WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
  สงครามการค้ายังกดดันตลาดหุ้นโลก Fund Flow ยังคงไหลออก ส่วนผลประมูล 1800 Mhz  ทั้ง DTAC, ADVANC ได้แห่งละ 5 Mhz ต้นทุนทุกรายลดลงกว่าที่คาด แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริการที่ดีขึ้น ตอบสนองความต้องการใช้บริการในยุค Digital Life มากขึ้น  และการประกาศ GDP Growth 2Q61 วันนี้คาด 4.4% สอดคล้องคาดการณ์ปี 2561 แต่ให้น้ำหนักปี 2562 จะชะลอตัวจากผลกระทบการค้าโลกชัดเจนขึ้น กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic Play (ROBINS, ADVANC, DCC, EASTW, SPF) เลือก DCC([email protected]) และ ADVANC(FV@B230) เป็น Top picks
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …. หุ้น Big Cap หนุน SET ปิดบวก 
  วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นสอดคล้องกับภูมิภาคบางแห่ง (ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินเดีย)  เพราะคลายความกังวลสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ที่เปิดการเจรจารอบใหม่ 22-23 ส.ค. นี้  แม้ยังมิอาจคาดผลลัพธ์ใด  ปิดตลาดที่ 1690.04 จุด เพิ่มขึ้น 9.08 จุด หรือ 0.54% มูลค่าการซื้อขาย 5.52 หมื่นล้านบาท แรงหนุนตลาดฯ มาจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งพลังงาน-ปิโตร PTT(+1.98%) PTTGC (+1.24%) และ IVL (+1.78%) ตามด้วยหุ้นธนาคารพาณิชย์ (KBANK BBL SCB) ตรงข้ามหุ้นมีแรงขายในหุ้นค้าปลีก  CPALL HMPRO  และ MAKRO 
  แนวโน้ม SET วันนี้การฟื้นตัวยังจำกัดบริเวณ  1700 จุด ให้น้ำหนักสงครามการค้าจีน-สหรัฐ และ วิกฤติการเงินที่ตุรกี มีโอกาสกระจายยุโรป  ส่วนการประมูล 1800 Mhz สรุป DTAC, ADVANC ได้รายละ  5 Mhz  ทำให้งบลงทุนต่ำกว่าคาด   มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น DTAC, ADVANC ขึ้นเช่นเดียวกับ TRUE และการประกาศ GDP Growth ไทยงวด 2Q61 คาด 4.4% ยังสอดคล้องปี 2561 แต่ปี 2562 น่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบการค้าโลก
 
สัปดาห์นี้ การเจรจากาคค้าจีน-สหรัฐ แต่มีความหวังด้านบวกน้อย 
  ต่างประเทศสัปดาห์นี้ตลาดให้น้ำหนัก   22-23 ส.ค.  สหรัฐ-จีน จะมีการเจรจาประเด็นสงครามการค้าอย่างเป็นทางการครั้งที่ 4 ของปีนี้ ซึ่งคาดว่ามีโอกาสที่จะแข็งกร้าวต่อทั้ง 2 ฝั่ง และในวันเดียวกัน 23 ส.ค.  มีกำหนดที่สหรัฐขึ้นภาษีนำเข้า 25% รอบที่ 2 กับจีน 1.6 หมื่นล้านเหรียญฯ หลักๆ มุ่งไปที่สินค้าประเภท เครื่องจักร, อุปกรณ์ไฟฟ้า, สินค้าเทคโนโลยี เป็นต้น   และต้องติดตามต่อว่าสหรัฐจะขึ้นภาษีรอบ 3 อีก 2 แสนล้านเหรียญอัตรา 25% ซึ่งมุ่งไปที่สินค้าอุปโภคบริโภค(Consumer Goods) ตามที่ประกาศไว้หรือไม่ แต่ต้องภายหลังการทำประชาพิจารณ์ 5 ก.ย. 2561   ขณะที่จีนพร้อมตอบโต้รอบ 3 วงเงิน 6 หมื่นล้านเหรียญ อัตรา 5-25%
