WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
  Dollar Index แข็งค่าแต่ไม่สามารถหักล้างปัญหา supply น้ำมันที่หายไปจากอิหร่านได้ หนุนราคาน้ำมันดิบดูไบทะยานขึ้นแตะ 80 เหรียญฯ ในรอบ 7 ปี  แต่น่าจะสะท้อนในราคาหุ้น PTT, PTTEP แต่ให้น้ำหนักต่อผลประกอบการรายตัวในงวด 3Q61 ที่เด่น และอิงเศรษฐกิจในประเทศ Top picks เลือก TPIPP([email protected]) หุ้นพลังงานทางเลือกที่มีการเติบโตโดดเด่น ราคาหุ้นยัง Laggard และ CPALL(FV@B80) เป็นตัวแทน Tax Refund ของไทย หนุนค่าธรรมเนียมในอนาคต   
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….SET Index แกว่งตัวอีกระยะหนึ่ง 
  ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ผ่านมา ยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบ ปิดตลาดที่ 1756.41 จุด เพิ่มขึ้น 3.46 จุด หรือ 0.2% หลักๆ มีแรงบวกมาจากหุ้นในกลุ่มเช่าซื้อ SAWAD และ MTC หลังพรบ. Non-bank  เริ่มชัดเจนและดีกว่าคาด อีกทั้งฝ่ายวิจัยมีการปรับเพิ่มคำแนะนำเป็นซื้อและปรับไปใช้มูลค่าพื้นฐานปี 2562 ซึ่งทำให้ราคาหุ้นมี upside ตามด้วยกลุ่มพลังงาน PTT +0.46%  และ PTG+5.51% และหุ้นโรงไฟฟ้า BCPG+7.08% BGRIM +5.51% ขณะที่ PTTEP สวนทางกลุ่มฯ ลดลง 0.96% เช่นเดียวกับ SCC  และ ADVANC ปิดลงกดดันดัชนี 
คาด SET Index วันนี้ยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1745-1765 จุด เนื่องจากยังถ่วงดุลจากปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ซึ่งเห็นผลกระทบชัดเจนนับจากเดือน ส.ค. และ ก.ย. ที่ผ่านมา แต่ได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบโลกที่แตะ 80 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ในรอบ 7 ปี แต่น่าจะสะท้อนในราคาหุ้น PTT, PTTEP แล้ว  และ ผลประกอบการรายตัว โดยเฉพาะหุ้นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์น่าจะสร้างการเก็งกำไรระยะสั้น ๆ เช่นหุ้นพลังงาน  TPIPP  CKP และ  BGRIM  โรงพยาบาล RJH, BCHเป็นต้น รวมถึงหุ้น CPALL ที่มีประเด็นบวกใหม่ คือเป็นตัวแทนของประเทศในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่นักท่องเที่ยวต่างชาติ 
 
จีนได้รับผลกระทบสงครามการค้าชัดเจนขึ้น 
  ผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ชัดเจน โดยเฉพาะฝั่งจีน ล่าสุดพบว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ชะลอตัว คือ ดัชนียอดสั่งซื้อเพื่อส่งออก (New export orders PMI) เดือน ก.ย. ชะลอตัวลงติดต่อเดือนที่ 4 และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี 7 เดือน  ส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคการผลิต (manufacturing  PMI) เดือนเดียวกันชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี 4  เดือน
 
  ขณะที่ฝั่งสหรัฐ พบว่าผลกระทบเกิดขึ้นในภาคเกษตร คือ ถั่วเหลือง โดยยอดส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐไปจีนรายสัปดาห์ นับตั้งแต่ 15 ส.ค.เป็นต้นมา ไม่มีการส่งออกไปจีนอีกแล้ว (ปี 2560 สหรัฐส่งออกถั่วเหลืองไปจีน 30.78 ล้านตัน)  เพราะจีน หันไปนำเข้าถั่วเหลืองแหล่งใหม่ คือ บราซิล ทั้งหมด ซึ่งบราซิลเป็นผลิตถั่วเหลืองอันดับ 1 ของโลก (ราว 118 ล้านตัน) สูงกว่าสหรัฐที่ผลิตราว 116 ล้านตัน (อันดับ 2 ของโลก) ส่งผลให้ราคาถั่วเหลืองปรับลงราว 14% นับตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. – ปัจจุบัน   
