- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 06 September 2018 21:43
- Hits: 2079
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีหลุด 1700 จุด เร็วกว่าคาด ความกังวลสงครามการค้า กดดันเศรษฐกิจโลกมีน้ำหนักมากขึ้น ก่อนสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าขั้นปลายกับจีนอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ ขณะที่ fund flow ยังออกต่อเนื่อง และค่าเงินประเทศเกิดใหม่อ่อนค่า กดดันเงินบาทอ่อนค่าตามในที่สุด กลยุทธ์ปรับพอร์ตและเลือกลงทุนรายหุ้นเน้น Domestic Play ที่ P/E และ Beta ต่ำ (DCC, CPF, RATCH, EASTW) เติบโตสูง 2H61 หรือหุ้น Laggard (BH, SCCC) หุ้นอาหารส่งออกเข้าสู่ High Season (CPF) หรือมีเงินสดสุทธิ (VGI, MACO, PLANB) Top Picks CPF(FV@B30), HANA(FV@B44)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย…. SET Index ปรับตัวลงแรง หลุด 1700 จุด
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ เปิดกระโดดลง และมีช่วงลบกว้างขึ้น จนปิดตลาดที่ 1686.37 จุด ลดลง 28.04 จุด หรือ 1.64% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6.01 หมื่นล้านบาท กดดันจากทุกกลุ่มฯ นำโดย กลุ่มพลังงาน PTT-3.35%, PTTEP-2.46% กลุ่มธ.พ. กลุ่มค้าปลีกโดยเฉพาะ CPALL ยังมีแรงขายออกมาต่อเนื่อง ตรงข้ามหุ้นรายตัวที่บวกสวนคือ HANA +2.5% ASPS เพิ่งปรับเพิ่มประมาณการฯปี2561-62 และมูลค่าที่เหมาะเป็น 44 บาท จาก Gross Margin และรายได้จากเซ็นเซอร์กลุ่มสมาร์ทโฟนที่ดีขึ้น แม้ยังกังวล สงครามการค้า ตามด้วย BDMS และ DCC เป็นต้น
แนวโน้มตลาดฯ ไทยยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1700 จุด โดยให้น้ำหนักต่อ สงครามการค้า สหรัฐ- จีน ที่จะประกาศวงเงินกีดกันเพิ่มเติมอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ และค่าเงินเอเชียที่กลับมาอ่อนค่า ตามตลาดเกิดใหม่หลาย ๆ แห่ง แต่น่าจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นส่งออกอาหาร ที่เข้าสู่ช่วง High season ชอบ HANA, CPF
ค่าเงินประเทศเกิดใหม่อ่อนค่า และน่าจะกระทบประเทศในเอเชียเช่นกัน
ดังที่นำเสนอไปวานนี้ถึงค่าเงินโลกที่ผันผวนในทิศทางอ่อนค่า โดยเฉพาะประเทศเกิดใหญ่ที่เผชิญปัญหาพื้นฐานในประเทศ นับตั้งแต่ขาดดุลการค้าติดต่อมานาน และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ดุลการค้า+ดุลบริการ+รายได้ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ) ซึ่งหมายถึงประเทศมีเงินไหลออกมากกว่าเข้า และเมื่อรวมกับภาระหนี้ต่างประเทศที่มีอยู่ ยิ่งทำให้ความต้องการเงินสกุลท้องถิ่นเพื่อแลกเป็นสกุลต่างประเทศเพื่อชำระหนี้ เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เพราะหากมีการกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ จะไม่สามารถยืนในอัตราแลกเปลี่ยนเดิมได้ แต่จะต้องตลาดขับหรือผลักดันให้ค่าเงินอ่อนค่าเร็ว เพื่อเข้าหาจุดดุลยภาพ ดังที่ประเทศไทยเผชิญในปี 2540 และปัญหาเดียวกันกำลังเกิดกับประเทศเกิดใหม่หลายประเทศขณะนี้
ตัวอย่างแรกคือ ประเทศในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ คือ อาร์เจนติน่า พบว่าเงินเปโซอ่อนค่ามากที่สุด 109.1% จากเพราะปัญหาขาดดุลทั้ง 2 ส่วน แล้วยังมีหนี้สาธารณะในระดับสูง (หนี้สินต่างประเทศรวม 3.63 แสนล้านเหรียญฯ แยกเป็นหนี้สั้น 24.9% ที่เหลือหนี้ยาว 75.6%) ขณะที่มีการลอยตัวอัตราแลกเปลี่ยนตั้งแต่ 17ธ.ค. 2558 จากเดิมเป็นรูปแบบกึ่งคงที่ (Crawling pegs เช่น กำหนดกรอบให้ค่าเงินแกว่งในกรอบ +- ไม่เกิน 2%)
ตามด้วยแถบตะวันออกกลาง พบว่า เวเนซุเอล่า พบว่าค่าเงินโบลิวาร์อ่อนค่ามากที่สุดของโลกราว 2.4 ล้าน% นับแต่ต้นปี เป็น 248,209 โบลิวาร์ จากที่ทรงตัวที่ 9.975 ในปีก่อนหน้า เพราะปัญหาขาดดุลทั้ง 2 ส่วน รวมถึงภาระหนี้สินต่างประเทศด้วย (หนี้สินต่างประเทศรวม 1.1 แสนล้านเหรียญฯ แยกเป็นหนี้สั้น 25.5% ที่เหลือหนี้ยาว 74.51%) มีผลทำให้ธนาคารกลางฯ มีการลอยตัวค่าเงินโบลิวาร์ เมื่อปี ก.พ. 2561 จากก่อนหน้าที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่
