WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
 
“ต่างประเทศยังเอื้อ แม้มีเรื่องกังวลอิตาลีเพิ่ม”
 
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ASIAN (จากถือเป็นซื้อ)
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวันศุกร์ – SET Index ขยับขึ้น +3.46 จุด ปิดที่ 1756.41 จุด ระหว่างวันไปทำยอดสูงสุดถึง 1758.95 จุด และถือว่าปรับขึ้นใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าการซื้อขายปานกลางเป็น 57.2 พันล้านบาท ปัจจัยบวกคือ GDP ไตรมาส 2 สหรัฐที่ 4.2% สูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี ดาวโจนส์และน้ำมันปรับขึ้นดี และดัชนียังได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นสูงต่อเนื่อง รวมทั้งอาจมีแรงเสริมจากการทำ Window Dressing ก่อนปิด 9M61 ด้านผู้ซื้อสุทธิเป็น ต่างประเทศ 1.2 พันล้านบาท สถาบัน 1.2 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.5 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิมีรายเดียวคือ นักลงทุนทั่วไป 2.9 พันล้านบาท
  แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้นคาดว่า SET ยังมีแนวโน้มดีจากภาพรวมต่างประเทศคือ ดาวโจนส์ น้ำมันเพิ่ม แม้ดอลลาร์แข็งค่า แต่บาทก็แข็งค่า เงินจึงไม่ไหลออกนัก ดัชนีความกลัว VIX ลดลงเป็น 12.12 จุด อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี เพิ่มเล็กน้อย 3.0668% ตลาดหุ้นเพื่อนเช้านี้แกว่งแคบๆ บวกเป็นส่วนใหญ่ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +131 จุด ณ 8.19 น. น้ำมันล่วงหน้าเพิ่ม แม้ปัจจัยลบคือ สหรัฐกล่าวหาจีนว่าแทรกแซงการเมืองสหรัฐ และเกิดปัญหาวิกฤติงบประมาณอิตาลี ด้านปัจจัยในประเทศ เศรษฐกิจก.ย.แนวโน้มแข็งแกร่งต่อเนื่องจาก ส.ค. หลายประเทศปรับขึ้นดอกเบี้ย กดดันไทยให้ปรับตาม แต่ไทยไม่รีบนัก ด้านการเลือกตั้งตามโรดแมป มีการตั้งพรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อธรรม สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ราคาน้ำมันผันผวน ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง วิกฤติค่าเงิน EM ยังไม่คลี่คลาย ด้านปัจจัยบวกระยะกลาง-ยาว คือ เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง หนี้ต่างประเทศน้อย ระยะสั้นยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีออกมาเช่นกัน ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1745-1780 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% แนะนำให้ทยอยสะสมได้
  Update หุ้นเด่น: ROJNA – ถือว่ายัง Laggard จาก AMATA และ WHA แถมมีแนวโน้มฟื้นตัว หลัง 1H61 กำไรสุทธิลดลงถึง 90% y-o-y เพราะมีขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนและเงินลงทุน แต่ 3Q61 คาดจะฟื้นตัวชัดเจน เพราะบาทกลับมาแข็ง กลับมามีกำไรอัตราแลกเปลี่ยน หุ้น GULF ฟื้นตัว จะมีกำไรเงินลงทุนสูง รวมทั้งเหลือนิคมจะโอนได้มากในครึ่งหลังปีนี้คาดว่ากำไรหลักปีนี้และปีหน้าเติบโตสดใส แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานเป็น 6.70 บาท คาดว่าจะได้ประโยชน์จากเลือกตั้ง และนโยบาย EEC โดยบริษัทยังมีนิคมฯจำหน่ายอีกมาก ในเขต EEC มีอยู่ประมาณ 3 พันไร่
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นบวกเล็กๆ แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1760-1770 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1745 จุด
  สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KBANK, STEC, WHA, PSL, BH, GLOBAL, BCH หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ PTL, PYLON, SENA, RCL หุ้นที่หลุด List CPALL, PTTGC, TKS หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ THANI, STA, GULF, CHG, BGRIM
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์บวกเล็กน้อย จับตาสหรัฐ-จีน และการเมืองอิตาลี
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,458.31 จุด เพิ่มขึ้น 18.38 จุด หรือ +0.07% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,913.98 จุด ลดลง 0.02 จุด หรือ -0.00% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,046.35 จุด เพิ่มขึ้น 4.38 จุด หรือ +0.05%
  # ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (28 ก.ย.) เช่นเดียวกับ Nasdaq ที่บวกเล็กน้อย ส่วน S&P 500 ปิดทรงตัว ขณะที่นักลงทุนจับตาสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รวมทั้งติดตามสถานการณ์การเมืองในอิตาลี
+ ตลาดน้ำมัน : นํ้ามัน WTI ปรับขึ้น เป็นผลจากมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน แท่นขุดเจาะลด
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 1.13 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 73.25 ดอลลาร์/บาร์เรล สูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ทั้งสัปดาห์ สัญญาน้ำมัน WTI ปรับตัวขึ้น 3.5% และพุ่งขึ้น 4.9% ตลอดเดือนก.ย.ขณะที่ลดลง 1.2% ในรอบไตรมาส
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 1.00 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 82.72 ดอลลาร์/บาร์เรลในวันศุกร์เพิ่มขึ้น 5% ในรอบสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 6.8% ในรอบเดือน และเพิ่มขึ้น 4.1% ในรอบไตรมาส
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ (28 ก.ย.) โดยภาวะการซื้อขายยังคงได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกจะลดลง หลังสหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ขณะที่เบเกอร์ฮิวจ์ เผยแท่นขุดเจาะน้ำมันลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง
• ทองคำ : ปรับขึ้น เข้าซื้อเก็งกำไร แม้ดอลลาร์แข็งค่า
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ปรับตัวขึ้น 8.8 ดอลลาร์ หรือ 0.74% ปิดที่ 1,196.2 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากที่ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ในวันพฤหัสบดี สำหรับทั้งสัปดาห์ ราคาทองลดลง 0.4% และลดลง 0.9% ในรอบเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเดือนที่หก ขณะที่ในไตรมาสสาม ราคาทองลดลง 4.6%
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (28 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไร หลังจากที่ราคาทองปรับตัวลดลงติดต่อกันมาสองวัน อย่างไรก็ตาม สกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าต่อเนื่องยังคงสร้างแรงกดดันต่อตลาดทองคำ
-สหรัฐกับจีน กลายเป็นขัดแย้งด้านการเมืองเพิ่ม
  # นักลงทุนกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน โดยหวั่นว่าสงครามการค้าจะลุกลามบานปลาย หลังจากล่าสุดสหรัฐกล่าวหาว่าจีนพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐที่จะจัดขึ้นในเดือนพ.ย.นี้ ซึ่งจีนก็ได้ออกมาเรียกร้องให้สหรัฐยุติการใช้ถ้อยคำและการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนทั้งสองประเทศ
-จับตาสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลี
  # นักลงทุนจับตาสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลีอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของพรรคไฟว์ สตาร์ และพรรคเดอะ ลีก เห็นพ้องให้มีการกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปีหน้าไว้ที่ 2.4% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลชุดก่อนถึง 3 เท่า และคาดว่าจะทำให้สหภาพยุโรป (EU) แสดงความไม่เห็นด้วย
  # รัฐบาลอิตาลีได้ขยายเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปี 2562 เพื่อหนุนนโยบายจากแคมเปญการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับ EU ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงมากเมื่อวันศุกร์
+/• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐประกาศวันศุกร์ส่วนใหญ่สดใส
  # ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนซึ่งระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 100.1 ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบกับตัวเลขเบื้องต้นที่ 100.8 หลังจากแตะระดับ 96.2 ในเดือนส.ค.
  # ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากที่ขยายตัว 0.4% ในเดือนก.ค.
  # ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานเดือนส.ค. ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า หลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค.
- ดอลลาร์แข็งค่า หลังยูโรอ่อนค่า กังวลวิกฤติงบประมาณอิตาลี
  # ดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ส่วนใหญ่ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (28 ก.ย.) ขณะที่สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตด้านงบประมาณของประเทศอิตาลี
 