  และไทย ล่าสุด  แม้ยอดส่งออก 8M2561 เพิ่ม 10%  แต่เริ่มเห็นสัญญาณเติบโตในอัตราชะลอตัว 2 เดือนหลัง คือ เพิ่มขึ้น  6.7% จาก 8.2% ในเดือน ก.ค. หากพิจารณาตลาดพบว่าตลาดส่งออกอันดับ 1 คือ  จีน  ( 12%ของทั้งหมด) พบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 2.3% จาก 3.5%  ในเดือน ก.ค. และ จาก 14.7%  มิ.ย. สินค้าส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 2 เดือน คือ ยานยนต์และส่วนประกอบ , แผงวงจรไฟฟ้า, คอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น,  ของเล่น     และ ตลาดส่งออกอันดับ 2 คือ สหรัฐ (10.8%)  ทรงตัวโดยเพิ่มเพียง  0.6% จากที่หดตัว 1.9% ในเดือนก่อนหน้า สินค้าส่งออกที่หดตัว  คือ อาหารทะเลกระป๋อง&แปรรูป, รถยนต์และส่วนประกอบ,แผงโซลาร์เซลล์หดตัว, เครื่องซักผ้าหดตัว 
  เชื่อว่าสงครามการค้าจะเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกชัดเจนตั้งแต่ช่วง 4Q61 จนถึงปี 2562 เห็นได้จากการเริ่มทยอยปรับลดคาดการณ์ ล่าสุด  WTO ปรับลดการค้าโลก (Trade volume) ในปี 2561 ลงเหลือ 3.9% จาก 4.4%  และปี 2562  เหลือ 3.7% จากเดิม 4% เช่นเดียวกับ GDP Growth โลกเหลือ 3.1% จาก 3.2%  และปี 2562  เหลือ 2.9% จากเดิม 3.1% (IMF คาด 3.9%เท่ากันทั้ง 2 ปี) 
  และในไทยวันนี้กระทรวงพาณิชย์จะรายงานเงินเฟ้อเดือน ก.ย.  ASPS คาด 1.68% เพิ่มจาก 1.62% ในเดือน ส.ค. และน่าจะมีแนวโน้มแตะ 2% ในช่วงปลายปีนี้ (ภายใต้สมมติฐาน FX 33 บาทต่อดอลลาร์ และน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2561 ที่ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล)  อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไทยมิอาจหลีกหนีวัฎจักรดอกเบี้ยฯขาขึ้นได้  คาดการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายของไทยใกล้สิ้นสุด  คาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงปลายปี ราว 0.25%  
 
CPALL เป็นตัวแทนขอ Tax Refund หนุนรายได้ค่าธรรมเนียมอีกทาง
  สรรพากรได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก การเป็นตัวแทนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร โดยเคาน์เตอร์เซอร์วิส บริษัทในเครือซีพีออลล์ เป็นผู้ผ่านรอบสุดท้าย  จาก 3 บริษัทที่ยื่นสมัคร  จะเริ่มให้บริการคืน VAT นักท่องที่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 6 เดือน (1 ต.ค. 61 – 31 มี.ค. 62) โดยมีจุดให้บริการเริ่มต้น 3 จุด 
  เป็นบวกต่อ CPALL เชื่อว่าการได้รับคัดเลือกครั้งนี้เกิดจากความพร้อมทางด้านระบบเทคโนโลยีและจุดแข็งสาขาให้บริการจำนวนมากพร้อมกับยังครอบคลุมหลายพื้นที่ และถือเป็นการเพิ่มบริการของธุรกิจเคาน์เตอร์ เซอร์วิส  มากขึ้น (CPALL ถือหุ้น 99.99% สร้างกำไรราว 5% ของ CPALL)  ทั้งนี้แม้รายได้ส่วนใหม่นี้  ยังอยู่ระหว่างสอบถามทางบริษัท แต่คาดว่าน่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่จะช่วยชดเชย รายได้ค่าธรรมเนียมบริการที่ลดน้อยลง หลัง ธนาคารฯ  ได้ทยอยยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนในช่วงที่ผ่านมา  
  ขณะที่ราคาหุ้น CPALL ได้รับแรงกดดดันจากการรับรู้ผลขาดทุนจากการรุกขยายไปต่างประเทศของ MAKRO (CPALL ถือหุ้น 93.08%)  แล้ว  และ CPALL จะกลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้งในปี 2562  ยังให้สะสมมูลค่าพื้นฐานปี 2562 ที่ 80 บาท ซึ่งยังมี Upside อีก 16%   
 
คาดเดือน ต.ค. ต่างชาติยังสลับซื้อสลับขายหุ้นไทย  
  วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค 95 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) แต่เป็นการขายสุทธิเพียง 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 281 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 5 แสนเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 89 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 59 ล้านเหรียญ และไทยสลับมาซื้อสุทธิ 38 ล้านเหรียญ หรือ 1.22 พันล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิอีก 1.15 พันล้านบาท
