- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 16 August 2018 20:37
- Hits: 8993
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“น้ำมันดิ่ง ซ้ำเติมปัจจัยลบตุรกี”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปิดปรับลงอีก 19.06 จุด ที่ 1676.29 จุด ใกล้เคียงกับยอดต่ำสุดของวันที่ 1673.77 จุด ส่งสัญญาณถึงความไม่มั่นใจต่อตลาดฯ และถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อ่อนกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าซื้อขายทรงตัวที่ 53.8 พันล้านบาท ปัจจัยต่างประเทศที่กดดัน คือ น้ำมันปรับลง ดอลลาร์แข็งค่า บาทอ่อนค่า เงินไหลออก ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่อง หุ้นกลุ่มหลักปรับลงถ้วนหน้า โดยเฉพาะสื่อสาร และนิคมฯ หลังผลการดำเนินงาน 2Q61 ออกมาไม่สดใส ผู้ซื้อสุทธิคือมีรายเดียวคือ นักลงทุนทั่วไป 3.2 พันล้านบาท ด้านผู้ขายสุทธิคือ ต่างประเทศ 2.0 พันล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ 1.1 พันล้านบาท และสถาบัน 0.1 พันล้านบาท ตลาด Future สถาบัน ซื้อ (+23139 สัญญา) นักลงทุนในประเทศ ขาย (-23141 สัญญา) แต่ต่างชาติ ซื้อเล็กน้อย ( +2 สัญญา)
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ปัจจัยต่างประเทศกดดัน ราคาน้ำมันดิ่งลงแรง ซ้ำเติมปัญหสหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรตุรกียังผลให้ค่าเงินลีราร่วงลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ดาวโจนส์กลับมาลบ ดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง บาทอ่อน เงินไหลออก ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ส่วนใหญ่แกว่งลง ดาวโจนส์ล่วงหน้า -14 จุด (8.38 น.) น้ำมันเช้านี้ปรับลง ยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีสลับออกมา งบไตรมาสสองกลุ่มอุตสาหกรรมออกมาครบแล้ว อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจเพิ่ม 17% y-o-y แต่ลดลง 12% q-o-q วานนี้ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่อง ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีลดลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ การคว่ำบาตรอิหร่านและสงครามการค้า สหรัฐ-จีน ส่วนภาพใหญ่ปัจจัยต่างประเทศเดิมที่ค้ำอยู่คือ การคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานสหรัฐโดยรวมจะออกมาดี ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยยังเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่เริ่มกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า เพราะเราเป็นห่วงโซ่ผู้รับจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัว (Selective Buy) ที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ล็อคกำไร ลดความเสี่ยง ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1600-1700 จุด
Update หุ้นเด่น : GFPT – กำไร 2Q61 ออกมาดีกว่าคาด 10% และฟื้นตัวได้ 45% q-o-q เป็น 212 ล้านบาท ผลพวงจากอัตรากำไรขั้นต้นทำได้สูงขึ้น และขาดทุนในบริษัทร่วมลดลง แนวโน้ม 3Q61 จะยิ่งดีขึ้น เพราะเข้าสู่ไฮ ซีซั่นในการส่งออก คาดว่างวด 1Q61 ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปี 62 เมื่อบริษัร่วม Mc Key กลับมาทำกำไรได้ กำหนดราคาพื้นฐานไว้ที่ 15.00 บาท ด้วย P/E ปี 62 ที่ 13.0 เท่า
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบเล็กๆ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ LALIN, SENA, SCB, CHG, STANLY, CPALL, CHAYO หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ TU, GLOBAL, III หุ้นที่หลุด List คือ TTCL, SEAFCO, ROBINS หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ HANA
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง วิตกค่าเงินตุรกี และราคาน้ำมันดิ่ง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,162.41 จุด ลดลง 137.51 จุด หรือ -0.54% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,818.37 จุด ลดลง 21.59 จุด หรือ -0.76% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,774.12 จุด ลดลง 96.78 จุด หรือ -1.
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) เนื่องจากวิกฤตค่าเงินของตุรกี รวมทั้งข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างสหรัฐและตุรกี และผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียน ได้ส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้ การร่วงลงอย่างหนักของราคาน้ำมันดิบยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วยเช่นกัน
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ดิ่ง หลัง EIA เผยสต็อคมีอยู่จำนวนมาก
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 2.03 ดอลลาร์ หรือ 3% ปิดที่ 65.01 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 1.70 ดอลลาร์ หรือ 2.4% ปิดที่ 70.76 ดอลลาร์/บาร์เรลล์
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า
• ทองคำ : ร่วงแรง หลังดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 15.7 ดอลลาร์ หรือ 1.31% ปิดที่ 1,185.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 2560
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าอย่างต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤตการณ์ค่าเงินลีราของตุรกี นอกจากนี้ ความแข็งแกร่งของข้อมูลเศรษฐกิจบางรายการของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกนั้น ยังส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
-ตัวเลขยอดค้าปลีก สหรัฐ ออกมาร้อนแรง
# กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ส่วนยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร ปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือนก.ค.หลังจากลดลง 0.1% ในเดือนมิ.ย.
# ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนก.ค. แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% หลังจากพุ่งขึ้น 1.0% ในเดือนมิ.ย.
