- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 26 September 2018 23:11
- Hits: 4746
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ซบเซา...รอผลเฟดประชุมวันสุดท้าย”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปรับลง -1.41 จุด ปิดที่ 1747.99 จุด เกิดแรงขายจากปัจจับลบต่างประเทศ และถือว่าปรับลงใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านมูลค่าการซื้อขายเบาบางเป็น 42.3 พันล้านบาท เพราะนักลงทุนยังติดตามมุมมองต่อเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จาก Dot Plot ของเฟด ขณะที่มีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 26 ก.ย.นี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี พุ่งไปถึง 3.11% แล้ว ที่น่าแปลกใจคือ ดอลลาร์สหรัฐกลับมาอ่อนค่า หลังจีนตัดสินใจไม่เจรจากับสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันปรับขึ้นต่อเนื่อง หลังโอเปกคงกำลังการผลิต หุ้นกลุ่มหลักปรับตัวลงกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะ EA, PTTEP และ BEM ด้านผู้ซื้อสุทธิเป็น ต่างประเทศ 1.0 พันล้านบาท พอร์ตโบรกเกอร์ 0.5 พันล้านบาท และรายย่อย 0.3 พันล้านบาท และ ส่วนผู้ขายสุทธิรายเดียวคือ สถาบัน 1.8 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้นคาดว่า SET มีโอกาสจะซบเซาคล้ายวานนี้ เพราะรอผลประชุมเฟด แต่ได้รับแรงหนุนจากกลุ่มพลังงานที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นสูงต่อเนื่อง ส่วนบ้านเราก็มีการยื่นประมูลแหล่งปิโตรเลียมวานนี้แล้ว มีการทำ Window Dressing ก่อนปิด 9M61 ทางตลาดหลักทรัพย์ฯเสนอให้มีการตั้งกองทุนฉุกเฉินไว้พยุงหุ้น และนายกฯประกาศสนใจการเมือง แต่ปัจจัยต่างประเทศช่วงสั้นไม่สดใสจากเรื่องการใช้ภาษีนำเข้าจีน-สหรัฐ จีนเมินไม่เจรจากับสหรัฐ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ล่าสุดต่ำลงเป็น 3.0987%ดัชนีความกลัว (VIX) ปรับเพิ่มเป็น 12.42 จุด ตลาดหุ้นเพื่อนเช้านี้แกว่งแคบ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +28 จุด ณ 7:59 น. น้ามันปรับลง ด้านปัจจัยในประเทศที่ยังดีคือ ตัวเลขส่งออก ส.ค.สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การเลือกตั้งตามโรดแมป สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ราคาน้ำมันผันผวน ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง วิกฤติค่าเงิน EM ยังไม่คลี่คลาย ด้านปัจจัยบวกระยะกลาง-ยาว คือ เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีขึ้น และเศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง หนี้ต่างประเทศน้อย ระยะสั้นยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีออกมาเช่นกัน ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1730-1770 จุด ด้าน SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% แนะนำให้ทยอยสะสมได้
Update หุ้นเด่น: SYNEX – เป็นผู้นำในการจัดจำหน่ายสินค้าไอทีและมือถือ ขณะที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุดดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น จุดเด่นคือ อัตราการเติบโตกำไรที่สูง ปีนี้และปีหน้าเทียบ y-o-y เป็น 19.5% และ 21.0% ตามลำดับ ประเมินมูลค่าตามพื้นฐานเท่ากับ 18.73 บาท/หุ้น โดยอ้างอิงกับ P/E ปี 2562 ที่ 16 เท่า ที่เป็นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี โดยระดับราคาปิดให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล 4.0% ในปีนี้และ 4.9% ในปีหน้า
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบเล็กๆ แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1760-1770 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1730 จุด
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ SYNEX, TCAP, ASAP, CPALL, MINT, PSL หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ PTL, PYLON, UV, RS, SENA, PTT, AEONTS, SYNTEC, ERW, AUCT หุ้นที่หลุด List SEAFCO หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ ไม่มี
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง กังวลสงครามการค้า รอดูเฟด แต่ Nasdaq ปรับขึ้น
