบตลอดวันและทำจุดต่ำสุดของวันที่ระดับ 1654.90 จุด และปิดที่ 1658.56 จุด ลดลง 9.35 จุด หรือ 0.56% มูลค่าการซื้อขาย 4.1 หมื่นล้านบาท ภาพรวมหุ้นในทุกอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มอุปโภค-บริโภค OSP ปิด 23.7 ลดลง 6.14% ต่ำกว่าราคา IPO ที่ 25 บาท ตามด้วย CPALL BJC และยังมีแรงขายในหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่ม ธ.พ. (SCB KTB BBL)  และกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่น  IRPC (-1.6%) คาดว่ากำไร 3Q61 ลดลง QoQ ตามแผน shutdown ส่วน PTTEP ปิดบวกสวนทางตลาดฯ 
  แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ มีโอกาสอ่อนตัวทดสอบแนวรับ 1645/1650 จุด  ขณะที่ปัจจัยกดดันยังมาจากปัจจัยภายนอก ทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากผลกระทบสงครามการค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยหดตัวครั้งแรกในรอบ 1 ปี 7 เดือน และการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ เพื่อกำจัดเงินเฟ้อ กดดันดอลลาร์แข็งค่า ล้วนกดดันราคาน้ำมันดิบโลก 
 
ส่งออกจีนและเอเซียชะลอตัวหนักใน ก.ย. จากสงครามการค้า 
  สงครามการค้าโลกได้ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง สะท้อนยอดส่งออกไทยเดือน ก.ย. -5.2% yoy ที่ 2.07 หมื่นล้านเหรียญ (หน่วยเป็นบาท -6.2%) เป็นการหดตัวครั้งแรกนับจาก ก.พ. 2560  หลังจากที่เติบโตในอัตราชะลอตัวมาตั้งแต่ดือน มิ.ย. จากผลกระทบของสงครามการค้าโลก ตลาดส่งออกที่ชะลอตัวหลัก ๆ คือ จีน-สหรัฐ กล่าวคือ
 
จีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดของไทย (ราว 12% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย) หดตัว 14.1%yoy  นับเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน หลังจากที่ชะลอตัวใน 3 เดือนก่อนหน้า และเป็นที่สังเกตว่าสินค้าส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 3 เดือนคือ ยานยนต์และส่วนประกอบ, แผงวงจรไฟฟ้า สินค้าที่หดตัวต่อกัน 2 เดือนคือ คอมพิวเตอร์ สินค้าที่หดตัวเดือนแรกคือ เคมีภัณฑ์, แผงสวิทซ์ เป็นต้น
สหรัฐ ซึ่งตลาดอันดับ 2 ของไทย (10.8%) เพิ่มเพียง  1.2%yoy  แม้ดีขึ้นจากเพิ่ม  0.6% ใน ส.ค. และ -1.9% ใน ก.ค. สินค้าส่งออกหลักที่หดตัวเดือนนี้คือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป -11%, เครื่องรับวิทยุ/โทรทัศน์ -12.3%, ผลไม้แปรรูป -5.2% และสินค้าที่ถูกขึ้นภาษี Safe Guard  คือ แผงโซลาร์เซลล์ และเครื่องซักผ้าติดลบเฉลี่ย  90%  และเหล็ก -18%  เป็นต้น   
ส่วนตลาดส่งออกอื่นเริ่มหดตัว/เพิ่มในอัตราลดลง เช่น ญี่ปุ่น +0.19% ชะลอตัวแรงจาก +14.6% เดือนก่อน เวียดนาม +6.5% ชะลอตัวจาก 18.5% เดือนก่อน มาเลเซีย + 0.54% ต่ำกว่า 38.5% เดือนก่อน  และ ออสเตรเลียกลับมาหดตัว 22.4%  เป็นต้น
  ขณะการนำเข้าใน ก.ย. +9.9%yoy (2.01 หมื่นล้านเหรียญ แต่หน่วยบาท +8.8%) ชะลอตัวจาก22.8% ใน ส.ค.  จากการนำเข้าน้ำมัน +68.5% และ วัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก คือ เคมีภัณฑ์, เหล็ก, และคอมพิวเตอร์  รวมถึงนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าเพิ่มเป็นเดือนที่ 6 ตามการขยายการลงทุนเอกชน 
  โดยรวมทำให้ส่งออก 9 เดือนขยายตัวเฉลี่ย 9.9% และนำเข้าเฉลี่ยที่ 15.2% แต่คาดว่าจะชะลอตัวหลังจากนี้ โดยจะชัดเจนใน 4Q61 ถึง 2562 โดย ASPS ประเมินยอดส่งออกปี 2561 ที่  8% และ 2.5% ในปี 2562  ขณะที่ GDP Growth จะอยู่ที่  4.4% ในปีนี้ และ ปี 2562
 
