- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 26 September 2018 22:04
- Hits: 2025
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดน่าจะให้น้ำหนักกับการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed อีก 0.25% เป็น 2.25% ซึ่งจะหนุนค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าและตรงข้ามค่าเงินเอเซียน่าจะอ่อนค่า ซึ่งกดดันให้มีการขึ้นดอกเบี้ยในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และค่าเงินโลกยังผันผวน กลยุทธ์ยังเลือก Domestic Play ที่ยังมี upside (CPALL, BJC, SEAFCO, MACO) Top picks ยังชอบ CPALL(FV@B80) ที่ผ่านจุดต่ำสุด TPIPP([email protected]) หุ้นพลังงานทางเลือกที่มีการเติบโตโดดเด่น ราคาหุ้นยัง Laggard และ CK(FV@B32) กำไรงวด 3Q61 เติบโตสูง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. SET Index แกว่งซึมตลอดวัน
วานนี้ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวสลับแดนบวก-ลบ ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 1,747.99 จุด ลดลง 1.43 จุด หรือ 0.08% มูลค่าซื้อขาย 4.23 หมื่นล้านบาท แม้กลุ่มพลังงานจะมีปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น แต่การเคลื่อนไหวของหุ้นในกลุ่มฯ อย่าง PTT PTTEP เคลื่อนไหวทรงตัวและปรับตัวลดลง รวมถึงการย่อตัวของหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน- EA ลดลง 2.08% และ TPIPP ลดลง 3% ขณะที่หุ้นกลุ่มปิโตรฯ PTTGC (+1.9%) ส่วนหุ้นขนาดใหญ่ของตลาดฯ ทั้ง AOT และ CPALL รีบาวด์กลับมา 0.8% และ 1.08% ตามลำดับ ตามด้วยปรับตัวขึ้นของกลุ่มโรงพยาบาลและกลุ่มโรงแรม MINT และ CENTEL
แนวโน้ม SET Index วันนี้คาดว่ายังคงปรับฐาน หลังดัชนีแตะ PER 16 เท่า โดยให้น้ำหนักต่อ การทำ Earnings Preview กลุ่ม ธ.พ. ที่คาดว่าชะลอตัวจากงวด 2Q61 และสงครามการค้าที่ขยายตัวในวงกว้างและกระทบการส่งออก 2 เดือน ใน 2 ตลาดหลักคือ จีน-สหรัฐ หนุนให้ต่างชาติยังซื้อสลับขาย
สงครามการค้า อาจทำให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาด
วันนี้เป็นสุดท้ายของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในช่วง 25-26 ก.ย. (รู้ผลช่วงเช้าวันที่ 27 ก.ย.) คาดว่า Fed น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในครั้งนี้ และอีก 1 ครั้งในการประชุมรอบ ธ.ค. ขณะที่ปี 2562 และ 2563 Fed มีแผนจะขึ้นดอกเบี้ยฯราว 3 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลำดับ ครั้งละ 0.25% ซึ่งทำให้ดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2561 - 2563 อยู่ที่ 2.5%, 3.25% และ 3.75% ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะเงินเฟ้อสหรัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. อยู่ที่ 3.9% ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. ชะลอตัวลงจาก 2.9% ในเดือนหน้าเหลือ 2.7% แต่ยังสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 2%
มุมมองของ ASPS เชื่อว่าผลกระทบจากสงครามการค้าที่เกิด สหรัฐ-จีน 3 รอบ และอาจจะมีรอบที่ 4 โดยขึ้นกับสินค้า ขั้นต้น-ขั้นกลาง และ ขั้นปลาย ซึ่งต้นทุนการผู้ผลิต จะส่งผ่านยังให้ผู้บริโภคบางส่วน กดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นขึ้นแรงในอนาคต ซึ่งจะซ้ำเติมให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะชะลอตัวมากกว่าเมื่อเทียบกับไม่มีสงครามทางการ โดยจะเห็นผลชัดเจน ชัดเจนในปี 2562 ซึ่งอาจจะทำให้การขึ้นดอกเบี้ยฯ Fed ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไปต่ำกว่าเป้าที่คาดไว้
เอเชียเร่งขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อและค่าเงินที่อ่อนค่า
ขณะที่ฝั่งเอเชียวันพรุ่งนี้ประชุมธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP)และธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ตลาดคาดว่า BSP จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 4 ของปีนี้ อีก 0.5% เป็น 4.5% เพราะอัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์พุ่งสูงขึ้นที่ 6.4%yoy ในเดือน ส.ค. เกินเป้าหมายที่ BSP ตั้งไว้ราว 31% ซึ่งบางส่วนเป็นผลจากค่าเงินเปโซที่อ่อนค่าประมาณ 9% ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2561
เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ตลาดคาด BI น่าจะขึ้นดอกเบี้ยฯ เป็นครั้งที่ 5 ของปีนี้ราว 0.25% เป็น 5.75% ผลจากค่าเงินรูเปียห์อินโดนีเซียที่อ่อนค่า 13.09% ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. 2561 เพราะ Fund flow ไหลออก กดดันให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นล่าสุดเดือน ส.ค. ขยายตัว 3.2% จาก 3.12% ในเดือน มิ.ย.