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,492.21 จุด ลดลง 69.84 จุด หรือ -0.26% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,915.56 จุด ลดลง 3.81 จุด หรือ -0.13% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,007.47 จุด เพิ่มขึ้น 14.22 จุด หรือ +0.18%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (25 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะทราบผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ ขณะที่กระแสคาดการณ์ส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งอ่อนไหวต่อการค้าระหว่างประเทศนั้น ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับขึ้นดี สะท้อนมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 20 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 72.28 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 67 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 81.87 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (25 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกจะลดลง อันเนื่องมาจากการที่สหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน พร้อมกับกดดันให้ประเทศต่างๆระงับการซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่าน
• ทองคำ : ปรับขึ้น หลังดอลลาร์อ่อนค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 70 เซนต์ หรือ 0.06% ปิดที่ 1,205.1 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (25 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงผลการประชุมในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย
-ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ประกาศวานนี้ ยังอยู่ในเกณฑ์ร้อนแรง
# Conference Board เปิดเผยผลสำรวจซึ่งระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของสหรัฐดีดตัวสู่ระดับ 138.4 ในเดือน ก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี จากระดับ 134.7 ในเดือนก.ค. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นจะลดลงสู่ระดับ 132.0
# ขณะที่เอสแอนด์พี คอร์โลจิก เคส ชิลเลอร์ ได้เปิดเผยผลสำรวจซึ่งระบุว่า ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐเพิ่มขึ้น 6.0% ในเดือนก.ค. แต่ชะลอตัวลงจากระดับ 6.2% ในเดือนมิ.ย. และดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.9% ในเดือนก.ค. ลดลงจากระดับ 6.4% ในเดือนมิ.ย.
-/• ตลาดยังได้รับผลกระทบ สหรัฐ-จีนบังคับใช้มาตรการภาษีนำเข้ารอบใหม่วานนี้ ท่ามกลางจีนเมินเจรจาสหรัฐ
# มาตรการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าที่สหรัฐและจีนจะนำมาใช้ตอบโต้กันนั้น จะมีผลบังคับใช้ในวันนี้ ขณะที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศยังคงอยู่ในภาวะตึงเครียด โดยรายงานล่าสุดระบุว่า จีนได้ยกเลิกแผนการเจรจาการค้ากับสหรัฐ จากเดิมที่มีแผนว่าจะเจรจาร่วมกันในสัปดาห์นี้ที่กรุงวอชิงตัน
# ตลาดได้รับแรงกดดันมากขึ้นจากรายงานข่าวที่ว่า จีนได้ยกเลิกแผนการส่งนายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีน เดินทางไปยังกรุงวอชิงตันเพื่อเจรจาการค้ากับสหรัฐ จากเดิมที่มีกำหนดในสัปดาห์นี้ หลังจากสหรัฐออกมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนครั้งใหม่วงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ และจากการที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐประกาศคว่ำบาตรหน่วยงานด้านกลาโหมของจีนและผู้บริหารของหน่วยงานดังกล่าว
+ ดอลลาร์อ่อนค่า แม้คาดการณ์เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย
# ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ก.ย.) ก่อนที่ตลาดจะทราบผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ ขณะที่ยูโรพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนจะสูงขึ้น ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณว่า ECB กำลังเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
-/• คาดกันว่าเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ แต่ติดตามถ้อยแถลง
# นักลงทุนจับตาการประชุมเฟดในวันที่ 25-26 ก.ย.นี้ ขณะที่ตลาดการเงินคาดการณ์กันว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ จากตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่ง ก่อนที่จะปรับขึ้นอีกครั้งในการประชุมเดือนธ.ค. หลังจากที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.และมิ.ย. และติดตามถ้อยแถลงเพื่อเป็นทิศทางในระยะยาวต่อไป
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนส.ค., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2561, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนส.ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนส.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เสนอตั้งกองทุนฉุกเฉินพยุงหุ้น