  ส่วนตุรกี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ถูกสถาบันจัดอันดับเครดิตของโลกลดความน่าเชื่อถือทั้ง 2  แห่ง คือ   S&P  ได้ปรับลด Credit rating รัฐบาลระยะยาวของตุรกีลงเหลือ B+ (ระดับขยะขั้นแรก) จากเดิม BB-   และ   Moody’s ปรับลดเหลือ Ba3 จากเดิมที่ Ba2  (ระดับขยะขั้นแรก)  เพราะกังวลต่อการผิดชำระหนี้ของตุรกี  จากปัญหาค่าเงินลีราตกต่ำ เป็นอันดับ 2 ของฝั่งประเทศกำลังพัฒนาราว 53% นับตั้งแต่ต้นปี  (เป็นรองแค่เวเนซุเอล่าที่อ่อนค่ามากสุดราว 60%  ซึ่งเผชิญปัญหาหนี้สาธารณะสูง  และการฉ้อโกงภาครัฐฯ) ทั้งนี้ ตุรกีเผชิญปัญหาขาดดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัด ที่สะสมมานาน  (หนี้สินต่างประเทศ 53% ของ GDP  เจ้าหนี้ส่วนใหญ่คือฝั่งยุโรปราว  73.3%) 
  ขณะที่ไทยวันนี้ สภาพัฒน์ฯ จะรายงาน GDP Growth งวด 2Q61 (ทราบผลราว 9.30 น.) ตลาดคาด 4.4%yoy VS. ASPS คาด 4.3% แต่ชะลอจาก 4.8% ในงวด 1Q61 โดยปัจจัยขับเคลื่อนในงวดนี้มาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวเฉลี่ย 10.6%yoyใน 2Q61 และการบริโภคครัวเรือนซึ่งมีแรงหนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ   การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ เริ่ม 1 เม.ย. และบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย  โดยรวม ASPS ยังคงประมาณการ GDP Growth ทั้งปี 2561 ไว้ที่ 4.4%yoy แต่ผลกระทบจากสงครามการค้าโลก  น่ากดดัน GDP Growth ของไทยในปี 2562 เป็นต้นไป  
 
DTAC, ADVANC ได้คลื่น 1800 รายละ 5 Mhz  
  ผลประมูลคลื่น 1800 MHz วานนี้สรุปว่า ADVANC และ DTAC ได้รายละ 1 ใบอนุญาต ๆ ละ 5 MHz  ที่ราคา 1.25 หมื่นล้านบาท (จากทั้งหมด 9 ใบอนุญาต) ใกล้เคียงราคาตั้งต้น การแข่งขันลดน้อยลง เมื่อ TRUE ไม่ได้เข้าร่วมประมูล   ทั้งนี้หลังประมูล ช่วยให้ทุกรายมีคลื่นรวมใกล้เคียงกันระหว่าง 50-60 MHz โดย ADVANC มีคลื่นมากสุดรองลงมาคือ TRUE และ DTAC
  อย่างไรก็ตาม  DTAC  จำเป็นต้องเร่งลงทุน 4G ให้ทันคู่แข่งระยะสั้น เนื่องจากกำลังให้บริการ 4G ส่วนใหญ่จะอยู่บนคลื่นใหม่ 2300 MHz  ซึ่งเป็นโครงข่ายใหม่ยังให้บริการได้ไม่เต็มที่ จนกว่าการลงทุนจะครอบคลุมหัวเมืองหลักปี 2561 และทั่วประเทศปี 2562 โดยวางงบลงทุนราวปีละ 1.8-2.0 หมื่นล้านบาท
  ภาพรวมทั้งกลุ่มถือว่าดีกว่าสมมติฐาน เพราะอิงประมาณการเดิม ASPS กำหนดให้ทุกรายชนะประมูลคลื่น 1800 MHz ขนาด 15 MHz ที่ราคา 3.7 หมื่นล้านบาท จึงมีโอกาสที่ฝ่ายวิจัยจะปรับเพิ่มประมาณของ 2 ราย คือ  ADVANC และ DTAC หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับเพิ่มส่วนของ TRUE ไปแล้ว   
  ในระยะยาว ASPS ประเมินภาพในเชิงบวก  จากการแข่งขันที่ลดลง เพราะน่าจะมีคลื่นออกมาประมูลอีกต่อเนื่อง มิใช่เพียงแต่คลื่น 1800 MHz ที่เหลือจากการประมูลรอบนี้ 35 MHz แล้ว กสทช. ยังเตรียมเรียกคืนคลื่นใหม่ๆ กลับมาประมูลอีกจำนวนมาก อาทิ  700 MHz จำนวน 45 MHz (ปัจจุบันใช้งานทีวี อนาล็อค) 2600 MHZ จำนวน 90 MHz (ของ MCOT) และ 3400 MHz กับ 26000-28000 MHz (ทั้งคู่ใช้งานในธุรกิจดาวเทียม) ทั้งนี้ คลื่นใหม่ๆ น่าจะต้องใช้บริการในส่วน 5G ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการต่อยอดแหล่งรายได้ใหม่ๆ อาทิ Digital Platform และ Internet of Things ซึ่งผู้ที่ได้เปรียบในปัจจุบัน คือ ADVANC และ TRUE ที่ได้เตรียมพร้อมพัฒนาบริการส่วนดังกล่าวไประดับหนึ่ง ยกเว้นที่  DTAC อาจจะยังล่าช้า
 
