WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
กลยุทธ์การลงทุน
  เชื่อว่าดัชนีหุ้นไทยน่าจะเข้าสู่การพักฐาน หลังจากปรับขึ้นเร็วและแรงกว่าคาด ทำให้มี PER 16 เท่า ภายใต้ EPS ตลาดที่ปรับลดลงเป็น 108 บาท ปี 2561 และมี PEG (PER/EPS Growth) สูงสุด ในเอเชีย ขณะที่ fund flow ยังเป็นการซื้อสลับขาย หลังขายหุ้นไทยมากว่า 2 แสนล้านบาทในปีนี้ กลยุทธ์ยังเลือก Domestic Play ที่ยังมี upside (CPALL, BJC, SEAFCO, MACO) Top picks DTAC(FV@B62), CPALL(FV@B80) และเพิ่ม TPIPP([email protected]) หุ้นพลังงานทางเลือกที่มีการเติบโตโดดเด่น แต่ราคาหุ้นยัง Laggard  
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. ดัชนีย่อตัวท้ายตลาดฯ
  วานนี้ตลาดหุ้นไทยเปิดตลาดดีดขึ้น 8 จุด ก่อนจะแรงขายทำกำไรออกมา กดดันดัชนีย่อตัวลงมาปิดที่ระดับ 1,752.11 จุด ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 2.31 จุด หรือ 0.13% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 6.76 หมื่นล้านบาท ดัชนีฯเริ่มชะลอความร้อนแรงลงหลังซึมซับประเด็นบวกภายในประเทศไประดับหนึ่งแล้ว โดยมีแรงขายทำกำไรหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น ธ.พ. และค้าปลีก มีแรงขายทำกำไรกดดันราคาหุ้นปรับตัวลดลงมีเพียงกลุ่มพลังงานที่ช่วยประคองตลาดฯ นำโดย PTT +1.9%, PTTEP +0.7%  หลัง EIA รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบลดลง รวมถึงหุ้นในกลุ่มโรงกลั่น (TOP ESSO IRPC) ส่วนรายหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรง SUPER +14.9% และ BEAUTY +2.6% 
  แนวโน้ม SET Index วันนี้ คาดดัชนีน่าจะเข้าสู่การพักฐาน หลังจากที่ฟื้นตัวติดต่อกันหลายวัน และแรงซื้อส่วนใหญ่ยังเป็นกองทุนในประเทศ ขณะที่ตลาดหุ้นไทยมี P/E 16  เท่า และ PEG  แพงสุดในภูมิภาค
สหรัฐยังเดินหน้ากีดกันการค้า vs จีนลดภาษีนำเข้าแหล่งวัตถุดิบใหม่  
  หลังจากการตอบโต้การค้าสหรัฐ-จีน มาถึงรอบ 3  และสหรัฐมีโอกาสขึ้นภาษีนำเข้าจีนรอบ 4  แต่จีนน่าจะมีข้อจำกัดในการตอบโต้ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นจีนมีการปรับตัว คือ การเร่งหาแหล่งนำเข้าวัตถุดิบใหม่พร้อมลดภาษีนำเข้าเพื่อลดผลกระทบจากอุปสรรคในการนำเข้าจากสหรัฐลดลง (ประเทศคู่ค้าหลักของจีน อันดับ 1 คือ สหรัฐ รองลงมาคือ  ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ฮ่องกง, เยอรมนี, ออสเตรเลีย เป็นต้น)  ล่าสุดเมื่อวานนี้จีนประกาศจะลดภาษีนำเข้ากับคู่ค้าทั่วโลก ครั้งที่ 3 ของปีนี้ เริ่มจาก ต.ค. ยกเว้นสหรัฐ   (ยังไม่กำหนดรายละเอียด)  ในปีนี้จีนได้ประกาศลดภาษีนำเข้าทั่วโลกคือครั้งแรก 22 พ.ค.2561 ในกลุ่มรถยนต์เหลือ 15%  จากเดิม 25%  และลดชิ้นส่วนยานยนต์ เหลือ 6% จากเดิม 10% และลดครั้งที่ 2  กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค มีผลบังคับใช้ 1 ก.ค.  รายละเอียดดังตาราง  
  ขณะที่สหรัฐยังคงเดินหน้ากีดกันการค้ากับทุกประเทศทั่วโลก  และอาจขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนรอบ 4  อีก 2.67 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งหากขึ้นครบทั้งหมดเท่ากับที่วงเงินนำเข้าสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากจีนทั้งหมดในปี  2560 จำนวน 5.17 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งเชื่อว่ากระทบต่อผู้ผลิตเต็มที่เนื่องจากกระทบตั้งแต่สินค้าขั้นต้น-ขั้นกลาง-ขั้นปลาย ส่งผลให้ราคาสินค้าที่เพิ่มกระทบผู้บริโภคโดยตรง  น่าจะกดดันเงินเฟ้อสหรัฐ และนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่เร็วขึ้น  เชื่อว่าผลกระทบจะชัดเจนในปี 2562  
ตลาดให้น้ำหนักต่อสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. 0.25%  
  สัปดาห์นี้ ธนาคารกลางเอเชีย 2 แห่ง ยังคงนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ คือ  ญี่ปุ่น (BOJ) คงดอกเบี้ยฯ ที่ -0.1% และคง QQE ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี เพราะเงินเฟ้อยังต่ำ และรองรับผลกระทบจากการขึ้น Sale tax เป็น 10% จาก 8% ที่จะมีผลในปีหน้า  และไทย ผลการประชุม กนง. ยังคงดอกเบี้ยที่ 1.5% แต่เริ่มส่งสัญญาณถึงนโยบายการเงินผ่อนคลายที่ใกล้สิ้นสุด โดย ASPS คาด กนง. มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งราว 0.25% ในช่วงปลายปี เนื่องจากเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. ขยายตัว 1.62%yoy สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย 
