- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 30 August 2018 17:21
- Hits: 5347
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีแกว่งตัวเหนือ 1700 จุด ยังให้น้ำหนักเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น หนุนการขึ้นดอกเบี้ยโลกเป็นไปตามเป้าหมาย แต่ dollar index อ่อนค่าระยะสั้น และสต็อกน้ำมันลดลงมากกว่าคาด หนุนราคาน้ำมันทรงในระดับสูง แต่เป็นโอกาสขายลดหุ้นน้ำมันทั้ง PTTEP, PTT กลยุทธ์ฯ ให้ทยอยขายทำกำไรรายหุ้นและสลับมาลงทุน Domestic Play ที่ P/E และ Beta ต่ำ (DCC, CPF, RATCH, EASTW) เติบโตสูง 2H61 หรือหุ้น Laggard (BH, SCCC) หุ้นอาหารส่งออกเข้าสู่ High Season (CPF) Top Picks ADVANC(FV@B230) และ CPF(FV@B30) ที่ยัง Laggard สวนทางราคาเนื้อสัตว์ที่ฟื้นตัว
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... SET Index ฟื้นตัวต่อ แต่มูลค่าซื้อขายเบาบาง
วานนี้ SET Index ระหว่างวันแกว่งตัวในกรอบแคบ ก่อนจะไล่ขึ้นมาในช่วงท้ายตลาด ปิดที่ 1722.26 จุด เพิ่มขึ้น 4.11 จุด หรือ +0.24% ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบางอีกรอบที่ 3.81 หมื่นล้านบาท ดัชนีได้แรงหนุนจากกลุ่มค้าปลีก CPALL MAKRO และ BJC รวมถึงกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTTEP +0.35% PTTGC+1.83% IRPC+2.24% และหุ้นรายตัว CBG +6.01% ราคาขึ้นมาทำ high ในรอบเดือน ตรงข้ามหลายกลุ่มที่ปรับลดลง คือ ธ.พ. (BBL BAY TMB) และโรงพยาบาล (BDMS BCH)
แนวโน้ม SET Index น่าจะยังแกว่งตัวเหนือ 1700 จุด บวก-ลบไม่มาก โดยให้ยังน้ำหนักต่อเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยโลก รวมถึงผลกระทบของสงครามการค้าโลก ทั้งสหรัฐกับคู่ค้าหลักๆ จีน เม็กซิโก และแคนาดา เป็นต้น ซึ่งน่าจะเห็นผลในระยะ 2H61 ต่อเนื่องปี 2562
เงินเฟ้อยังเพิ่ม และไทยน่าจะหลีกหนีดอกเบี้ยขาขึ้นยาก
นับจากนี้ประเด็นเงินเฟ้อน่ากลับเข้ามามีน้ำหนักต่อตลาดมากขึ้น โดยวันศุกร์นี้ จะเป็นการรายงานเงินเฟ้อเดือน ส.ค. ของยุโรป ตลาดคาดไว้ที่ 2.1% ซึ่งใกล้เคียงกับเดือน ก.ค. ที่ 2.1% และใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ 2% ซึ่งยังห่างจากดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% แต่เนื่องจากการฟื้นตัวของยุโรปยังมีความแตกต่างกันในหลายประเทศ (GDP Growth งวด 2Q61 2.2% vs 2.5% 1Q61) จึงทำให้การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายอีกระยะหนึ่ง และน่าจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยประมาณ 2Q62
และกลางเดือน ก.ย. น่าจะเป็นการประกาศเงินเฟ้อของสหรัฐ ซึ่งตลาดคาดไว้ที่ 2.9% เท่ากับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเทียบดอกเบี้ยนโยบาย 2% ทำให้โอกาสขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 27 ก.ย. นี้อีก 0.25% เป็น 2.25% และน่าจะขึ้นอีก 0.25% เป็น 2.5% ในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งก่อนสิ้นปี 2561
และไทยจะมีการประกาศเงินเฟ้อเดือน ส.ค. 3 ก.ย. นี้ ASPS คาดว่าจะอยู่ที่ 1.59% (consensus คาด 1.62%) เพิ่มจาก 1.46% ในเดือน ก.ค. และน่าจะมีแนวโน้มแตะ 2% ในช่วงปลายปีนี้ (ภายใต้สมมติฐาน FX 33 บาทต่อดอลลาร์ และน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2561 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล) อย่างไรก็ตามหากติดตามการให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ยังมิได้ชี้ชัดว่าจะเริ่มใช้นโยบายการเงินตึงตัวเมื่อใด แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง) แต่เริ่มกังวลกับการปล่อยให้ดอกเบี้ยต่ำนานเกิน และช่องว่างของดอกเบี้ยไทยกับ ต่างประเทศที่ห่างเกินไป อาจจะทำให้การบริหารจัดการนโยบายการเงินในอนาคตยากขึ้น ทำให้การประชุมรอบ 19 ก.