- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 28 September 2018 16:56
- Hits: 3770
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 28-09-18
กลยุทธ์การลงทุน
สงครามการค้ายังมีผลกระทบ สะท้อนจาก WTO ปรับลดมูลค่าการค้าปีนี้ลง ขณะที่แนวโน้มดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นชัดเจน หลังจากธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อจาก Fed ส่งผลให้กระแสเงินมีโอกาสไหลออก กลยุทธ์การลงทุน ยังเน้นหุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ Top picks เลือก CPALL(FV’62@B80) และเพิ่ม SAWAD (FV’62@B55) ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น ซื้อ หลังปลดล็อคความกังวล พรบ. Non-bank
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. ตลาดฯ ปิดบวกได้ในช่วงท้าย
วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนก่อนปรับขึ้นช่วงท้าย ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการ Rollover ตราสารอนุพันธ์ series U ที่ซื้อขายวันสุดท้าย ปิดตลาดที่ระดับ 1,752.95 จุด เพิ่มขึ้น 3.02 จุด หรือ 0.17% มูลค่าซื้อขาย 6.34 หมื่นล้านบาท หนุนหลักจากกลุ่มธ.พ. (SCB KBANK BBL KTB) ขณะที่กลุ่มอื่นๆ มีแรงบวกเล็กน้อย นำด้วยกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTTEP (+0.97%) TOP (+1.73%) และกลุ่มการเงิน MTC(+2.84%) ปลดล็อกความกังวล หลัง ธปท.เผยหลักเกณฑ์กำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถออกมาดีกว่าคาด
คาด SET Index ยังคงแกว่ง side way up ประเมินแนวรับที่ 1740 จุด แนวต้าน 1765 จุด ยังคงให้น้ำหนักต่อผลกระทบจากสงครามการค้า สะท้อนจาก WTO ปรับลดมูลค่าการค้าโลกปีนี้ลง ส่วนปัจจัยในประเทศระยะสั้นให้น้ำหนักต่อหุ้นที่มีผลประกอบการ 3Q61 มีการเติบโตโดดเด่น รวมทั้งหุ้นกลุ่มเช่าซื้อ น่าจะได้ sentiment บวก
ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยฯ ตาม Fed
หลังผ่านพ้นการประชุม Fed 2 วัน (25-26 ก.ย.) โดยมีมติได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เป็น 2.25% เพื่อกำจัดเงินเฟ้อ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยตามหลังทันที อาทิ ฮ่องกง, ซาอุดิอาระเบีย, บาห์เรน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสาธารณรัฐเช็ก โดยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเฉลี่ยราว 0.25%
และเมื่อวานนี้ธนาคารกลางในกลุ่ม TIP 2 แห่ง คือ อินโดนีเซีย(BI) ขึ้นดอกเบี้ยฯ เป็นครั้งที่ 5 ของปีนี้ 0.25% เป็น 5.75% และธนาคารกลางฟิลิปปินส์(BSP)ขึ้นดอกเบี้ยฯครั้งที่ 4 ของปีนี้อีก 0.5% เป็น 4.5% ตามลำดับ เพื่อกำจัดเงินเฟ้อที่สูงราว 3.2% และ 6.4% ตามลำดับ และ สกัดกั้นเงินทุนไหลออก หลังจากต่างชาติขายสุทธิอินโดนีเซียราว 3.78 พันล้านเหรียญฯนับตั้งแต่ต้น(ytd) เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ขายสุทธิราว 1.5 พันล้านเหรียญฯytd
เป็นที่สังเกตว่าการเงินดอกเบี้ยของสหรัฐเพราะเศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราการว่างงาน ล่าสุดอยู่ที่ 3.9% (ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซัพไพรม์) หนุนเงินเฟ้อตามมา ขณะที่ประเทศในกลุ่ม TIP เศรษฐกิจอินโดนีเซีย GDP Growth เฉลี่ย 1H61 ขยายตัว 5.17% ต่ำกว่าเล็กน้อยที่ IMF คาดไว้ราว 5.3% และฟิลิปปินส์ GDP Growthเฉลี่ย 1H61 ขยายตัว 6.3% ต่ำกว่าที่ IMF คาดไว้ราว 6.7%
WTO ปรับลดมูลค่าการค้าโลกปีนี้/ปีหน้า จากผลกระทบสงครามการค้า
องค์กรการค้าโลก (WTO) ได้ปรับลดการขยายตัวของการค้าโลก (Trade volume) ในปี 2561 ลงเหลือ 3.9% จากเดิมรอบก่อนหน้า เม.ย.คาด 4.4% และปี 2562 เหลือ 3.7% จากเดิม 4% ทั้งนี้เป็นผลจากความกังวลสงครามการค้าโลกระหว่างสหรัฐกับทั่วโลก และสหรัฐกับจีนที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มขยายตัวเป็นวงกว้าง
ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก อาทิ สหรัฐ ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว คือ ภาคเกษตร คือ ถั่วเหลือง พบว่ายอดส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐฯไปจีนรายสัปดาห์ พบว่าตั้งแต่ 15 ส.ค. เป็นต้นมา จีนหยุดนำเข้าจากสหรัฐฯทั้งหมด และจีนเปลี่ยนแหล่งนำเข้าถั่วเหลืองใหม่ คือ บราซิลผลิตถั่วเหลืองอันดับ 1 ส่งผลให้ราคาถั่วเหลืองปรับลงราว 14% นับตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. – ปัจจุบัน เช่นเดียวกับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจฝั่งภาคการผลิตของสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณชะลอลง สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการผลิตที่ชะลอลงติดต่อกัน 4 เดือน จากจุดสูงสุด ในเดือน เม.ย. บ่งชี้ได้ว่า ภาคการผลิตสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดสูงสุดและเริ่มชะลอลง