  และสัปดาห์หน้า 25-26 ก.ย. ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ตลาดคาด Fed น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 2.25% สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ราว 99%  และน่าจะขึ้นอีก 1 ครั้งในรอบ ธ.ค. ส่งผลให้ดอกเบี้ย ณ ปลายปี 2561 อยู่ที่ราว 2.5% ส่วนในปี 2562 - 2563 Fed มีแผนจะขึ้นดอกเบี้ยราว 3 ครั้ง และ 2 ครั้ง  ส่งผลให้ดอกเบี้ย  ณ สิ้นปี  3.25% และ 3.75% ตามลำดับ  แต่เชื่อว่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้ถึงปี 2562 น่าจะเริ่มชะลอตัวเพราะผลกระทบจากสงครามการค้า น่าจะกดดันเศรษฐกิจสหรัฐปี 2562 เริ่มชะลอตัวลงกว่าคาด  
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยในอัตราที่ลดลง แต่ซื้อติดต่อกันถึง 6 วัน 
  วานนี้ดัชนีดาวโจนส์ทำจุดสูงสุดใหม่ และตลาดหุ้นในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันต่างชาติยังซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 393 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ  ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 16) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลีออีก 4 ประเทศ ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 239 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 143 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3), อินโดนีเซีย 15 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อย 3 ล้านเหรียญ หรือ 97 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 386 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
  อย่างไรก็ตามสัปดาห์หน้ามีโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยสูง หนุนให้ Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมายืนเหนือ 3% อีกครั้ง ส่วน Bond Yield 10 ปีของไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยล่าสุดอยู่ที่ 2.85% แม้ยังน้อยกว่าสหรัฐฯ แต่การปรับตัวที่ขึ้นมาเร็วจูงใจให้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิบ้างในวานนี้ราว 4.0 พันล้านบาท
หุ้นปรับฐาน เลือกหุ้นโรงไฟฟ้าที่มี Growth BPP, TPIPP  
  โอกาสการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ IPP และ ขนาดเล็ก (SPP)  ใหม่ๆ ดูจะน้อยลง เพราะ  อุตสาหกรรมอยู่ภาวะ oversupply   ขณะที่การเข้าแข่งขันของผู้ประกอบการรายกลาง-เล็กมากขึ้น ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนโครงการ (IRR) ลดลงเหลือ 10% หรือต่ำกว่า เทียบกับอดีตที่เคยอยู่สูงถึง 15-20%  ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าประเภท IPP หรือ SPP ที่มี Backlog รออยู่แล้ว ยังมีแนวโน้มธุรกิจที่เติบโตต่อไปได้ ดังจะเห็นได้จากราคาหุ้นในกลุ่มนี้ปรับขึ้นได้ต่อเนื่องในระยะนี้ ในกลุ่มนี้ชอบ BGRIM(FV@B32) และ  BPP (FV@B30
โดยเฉพาะ BPP (FV@B30) ราคาหุ้นยัง laggard  ขณะที่แนวโน้มกำไรมีโอกาสเติบโตทำ new high ในช่วง 2 ปีข้างหน้า จากการทยอยรับรู้โครงการต่างๆ ในมือกว่า 669 Equity MW รอทยอย COD ในช่วงปี 2561-66 โดยคาดกำไรสุทธิปี 2561-62 จะเติบโต 16.3%yoy และ 23.6%yoy ตามลำดับ นอกจากนี้ BPP ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการพลังงานทดแทนใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ถือเป็น upside ส่วนเพิ่มในอนาคต ราคาปัจจุบันมี upside 16.5% และมี Div. Yield เฉลี่ยราว 3%
  ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน การเติบโตเริ่มน้อยลงจากโอกาสการขยายกำลังการผลิตที่ลดลง ทำให้มีการลดระดับ   PER ลงจากที่เคยซื้อขายกันบน PER  สูงๆ   ทั้งนี้แม้กำไรปกติกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ฝ่ายวิจัยศึกษา (GUNKUL, EA, BCPG, PSTC, DEMCO และ TPIPP) ในปี 2561 คาดจะเติบโตกว่า 39.6 %yoy  และ เติบโต 44% ในปี 2562 แต่เกิดจาก TPIPP   ส่วนระยะสั้นคาดกำไรปกติกลุ่มฯงวด 3Q61 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากงวด 2Q61 และเริ่มทรงตัวในงวด 4Q61   ขณะที่ราคาหุ้นรายตัวในกลุ่มฯ ได้ตอบรับกับปัจจัยกดดันไประดับหนึ่งแล้ว ทำให้ราคาเริ่มมี upside เน้นเลือกหุ้นรายตัว ชอบ TPIPP ([email protected]) มีโอกาสที่กำไรจะทำระดับสูงสุดใหม่รายไตรมาสในช่วงที่เหลือของปี รวมถึงแนวโน้มกำไรปกติปี 2561-2562 คาดจะทำ new high จากการทยอยรับผลบวกโครงการโรงไฟฟ้าในมือที่ผลิตเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่ให้ปันผลสม่ำเสมอทุกไตรมาส โดยมี Div. Yield อยู่ในระดับที่ดี เฉลี่ยราว 5% p.a.
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO14096

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!