- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 29 August 2018 21:31
- Hits: 1279
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยน่าจะอ่อนตัวลงและลงมาทดสอบ 1700 จุด เพราะแรงซื้อจำกัดเฉพาะสถาบันในประเทศ ขณะที่ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก มีสัญญาณชะลอตัวทั้งในจีนและสหรัฐ และปัญหาการเงินในตุรกีน่าจะฉุดธนาคารยุโรปหลายแห่ง กลยุทธ์ฯ Domesticy Play คือ P/E และ Beta ต่ำ (DCC, CPF, SCC, RATCH, EASTW) เติบโตสูง 2H61 และ Laggard (BH, RJH, SCCC, BJC) หุ้นอาหารส่งออกเข้าสู่ High Season (CPF) Top Picks ADVANC(FV@B230) และ CPF (FV@B30) ซึ่ง Laggard ราคาหมูในภูมิภาคมีโอกาสขยับขึ้นจากโรคระบาดในจีน ทำให้ต้องนำเข้าหมูจากประเทศเพื่อนบ้านทดแทน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... SET Index อ่อนแรงในภาคบ่าย
วานนี้ SET Index เปิดกระโดดขึ้นในภาคเช้า และลดช่วงบวกลง ก่อนจะปิดตลาดที่ 1718.15 จุด เพิ่มขึ้น 0.91 จุด หรือ +0.05% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.06 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นในกลุ่ม ปตท. (PTT, PTTEP, PTTGC) ปรับตัวเพิ่มขึ้นหนุนตลาด ตามด้วยหุ้นรายตัวอย่าง CPN+1.85% ADVANC+1% และ HMPRO+2.78% ตรงข้ามกับกลุ่มธ.พ. ย่อตัวลงกดดันดัชนี KBANK-1.38%, SCB-1.36% และ BBL-0.48% ส่วน SCC LH CPALL ปิดตลาดติดลบเช่นกัน
แนวโน้มตลาดฯ ไทยน่าจะพักตัวลงมาทดสอบ 1700 จุดได้ โดยยังขาดปัจจัยหนุน และให้น้ำหนักต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากปัญหาในตุรกี ที่จะดึงธนาคารยุโรปมีปัญหาตามมา และการกีดการค้าโลกทั้ง สหรัฐ กับคู่ค้าหลักๆ จีน เม็กซิโก และแคนาดา เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยบวกราคาเนื้อสัตว์ทั้งสุกร และไก่น่าจะได้รับผลบวกจากโรคไข้อหิวาต์แอฟริกันในจีน
อย่าประมาทปัญหาในตุรกี อาจจะขยายผลไปยุโรป
ประเด็นตุรกีกลับมามีน้ำหนักอีกครั้ง หลังจากกลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา สถาบันจัดอันดับเครดิต 2 แห่งของโลกลดความน่าเชื่อถือ คือ S&P ได้ปรับลด Credit rating พันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของตุรกีลงเหลือ B+จากเดิม BB- และ Moody’s ปรับลดเหลือ Ba3 จากเดิมที่ Ba2 เพราะกังวลต่อการผิดชำระหนี้ของตุรกี จากปัญหาค่าเงินลีราเทียบดอลลาร์อ่อนค่าราว 64.9% นับตั้งแต่ต้นปี ทำให้มีลูกหนี้ในตุรกีต้องเผชิญหนี้สินสกุลเงินท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้
ล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา Moody’s ได้ปรับความน่าเชื่อถือของธนาคารในตุรกีทั้งหมด 20 แห่งลงอีก 1 ขั้น เนื่องจาก
ฝั่งหนี้สิน (ระดมเงินทุน) พบว่า ธนาคารพาณิชย์ของตุรกีมีการระดมเงินทุนต่างประเทศราว 1.86 แสนล้านเหรียญฯ ณ สิ้นเดือน มิ.ย. (หรือคิดราว 75% เป็นการระดมเงินทุนต่างประเทศ 25% เป็นการระดมเงินทุนในประเทศ)
ฝั่งสินทรัพย์ (เงินลงทุน) พบว่าในช่วง 12 เดือนข้างหน้า หุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศวงเงินรวม 7.7 หมื่นล้านเหรียญฯ (คิดราว 41% เป็นการระดมทั้งหมด) จำเป็นที่จะต้อง Refinance ขณะที่ธนาคารของตุรกีมีสินทรัพย์สภาพคล่องในรูปสกุลเงินต่างประเทศเพียง 4.8 หมื่นล้านเหรียญฯ และมีเงินทุนสำรองที่ฝากไว้กับธนาคารกลางตุรกีเพียง 5.7 หมื่นล้านเหรียญฯ ซึ่งไม่เพียงพอ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากตุรกีมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับยุโรป โดยหากตุรกีผิดนัดชำระหนี้จะกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ในยุโรปที่เป็นเจ้าหนี้ ที่เป็นหนี้สินต่างประเทศ (FX Debt) ซึ่งปัจจุบันมียอดอยู่ 4.53 แสนล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็น 53% ของ GDP แม้ภาระหนี้สินต่างประเทศทั้งหมดกว่า 75% เป็นหนี้สินระยะยาว เป็นหนี้สินระยะสั้นเพียง 25% ขณะที่เจ้าหนี้ส่วนใหญ่คือฝั่งยุโรปกว่า 73.3% (รายใหญ่คือ สเปน 33.5% และฝรั่งเศส 15.6%, อังกฤษ 7.8%, เยอรมัน 7, อิตาลี 6.9%) ทั้งนี้แม้ยุโรป โดยเฉพาะพี่เบิ้มคือ เยอรมัน ออกมาประกาศว่าจะไม่ช่วยเหลือ แต่เชื่อว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็นปัจจัยที่ต้องติดตามต่อ
SET เพิ่มขึ้น 2.5% จากแรงซื้อของสถาบันฯ 9 วันติด
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่ากว่า 511 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 249 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6), ไต้หวัน 228 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 55 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกต่างชาติขายสุทธิ 30 ล้านเหรียญ หรือ 989 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิอีก 2.69 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9)
แม้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 8 ใน 9 วันทำการที่ผ่านมา 1.11 หมื่นล้านบาท แต่ SET Index ยังคงเดินหน้าเพิ่มขึ้นกว่า 42 จุด หรือ 2.5% เนื่องจากได้แรงหนุนจากสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิหุ้นไทยติดต่อกัน 9 วันทำการ ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 1.87 หมื่นล้านบาท ทำให้เชื่อว่า SET Index น่าจะปรับตัวขึ้นได้จำกัด ตราบใดที่ Fund Flow ยังไม่ไหลกลับเข้ามาในตลาดไทย
CPF ราคา laggard ทั้งๆ ที่ราคาเนื้อสัตว์ฟื้นตัว
ท่ามกลางการฟื้นตัวของราคาเนื้อสัตว์ทั้งสุกรและไก่ โดยราคาสุกรหน้าฟาร์มล่าสุดอยู่ที่ 64 บาท/กก. สูงสุดในรอบ 14 เดือน ขณะที่ราคาไก่เป็นล่าสุดอยู่ที่ 38 บาท/กก. สูงสุดในรอบ 10 เดือน ตรงข้ามกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ก็ปรับลดลง คือ ข้าวโพดล่าสุดอยู่ที่ 8.50 บาท/กก. ลดลงถึง 10.5% mom ขณะที่ราคากากถั่วเหลืองในต่างประเทศก็ปรับลดลงถึง 9.1% นับตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. 61 มาที่ 310.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ล้วนผลักหุ้นในหมวดอาหารส่งออกให้เดินหน้าทะลุเป้าหมายปี 2561 เริ่มจาก GFPT (FV@B14) ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว และ TFG ([email protected]) ปรับขึ้นจน upside เหลือเพียง 3.7% ยกเว้น CPF ราคาแกว่งตัว มี upside ราว 14.3% จึงมีคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับ CPF
เรามาดูโครงสร้างรายได้พบว่าของแต่บริษัทจะประโยชน์ต่างกัน คือ TFG ([email protected]) มีสัดส่วนรายได้ของธุรกิจไก่ในประเทศ 70% ของรายได้รวมและธุรกิจสุกรในประเทศราว 20% จึงน่าจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการฟื้นตัวของสุกร และไก่ ส่วน GFPT (FV@B14) มีสัดส่วนธุรกิจไก่ในประเทศ 70% จึงได้ประโยชน์จากธุรกิจไก่และอาหารเท่านั้น ขณะที่ CPF (FV@B30) มีสัดส่วนรายได้กระจายตัวในประเทศ 33% และต่างประเทศ 67% โดยในประเทศแยกเป็นธุรกิจอาหารสัตว์ และสุกรในประเทศราว 14% และไก่ในประเทศราว 9% และ 10% เป็นอื่น คืออาหาร กุ้ง และเป็ด เป็นต้น
ส่วนในต่างประเทศแยกเป็นในจีนสูงสุด 27% ของรายได้รวม (อาหารสัตว์ 83% ฟาร์มไก่ 13% และ อาหารสำเร็จรูป 4%) รองลงมาคือ เวียดนาม 14% (หมูและอาหารสัตว์ ) ที่เหลือ 26% กระจายในอินเดีย (ไก่ อาหารกุ้ง) ตุรกี (ไก่ อาหารสัตว์) รัสเซีย (หมู ไก่ อาหารสัตว์) สหรัฐ อาหารสำเร็วรูปรูป ไต้หวัน (หมู และ ไก่ อาหารสัตว์)