  ยังคงคำแนะนำ ซื้อ ADVANC(FV@B230), DTAC(FV@B68) และ TRUE([email protected]
ผลกระทบวิกฤติตุรกีต่อไทยจำกัด หากไม่ลุกลาม 
  นอกจาก  CPF  ที่มีฐานการผลิตในตุรกีแล้ว วันนี้ขอเพิ่มเติม  IVL  อีกแห่ง (Switch:FV@B62)  ปัจจุบันมีโรงงานที่ตุรกี 2 แห่ง แต่ได้หยุดการผลิตไป 1 แห่ง จึงเหลือที่ยังผลิตอยู่อีก 1 แห่ง  (บริษัท Artenius กำลังการผลิต 1.3 แสนตันต่อปี) จึงเหลือที่ยังผลิตอยู่อีก 1 แห่ง  คือ บริษัท Polyplex  กำลังการผลิต PET  2.7 แสนตันต่อปี คิดเป็นสัดส่วนราว  2% ของกำลังการผลิตรวมของ IVL  ผลิตที่ได้ขายในตุรกีและเพื่อนบ้านใกล้เคียง
  ทั้งผลิตภัณฑ์ของ IVL ที่ได้ทั้งหมด แยกตามแหล่งผลิตและจำหน่ายใน 3-4 ทวีปหลักคือ  ทวีปอเมริกาเหนือสัดส่วนสูงราว 37% รองลงมาคือทวีปเอเชียราว 33% และที่เหลือ  30% กระจายในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา  
  ทางด้านรายได้เป็นจากการจำหน่ายบริษัทมิได้เปิดเผยรายละเอียด แต่จากการประเมินจากแหล่งรายได้ (ปีละ 3 แสนล้านบาท) คาดว่าน่าจะอยู่ในรูปของสกุลดอลลาร์เป็นหลักราว  80% เป็นเงินเหรียญฯ  ที่เหลือน่าจะเป็นยูโร 10%  เงินบาท 6%  และอีก 4% อื่นๆ  ขณะที่หนี้สินของ IVL  ประมาณ 50% ของหนี้สินรวม (ราว 2 แสนล้านบาท) เป็นสกุลเงินบาท ที่เหลืออีก 50% หนี้สกุลดอลลาร์สหรัฐ  (2.9 พันล้านเหรียญฯ) จึงน่าจะป้องกันความเสี่ยงตามธรรมชาติ 
  ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่เหลือคาดว่าไม่มีการลงทุนตุรกี แต่น่าจะ  exposure กับยุโรปผ่านการลงทุนหรือกู้ยืมจากประเทศสมาชิกในยุโรป แต่คาดว่าผลกระทบจำกัด เพราะค่าเงินยูโร มีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทมากว่า 1 เดือน (39.2 บาทต่อยูโร  เหลือ 37.7 บาท) และ อ่อนค่ากับเงินดอลลาร์เกือบ 6 เดือน  (1.2 ดอลลาร์ต่อ 1 ยูโร เป็น 1.1 ดอลลาร์) 
  กลุ่มธนาคารพาณิชย์น่าจะกระทบจำกัด จากการที่นักวิเคราะห์ได้สอบถามทีม IR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่สรุปว่า ไม่ได้มีการลงทุนในตราสารการเงินในตุรกีเลย  หรือ ในยุโรป ก็มีน้อยมาก ซึ่งน่าจะเป็นผลจากบทเรียนในอดีต และ ปัญหาการเมืองในยุโรป (Brexit) ในช่วงที่ผ่านมา   อย่างไรก็ตาม มียอดการลงทุนในตราสารหนี้หรือ พันธบัตรรัฐบาลในต่างประเทศ  ตามเกณฑ์ของทางการในประเทศที่เปิดสาขา ซึ่งกำหนดให้ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องหรือ Reserved Required Ratio (RRR)ที่กำหนดในแต่ละประเทศ  การขยายสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยมักจะกระจายในภูมิภาคเอเชีย หรือ CLMV เป็นหลัก ผลกระทบจากปัญหาในตุรกีจึงน่าจะจำกัด ยกเว้นเหตุการณ์บานปลายไปยังธนาคารพาณิชย์ในยุโรป ผลกระทบอาจจะเกี่ยวโยงไปยังภาคส่งออก ซึ่งจะกระทบต่อธนาคารในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ผู้ส่งออก
ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่เหลือบางส่วนน่าจะมี Exposure ในยุโรปบ้าง แต่ผลกระทบจำกัด โดยเมื่อวันศุกร์ได้นำเสนอ MINT ซึ่งล่าสุดได้มีการลงทุนในโรงแรมสเปน และยังมีภาระหนิ้สินในรูปยูโรไปแล้ว วันนี้นำเสนอเพิ่มอีก 6 บริษัท  คือ