# "ภากร"เสนอ ไอเดียตั้ง "กองทุนฉุกเฉิน" ช่วย สภาพคล่องนักลงทุน-แบงก์ สกัด วิกฤติตลาดหุ้น แนะตั้งหน่วยงานกลางช่วยเติมสภาพคล่องให้ตลาดทุนกรณีราคาหุ้นตกเร็วและแรง ป้องกันผลกระทบ เป็นวงกว้าง (กรุงเทพธุรกิจ)
+/- ราคาน้ำมันปรับขั้นสูง ใครได้ประโยชน์ เสียประโยชน์
# เจพีมอร์แกนออกรายงานคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันอาจพุ่งใกล้ระดับ 90 ดอลลาร์/บาร์เรลในช่วงหลายเดือนข้างหน้าจากการที่สหรัฐทำการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยคาดว่าราคาสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ และ WTI จะแตะระดับเฉลี่ย 85 ดอลลาร์ และ 76 ดอลลาร์ตามลำดับในช่วง 6 เดือนข้างหน้า
# ราคาน้ำมัน (ICE Brent Crude Spot Month) ล่าสุดปิดที่ระดับ 81.35 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลล์ เทียบกับต้นไตรมาส 3/61 ที่ระดับ 79.23 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลล์ คิดเป็นการเพิ่ม 2.7% (ที่มา: Aspen)
# ผลกระทบ: หลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมัน ปิโตรเคมี และโรงกลั่นน้ำมันที่ได้รับผล sentiment ด้านบวกคือ PTT, PTTEP, PTTGC, TOP, ESSO, IRPC, BCP, SPRC ซึ่งจะมีโอกาสบันทึกกำไรสต็อคสินค้า แต่กลับเป็นลบกับหลักทรัพย์ที่อิงน้ำมันเป็นวัตถุดิบเช่น TASCO, EPG และเป็นลบกับหลักทรัพย์ขนส่งที่ใช้น้ำมันเป็นต้นทุนเช่น AAV, BA, THAI และ NOK
+ PTTEP เข้ายื่นทั้งเอราวัณ และบงกช ขณะที่โททาลไม่ร่วมประมูล กำหนดการคือจะลงนามในสัญญา ก.พ.62
# กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า วานนี้มีกลุ่มเอกชนได้เข้ายื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมประมูลแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยในฐานะผู้ดำเนินงาน PTTEP กับเชฟรอนแยกวงจับมือพันธมิตรยื่นเอกสารชิงแหล่งเอราวัณ-บงกช โดยมีแหล่งละ 2 รายเท่านั้นที่เข้าประมูล สำหรับเอราวัณ แปลง G1/61 PTTEP ร่วมกับ บริษัทเอมอีจี 2 ถือหุ้นในสัดส่วน 60% และ แปลง G2/61 ยื่นเอง 100%ขณะที่กรมเขื้อเพลิงฯมองว่าการที่กลุ่มโททาลไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ เนื่องจากอาจมองศักยภาพปิโตรเลียมของไทยมีไม่มากนัก
# กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ในการพิจารณาเปรียบเทียบข้อเสนอเพื่อเลือกผู้ชนะการประมูล โดยจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ธ.ค.61 เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และใช้เวลาในการเจรจาสัญญาแบ่งปันผลผลิตในขั้นสุดท้ายกับผู้ที่ชนะการประมูล ซึ่งมีเป้าหมายจะลงนามสัญญากับผู้ชนะการประมูลในระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตสำหรับทั้ง 2 แปลง ในเดือน ก.พ.62
# หลักทรัพย์ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์คือ PTTEP แนะนำ ซื้อ ที่ราคาพื้นฐานเป็น 160 บาท – ล่าสุดสะท้อนการปรับขึ้นสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ ซึ่งทำให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 61/62 ขึ้นจากเดิม 17%/18% และให้ PTTEP ชนะการประมูลทั้งสองแหล่งโดยถือหุ้นเท่ากับสัดส่วนปัจจุบัน
- WTO เตือนสงครามการค้ากระทบ GDP โลกถึง 1.9%
# นายโรเบอร์โต อาเซเวโด ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) เตือนว่า การทำสงครามการค้าจะสร้างความเสี่ยงมากขึ้นต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก จะส่งผลกระทบต่อความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ และจะลดการเติบโตของการค้าราว 70% และลดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก 1.9%
+ที่ประชุม ครม.เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
# ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ 2562 วงเงินดำเนินการ 2.058 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 6.38 แสนล้านบาท (Aspen)
+ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ส.ค. ขยายตัวได้ 0.7% y-o-y
# ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือน ส.ค.61 อยู่ที่ 113.04 ขยายตัว 0.7% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 61 (ม.ค.-ส.ค.) MPI ขยายตัว 3.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (8 เดือนปี 60 ขยายตัว 1.50%)
OO14304