- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 17 October 2018 17:25
- Hits: 6508
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET อาจฟื้นตัวตามตลาดหุ้นโลก จากแรงหนุนของการประกาศงบ 3Q61 ของหุ้น ธ.พ. และ มิใช่ธนาคาร ล่าสุด DTAC รายงานดีกว่าคาด แต่แรงกดดันจาก fund flow ยังมีอยู่ ทำให้ดัชนีอาจจะอยู่ใต้อิทธิพล 1700 จุด Top Picks BGRIM(FV@B32) และ GLOW([email protected]) และวันนี้เพิ่ม SAT(FV@B27) ได้รับคำสั่งผลิตเพลาข้างรถกระบะ 1.5 ตัน จากสหรัฐ ส่งมอบ 4Q61 70 ล้านบาท และ 400 ล้านบาทในปี 2562 ทำให้ ASPS เตรียมปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561-62 ราว 5% ต่อปี
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. ดัชนียังไม่ผ่าน 1700 จุด
วานนี้ SET Index แกว่งในกรอบแคบและปิดตลาดที่ 1697.87 จุด เพิ่มขึ้น 1.7 จุด หรือ 0.1% มูลค่าการซื้อขายเพียง 3.85 หมื่นล้านบาท ตลาดหุ้นไทยยังไร้ปัจจัยหนุนใหม่เข้ามากำหนดทิศทางตลาดฯ จึงเห็นการเข้ามาเก็งกำไรหุ้นรายตัวที่คาดว่าผลประกอบการ 3Q61 จะโดดเด่นอย่าง BCH (+3.7%) และ BDMS ราคาหุ้นปิดแดนบวก ฝ่ายวิจัยฯ คาดกำไร 3Q61 กลับมาเติบโตสู่ระดับปกติที่ 2,628 ล้านบาท เติบโต 8.8% YoY จากหลายโครงการที่ลงทุนรวมถึงฐานผู้ป่วยประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่ม ธ.พ. ยังมีแรงซื้อเข้ามาเก็งกำไรผลประกอบการที่จะทยอยประกาศในสัปดาห์นี้ ส่วนราคาหุ้นของกลุ่มพลังงาน (PTT IRPC) ปิดตลาดในแดนลบ
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดอาจฟื้นตัวตามตลาดต่างประเทศ โดยได้รับแรงหนุนจากการประกาศงบ 3Q61 ของบริษัทจดทะเบียน แต่ความผันผวนของตลาดยังมีอยู่ จากแรงกดดันของสงครามการค้า จนนำไปสู่การปรับลด GDP Growth โลก
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวช่วงสั้น...ภาพกลาง-ยาวยังชะลอ
ตลาดหุ้นสหรัฐกลับมาฟื้นตัวในช่วงสั้น เนื่องจากการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนงวด 3Q61 ออกมาดีกว่าตลาดคาด และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐในเดือน ต.ค. ดีกว่าคาดบางประการ แต่เชื่อว่าเป็นการฟื้นตัวช่วงสั้น คือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน (Housing market index) เดือน ต.ค. พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ราว 1.5%mom อยู่ที่ 68 จุด และยอดผลิตอุตสหกรรม (Industrial production) เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ราว 0.3%mom
เป็นที่สังเกตว่าสวนทางกับก่อนหน้าหน้า คือ ดัชนีชี้นำฝั่งภาคการผลิต อาทิ PMI ภาคการผลิตของปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย. จนถึงปัจจุบัน และยอดส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐที่ส่งไปจีน นับตั้งแต่ 15 ส.ค. เป็นต้นมาเหลือศูนย์ เนื่องจากเป็นผลกระทบจากสงครามการค้า รวมถึงยอดขายบ้านมือ 2 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐในช่วง 2H61 น่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง (GDP 1Q61 โต 2.6%yoy และ 2Q61 โต 2.9% เนื่องจากยังได้ประโยชน์จากมาตรการปฎิรูปภาษี) แต่เชื่อว่าจะเห็นผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนชัดเจนในช่วงปี 2562 เป็นต้นไป
DTAC เข้าประมูลคลื่น 900MHz การเปลี่ยนผ่านสัมปทานเรียบร้อยดี
