WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย บอนด์ยิลด์ปรับขึ้น
 
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้– SET Index ปิดตลาด-2.83 จุด ปิดที่ 1695.04 จุด แม้ไปทำยอดสูงสุดที่ 1710.39 จุด ก็ตามและถือว่าปรับลงสวนกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านที่รีบาวด์กันเป็นส่วนใหญ่ มูลค่าการซื้อขายปานกลางเป็น 53 พันล้านบาท คาดว่า TMB เป็นตัวหนึ่งที่ฉุดบรรยากาศการลงทุนภาคบ่าย หลังกำไรดำเนินงานต่ำกว่าคาด ส่วนหุ้นปรับขึ้นดีโดดเด่นคือ TOP และ DTAC ด้าน OSP เพิ่งเข้าตลาดฯวานนี้วันแรกเหนือจอง 9% ถือว่าน่าพอใจ ด้านผู้ขายสุทธิเป็น ต่างประเทศ 3.4 พันล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป 1.0 พันล้านบาท ส่วนผู้ซื้อสุทธิคือ สถาบัน 4.0 พันล้านบาท พอร์ตโบรกเกอร์ 0.4 พันล้านบาท และ จุดที่น่าสังเกตคือ สถาบันซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีเงิน LTF ทยอยเข้ามาลงทุนก่อนสิ้นปี
  แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ได้รับผลกระทบทางลบจากต่างประเทศคือ ดาวโจนส์ปรับลง หลังรายงานเฟดย้อนหลัง จะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก บอนด์ยิลด์ 10 ปีปรับขึ้นเป็น 3.2117% บาทอ่อน น้ำมันปรับลง ส่วนดัชนีความกลัว (VIX) ปรับลดลงเล็กน้อย ช่วงนี้มีหุ้น IPO สร้างความคึกคัก วันนี้คือ BGC ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ปรับลง ด้านปัจจัยลบเดิมๆคือ กังวลสงครามการค้าสหรัฐ-จีนทวีขึ้น และ IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก สหรัฐ และจีน สำหรับดาวโจนส์ล่วงหน้า -56 จุด ณ 8.24 น. น้ำมันล่วงหน้าปรับขึ้นส่วนมาตรการคุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วง Hearing ติดตาม ธปท.จะผ่อนคลายบ้างไหม ข้อดีคือแม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล เศรษฐกิจ ต.ค.แนวโน้มแข็งแกร่ง ด้านการเลือกตั้งตามโรดแมป มีกิจกรรมคึกคักขึ้น สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1670-1720 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวได้
  Update หุ้นเด่น: TOP – คาดว่าผลการดำเนินงานปกติของบริษัทจะดีขึ้นใน 2H61 จาก Crude Premium ที่ลดลง และบริษัทไม่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ประเมินว่าค่าการกลั่นจะดีขึ้นตั้งแต่ 3Q61 เป็นต้นไปเพราะเป็นช่วง High Season ของธุรกิจน้ำมันกลั่น (ดีเซล, Jet) ส่วนอะโรเมติกส์คาดว่าสเปรดของ PX และ BZ จะทรงตัวถึงอ่อนลง เพราะจะมีกำลังการผลิตใหม่จากเวียดนามเข้ามา รวมทั้งโรงอะโรเมติกส์ที่จีนกลับมาผลิตหลังปิดซ่อมไป ราคาเป้าหมายอิงกับ P/BV ปี 62 ที่ 1.4 เท่า ซึ่งอยู่ที่ 96.50 บาท คงคำแนะนำซื้อ ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 13%
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators กลับเป็นลบอีกครั้ง ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1700-1710/1720 แนวรับ 1670-1660 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1690
  สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ RML,ROJNA,TOP,WICE,BRR หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ KTC หุ้นที่หลุด List SAT,PTTEP,AMATA,AOT หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ BBL,GULF,BCH
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์กลับมาปรับลง รายงานประชุมเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,706.68 จุด ลดลง 91.74 จุด หรือ -0.36% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,809.21 จุด ลดลง 0.71 จุด หรือ -0.03% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,642.70 จุด ลดลง 2.79 จุด หรือ -0.04%
  # ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (17 ต.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนก.ย.ซึ่งระบุว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป โดยรายงานดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า ต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง สต็อกอยู่ในเกณฑ์สูง
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. ร่วงลง 2.17 ดอลลาร์ หรือ 3% ปิดที่ 69.75 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 1.36 ดอลลาร์ หรือ 1.7% ปิดที่ 80.05 ดอลลาร์/บาร์
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง 3% เมื่อคืนนี้ (17 ต.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยรายงานดังกล่าวส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงหลุดจากระดับ 70 ดอลลาร์/บาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 สัปดาห์
• ทองคำ : ปรับลง ดอลลาร์แข็งค่า
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 3.60 ดอลลาร์ หรือ 0.3% ปิดที่ 1,227.40 ดอลลาร์/ออนซ์
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า คณะกรรมการเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
- รายงานการประชุมเฟด จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
  # รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 25-26 ก.ย. ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
  # รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่า กรรมการเฟดได้หารือกันเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยกล่าวว่า เฟดอาจจำเป็นต้องดำเนินนโยบายคุมเข้มทางการเงินต่อไปแม้ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ดีดตัวสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากภาวะไร้สมดุลทางการเงิน
-/+ ตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านใหม่ ก.ย.ลดลง แต่ผลประกอบการไตรมาส 3 ส่วนใหญ่ดีกว่าคาด
  # กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลงมากกว่าคาดในเดือนก.ย. โดยดิ่งลง 5.3% เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.201 ล้านยูนิต จากระดับ 1.268 ล้านยูนิตในเดือนส.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านจะลดลงสู่ระดับ 1.220 ล้านยูนิตในเดือนก.ย.
  # นักลงทุนจับตาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน โดยบรรดาบริษัทในดัชนี S&P 500 ซึ่งได้รายงานผลประกอบการในไตรมาส 3 แล้ว จำนวนราว 90% ได้รายงานผลประกอบการที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
•/- สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีจีน-ญี่ปุ่น-อินเดียถูกจับตานโยบาย FX
  # กระทรวงการคลังสหรัฐได้เปิดเผยรายงาน "นโยบายเศษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (International Economic and Exchange Rate Policies) รอบครึ่งปี ต่อสภาคองเกรสเมื่อวานนี้ โดยระบุว่า ไม่มีประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐประเทศใดที่มีพฤติกรรมบิดเบือนค่าเงิน ซึ่งรวมถึงจีน
  # อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวได้ระบุว่า จีน เยอรมนี อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์ อยู่ใน "รายชื่อประเทศที่ถูกจับตา" ซึ่งหมายความว่า ทางการสหรัฐจะจับตานโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศออกมา
  # นักลงทุนยังรอดูการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนต.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย และยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย.
 