ย. นี้อาจจะยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% อีกระยะหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามได้เปิดช่องให้ ธ.พ. สามารถปรับดอกเบี้ยตามความเหมาะสม ดังที่เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีการประกาศขึ้นดอกเบี้ยสินเชื่อบางประเภทที่ดอกเบี้ยต่ำเกินไป เช่น สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และล่าสุดมี ธ.พ.หลายแห่ง เริ่มออกนโยบายดึงเงินฝากระยะยาว เพื่อเตรียมความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อตามการขยายตัวของการลงทุนเอกชนตามการขยายตัวของภาคส่งออก และการลงทุนสาธารณูปโภคภาครัฐ (รถไฟฟ้า และ EEC) เป็นต้น ซึ่งสถานการณ์นี้ถือว่าดีต่อธนาคารพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้รับแรงหนุนจากการส่งออก ซึ่งหากการกีดกันการค้าจีน–สหรัฐ ยังคงมีอยู่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชีย ย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นรอบนี้ของไทย อาจจะเกิดขึ้นระยะสั้นก็เป็นได้
ราคาหุ้นธนาคารน่าจะสะท้อนการขึ้นดอกเบี้ยระดับหนึ่งแล้ว
นับจากเดือน ก.ค. - ส.ค. เป็นต้นมาพบว่า มี ธ.พ. บางแห่งทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยในฝั่งสินเชื่อไปบ้างแล้ว เช่น SCB นำร่องขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 0.05% พร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ยสินเชื่อรถยนต์ใหม่ 0.5-1% (มีผลแล้วเมื่อ 15 ส.ค.) ตามมาด้วย TCAP ปรับขึ้นดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ขึ้น 0.2% มีผลตั้งแต่เดือน ก.ค. BAY ปรับสินเชื่อบ้าน 0.25% มีผลต้นเดือน ก.ค. เช่นกัน
ล่าสุดเริ่มเห็นการปรับดอกเบี้ยเงินฝาก คือ ธนาคารไอซีบีซี(ไทย) ให้ดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาว (เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน) สูงสุดที่ 2.55% ตามด้วย LH BANK ออกแคมเปญเงินฝากประจำพิเศษ 12 เดือน ดอกเบี้ย 1.75% และ 24 เดือน 1.85% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์และธนาคารรัฐอื่นๆ ก็มีอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจผู้ฝากเงินไม่แพ้กัน
ประเด็นดังกล่าว สะท้อนถึงการแข่งกันระดมเงินฝาก เพื่อเตรียมไว้สำหรับปล่อยสินเชื่อต่อไปในอนาคตที่ความต้องการสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นการล็อคต้นทุนของเงินที่ยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนักท่ามกลางแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นในระยะต่อไป ประเด็นนี้ถือเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่ม ธ.พ. เนื่องจากโครงสร้างสินเชื่อของ ธ.พ.ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวกว่า 56% เทียบกับเงินฝากและเงินกู้ยืมที่เป็นอัตราดอกเบี้ยในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ซึ่ง ธ.พ. ที่ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉพาะ ธ.พ. ที่มีสถานภาพในตลาดเงินเป็นผู้ให้กู้ยืมสุทธิ (Net Lending) จะได้ประโยชน์มากกว่าผู้ยืมสุทธิ (Net Borrowing) จากการประเมินของฝ่ายวิจัย พบว่าทุก 25 bp ของดอกเบี้ยตลาดที่ปรัขึ้น จะทำให้กำไรสุทธิปี 2562 ของกลุ่มฯ เพิ่มขึ้น 5.6% โดย KTB กำไรเพิ่มขึ้นสูงสุด ตามด้วย BBL (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ปรับขึ้นจนมี Upside จำกัด จึงแนะนำสะสมเมื่ออ่อนตัว โดยยังชอบ BBL และ TCAP
ราคาน้ำมันฟื้น ยังเป็นจังหวะขายมากกว่าซื้อ
