WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
“สงครามการค้าระอุ เฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ย”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวันศุกร์ – SET Index ปรับลง -4.45 จุด ปิดที่ 1689.49 จุด ถือว่าสอดคล้องกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านที่ส่วนใหญ่ปรับลง ยังมีแรงกดดันจากปัจจัยต่างประเทศ เช่น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม EM เช่น อาร์เจนตินา, เวเนซูเอลา, ตุรกี, อิตาลี และใกล้บ้านเราคือ อินเดียและอินโดนีเซียซึ่งกังวลภาวะการชำระหนี้สกุลดอลลาร์ที่มีการแข็งค่า และขายลดความเสี่ยงไปก่อนที่อาจจะมีข่าวระหว่างหยุดสุดสัปดาห์ มูลค่าการซื้อขายเบาบางเป็น 36.5 พันล้านบาท ด้านผู้ขายสุทธิ ยังคงเป็น ต่างชาติ 0.8 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.5 พันล้านบาท ส่วนผู้ซื้อสุทธิคือ นักลงทุนทั่วไป 0.9 พันล้านบาท และสถาบัน 0.4 พันลบ.
  แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ทรัมป์ สหรัฐประกาศจะเก็บภาษีจีนเพิ่มอีก 2.67 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อใดก็ได้ แม้เรื่องการจะจัดเก็บ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐยังไม่เรียบร้อยก็ตาม และจะจัดการการค้ากับญี่ปุ่นมากขึ้น คาดว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเดือนนี้เป็นครั้งที่ 3 ปีนี้ ในการประชุม 25-26 ก.ย.นี้ หลังตัวเลขจ้างงานและค่าจ้างรายชั่วโมงออกมาร้อนแรง อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี สหรัฐ เพิ่มถึง 2.9438% เงินจะไหลออก วิกฤติค่าเงิน EM น้ำมันปรับลง และค่าความกลัว (VIX) เพิ่มขึ้นเป็น 14.88% ด้านข่าวดี คือ เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีขึ้น และเศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง และความคืบหน้าเลือกตั้งปีหน้า ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้แกว่งแคบ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +33 จุด (8.19 น.) น้ำมันเช้านี้ปรับขึ้น แต่ระยะสั้นยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีออกมา ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า เพราะเราเป็นห่วงโซ่ผู้รับจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูงนักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1670-1700 จุด แต่หากดัชนีลดต่ำกว่าระดับ 1685 จุด จะเป็นสัญญาณไม่ดีนัก SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ระดับ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10%
  Update หุ้นเด่น : MINT คาดว่า MINT จะมีกำไรงวด 3Q61 ที่น่าตื่นเต้น เพราะโรงแรมที่ยุโรปเข้าสู่ไฮ ซีซั่น ขณะที่โรงแรมที่โปรตุเกสและบราซิล คาดว่าอัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อห้อง (RevPar) จะเป็นตัวเลขสองหลักทีเดียว ด้านไทยยังเป็นฤดูกาลที่อ่อน จึงมีแนวโน้มจะฟื้นตัวเร็วกว่าหลักทรัพย์โรงแรมอื่นๆ เราคาดว่า NH Hotel ที่บริษัทซื้อเข้ามาจะมีแนวโน้มที่สดใส เพราะได้มีการปรับปรุงตกแต่ง (renovate) เรียบร้อยแล้ว ยังผลให้สามารถปรับเพิ่มอัตราค่าห้องพักได้ คงคำแนะนำ ซื้อ เราคาดว่าการได้ NH Hotel รวมเข้ามาหลังทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ จะทำให้มีส่วนเพิ่ม (upside potential) มากขึ้น กำหนดราคาพื้นฐานไว้ที่ 46.00 บาท ซึ่งประเมินด้วยวิธี DCF
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวรับสั้นคือ 1670-1660 แนวต้าน 1695-1700
  สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KTB, SVI, SCB, ASIAN, PSL หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ GLOBAL, TTCL, AUCT หุ้นที่หลุด List BPP หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit CHG, EPG, SCCC, CBG, BCH
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง ยังกังวลสงครามการค้า
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,916.54 จุด ลดลง 79.33 จุด หรือ -0.31% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,871.68 จุด ลดลง 6.37 จุด หรือ -0.22% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,902.54 จุด ลดลง 20.18 จุด หรือ -0.25%
  # ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนลบเมื่อวันศุกร์ (7 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเกิดความวิตกหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อคืนนี้ว่า สหรัฐพร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2.67 แสนล้านดอลลาร์ และกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด หลังตัวเลขจ้างงานและค่าแรงร้อนแรง
- ตลาดนํ้ามัน : น้ำมัน WTI ปรับลง จากการแข็งค่าเงินดอลลาร์ และความวิตกเกี่ยวกับการทำสงครามการค้า
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 2 เซนต์ ปิดที่ 67.75 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้น 33 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 76.83 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดตลาดปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (7 ก.ย.) จากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และความวิตกเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า ซึ่งจะกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันยังพอได้แรงหนุนจากคาดการณ์ภาวะน้ำมันตึงตัวในตลาด หลังจากที่สหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยการส่งออกน้ำมันดิบและคอนเดนเสทของอิหร่านมีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าระดับ 70 ล้านบาร์เรลในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว ก่อนถึงวันที่ 4 พ.ย.ซึ่งเป็นวันที่สหรัฐเตรียมออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่ออิหร่าน
• ทองคำ : ปรับลง จากดอลลาร์แข็งค่า
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 3.28 ดอลลาร์ หรือ 0.27% ปิดที่ 1,196.47 ดอลลาร์/ออนซ์