  สรุป Fund Flow เดือน ก.ย. 61 พบว่า ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นเดือนที่ 2 ต่อจากเดือน ส.ค. ด้วยมูลค่า 1.48 พันล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นไต้หวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้น 2.14 พันล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติยังคงขายสุทธิ โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยที่ถูกขายสุทธิมากสุดในภูมิภาค 236 ล้านเหรียญ หรือ 7.76 พันล้านบาท อย่างไรก็ดีความคืบหน้าทางการเมือง ช่วยให้แรงขายหุ้นไทยในเดือน ก.ย. ชะลอตัวลง (ขายน้อยสุดเป็นอันดับ 2 รองจากเดือน ม.ค.) และเริ่มมีการซื้อสลับเข้ามาบ้างในบางวัน
  แนวโน้ม Fund Flow ในเดือน ต.ค. 61 เชื่อว่าแรงซื้อน่าจะเป็นไปในลักษณะสลับซื้อสลับขายอยู่ เนื่องจากเริ่มเห็นผลกระทบจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ชัดขึ้น และยังสอดคล้องกับสถิติเดือน ต.ค. ย้อนหลัง 5 ปี ที่ต่างชาติมักขายสุทธิหุ้นไทยเฉลี่ย 8.03 พันล้านบาท (ขายสุทธิ 3 ใน 5 ปี) อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว รวมถึงพัฒนาการทางการเมือง น่าจะช่วงประคองดัชนี  สอดคล้องตามสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี ที่ SET Index ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.27% และให้ผลตอบแทนเป็นบวก 4 ใน 5 ปี
 
หุ้นเด่นผลกำไรใน 3Q61: TPIPP, RJH, CK 
  เข้าสู่ช่วงของการทำ Earning Preview เริ่มจากกลุ่ม ธ.พ. ที่คาดว่ากำไรสุทธิงวด 3Q61จะอยู่ที่ราว 5.18 หมื่นล้านบาท หดตัว 3.0% qoq (เพิ่มขึ้น 9.2% yoy) จากรายใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง แต่ NIM เริ่มดีขึ้นจากสินเชื่อรายย่อยที่ขยับขึ้น ขณะที่ต้นทุนการสำรองฯ ลดลง  เพราะ NPLs ทรงตัว 3.2%แต่เริ่มมีความกังวลในสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น    ส่วนกลุ่มที่มิใช่สถาบันการเงินจากการรวบรวมความเห็นจากนักวิเคราะห์ของ ASPS พอแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้ดังนี้
1. คาดว่าผลประกอบการ 3Q61 จะเติบโต qoq
  พัฒนาที่อยู่อาศัย มาจากการรับรู้จากยอดโอนฯ ที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในส่วนของแนวราบและคอนโดฯ ตามยอด Backlog ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ JV เพิ่มขึ้นเช่นกัน ก่อนที่ผลการดำเนินงานจะทำจุดสูงสุดของปีใน 4Q61 โดยผู้ประกอบการฯ ที่คาดว่าจะมีกำไรเติบโต YoY และ QoQ ตลอดช่วง 3Q61 และ 4Q61 เช่น LPN, ANAN, PSH, SC และ ORI
  ปิโตรเลียม แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 3Q61 คาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กจากงวด 2Q61 โดย PTTEP ได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบ และราคาขายก๊าซที่ปรับขึ้นตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณขายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่งผลบวกต่อไปยัง PTT 
  พลังงานทดแทน คาดกำไรปกติงวด 3Q61 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากงวด 2Q61 ที่โดดเด่นได้แก่ TPIPP ซึ่ง Utilization rate เฉลี่ยทุกโรงไฟฟ้าสูงขึ้นมา และการกลับมาเดินเครื่องปกติของโรงไฟฟ้า TG5 รวมทั้งโรงไฟฟ้า TG7 (70 เมกะวัตต์) ที่ COD ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ส.ค.