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ที่ 2.56 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาดจะลดลง 6.86 แสนบาร์เรล ผลจากโรงกลั่นเพิ่มการกลั่นน้ำมันดิบ แต่การใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาที่ 97.3% จากที่ใช้กำลังการผลิต 97.2% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และ 96.1% สัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ Supply น้ำมันยังคงเพิ่มขึ้น จากสหรัฐยังคงผลิตแทนการนำเข้า (ล่าสุดผลิตวันละ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์) และกลุ่ม OPEC ที่เพิ่มเพื่อชดเชยกำลังผลิตที่หายไปจากอิหร่าน และเวเนซุเอล่า เนื่องจากถูกสหรัฐคว่ำบาตร แม้สัญญาการคงกำลังการผลิตของ OPEC และกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันยังมีอยู่ถึงสิ้นปีนี้ก็ตาม
ขณะที่เชื่อว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกอาจจะมีแนวโน้มชะลอ หากผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐและจีน วงเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญฯ แรกที่เกิดขึ้นแล้ว และทั้ง 2 ประเทศเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกคือ สหรัฐบริโภคสูงสุด 24.9 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิด 25.5%ของการบริโภคน้ำมันในตลาดโลก และจีนอันดับ 2 12.5 ล้านบาร์เรล/วัน ราว 12.8% น่าจะกดดันราคาน้ำมันดิบระยะกลางยาว จึงยังสมมติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล และปีหน้าที่ 70 เหรียญฯ และ 75 เหรียญฯ ในปีถัดๆ ไป ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันส่วนใหญ๋ใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นปี 2561 หรือมี Upside จำกัด แนะนำขายทั้ง PTT(FV@B54) และ PTTEP(FV@B137)
Thailand Focus จะช่วยกระตุ้นเงินทุนไหลกลับไทยจริงหรือ?
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่ากว่า 525 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 457 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3), เกาหลีใต้ 132 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7), ฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 2 ตลาดยังคง ขายสุทธิ คือ อินโดนีเซีย 33 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิ 33 ล้านเหรียญ หรือ 1.07 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) สวนทางสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิอีก 922 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 10 วัน มูลค่ารวมสูงถึง 1.96 หมื่นล้านบาท)
เป็นที่สังเกตว่าแรงซื้อจากสถาบันฯตลอดช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หนุนให้ SET Index ปรับตัวขึ้นกว่า 2.74% แต่ต่างชาติยังขายสุทธิสะสมกว่า 1.97 แสนล้านบาทตลอดทั้งปีนี้ (ytd) ซึ่งถือ เป็นยอดขายสุทธิ สะสมสูงสุด นับตั้งแต่ปี 2535 (ตลาดเริ่มเก็บข้อมูล) เพราะฉะนั้นความคาดหวังว่าหลังงาน Thailand Focus การให้ข้อมูลภาพรวมเศรษฐกิจไทยให้ต่างชาติชัดเจน จะดึงเม็ดเงินไหลกลับมาตลาดหุ้นไทย คงต้องติดตามต่อไป หากยังไม่ไหลกลับมา เชื่อว่า ดัชนีน่าจะปรับตัวขึ้นได้จำกัด และที่สำคัญตลาดหุ้นไทยอาจจะมีโอกาสปรับลดประมาณการกำไรลง เช่นเดียวกับตลาดเพื่อนบ้านที่นำเสนอไปเมื่อวานนี้ เพราะจากการสำรวจบทวิเคราะห์หลัง Analyst’s meeting ตามหลังประกาศงบ 2Q61 พบว่ามีทยอยปรับลดประมาณหลายบริษัทและน่าจะมีนัยสำคัญต่อการปรับลดกำไรตลาด จากเดิมที่คาดว่ากระทบน้อย
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO13147