ราคาหุ้น PTT, PTTEP สะท้อนราคาน้ำมันดิบที่ 75-80 เหรียญฯ แล้ว
ราคาน้ำมันดิบโลกได้แกว่งตัวแรงขึ้นมาใกล้ 80 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ทำให้ค่าเฉลี่ยจากต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 79.9 เหรียญฯ ซึ่งดีกว่าสมมติฐานที่ประเมินไว้ที่ 65 เหรียญฯ ปีนี้ และ 70 เหรียญฯ ปี 2562 และ 75 เหรียญปี 2563 เป็นต้นไป สาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบโลก ดีกว่าคาดเพราะปริมาณน้ำมันดิบโลกที่หายไปวันละ 5.8 แสนบาร์เรล จากอิหร่าน ซึ่งเป็นผลกระทบจากสหรัฐได้คว่ำบาตรทางการค้า ตั้งแต่ มิ.ย.เป็นต้นมา ขณะที่การควบคุมการผลิตน้ำมันของฝั่งโอเปค และ นอกกลุ่มโอเปคยังอยู่จนถึงสิ้นปี ซึ่งไม่มีประเทศใดผลิตเพิ่ม แม้จะมีแรงกดดันจากสหรัฐ ขณะที่ฝั่งสหรัฐเองก็ผลิตทดแทนการนำเข้าเพิ่มขึ้นตามลำดับจนปัจจุบันผลิตได้ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เมื่อหมดสัญญาการควบคุมการผลิต เชื่อว่าราคาน้ำมันดิบที่สูงน่าจะเร่งให้ประเทศสมาชิกผลิตเพิ่มเติม มิใช่นั้นจะกลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อ และ ซ้ำเติมสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง
ผลจากราคาน้ำมันที่ดีกว่าคาดดังกล่าว จะทำให้ผลประกอบการของหุ้นน้ำมัน (PTTEP, PTT) ในงวด 4Q61 จะดีขึ้นจากงวด 3Q61 ในเรื่องของสต๊อกน้ำมันดิบ ดังนั้นหากกำหนดให้ราคาน้ำมันดิบในงวด 4Q61 แกว่งระหว่าง 75-80 เหรียญฯ จะทำให้ค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันปี 2561 อยู่ที่ 71.2 เหรียญฯ และ 72.4 เหรียญฯ จะทำให้ประมาณการกำไรในปี 2561 ดีกว่าคาดเล็กน้อย
หากยังยึดหลักระมัดระวังคือให้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาวตามเดิมข้างต้น มูลค่าพื้นฐานปี 2561 และ 2562 ของทั้ง PTTEP, PTT ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนักคือที่ 137 บาท และ 54 บาทตามลำดับ ทั้งนี้ PTTEP ยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มที่จะเกิดขึ้นหากสามารถประมูลแหล่งบงกช G2/61 ได้ ภายใต้สมมติฐานถือหุ้นสัดส่วน 66.67% เท่าเดิม และอัตราผลตอบแทนตามการประมูลเดิม จะช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 25 บาท
กรณีที่ดีมากคือ ให้เพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาวขึ้นปีละ 5 เหรียญฯ คือปี 2562 เป็น 75 เหรียญฯ และ 80 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป จะได้มูลค่าหุ้นของ PTTEP เพิ่มขึ้นจากเดิม หุ้นละ 10 บาท เป็น 147 บาท และ PTT อีกหุ้นละ 2 บาท เป็น 156 บาท (ดังรูป) ทั้งนี้ ถือว่าราคาหุ้นปัจจุบันก็เต็มมูลค่าแล้วเช่นกัน
หุ้นอสังหาริมทรัพย์ กับธนาคารเข้มงวดสินเชื่อบ้าน
หลังจากนำเสนอการทำ Earning Preview กลุ่มธ.พ. 10 แห่งที่ ASPS ศึกษา ประเมินว่ากำไรสุทธิ งวด 3Q61จะอยู่ที่ราว 5.18 หมื่นล้านบาท หดตัว 3.0% qoq (เพิ่มขึ้น 9.2% yoy) จากรายใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง แต่ NIM เริ่มดีขึ้นจากสินเชื่อรายย่อยที่ขยับขึ้น ขณะที่ต้นทุนการสำรองฯ ลดลง เพราะ NPLs ทรงตัว 3.2% ณ 2Q61 แต่อย่างไรก็ตาม เริ่มกังวลในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์มากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่มีโอกาสตกชั้นจากลูกค้าปกติเป็นกลุ่มที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention ค้างชำระตั้งแต่ 30 – 90 วัน) โดยหากนำ NPL ของสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ล่าสุดอยู่ที่ 3.6% เทียบกับ 2.4% เมื่อสิ้นปี 2555 รวมกับสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ อีก 1.9% เทียบกับปี 2555 ที่ 1.5% ทั้ง 2 เมื่อวมกัน (NPL + SM) จะอยู่ที่ 5.4% ซึ่งเป็นระดับที่สูง และ หากพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่า KTB เพิ่มมากสุด จาก 2.9% เป็น 7% ตามด้วย KBANK จาก 2.6% เป็น 6.75% และ SCB จาก 3.9% เป็น 5.2% ถือเป็นประเด็นเสี่ยงต่อกลุ่มธนาคาร