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ ธปท.เผย เศรษฐกิจ ส.ค.ขยายตัวดีจากเดือนก่อนหน้า
  # ธปท.แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ส.ค.61 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีในเกือบทุกหมวดการใช้จ่าย และการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องแม้ชะลอลงบ้าง ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน สำหรับการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่องขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวไดแม้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนหดตัวสูง
+ ธปท.คาดส่งออก ก.ย.61 จะแตะ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์
  # ธปท.มองว่า แนวโน้มการส่งออกในเดือน ก.ย.นี้ มีโอกาสที่มูลค่าการส่งออกไทยจะแตะระดับ 23,000 ล้านดอลลาร์ได้และเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการส่งออกในแต่ละปีมักจะมีมูลค่าสูงสุดในช่วงเดือนนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลทางด้านฤดูกาลเป็นสำคัญ
  # ทั้งนี้ หากมูลค่าการส่งออกในช่วงที่เหลืออีก 4 เดือนของปี (ก.ย.-ธ.ค.61) สามารถขยายตัวได้เดือนละ 7% ก็จะมีโอกาสสูงที่ทำให้การส่งออกของไทยในปีนี้เป็นไปตามคาดการณ์ของ ธปท.ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 9%
-/• แต่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 อาจลดลงจากไตรมาส 2
  # ธปท.ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2561 ว่าอาจจะลดลงจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมาซึ่งขยายตัวได้ถึง 4.6% แต่เครื่องชี้เศรษฐกิจในแต่ละตัวคงไม่ได้ปรับลดลงมากนัก โดยมองว่าการใช้จ่ายภาคเอกชนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะขยายตัวได้อย่างเข้มแข็งมากกว่าช่วงครึ่งปีแรก
• สัปดาห์นี้ติดตามประกาศอัตราเงินเฟ้อจากกระทรวงพาณิชย์
  # ขณะที่ ธปท.ได้เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือน ส.ค.61 ที่ระดับ 1.62% นั้น เชื่อว่าจะเป็นระดับที่สูงสุดสำหรับปีนี้แล้ว และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย.นี้จะปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากฐานราคาน้ำมันที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO14478

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!