- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 20 September 2018 21:10
- Hits: 4215
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“บาทแข็งค่า ส่งสัญญาณดี เงินทุนไหลเข้า”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : PTTEP (จากถือเป็นซื้อ)
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ทะยาน +5.38 จุด ปิดที่ 1749.80 จุด เกิดแรงขายทำกำไรหลังไปทำยอดสูงสุดถึง 1762.72 จุด ถือว่าปรับขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นเป็น 92.4 พันล้านบาททีเดียว คาดว่ามีกระแสเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน หลังกนง.เสียงแตกมากขึ้นที่โหวตจะปรับขึ้นดอกเบี้ย การเลือกตั้งมีความชัดเจนขึ้น และอาจมีการทำ Window Dressing ปิดงวด 9M61 รวมทั้งปัจจัยต่างประเทศเป็นบวกเพิ่มขึ้นจากการที่จีนโต้ตอบสหรัฐแต่เก็บอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าคาด ขณะที่มีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือนนี้ รับรู้ไปพอควรแล้ว ด้านผู้ขายสุทธิเป็นรายย่อยสูงถึง 7.0 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.7 พันล้านบาท ส่วนผู้ซื้อสุทธิคือ สถาบัน 6.1 พันล้านบาท ต่างชาติ 1.6 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีโมเมนตัมดี จากเงินทุนไหลเข้า บาทแข็งค่าต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากเรื่อง กนง.ข้างต้น ปัจจัยต่างประเทศยังเป็นบวก จากการที่จีนตอบโต้สหรัฐ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐ 5-10% วงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ มีผล 24 ก.ย.61 ตลาดคลายความกังวล เพราะทั้งสหรัฐและจีนจัดเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าคาด ดัชนีความกลัว (VIX) ลดลงเหลือ 11.8 ดาวโจนส์และน้ำมันปรับขึ้น ขณะที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปลายเดือนนี้เป็นที่คาดไว้อยู่แล้ว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี เพิ่มเป็น 3.0626% ด้านปัจจัยในประเทศยังดีคือ การเลือกตั้งตามโรดแมป ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้แกว่งแคบ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +50 จุด (7.49 น.) น้ำมันเช้านี้ mix สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ราคาน้ำมันผันผวน ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง วิกฤติค่าเงิน EM ยังไม่คลี่คลาย ด้านปัจจัยบวกระยะกลาง-ยาว คือ เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีขึ้น และเศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง หนี้ต่างประเทศน้อย ระยะสั้นยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีออกมาเช่นกัน ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐควํ่าบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1730-1770 จุด ด้าน SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% แนะนำให้ทยอยสะสมได้
Update หุ้นเด่น: JKN – ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย ที่ได้รับความนิยม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาบริษัทมีการเติบโตที่ก้าวกระโดด โดยเฉพาะจากภาพยนตร์ซีรีย์อินเดีย ซึ่งนำเข้ามาไทยเป็นรายแรกๆ เช่น หนุมาน, นาคิน, พระศิวะ เป็นต้นและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แนวโน้มการเติบโตยังคงแข็งแกร่ง คาดกำไรสุทธิจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 29% ใน 3 ปีข้างหน้า ประเมินราคาพื้นฐานไว้ที่ 15.20 บาท ซึ่งอิงกับ P/E ปี 62 ที่ 22 เท่า (Fully Diluted จากการแปลงสภาพวอร์แรนต์) ซึ่งมีส่วนเพิ่มถึง 35% จากราคาปัจจุบัน ทั้งนี้เป้าหมาย P/E ที่ให้ JKN สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 20 เท่าเนื่องจากกำไรเติบโตสูงกว่ากลุ่ม
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นบวก แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1760-1770 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1730 จุด
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KTB,SCP,TOP,PTG,CENTEL,JKN,TPIPP หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ GOLD,PTL,BBL,SEAFCO,WORK,BH,PTTGC หุ้นที่หลุด List - หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit HMPRO,SCC,CPALL
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับขึ้นต่อ คลายกังวลสงครามการค้า แต่ Nasdaq ปรับลง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,405.76 จุด เพิ่มขึ้น 158.80 จุด หรือ +0.61% ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,907.95 จุด เพิ่มขึ้น 3.64 จุด หรือ +0.13% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,950.04 จุด ลดลง 6.07 จุด หรือ -0.08%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารที่ดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนมองว่าการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะไม่รุนแรงมากเท่ากับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนลบ หลังจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง นำโดยหุ้นไมโครซอฟท์ที่ดิ่งลงหนักสุด หลังจากบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับขึ้น สต็อกน้ำมันดิบร่วงลง
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. พุ่งขึ้น 1.27 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 71.12 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 37 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 79.40 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐร่วงลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะน้ำมันตึงตัว อันเนื่องมาจากการที่สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน
• ทองคำ : ปรับขึ้น หลังดอลลาร์อ่อนค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 5.4 ดอลลาร์ หรือ 0.45% ปิดที่ 1,208.3 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ซึ่งช่วยให้สัญญาทองคำปิดที่เหนือระดับ 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์ติดต่อกัน 7 วันทำการ
+ ตลาดคลายความกังวล หลังจีนตอบโต้สหรัฐ แต่อัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าคาด
# รัฐบาลจีนได้ออกมาตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐในอัตราภาษี 5-10% เป็นวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ก.ย. อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีดังกล่าวยังต่ำกว่าระดับ 20% ที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้
# การที่สหรัฐและจีนต่างก็เรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งล่าสุดในอัตราที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์นั้น ได้ช่วยบรรเทาความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจ
+ ดอลลาร์อ่อนค่า หลังเงินปอนด์แข็งค่า
# ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) ขณะที่ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐและจีนเริ่มผ่อนคลายลง ส่วนเงินปอนด์พุ่งขึ้นขานรับอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน
-/• คาดกันว่าเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือนนี้
# นักลงทุนจับตาการประชุมเฟดในวันที่ 25-26 ก.ย.นี้ ขณะที่ตลาดการเงินคาดการณ์กันว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ ก่อนที่จะปรับขึ้นอีกครั้งในการประชุมเดือนธ.ค. หลังจากที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.และมิ.ย.
-ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน ส.ค.61 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
# ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 9.2% เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.282 ล้านยูนิต จากระดับ 1.174 ล้านยูนิตในเดือนก.ค.
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศต่อไป
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนก.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ยอดขายบ้านมือสองเดือนส.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ย.จากมาร์กิต และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนก.ย.จากมาร์กิต
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+/- ประชุมกนง.มีมติ 5 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% และคงคาดการณ์ GDP ส่วนเงินบาทแข็งค่า
# ประชุมกนง.มีมติ 5 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% I และคงคาดการณ์ GDP ปี 61 โต 4.4%, ปี 62 ขยายตัว 4.2%
# คณะกรรมการฯ เห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ส่วนกรรมการ 2 ท่านเห็นว่าความต่อเนื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความชัดเจนเพียงพอ และภาวะการเงินที่ผ่อนคลายมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินในอนาคตต่ำกว่าที่ควร
# ผลกระทบ: การคงอัตราดอกเบี้ยไว้เป็นไปตามคาด DBSVTH ประมาณการว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยราวต้นปีหน้า ที่ไม่เร่งเพราะอัตราเงินเฟ้อยังไม่ถึงเป้าหมาย และรัฐต้องการให้เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง แต่เสียงที่แตกมากขึ้นให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย ยังผลให้เงินบาทแข็งค่าเร็ว จะส่งผลดีต่อเงินทุนไหลเข้ามาในไทย แต่เป็นผลลบกับหุ้นส่งออก วานนี้หุ้นกลุ่มอิเล็กโทรนิกส์ที่เน้นการส่งออกปรับลงแรง ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะเป็นประโยชน์กับหลักทรัพย์กลุ่มธนาคาร และหลักทรัพย์ที่มีเงินสดมาก แต่จะเป็นลบกับธุรกิจเช่าซื้อ
-/+ ไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น จากสงครามการค้า สหรัฐ-จีน เรื่องการส่งออก แต่ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานผลิต
# ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า ได้ปรับผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐฯ และจีนรอบล่าสุดต่อการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยคาดว่าจะกระทบมูลค่าการส่งออกราว 1.1% เป็น 6.1% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนนี้เป็นการสะท้อนเพดานความเสี่ยงด้านสูง
# ผลกระทบ: คาดว่าจะได้รับผลลบในการเป็น supply chaing ให้กับทั้งจีนและสหรัฐ จะทำให้ส่งออกได้ลดลง แต่ทีมกลยุทธ์เห็นว่าไทยจะได้รับผลดีจากการที่จะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้น เพราะถูกเก็บภาษีนำเข้าน้อยกว่าจีนหลักทรัพย์กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและการปล่อยเช่าทั้งโรงงานและคลังสินค้า คาดว่าจะได้รับประโยชน์สูง แนะนำ ซื้อ WHA, WHART และ TREIT
• กระทรวงพาณิชย์ได้รับนโยบายให้ดูแลการส่งออก เมื่อเกิดสงครามการค้า และเน้นภาคบริการด้วย
# นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการมอบนโยบายการทำงานให้ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เตรียมการดูแลการส่งออกสินค้าไทย หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น โดยนอกจากการส่งออกสินค้าแล้ว กระทรวงพาณิชย์ต้องเน้นเรื่องธุรกิจบริการให้มากขึ้น เพราะถือเป็นภาคใหญ่และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย รวมถึงจะต้องเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้จากการส่งออกสินค้าและธุรกิจบริการ
-ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือน ส.ค. 61 ลดลง
# ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือน ส.ค. 61 โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.5 ปรับตัวลดลงจาก 93.2 ในเดือน ก.ค. 61 สาเหตุจากปัจจัยด้านฤดูกาล เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้กระทบต่อกำลังซื้อในส่วนภูมิภาคส่งผลให้ยอดขายชะลอตัว
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO14064