และประเทศที่อยู่กึ่งกลางระหว่างยุโรป และตะวันออกกลางคือ ตุรกี กำลังเผชิญปัญหาขาดดุลทั้งคู่มานานกว่า 10 ปี จนมาเจอปัญหาส่งออกเหล็กและอลูมิเนียม เมื่อสหรัฐขึ้นภาษีทั่วโลก กดดันค่าเงินลีรา อ่อนค่ามากถึงราว 76.9%ytd ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ของประเทศเหล่านี้
เช่นเดียวกับค่าเงินเอเซียที่กลับมาอ่อนค่ามากชึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ เพราะพึ่งพาการส่งออกในตลาดเดียวกัน และบางประเทศมีปัญหาขาดดุลทั้งคู่และยังพึ่งพาหนี้สินต่างประเทศ โดยเฉพาะค่าเงินรูเปียะห์ (อินโดนีเซีย) และ รูปี (อินเดีย) เป็นต้น ซึ่งในที่สุดประเทศเอเชียอื่นๆ น่าจะได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน
ทั้งนี้ผลกระทบจากค่าเงินที่อ่อนค่า ทำให้ประเทศในกลุ่ม TIPS บางแห่ง ต้องชะลอการลงทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เพราะการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ต้องใช้เงินสกุลท้องถิ่นมากขึ้น เมื่อสกุลท้องถิ่นอ่อนค่า อาทิ เมื่อวานนี้ รัฐบาลอินโดนีเซีย ชะลอการก่อสร้างโครงการพลังงานไฟฟ้าขนาด 35 กิกะวัตต์ มูลค่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และในวันเดียวกัน มาเลเซียและสิงคโปร์ประกาศชะลอโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง (HSR) เชื่อม 2 ประเทศออกไปอีก 2 ปี วงเงิน 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อชะลอปัญหาขาดดุลทั้งคู่ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ค่าเงินผันผวนมีทั้งผู้ได้/เสีย ประโยชน์ ชอบ CPF, HANA
ดังที่กล่าวไปวานนี้ถึงภาวะค่าเงินโลกที่ผันผวนไปในทิศทางอ่อนค่า ย่อมส่งผลดีต่อบริษัทส่งออก และยิ่งงวด 3Q61 เข้าสู่ช่วงฤดูกาลส่งออก โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มส่งออกชิ้นส่วนฯ และกลุ่มส่งออกอาหาร
กลุ่มส่งออกชิ้นส่วนฯ
HANA โครงสร้างรายได้ 100% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โครงสร้างต้นทุน 60% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทุก 1 บาทของเงินที่อ่อนค่า กำไรเพิ่มขึ้น 6.2% และ Fair Value ปี 2561เพิ่มขึ้น 6.6%
DELTA โครงสร้างรายได้ 72% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โครงสร้างต้นทุน 50% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทุก 1 บาทของเงินที่อ่อนค่า กำไรเพิ่มขึ้น 5.7% และ Fair Value ปี 2561เพิ่มขึ้น 6.9%
KCE โครงสร้างรายได้ 70% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โครงสร้างต้นทุน 50% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทุก 1 บาทของเงินที่อ่อนค่า กำไรเพิ่มขึ้น 5.5% และ Fair Value ปี 2561เพิ่มขึ้น 6.9%
SVI โครงสร้างรายได้ 70% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โครงสร้างต้นทุน 50% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทุก 1 บาทของเงินที่อ่อนค่า กำไรเพิ่มขึ้น 5.2% และ Fair Value ปี 2561เพิ่มขึ้น 6.1%
กลุ่มส่งออกอาหาร
CPF โดยทุก 1 บาทของเงินที่อ่อนค่า กำไรเพิ่มขึ้น 4.9% และ Fair Value ปี 2561เพิ่มขึ้น 0.4%
TU โดยทุก 1 บาทของเงินที่อ่อนค่า กำไรเพิ่มขึ้น 5.5% และ Fair Value ปี 2561เพิ่มขึ้น 6.9%
GFPT โดยทุก 1 บาทของเงินที่อ่อนค่า กำไรเพิ่มขึ้น 2.4% และ Fair Value ปี 2561เพิ่มขึ้น 0.5%
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
TTCL เน้นรับงานจากต่างประเทศ จะได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าลงของเงินบาท
BJCHI, STPI มีการถือครองเงินสดในรูป USD เพื่อใช้ประกอบธุรกิจจำนวนมาก ดังนั้น เงินบาทอ่อนค่า จะทำให้เกิดกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง
VNG มีรายได้จากการส่งออก 75% แต่มีต้นทุนรายวัตถุดิบจากต่างประเทศ (32% เป็นกาว) จึงได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนทุก 1 บาท กำไรสุทธิจะเพิ่ม 80 ล้านบาท
SCCC รายได้จากการส่งออกปูน 50% แต่มีต้นทุนในรูปดอลลาร์ 20% ของยอดขาย (ถ่านหินนำเข้า 30% ของต้นทุนขาย) จึงได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อน
SCC รายได้ในรูปดอลลาร์ 40% แต่มีต้นทุนในรูปดอลลาร์ 20% ของยอดขาย (ถ่านหินนำเข้า30% ของต้นทุนขาย ซึ่งคิดเป็นราว 60% ของต้นทุนรายได้) จึงได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนทุก 1 บาท กำไรสุทธิจะเพิ่ม 2200 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจาก SCC มีการลงทุนในต่างประเทศ ผลประโยชน์อาจจะไม่มากดังที่กล่าว
กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
THCOM รายได้ในรูปดอลล่าร์ 80% ต้นทุนขายในรูปดอลล่าร์ 35% ของยอดขาย จึงได้ประโยชน์จากบาทที่อ่อนค่า
เน้น Selective Buy ชอบ HANA(FV@B44) และ CPF (FV@B30) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Market Talk ณ 5 ก.ย.61
อย่างไรก็ตามบริษัทที่มีการกู้เงิน และ/หรือนำเข้าสินค้าคงทนและวัตถุดิบ จากต่างประเทศ ย่อมมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อราคาหุ้นได้ โดยผลกระทบจากบาทอ่อนค่าในแต่ละกลุ่มฯ มีดังนี้
พลังงาน และ ปิโตรเคมี
ลักษณะของรายได้และต้นทุนอยู่ในรูปดอลลาร์ เป็น Natural Hedge ในสัดส่วนกว่า 80%
แต่บางบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากหนี้สินที่ยังเป็นเงินสกุลเหรียญฯ เช่น PTT, PTTEP, TOP, IRPC และ PTTGC
นอกจากนี้ PTTEP ยังมีผลกระทบเพิ่มเติมจากภาษีจ่ายสรรพากร โดยประเมินว่าทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า จะเสียประโยชน์ทางภาษีไปราว 100 ล้านเหรียญ
ขนส่งทางอากาศ
สายการบิน กระทบมากสุด เพราะโครงสร้างต้นทุนที่อยู่ในรูป USD คิดเป็นสัดส่วน 60% ของต้นทุนรวม อาทิ น้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง ค่าประกัน ค่าเช่าเครื่องบิน แต่ชดเชยรายได้ บางส่วนเป็นเงินสกุล USD ทำให้สุทธิแล้วได้รับผลกระทบบางส่วน เช่น AAV รายได้ในรูป USD ราว 10%, THAI ราว 5% ยกเว้น BA เป็น natural hedge (รายจ่าย 50% รายได้ 50%)
Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค รวมถึงไทย
ความกังวลประเด็นสงครามการค้าสหรัฐ-จีน รวมถึงค่าเงินในประเทศเกิดใหม่ที่ผันผวน กดดันตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกปรับตัวลดลง ขณะเดียวกัน Fund Flow ยังไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ 310 ล้านเหรียญ นำโดยไต้หวันขายสุทธิ 98 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 7 วัน), เกาหลีใต้ 66 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนกลุ่ม TIP เริ่มจากอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 59 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทย 68 ล้านเหรียญ หรือ 2.23 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9 มีมูลค่าขายรวม 1.19 หมื่นล้านบาท) นอกจากนี้ ยังเปิดสถานะชอร์ตสุทธิ SET50 Futures กว่า 1.23 หมื่นสัญญา (ชอร์ตสุทธิติดต่อกัน 4 วัน มีมูลค่ารวมสูงถึง 2.15 หมื่นสัญญา) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศขายสุทธิ 3.73 หมื่นล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) แรงกระหน่ำขายของทั้งต่างชาติและสถาบันฯน่าจะกดดัน SET Index ให้ไปต่อได้ยาก
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย 982 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) เป็นหลุมหลบภัย หลังจากขายตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง หนุนให้เงินบาทยังทรงอยู่ที่ระดับ 32.78 บาท/ดอลลาร์
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO13456