โดยธุรกิจในต่างประเทศจะฟื้นตัวในงวด 2H61 นำโดยธุรกิจในเวียดนาม (14% ของรายได้รวมของ CPF) โดยเฉพาะธุรกิจสุกรในเวียดนาม ที่ราคาสุกรฟื้นตัวต่อเนื่อง จนล่าสุดอยู่ที่ 5.2 หมื่นดอง/กก. ทำระดับสูงสุดในรอบ 27 เดือน และราคาสุกรเฉลี่ยงวด 3Q61 ปรับเพิ่มขึ้นถึง 20.3% qoq และ 66.0% yoy จากปัญหาสุกรล้นตลาดคลี่คลายลงแล้ว
สำหรับความเสี่ยงของ CPF ในงวด 2H61 คาดว่าได้สะท้อนในราคาหุ้นแล้ว โดยเฉพาะวิกฤติเศรษฐกิจในตุรกี ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินลีราตุรกีอ่อนค่าลงถึง 64% นับตั้งแต่เดือนต้นปี 2561 โดยประเมินว่า CPF เพราะรายได้จากตุรกีคิดเป็นราว 4% ของรายได้รวม และส่วนใหญ่จำหน่ายในประเทศ และได้ปรับกลยุทธ์ชะลอการลงทุนในตุรกีเพิ่มเติม
ขณะที่ข่าวโรคไข้อหิวาต์แอฟริกันในสุกรระบาดในรัสเซียตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้ CPF แล้วราว 355 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะบันทึกในงวด 3Q61 แต่ CPF มีการทำประกันความเสียหายเอาไว้อยู่แล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้รับเงินชดเชยทั้งหมดในภายหลัง ทั้งนี้โรคระบาดครั้งนี้ กระทบต่อปริมาณการเลี้ยงสุกรในรัสเซียราว 25% หรือราว 1.5 พันล้านบาท/ปี และคิดเป็น 10% ของรายได้ของธุรกิจในรัสเซีย แต่คิดเป็น 3% ของรายได้รวม โดยคาดว่าจะสามารถกลับมาเลี้ยงสุกรได้ใหม่ในงวด 4Q61
พบเชื้อไข้อหิวาต์แอฟริกันในสุกรที่จีนรอบ 2 หนุนราคาหมูในภูมิภาคสูงขึ้น
และที่เป็นข่าวผ่าน Bloomberg เย็นวานนี้ ระบุว่ามีการตรวจพบเชื้อไข้อหิวาต์แอฟริกันในสุกร ที่มณฑลเหลียวหนิง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนอีกครั้ง 28 ส.ค. 61 หลังจากพบครั้งแรกเมื่อ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 61 ทำให้รัฐบาลจีนสั่งทำลายสุกรไปราว 1 พันตัว และหยุดการเคลื่อนย้ายสุกรในบริเวณดังกล่าวชั่วคราว ในครั้งนี้ รัฐบาลจีนได้สั่งทำลายสุกรอีกกว่า 2.4 หมื่นตัว เพราะเชื้อไข้อหิวาต์แอฟริกันในสุกร ได้ระบาดในอีก 4 มณฑล เมื่อรวมการทำลายในครั้งแรก เท่ากับจีนได้ทำลายสุกรไปแล้วกว่า 2.5 หมื่นตัว คิดเป็น 2.5 พันตัน แม้จะคิดเป็นราว 0.005% ของปริมาณการเลี้ยงสุกรในจีนทั้งหมด แต่น่าจะกระทบต่อปริมาณหมูที่จำหน่ายในประเทศจีน เพราะปัจจุบันจีนผลิตไม่พอกับการบริโภคในประเทศ โดยผู้นำเข้าสุกรสุทธิราว 1.3 ล้านตัน/ปี โดยมีการนำเข้าจากสหรัฐเป็นหลัก และ จากเพื่อนบ้านตามชายแดนมากขึ้น อาทิ เวียดนามและไทย แต่เมื่อจีนตอบโตการค้าสหรัฐ จึงมีการขึ้นภาษีนำเข้า 25% ทำให้จีนต้องหาตลาดนำเข้าใหม่ทดแทน ทั้งนี้ CPF ไม่มีฟาร์มเลี้ยงสุกรในประเทศจีน แต่มีธุรกิจการอาหารสัตว์ และไก่ จึงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไข้อหิวาต์ในครั้งนี้จำกัด แต่จะได้ผลบวกจากแนวโน้มราคาสุกรในภูมิภาคเอเชียปรับสูงขึ้น อาทิ ราคาสุกรในเวียดนามและไทย ทั้งนี้ ยังต้องติดตามการแพร่ระบาดของโรคไข้อหิวาต์แอฟริกันในสุกรอย่างใกล้ชิดต่อไป
กลยุทธ์การลงทุนยังให้น้ำหนักการลงทุน 40% ของเงินลงทุน เน้นเลือกรายหุ้นคือ
1. Domestic Play โดยพิจารณาจาก
หุ้นที่มี P/E ต่ำและผันผวนน้อย : DCC, TCAP, SCC, RATCH, EASTW
กำไร 2H61 เติบโตกว่า 1H61 และราคาหุ้นยัง laggard : BJC, BH, RJH, SCCC
อิงการบริโภคในประเทศ : ROBINS, BJC, ADVANC, DTAC
ดอกเบี้ยขาขึ้น : BBL, TCAP
2. หุ้นส่งออกอาหารที่ยัง Laggard : CPF
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO13093