  โรงไฟฟ้า SPP แรงหนุนหลักจาก BGRIM จากการรับรู้รายได้โครงการ ABPR 4 เต็มไตรมาส และจากโครงการโซลาร์ BGYSP ที่ถือหุ้นเพิ่มเป็น 100% อีกทั้งยังหนุนจากต้นทุนการเงินที่ลดลงหลัง refinance หุ้นกู้โครงการ BIP 1-2 นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากการ CKP กำไรปกติเพิ่มขึ้นตามช่วงฤดูกาล
  ประกันฯ กำไรเติบโตหลักๆ มาจากกลุ่ม Non-life นำด้วย THRE ซึ่งเกิดจากการบันทึกกลับเงินลงทุนใน THREL เป็นกำไร ตามสภาวะตลาดฯ ที่ฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องความเสี่ยง ซึ่งอาจมีการบันทึก loss ratio ที่สูงขึ้น จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด
  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดกำไรสุทธิงวด 3Q61 ของกลุ่มฯ (DELTA HANA KCE และ SVI) เพิ่มขึ้น 7.3% qoq หนุนจาก คำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับช่วงเทศกาลวันหยุดยาวในช่วงปลายปี รวมถึงผลบวกจากทิศทางค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่น่าจะอ่อนค่าลง
  โรงพยาบาล เนื่องจากไตรมาส 3 เป็นช่วง High Season รวมทั้ง รพ. หลายๆ แห่งมีการยกฐานรายได้-กำไรสูงขึ้นจากผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ (ผู้ป่วยประกันสุขภาพ ผู้ป่วยที่รักษาโรคซับซ้อน และโรคเรื้อรัง) ที่มีความมั่นคงมากกว่าการพึ่งพิงการเติบโตจากโรคระบาด คาดรพ. ที่มีกำไรเติบโตโดดเด่น คือ BDMS, CHG และ RJH 
  รับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะงานฐานรากที่เข้าสู่ช่วง peak ของการรับรู้รายได้ นำโดย SEAFCO ขณะที่ CK ได้อานิสงส์จากบริษัทร่วมอย่าง CKP ที่ผลประกอบการเข้าสู่ช่วง high season และได้เงินปันผลจาก TTW เข้ามาหนุน 
2. ผลประกอบการ 3Q61 จะเติบโต yoy
  ยานยนต์ คาดกำไรปกติ 3Q61 เติบโตสูงกว่าการเติบโตของยอดขาย บนความคาดหมายว่ายอดผลิตรถยนต์ 3Q61 จะสูงขึ้นจาก 3Q60 และ 2Q61 ทำให้ประเมินยอดขายของบริษัทในกลุ่มฯ เติบโตไปในทิศทางเดียวกับยอดผลิต ประกอบกับการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ส่งให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง (Economies of Scale) เพราะสัดส่วนต้นทุนเป็น Fixed Cost ประมาณ 60% คาดผลักดัน Gross Margin สูงกว่า 13.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังชอบ STANLY สถานะการเงินเป็น Net cash จึงปลอดภัยจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น
  สื่อ-บันเทิง หลักๆ มาจากธุรกิจสื่อนอกบ้าน หลังผ่านพื้นช่วง Low Season ไปแล้ว และเม็ดเงินโฆษณาในเดือนตุลาคมที่จะกลับมาเติบโตจากฐานต่ำในปีก่อน  นำโดย VGI, MACO, PLANB ขณะที่ RS ได้แรงหนุนจากธุรกิจพาณิชย์กลับมาฟื้นตัวได้ 
  ท่องเที่ยว-โรงแรม คาดกำไรปกติ 3Q61 เติบโต YoY แม้เหตุเรือทัวร์จีนล่มจะกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวไทย แต่คาดไม่ส่งผลลบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการกลุ่มธุรกิจโรงแรมทั้ง MINT, CENTEL และ ERW เหตุเพราะการมีโครงสร้างรายได้ที่กระจายตัวของ MINT และ CENTEL รวมถึงความหลากหลายของฐานธุรกิจโรงแรมของ ERW เป็นปัจจัยที่มาช่วยหนุน
3. ผลประกอบการ 3Q61 จะลดลง qoq
  โรงไฟฟ้า IPP เป็นผลของฤดูกาลที่เข้าสู่ช่วงฝน ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะปรับตัวลดลง รวมทั้งการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าของ EGCO และ RATCH ส่วน GLOW ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่า Ft ถูกตรึงไว้เท่าเดิม