  TPIPL(Buy:[email protected]) มีหนี้สินสกุลยูโร  153.85 ล้านยูโร (คิดเป็นราว 12% ของหนี้รวม 4.7 หมื่นล้านบาท) เป็นการกู้ยืมระยะยาว มาลงทุนปูนซีเมนต์สายการผลิตที่ 4  โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำมากเพียง 1.1% จึงไม่ได้มีการ Refinance เป็นหนี้เงินบาท และ ไม่ได้มีการ Hedge   ดังนั้นทุกๆ 1 บาท/ยูโรที่อ่อนค่า/แข็ง  TPIPL จะมี FX loss /Gainราว  153.851 ล้านบาท  เทียบกับกำไรของ TPIPL แต่ละปี  111   ล้านบาทในปี 2561 อาจจะดูมีความเสี่ยงมาก แต่ในปี 2562 790 และ 1197 ล้านบาท น่าจะรับความเสี่ยงได้มากขึ้น  
  THAI( Switch:[email protected])  มีความเสี่ยงต่อรายได้และหนี้สินในรูปสกุลยูโร กล่าวคือ  มีรายได้ในรูปสกุลยูโร  12%ของรายได้รวม  (2 แสนล้านบาท)  แต่มีรายจ่าย 3%   (เปิดความเสี่ยง 9%) และมีหนี้สิน 34% ของหนี้สินรวมหรือราว 1.45 พันล้านยูโร(  5.5 หมื่นล้านบาท)  จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่าทุกๆ 1 บาท/ยูโรที่อ่อนค่า/แข็งจะก่อให้เกิด FX Loss/Gainราว  1.45 พันล้านบาท 
  BA( Buy:[email protected])   มีสัดส่วนรายได้จากยุโรปราว  30%  แต่ส่วนใหญ่รับรายได้ในรูปสกุลดอลลาร์จาก การขายตั๋วเที่ยวบิน  ขณะทีมีต้นทุนดอลลาร์ (น้ำมัน+ค่าเช่าเครื่องบิน + ซ่อมบำรุง)ในอัตราใกล้เคียงกันจึงถือว่าเป็น Natural Hedge  
  AOT( Switch FV@B67)   ประเมิน มีสัดส่วนรายได้ที่เกี่ยวกับธุรกิจการบิน 55% ของรายได้รวม ที่เหลือ 45% เป็นรายได้ค่าธรรมเนียมค่าเช่า สำนักงานและพื้นที่พาณิชย์    
  สำหรับรายได้ธุรกิจการบิน 55% ดังกล่าว  แยกเป็น ค่าธรรมเนียมเที่ยวบินขึ้นลง  43% และ ภาษีสนามบินขาออก12%  ซึ่งในส่วนหลังแยกเป็นที่มาของรายได้หลักจากเอเซีย 72.9% ยุโรป 18.5% สหรัฐ 4.3% และ อื่นๆ 4.3%   รายได้ทั้งหมดรับเป็นเงินบาท เช่นเดียวกับต้นทุน จึงไม่กระทบจากค่าเงินโดยตรง แต่น่าจะทบหากเกิดปัญหาลุกลามไปประเทศยุโรป ซึ่งเป็นฐานธุรกิจที่สำคัญแหล่งหนึ่งของ AOT 
CPALL(Switch:FV@B79)  มีหนี้สินในรูปยูโร จำนวนน้อยมากรวมกันไม่ถึง 500 ล้านบาท  เทียบกับหนี้สินรวม 3 แสนล้านบาท หรือน้อยกว่า 1%  ผลกระทบจึงจำกัด แต่ยังคงแบกภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจากถือหุ้น MAKRO 42.87% (Siam Makro Holding ถือ 55%) ซึ่งมีแผนลงทุนเปิดสาขาในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ต้องบันเป็นค่าใช้จ่ายจากการลงทุนต่อเนื่องในช่วง 2H61  โดยน่าจะสูงสุด 3Q61  
 
ต่างชาติขายหุ้นเกือบทุกแห่งในภูมิภาค รวมถึงไทย
  วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่า 203 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 152 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า)  ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติยังขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิ 263 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 52 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8), ฟิลิปปินส์ 17 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), สุดท้ายคือ ไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 22 ล้านเหรียญ หรือ 742 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 4 วัน) รวมถึงชอร์ตสุทธิสัญญา SET50 Futures อีก 4.83 พันสัญญา (ชอร์ตสุทธิเป็นวันที่ 6 มูลค่ารวมกว่า 3.57 หมื่นสัญญา) ต่างกับสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยสูงถึง 3.64 พันล้านบาท