ขณะเดียวกันกดดันผู้พัฒนาที่อยู่อาศัย แม้ในช่วง 1H61 ยอด Presale ของผู้ประกอบการ 16 รายที่ศึกษา สูงถึง 1.75 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% YoY จากเป้าหมายทั้งปีที่ 3.6 แสนล้านบาท แต่ การรับรู้รายได้รวมถึงกระแสเงินสดก้อนใหญ่ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้า ซึ่ง ณ สิ้น 2Q61 พบว่ามียอด Backlog มากถึง 3.32 แสนล้านบาท ทั้งนี้การที่ Backlog จะสามารถแปลงเป็นกระแสเงินสดและรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของ Backlog ว่าจะทำการโอนฯให้ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพเพียงใด โดยสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการลดลงของคุณภาพ Backlog อาทิเช่น
อัตราการปฎิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (Rejection Rate) สูงขึ้นเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบ้าน-คอนโดฯ ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท แม้ไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่เชื่อว่าไม่น่าจะน้อยกว่า 30% (รวมที่ไม่ผ่าน Pre Approve)
ดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับขึ้น ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ภาระการผ่อนชำระต่องวดมีแนวโน้มสูงขึ้น และหากไปรวมกับการปล่อยสินเชื่อที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติในช่วง 1 – 3 ปีแรก ที่เมื่อหมดช่วงเวลาดังกล่าวลง ภาระการผ่อนชำระก็จะมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งนี้ภาระการผ่อนชำระที่สูงขึ้นนอกจากเป็นที่มาของ NPL แล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่ผู้กู้ใหม่จะถูกปฎิเสธการปล่อยสินเชื่อมีมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ทำให้ สถาบันการเงินมีแนวโน้มเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าผู้ประกอบการประเภทบางประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนคอนโดมิเนียมระดับสูง และ จับตลาดเป้าหมายระดับกลาง-ล่าง อย่างเช่น LPN, ORI, ANAN, SENA แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าผู้ประกอบการต่างก็มีการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบโดยกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทุกกลุ่มมากขึ้น จึงให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย เท่ากับตลาด เน้นหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูง เช่น LH, SC และ QH
เงินทุนต่างชาติชะลอ...รอผลประชุม Fed
วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ยังหยุดทำการ 3 วัน (24 – 26 ก.ย.) เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาตติดต่อกันเป็นวันที่ 5 แต่ล่าสุดซื้อสุทธิเพียง 151 ล้านเหรียญ และมีตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิ 3 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 19) ส่วนตลาดหุ้นอีก 3 ประเทศ ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อย เริ่มจากตลาดหุ้นไต้หวันซื้อสุทธิ 122 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 1 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่สลับมาซื้อสุทธิ 31 ล้านเหรียญ หรือ 991 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.78 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
แม้ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาคใน 5 วัน หลังจากขายมานาน แต่ปริมาณการซื้อยังไม่มากนัก เนื่องจากนักลงทุนรอผลการประชุมของ Fed ในคืนนี้ (คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25%) รวมถึงแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต เนื่องจากประเด็นสงครามการค้าน่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจมากขึ้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO14295