น้ำมันแกว่งตัว Demand ชะลอตัว vs ปลดล็อก Supply
  ราคาน้ำมันดิบโลกแกว่งตัวลงแรง เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาด้าน supply ลดลง คาดว่าการควบคุมการผลิตน้ำมันดิบโลก ระหว่าง OPEC และ Non OPEC ที่จะสิ้นสุด ธ.ค. 2561 จะยุติลง  หลังจากที่ทำสัญญาควบคุมการผลิตนานถึง  3 ปี โดยล่าสุด ซาอุดีอาระเบีย(ผู้ผลิตน้ำมันราว 32.1% ของกำลังการผลิตทั้งใน OPEC) พร้อมผลิตน้ำมันเพิ่มเพื่อชดเชย Supply ที่หายไปจากอิหร่านราว 5-6 แสนบาร์เรลต่อวัน  หลังสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้าอิหร่านตั้งแต่ มิ.ย. (มีผลบังคับใช้ 4 พ.ย.)  
  ขณะด้านความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มชะลอจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ชัดเจนขึ้น กล่าวคือ
 
สหรัฐเป็นผู้บริโภคน้ำมันสูงสุดของโลกราว 24.9 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 25.5% ของการบริโภคน้ำมันทั่วโลก และเชื่อว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว สะท้อนจาก GDP Growth 2.6% ใน 1Q61 และ 2.9% ใน 2Q61  (ปี 2561 IMF คาดจะเติบโต 2.7%)  เพราะได้ประโยชน์จากมาตรการปฎิรูปภาษี  และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณชะลอตัว อาทิ  PMI ภาคการผลิตของปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย. จนถึงปัจจุบัน และยอดขายบ้านมือ 2 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 
และจีนบริโภคน้ำมันอันดับ 2 ราว 12.5 ล้านบาร์เรล/วัน หรือ 12.8%  พบว่า PMI ภาคการผลิตของปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน พ.ค. จนถึงปัจจุบัน
  โดยรวมยังคงแนะนำ Switch หุ้นน้ำมันทั้ง PTTEP(FV’62@B 161), PTT(FV@B54) เนื่องจากได้สะท้อนราคาน้ำมันที่สูงและแม้จะใช้ Fair Value หุ้นปี 2562 พบว่ามี upside จำกัด โดย ASPS คงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบปี 2562 ที่ 70  เหรียญฯ และ 75 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป
 
ต่างชาติลดความเสี่ยง และหันมาลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น
  วานนี้ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันปิยมหาราช ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคเปิดทำการเป็นปกติ และส่วนใหญ่จะปรับฐานลงแรง ขณะที่เงินทุนต่างชาติไหลออกตลาดหุ้นในภูมิภาคสูงถึง 1.05 พันล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 16 และกดดันให้เดือน ต.ค. ต่างชาติขายสุทธิสูงสุดในปีนี้) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ขายสุทธิ 589 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยไต้หวัน 454 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 16), ฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 38 วัน) และอินโดนีเซีย 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4)
  ส่วนจันทร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาค 146 ล้านเหรียญ  และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ขายสุทธิ 135 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยไต้หวัน 3 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 60 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อย 2 ล้านเหรียญ หรือ 62 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 14 วัน มีมูลค่ารวมสูงถึง 5.02 หมื่นล้านบาท) หนุนยอดขายสุทธิสะสมของต่างชาติในปี 61 ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 2.58 แสนล้านบาท (ytd) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 597 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  ความผันผวนของตลาดหุ้นโลก ส่งผลให้ต่างชาติโยกเงินไปลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำที่ตลอดเดือน ต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 3.38% (mtd)  และตราสารหนี้ถูกซื้อสุทธิมากขึ้น สังเกตได้จาก Bond Yield 10 ปี สหรัฐ ปรับตัวลงมาอยู่ที่ 3.16% แต่ผลตอบแทนยังจูงใจ และกดดัน Fund Flow มีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคอีก
 
กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ดัชนีขาลง  
  นับตั้งแต่เข้าสู่เดือน ต.ค. เป็นต้นมา SET Index ปรับฐานลงแล้วกว่า 5.6%mtd โดยดัชนีไม่สามารถขึ้นผ่านแนวต้านสำคัญบริเวณ 1765 จุดไปได้ ประกอบกับการไหลออกของกระแส Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง, ปัจจัยเชิงลบจากต่างประเทศ และแรงขาย Sell on Fact รับการรายงานงบฯ 3Q61 ยิ่งเป็นปัจจัยฉุดดัชนีลงมา โดยกลุ่มฯ ที่ Underperform กว่าตลาดฯ คือ กลุ่มสื่อ-บันเทิง ลดลง 9.2% mtd ตามด้วยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ลดลง 7.8%mtd กลุ่มส่งออกอาหาร ลดลง 7.5% mtd กลุ่มพลังงานลดลง 7.1% mtd และกลุ่มค้าปลีก ลดลง 6.9% mtd 
  ตรงกันข้ามกลุ่มฯ ที่ Outperform กว่าตลาดฯ คือ กลุ่มประกันฯ ลดลงเพียง 1.7% mtd ตามด้วยกลุ่มโรงพยาบาล ลดลง 2.4% mtd กลุ่ม ธ.พ. ลดลง 3.1% mtd กลุ่ม ICT ลดลง 3.5% mtd เป็นต้น (รายละเอียดดังภาพด้านล่าง)
 
ผลตอบแทนของ SET Index รายกลุ่มฯ เดือน ต.ค. 2561
  ทั้งนี้ SET Index ยังอาจมีความเสี่ยงปรับฐานลงได้ต่อ ตราบที่ประเด็นแวดล้อมที่ยังไม่แน่นอนเป็นตัวกดดัน ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนยามตลาดฯ ปรับฐาน จึงควรเลือกหุ้นปลอดภัย ไม่แกว่งผันผวน สามารถทนต่อแรงเสียดทานของตลาดฯ ได้ รวมทั้งคาดหวังเงินปันผลสูง ฝ่ายวิจัยจึงทำการคัดกรองหุ้นที่เข้าข่ายเงื่อนไขดังกล่าว ดังนี้ 
  1. ค่า Beta น้อยกว่า 1
  2. Dividend Yield มากกว่า 3%
  3. ค่า PER น้อยกว่าตลาดฯ
  4. ฝ่ายวิจัย ASPS แนะนำ ซื้อ
  เมื่อพิจารณาร่วมกับปัจจัยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่ง มี upside สูง ฝ่ายวิจัยจึงแนะนำ INTUCH ([email protected]) CPF ([email protected]) ADVANC (FV@B201) EASTW (FV@B13) HANA (FV@B44) และ GLOW ([email protected]) เป็นหุ้นปลอดภัยยามตลาดผันผวน
 
นักวิเคราะห์ :
  ภรณี ทองเย็น               เลขทะเบียนนักวิเคราะห์ : 004146
  เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม       เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
  พบชัย ภัทราวิชญ์             เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
  ภราดร เตียรณปราโมทย์           เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
   ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์              เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
   โยธิน ภูคงนิล             ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
  เจิดจรัส แก้วเกื้อ                  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
  วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร             ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO15350

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!