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 1.08 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเล็กน้อยในวันก่อนหน้า) กดดัน Bond Yield 10 ปี ของไทยลดลงเล็กน้อย โดยล่าสุดอยู่ที่ 2.71%
 
การเลือกตั้งไทยน่าจะยังอยู่ในกรอบ ก.พ.-พ.ค. 2562 ตามเดิม 
  ประเด็นการเมืองที่กังวลว่าจะทำให้การเลือกตั้งเลื่อนออกไปดูเหมือนจะผ่อนคลายลง หลังจากสมาชิก สนช. 36 คน ถอนเรื่องเสนอแก้ไข พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) ว่าด้วย กกต. พ.ศ.2560 (มีผลไปแล้ว 8 ก.ย.2560 และเป็น 1 ใน 4 ของกฎหมายที่ต้องมีผลบังคับใช้ก่อนการเลือกตั้ง) โดยให้เหตุผลว่า เพราะได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กกต. ชุดใหม่แล้ว จึงสมควรให้ กกต. ชุดใหม่ทำหน้าที่ในการคัดเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้งตามขั้นตอนต่อไป จึงทำให้กรอบเวลาการจัดการเลือกตั้งยังคงเป็นไปตามกรอบเดิม โดยอย่างเร็วที่สุด คือ 24 ก.พ. 2562 และช้าที่สุด คือ 5 พ.ค. 2562 ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของพรรคการเมืองและหน่วยงานที่จัดการเลือกตั้ง
  สิ่งที่ต้องให้น้ำหนักหลังจากนี้ คือ การปลดล็อคให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง เนื่องจากมีหลายกิจกรรมที่ต้องดำเนินการเฉพาะอย่างยิ่งการทำไพรมารีโหวต (การจัดการเลือกตั้งเลือกผู้ที่เหมาะสมที่จะเป็นตัวแทนในการเข้าสู่การเลือกตั้งระดับประเทศ) ซึ่งมีหลายองค์ประกอบที่ต้องดำเนินการ   คือ แบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต. ที่โดยหลักการจะดำเนินการได้หลังจากที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งมีผลบังคับใช้ (90 วันหลังลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา), การจัดตั้งสาขาพรรค , การเตรียมจำนวนสมาชิกพรรค และ กระบวนการในการคัดสรรผู้ลงสมัครของพรรค 
  การทำไพรมารีโหวต ถือเป็นเรื่องใหม่ ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ  ซึ่งในการนำมาปฏิบัติครั้งแรกในการเลือกตั้ง อาจต้องมีการปรับปรุงกระบวนการในการปฏิบัติให้สามารถดำเนินการได้ให้เสร็จภายในกำหนดเวลา จึงคาดว่าจะเห็นการปลดล็อคให้พรรคการเมืองให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้หลังจากที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ อีก 2  ฉบับ คือ พ.ร.ป. ว่าด้วยที่มาของ สว. และ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ที่รอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยภาพรวมการเมืองถือน่าจะสร้างแรงกดดันเชิงลบต่อ SET Index น้อยลง
 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO12657
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!