DTAC รายงานงบ 3Q61 ดีกว่าคาด เพราะประหยัดภาษีจากการบันทึกค่าใช้จ่ายจากตัดจ่ายสินทรัพย์ที่หมดสัมปทาน (โครงข่าย 1800 และ 850 MHz สำหรับบริการ 2G กับ 4G และ 3G) ราวกว่า 280 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามปรับลดประมาณการกำไรของ DTAC ลงจากเดิม 17% ในปี 2562 และ 21% ในปี 2563 เพราะ DTAC ได้กลับลำ มาร่วมประมูลคลื่น 900 MHz (ใช้งานเป็น 850 MHz ได้ 2 ปี) จำนวน 5 MHz มูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาท ตัดจ่าย 15 ปี ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายปีละ 2533 ล้านบาทต่อปี จากสมมติฐานเดิมก่อนหน้านี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการประมูลคลื่น 900 MHz แต่แลกกับการสูญเสียลูกค้า 3G ราว 5 แสนราย ดังนั้น หากชนะประมูลคลื่น 900/850 MHz ( DTAC ร่วมประมูลรายเดียว) จะช่วยรักษาลูกค้า 3G ให้ใช้งานต่อเนื่อง แต่สุทธิแล้วจะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 1.3 พันล้านบาท จึงเป็นที่มาของการปรับลดประมาณดังกล่าว
โดยสรุปหลังจากการประมูลคลื่นในช่วงที่ผ่านมา DTAC จะมีคลื่นทั้งสิ้น 55 MHz แบ่งเป็น ซึ่งสามารถให้บริการลูกค้าครบทุกกลุ่มคือ
1800 MHz จำนวน 5 MHz คาดใช้บริการ 2G
900 MHz จำนวน 5 MHz (ใช้งานเป็น 850 MHz ได้อีก 2 ปี) คาดใช้บริการ 3G
2300 MHz จำนวน 30 MHz คาดใช้บริการ 4G โดยปัจจุบันโครงข่าย 4G คลื่น 2300 MHz ได้ลงทุนไปแล้ว 5.4 พันสถานีฐาน ใกล้เคียงสถานีฐาน 4G บนคลื่นสัมปทาน 1800 MHz เดิมที่ 6.9 พันสถานีฐานมากขึ้น
2100 MHz จำนวน 15 MHz ใช้บริการ 3G และ 4G
ทั้งนี้ ภาพรวมกำไรปี 2562 คาดเติบโตได้สูงถึง 210% มาอยู่ที่ 6.3 พันล้านบาท (หลักๆ หนุนโดยต้นทุนลดลง จากการหยุดให้บริการคลื่นสัมปทานที่มีต้นทุนแพง) ขณะที่มูลค่าพื้นฐานปี 2562 ที่เริ่มปรับใช้ที่ 60 บาท (DCF, WACC 9.9%,growth 1.5%) ยังมี Upside เปิดกว้าง ยังให้คำแนะนำ ซื้อ
ปรับคำแนะนำ SAT เป็นซื้อ ราคาหุ้นผ่านจุดต่ำสุด เริ่มมีข่าวดี
วันนี้แนะนำหุ้น Top pick ในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ คือ SAT หลังจากที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน ส.ค. ปรับตัวลดลง 18% น่าจะเป็นผลกระทบจากความกังวลต่อสงครามการค้าในแถบอเมริกาเหนือ แม้ยอดส่งออกรถยนต์ไปภูมิภาคนี้คิดเป็นเพียง 8% ของยอดส่งออกรถยนต์ทั้งหมด ผลกระทบต่อชิ้นส่วนรถยนต์ไทยน่าจะจำกัด อย่างไรก็ตามท่ามการวิกฤติน่าจะเป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมส่งออกชิ้นรถยนต์ของไทย ล่าสุด มีบริษัทชิ้นส่วนจากสหรัฐ (Tier -1) เริ่มหา supply ชิ้นส่วนผลิตรถยนต์ในประเทศ พบว่า SAT ได้รับคำสั่งซื้อใหม่ คือ ผลิตชิ้นส่วนเพลาข้างกระบะ 1.5 ตัน ( Axle Shaft) (Direct Export) มูลค่าราว 70 ล้านบาท น่าจะส่งมอบใน 4Q61 และเพิ่มเป็น 400 ล้านบาทในปี 2562 ซึ่งคำสั่งใหม่นี้ยังยังไม่ได้รวมในประมาณการ จึงมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561-2562 ขึ้นราวปีละะ 5% จะนำเสนอรายงานอีกครั้ง
สำหรับงวด 3Q61 คาดว่ากำไรปกติ 3Q61 จะอยู่ราว 240-250 ล้านบาทเติบโตราว 9% yoy และ 34% qoq Fair value ปี 2562 ที่ 27 บาท (อิง PER 12 เท่า) มี Upside 32% อีกทั้ง Valuation น่าสนใจ มี PER ซื้อขาย 9 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ 12 เท่า พร้อมคาด Div Yield 5.2% และมีจุดเด่นคือ มีฐานะ Net Cash 1,176 ล้านบาท ดังนั้นภายใต้ภาวะดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้น จึงไม่ส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัท
เข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบ 3Q61 ตลาดไทยและเทศ ได้แรงหนุนช่วงสั้น
ตลาดหุ้นโลกกำลังเข้าสู่ช่วงการประกาศผลประกอบการ 3Q18 ซึ่งอาจจะทำให้มีแรงขายรับงบ ล่าสุดตลาดหุ้นไทย ธ.พ. ที่รายงานแห่งแรกคือ TISCO กำไรสุทธิดีกว่าคาด ตามมาด้วย LHFG กำไรสุทธิต่ำกว่าคาด และวันนี้คาด TMB และ TCAP จะประกาศตามมา ที่เหลือจะทยอยประกาศไปจนถึงวันศุกร์นี้
และตลาดหุ้นต่างประเทศ ตลาดตอบรับด้านบวก เพราะผลประกอบการดีกว่าคาดเป็นส่วนใหญ่ โดยตลาดหุ้น S&P500 กลุ่มสถาบันการเงินทยอยประกาศงบ ล้วนมีผลกำไรดีกว่าคาด เช่น JP Morgan Chase&Co. ดีกว่าคาด 4.5% Citigroup ดีกว่าคาด 3% Bank of America ดีกว่าคาด 7.5% Morgan Stanley ดีกว่าคาด 15.1% Goldman Sachs ดีกว่าคาด 17.4% และที่จะทยอยประกาศในสัปดาห์นี้ ตลาดคาด บริษัทจดทะเบียนใน S&P500 จะรายงานกำไร 3Q61 ดีกว่าคาดถึงกว่า 86%
ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการของ S&P500 ใน 3Q61จะเติบโตได้สูงถึงเกือบ 20%yoy แต่เป็นการเติบโตที่ชะลอลงจาก 2Q61 ที่ 26%yoy และหากไม่รวมกลุ่มพลังงาน กำไรสุทธิของ S&P500 ยังโตได้ถึง 18.5%yoy ส่วน 4Q61 มีแนวโน้มที่ EPS Growth จะโตน้อยลงเหลือ 17%yoy อย่างไรก็ตาม คาดการณ์กำไรสุทธิทั้งปี 2561 ของ S&P500 จะเติบโตได้กว่า 20%yoy จึงทำให้นักวิเคราะห์ยังคงปรับเพิ่ม EPS ต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 162.88 เหรียญ/หุ้น จากสิ้น 3Q61, 2Q61 และ 1Q61 ที่ 161.46, 159.63 และ 154.27 เหรียญ/หุ้น ตามลำดับ ส่วนปี 2562 การเติบโตจะลดลงเหลือ 10%yoy เนื่องมาจากฐานที่สูง และผลกระทบจากสงครามการค้าเต็มปี
ต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค แต่ตลาดที่ปรับฐานแรง…มีโอกาส Rebound ช่วงสั้น
วานนี้ต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 ด้วยมูลค่า 468 พันล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ถูกซื้อสุทธิ 40 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 361 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 55 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 34 วัน) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 87 ล้านเหรียญ หรือ 2.83 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 2.35 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5)
แม้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคตลอดตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. กดดันให้ตลาดหุ้นปรับฐานแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นแถบเอเชียเหนือ คือ ไต้หวันและเกาหลีใต้ตกหนักกว่า 8 – 9% (mtd) และกลุ่ม TIP ลดลงราว 3 – 4% (mtd) ส่วนตลาดหุ้นไทย แม้เริ่มฟื้นตัว แต่ลดลงมาแล้วกว่า 3.33% (mtd) อย่างไรก็ตามการที่ตลาดปรับฐานเร็วและแรง จึงมีโอกาสรีบาวด์กลับได้ในระยะสั้น และน่าจะฟื้นตามตลาดหุ้นโลก อย่าง Dow Jones ที่วานนี้ปรับตัวขึ้นแรงกว่า 548 จุด หรือ 2.17% หลังผลประกอบการหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ออกมาดีกว่าคาด
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO15111