  ถ่านหิน หลักๆ มาจาก BANPU คาดกำไรปกติ 3Q61 มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจาก 2Q61 ถึงแม้กำไรจากธุรกิจถ่านหิน จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปริมาณขายถ่านหินของเหมืองในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาขายเฉลี่ยยังทรงตัวได้ในระดับสูง แต่จะถูกหักล้างจากแผน shutdown โรงไฟฟ้า 2 แห่งใน 3Q61
  ปิโตรเคมี-โรงกลั่น คาดผลการดำเนินงานปกติของกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีในงวด 3Q61 จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากงวด 2Q61 โดยในส่วนของธุรกิจโรงกลั่นนั้น สาเหตุมาจากค่าการกลั่นที่จะอ่อนตัวลงตามปัจจัยฤดูกาลที่เป็น low season รวมทั้งแผนการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของ IRPC และโรงงานปิโตรเคมีของ PTTGC รวมเป็นระยะเวลากว่า 1 เดือน ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีนั้นคาดว่า spread ผลิตภัณฑ์สายโอเลฟินส์ลดลงเนื่องจากเป็นช่วง low season ขณะที่ผลิตภัณฑ์สายอะโรเมติกส์คาดยังเพิ่มขึ้นได้เนื่องจาก supply ใหม่ ยังไม่เข้ามาไม่ทันในช่วงดังกล่าว แต่หากพิจารณาแนวโน้มกำไรสุทธิของกลุ่มฯงวด 3Q61 นั้น คาดจะปรับตัวลดลงจาก 2Q61 เพราะคาดจะบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันลดลงมีนัยฯ เมื่อเทียบกับงวดก่อนหน้า
 
STPI  น่าจะผ่านจุดต่ำสุด โดยยังขาดทุนอีก 2 ไตรมาสปีนี้  
  STPI แม้ว่าคาดผลการดำเนินงาน 3Q61 จะยังขาดทุนอีกประมาณ 100 ล้านบาท (ขาดทุนลดลง yoy) เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงในช่วงก่อนหน้า ทำให้ยังไม่สามารถหางานโครงการ Oil& Gas ขนาดใหญ่เข้ามาทดแทนได้ และต้องบันทึกต้นทุนคงที่มาโดยตลอด แต่เชื่อว่า 4Q61 จะขาดทุนเป็นไตรมาสสุดท้าย และจะพลิกกลับมามีกำไรตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เนื่องจากเห็นพัฒนาการเชิงบวกอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ 
  1. โครงการลงทุนพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project : CFP) ของ TOP งบประมาณเงินลงทุนประมาณ 4.8 พันล้านเหรียญฯ หรือราว 1.6 แสนล้านบาท มีส่วนงานเป็นงานแปรรูปเหล็ก (Fabrication) ราว 10% ซึ่ง STPI เป็นเพียงผู้รับเหมาไม่กี่รายที่มีความเชี่ยวชาญงานดังกล่าว ทำให้มีโอกาสสูงที่จะได้ส่วนแบ่งงานดังกล่าวเข้ามา โดยคาดว่าจะสามารถบันทึกรายได้เข้ามาในช่วงประมาณ 2Q62
  2. งานประมูล LNG Module ในแคนาดาคาดจะกลับมาปลายปี 2561 รวมทั้งงานรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยช่วงปี 2562 มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท
  3. STPI ได้มีการลงทุนในบริษัท ดับเบิลยูพีจีอี เพชรบุรี จำกัด (สัดส่วน 60%) ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน กำลังการผลิตติดตั้ง รวม 7.9 เมกะวัตต์ โดยได้ทำสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟ้ฟ้าส่วนภูมิภาค ขนาด 5.99 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ภายในปลายปี 2561 และช่วยหนุนรายได้เพิ่มอีกราว 300 ล้านบาท  
  ส่วนเรื่องคดีความที่คู่สัญญาชะลอการชำระเงินในประเทศออสเตรเลีย ทาง STPI ได้ดำเนินการฟ้องต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ ซึ่งใกล้แล้วเสร็จ และมีความเป็นไปได้ที่ STPI จะชนะคดี ทำให้มีโอกาสที่จะบันทึกกำไรพิเศษกลับราว 1200 ล้านบาท (จากที่ตั้งสำรองฯไปแล้ว)
 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO14470

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!