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ กลุ่มร่วมทุน TICON-ROJNA ชนะประมูลที่ดิน AQ
  # แหล่งข่าวเผย กลุ่มร่วมทุน TICON ROJNA และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ชื่อว่า บริษัท ทีอาร์เอ แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์จำกัดชนะประมูลที่ดิน AQ ทั้ง 4.3 พันไร่ราคาสูงกว่า 8.9 พันลบ .
  # ผลกระทบ: เป็นบวก ที่ดินนี้มีทำเลใกล้สุวรรณภูมิ คาดว่าจะมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ แต่ต้องรอรายละเอียดที่มากขึ้น ปัจจุบันแนะนำซื้อ ROJNA ราคาพื้นฐาน 7.87 บาท โดยบริษัทถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนข้างต้นในสัดส่วน 25% แต่ TICON ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ (not rated) ด้าน AQ (not rated) มีข้อดีคือได้รับเงินไปชำระหนี้เงินกู้ที่ค้างอยู่กับ KTB วานนี้ราคาหุ้นปรับขึ้นสดใส ด้าน KTB (แนะนำ ถือ) ก็ได้รับข้อดี คือ นำเงินขายทอดตลาดมาชำระหนี้ที่ค้างได้
+ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจ ม.ค.-ส.ค.61 มีจำนวน 283,321 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 60%
  # สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เผยผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจ 45 แห่งที่ สคร. กำกับดูแลโดยตรงตั้งแต่เดือน ม.ค.-ส.ค.61 มีจำนวน 283,321 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 60% เมื่อเทียบกับผลเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมในช่วงเดียวกันของปี 2560
  # โดยการลงทุนที่เติบโตของรัฐวิสาหกิจเป็นผลมาจากการเร่งลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ของการรถไฟแห่งประเทศไทย, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, โครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 1 และโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าระยะที่ 12 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงการเพิ่มทุนให้แก่บริษัทในเครือของ บมจ.ปตท.(PTT) เพื่อไปลงทุนต่ออัตราการเติบโตการเบิกจ่ายงบลงทุนปี 2561 เปรียบเทียบปี 2560
+ ไทยมีดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก 4.0 ลำดับที่ 38
  # คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงรายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก 4.0 (Global Competitiveness Index : GCI 4.0) ซึ่งเปรียบเทียบความสามารถทางการแข่งขันของ 140 ประเทศทั่วโลกว่า ในปีนี้ผลสำรวจชี้ชัดว่าประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น 4.0 มากขึ้น โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 38 โดยมีคะแนน 67.5 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน
+/- ติดตามประกาศผลประกอบการ 3Q61 กลุ่มสถาบันการเงินประกาศสัปดาห์นี้
  # คาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มธนาคาร 3Q61 เป็น 43.1 พันล้านบาท (+5.9% y-o-y,-6.8% q-o-q)
  # สาเหตุที่เติบโตได้ y-o-y เพราะความต้องการสินเชื่อมาก และการตั้งสำรองปรับลดลง แต่ขณะเดียวกัน รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ได้แก่ค่าธรรมเนียมกลับปรับลดลง รวมทั้งต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น
  # ในงวด 3Q61 คาดว่าหลักทรัพย์ที่มีกำไรสุทธิดีสุดคือ BBL ส่วนกำไรจากการดำเนินงานดีสุดคือ KKP
  # คงจัดลำดับให้ BBL และ KKP เป็น Top Pick ในหลักทรัพย์หมวดธนาคาร
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO15181

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!