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กลดลงเมื่อคืนวันศุกร์ (7 ก.ย.) โดยการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งมีผลมากจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาร้อนแรง
-ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานเพิ่มขึ้นสูง
  # ศุกร์ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนส.ค. โดยเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 191,000 ตำแหน่ง
  # ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 10 เซนต์/ชั่วโมง หรือ 0.4% จากระดับ 0.3% ในเดือนก.ค.และเพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2552 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.7%
-สหรัฐพร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2.67 แสนล้านดอลลาร์
  # สหรัฐพร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2.67 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อใดก็ตามที่เขาต้องการ
  # ปธน.ทรัมป์กล่าวข้อความข้างต้นเพิ่มเติม หลังจากผ่านพ้นกำหนดเส้นตายที่กำหนดไว้ในช่วงเที่ยงคืนวันพฤหัสตามเวลาสหรัฐ หรือเมื่อวานนี้เวลา 11.00 น.ตามเวลาไทย สำหรับการทำประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆของสหรัฐต่อมาตรการเก็บภาษีจีนเพิ่มในวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ หลังการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนในวันที่ 22-23 ส.ค.ได้สิ้นสุดลงโดยไม่มีความคืบหน้าใดๆ ขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันคิดเป็นวงเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์
-/+ ติดตามท่าทีสหรัฐฯกับญี่ปุ่นในเรื่องสงครามการค้า แต่เศรษฐกิจ 2Q61 ออกมาดี
  # นักลงทุนยังคงมีความกังวลในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากที่สหรัฐจะใช้มาตรการค้ากับญี่ปุ่นเป็นรายต่อไป
  # สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2561 ขยายตัว 3.0% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ระดับ 1.9% โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และเพิ่ม 0.7% q-o-q
-รอผลการเจรจาการค้า แคนาดา-สหรัฐ NAFTA หลังประชุมรอบ 2 ไปก่อนหน้า
  # นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายในขณะที่รอผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา โดยตัวแทนเจรจาการค้าของทั้งสองฝ่ายได้เปิดฉากการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่อีกครั้งเมื่อวันพุธสัปดาห์ที่แล้วหลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ขณะที่ปธน.ทรัมป์เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนาดา จะทราบผลในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
+ดอลลาร์แข็งค่า หลังตัวเลขเศรษฐกิจการจ้างงานและค่าแรงออกมาสูง
  # ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (7 ก.ย.) จากการที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเกินคาด รวมทั้งตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของแรงงานที่พุ่งสูงสุดในรอบกว่า 9 ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
-ความกังวลสงครามการค้า เป็นตัวเร่งทำให้เศรษฐกิจโลกชะงักเร็วกว่าคาด
  # ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ระบุว่า ความกังวลสงครามการค้าจะเป็นตัวเร่งให้เศรษฐกิจโลกชะงักเร็วกว่าที่หลายฝ่ายประเมินไว้ โดยเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอที่ชัดเจนจากตัวชี้วัดภาคการผลิตและบริการ หรือ PMI ในหลายประเทศที่เริ่มปรับลดลงและแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาด แนะภาคธุรกิจประเมินความเสี่ยงด้วยการทำ Stress Test ช่วยให้สามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือสถานการณ์การค้าโลกที่แย่ลงจากมาตรการกีดกันทางการค้าได้อย่างเหมาะสม
+ การเบิกจ่ายงบรัฐวิสาหกิจ ม.ค.-ก.ค.61 ขยายตัวสูง
  # ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจ 45 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลโดยตรงตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 - กรกฎาคม 2561 มีจำนวน 262,998 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 71% เมื่อเทียบกับผลเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมในช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยการลงทุนที่เติบโตของรัฐวิสาหกิจเป็นผลมาจากการเร่งลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่
-กรมการค้าต่างประเทศติดตามความคืบหน้ากรณีพิพาทการขึ้นภาษีเหล็ก-อะลูมิเนียมสหรัฐ
  # กรมการค้าต่างประเทศจะติดตามความคืบหน้ากรณีพิพาทภายใต้ WTO เรื่องการขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมของสหรัฐฯ ภายหลังได้รับแจ้งจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่า เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561 องค์การการค้าโลก (WTO) ได้แจ้งเวียนคำขอหารือ (Consultations) ของตุรกี กรณีสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากตุรกีโดยใช้มาตรา 232 ของกฎหมาย Trade Expansion Act of 1962 ของสหรัฐฯ ที่ให้สามารถขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ (National Security) ได้
+/• โครงการคืน VAT ให้ผู้มีรายได้น้อยดำเนินการเพียง 6 เดือน
  # ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงโครงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้กับผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่าไม่ได้เป็นโครงการถาวร หรือโครงการระยะยาว โดยจะดำเนินการทั้งสิ้น 6 เดือนเท่านั้น คือ เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย.61-เม.ย. 62 สำหรับวงเงินคืนภาษีสูงสุดไม่เกินรายละ 500 บาท/เดือน
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO13578

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!