และไทย พบว่าล่าสุด แม้ยอดส่งออกเฉลี่ย 8M2561 ขยายตัวเฉลี่ย 10% แต่เริ่มเห็นสัญญาณเติบโตในอัตราชะลอตัวชัดเจนใน 2 เดือนหลัง คือ เพิ่มขึ้น 6.7% จาก 8.2% ในเดือน ก.ค. โดยหากพิจารณาตลาดส่งออกจีน(อันดับแรกของไทย ราว 12% ของทั้งหมด) พบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 2.3% จาก 3.5% ในเดือน ก.ค. และ จาก 14.7% มิ.ย. และ ตลาดส่งออกสหรัฐ (อันดับ 2 ราว 10.8%) เพิ่มเพียง 0.6% จากที่หดตัว 1.9% ในเดือนก่อนหน้า ทำให้เชื่อว่าสงครามการค้าจะเห็นผลกระทบต่อเศรษฐdb0โลกชัดเจนในปี 2562
ต่างชาติซื้อหุ้นเฉพาะแถบเอเชียเหนือ แต่ยังขายกลุ่ม TIP
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 527 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นแถบเอเชียเหนือ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 375 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิในวันก่อน) และเกาหลีใต้ 223 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดยาวไป 3 วัน) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ 10 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนาน 21 วัน), อินโดนีเซีย 8 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 6 วัน) และไทยต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 54 ล้านเหรียญ หรือ 1.73 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิอีก 974 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) เหมือนกับทางตลาดตราสารหนี้ที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 1.60 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อน)
หลังจากตลาดหุ้นไทยตอบรับข่าวดี เรื่องการเลือกตั้งมาซักระยะ ล่าสุดสถาบันฯเริ่มมีแรงขายทำกำไรออกมาต่อเนื่อง รวมถึงเงินทุนต่างชาติเริ่มชะลอตัวลง ทำให้เชื่อว่าดัชนีหุ้นไทยอาจไม่พุ่งขึ้นแรงเหมือนที่ผ่านมา และน่าจะปรับตัวขึ้นได้จำกัด
พรบ. Non-bank ดีกว่าคาด ปลดล็อคความกังวลต่อ SAWAD และ MTC
แม้ ธปท. จะยังไม่ได้ประกาศหลักเกณฑ์การทำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถของผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) อย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นในช่วง พ.ย. นี้ แต่กระแสข่าวที่ได้ทราบมาดูเหมือนจะดีกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยฯ ที่ถูกกำหนดเพดานไว้ที่ 28% ต่อปี ซึ่งรวมทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ และค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ยังไม่รวมค่าทวงถามหนี้ที่สามารถคิดได้ตามจริง
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดฯ 2 ราย คือ SAWAD และ MTC พบว่า ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อของ SAWAD เฉลี่ยเท่ากับ 22% ต่อปี (ดำเนินงานภายใต้ใบอนุญาตฯ ผ่านทาง BFIT และ ธปท. กำกับดูแล) ส่วน MTC อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเฉลี่ยเท่ากับ 23% ต่อปี (แบ่งการให้สินเชื่อเป็น 2 สัญญาคือ สัญญาเงินกู้ยืม อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี และ สัญญา Nano Finance อัตราดอกเบี้ย 36%) และเมื่อรวมกับค่าธรรมเนียมการให้บริการอีก 4% ของ SAWAD และ 1% ของ MTC ทำให้อัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหมดของ SAWAD อยู่ที่ 26% ต่อปี และ MTC ที่ 24% ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยโดยรวมที่ทั้ง 2 รายคิดกับลูกค้าข้างต้นได้รวมค่าปรับไว้แล้ว ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเพดานเกณฑ์ใหม่ที่จะประกาศใช้ 28% ต่อปี และถือว่ามีช่องว่างที่ผู้ประกอบการอาจจะมีการขยับขยายอัตราดอกเบี้ยขึ้นในอนาคตได้
นอกจากนี้ยังกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการสินเชื่อที่ทุนเรียกชำระแล้วต่ำกว่า 50 ล้านบาท ให้ไปจดทะเบียนขอใบอนุญาตพิโกไฟแนนซ์ เพื่ออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทไม่ได้จดทะเบียนในตลาดฯ และ บริษัทที่ให้บริการในพื้นที่ต่างจังหวัด ส่วนผู้ประกอบการสินเชื่อที่มีเงินทุนเรียกชำระแล้วเกิน 50 ล้านบาท ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ซึ่งทั้ง SAWAD และ MTV ถือว่าเข้าเกณฑ์
โดยสรุปแล้ว หลักเกณฑ์ใหม่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ และน่าจะเป็น sentiment เชิงบวกช่วยปลดล็อคความกังวลไปได้ทั้ง SAWAD และ MTC ฝ่ายวิจัยจึงปรับเพิ่มคำแนะนำทั้ง 2 บริษัทขึ้นเป็น ซื้อ จากเดิม switch และปรับไปใช้มูลค่าพื้นฐานปี 2562 โดย SAWAD อยู่ที่ 55 บาท (เดิมปี 2561 เท่ากับ 45 บาท) และ MTC อยู่ที่ 56 บาท (เดิมปี 2561 เท่ากับ 42 บาท) อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น MTC ปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ SAWAD ยัง laggad กว่า จึงชอบ SAWAD มากกว่า
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO14421