-วิกฤตค่าเงินตุรกี นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง
# กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ค่าเงินตุรกีส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนักตั้งแต่วันศุกร์และอ่อนค่าลงเรื่อยมาจนถึงเมื่อวานนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตุรกี และผลกระทบที่จะลุกลามไปยังประเทศต่างๆ
# สกุลเงินลีราร่วงลงหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งการให้เพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า โดยอัตราภาษีต่อเหล็กนำเข้าจะอยู่ที่ 50% และอลูมิเนียมอยู่ที่ 20% ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการดิ่งลงของค่าเงินตุรกีที่จะมีต่อธนาคารยุโรป โดยเฉพาะธนาคาร BBVA ของสเปน, ธนาคารยูนิเครดิตของอิตาลี และธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ของฝรั่งเศส
• รัฐบาลตุรกี ขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐเป็นการตอบโต้
# รัฐบาลตุรกีประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐ ซึ่งรวมถึงรถยนต์โดยสาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ เพื่อเป็นการตอบโต้ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งการให้เพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า โดยอัตราภาษีเหล็กนำเข้าจากตุรกีจะอยู่ที่ 50% และอลูมิเนียมอยู่ที่ 20%
# กลุ่มภาคธุรกิจของตุรกีระบุว่า มาตรการทางการเงินที่มีความเข้มงวดมากขึ้น และความพยายามที่จะยกระดับความสัมพันธ์กับสหรัฐต่อไปเป็นเรื่องที่จำเป็น ในขณะที่เงินลีราร่วงลง
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ต้องติดตามต่อไป
# นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึง ยอดค้าปลีกเดือนก.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนส.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนก.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมิ.ย., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนส.ค. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ค.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+/- กำไรสุทธิทั้งตลาด 2Q61 ณ 15 ส.ค.61 เพิ่ม 17% y-o-y แต่ลดลง 12% q-o-q เป็น 2.6 แสนล้านบาท
# ด้านการจัดลำดับรายอุตสาหกรรม เทียบ y-o-y 3 ลำดับแรก ที่กำไรสุทธิเติบโตสูงสุดคือ 1) รับเหมาก่อสร้าง 2) โรงแรมและท่องเที่ยว และ 3) ขนส่ง แต่กำไรสุทธิลดลงสูงสุดคือ 1) เครื่องจักรและอุปกรณ์ 2) สินค้าบุคคลและเวชภัณฑ์ และ 3) โรงพยาบาล
# ด้านการจัดลำดับรายอุตสาหกรรม เทียบ q-o-q 3 ลำดับแรก ที่กำไรสุทธิเติบโตสูงสุดคือ 1) แฟชั่น 2) อสังหาริมทรัพย์ และ 3) รับเหมาก่อสร้าง แต่กำไรสุทธิลดลงสูงสุดคือ 1) เหล็ก 2) ขนส่ง และ 3) โรงแรมและท่องเที่ยว
-หลักทรัพย์ที่ DBS ทำการวิเคราะห์ และมี P/E ปี 61 สูงเกิน 30 เท่า ที่อาจถูกขายในช่วงตลาดฯไม่สดใส
# ห ลัก ท รัพ ย์ที่ค ว ร ต้อ ง ร ะ มัด ร ะ วัง ต า ม เ ก ณ ฑ์ดัง ก ล่า ว ใ น ร ะ ย ะ สั้น ไ ด้แ ก่
BJC,HMPRO,BDMS,BH,CHG,VGI,RML,ERW,AOT,BA,BEM,PPS แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับคำแนะนำ ตามปัจจัยพื้นฐานเพียงแต่เป็นความเห็นของทีมกลยุทธ์ เพราะบางหลักทรัพย์จะดีในระยะยาว จึงต้องประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี ส่วนคิดลดกระแสเงินสดสุทธิ (DCF)
- ธนาคารกสิกรไทยระบุ วิกฤตค่าเงินลีราของตุรกี ส่งผลทางอ้อมต่อไทย
# ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า วิกฤติค่าเงินตุรกีมีผลกระทบทางอ้อมต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นปัจจัยที่บั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในกลุ่มดังกล่าว ซึ่งผลกระทบจากตุรกีจะทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น และตราสารหนี้ เพื่อลดความเสี่ยง แต่เชื่อว่าจะมีผลกระทบไม่มากนัก
+/- DTAC และ ADVANC แจ้งผ่านคุณสมบัติ เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz ในวันที่ 19 ส.ค.นี้แล้ว
# ADVANC แจ้งว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัทย่อยร้อยละ 99.99 ได้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเป็นผู้ร่วมประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว โดย AWN จะเข้าร่วมการประมูลในวันที่19 สิงหาคม 2561 ตามที่ กสทช. กำหนดต่อไป
# ด้าน DTAC ก็แจ้งว่า กสทช. ได้แจ้งว่า บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เป็นผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561
# ผลกระทบ: คาดว่าตลาดฯกำลังจับตามองว่า ผลการประมูลทั้งสองรายจะได้ราคาที่สูงหรือไม่ เพราะจะมีผลต่อต้นทุนในการดำเนินงานต่อไป คงคำแนะนำ ซื้อ ทั้ง ADVANC และ DTAC ที่ผ่านมา กสทช.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยเปิดประมูล 9 ใบอนุญาต ขนาดใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ อายุ 15 ปี ราคาเริ่มต้น 12,486 ล้านบาท
+/- ค่าเงินบาทเทียบกับเหรียญสหรัฐ: ล่าสุดปิดที่ระดับ 33.32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับสิ้น 2Q61 ที่ ระดับ 33.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลง 0.9% (ที่มา: Aspen)
# ผลกระทบ: หลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก ที่ได้รับผล sentiment ด้านบวก เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ KCE, HANA, DELTA, SVI กลุ่มเกษตร-อาหาร ได้แก่ CPF, TU, GFPT, TIPCO, MALEE และหลักทรัพย์ท่องเที่ยวได้ประโยชน์ คือแลกเหรียญเป็นบาทได้มากขึ้นเป็น sentiment บวกกับ ERW, CENTEL และ MINT ด้านหลักทรัพย์เสียประโยชน์คือนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ได้แก่ TVO, TSTH, IRPC, BCP, SAT, STANLY, AH, BTS, COM7, SYNEX และ SIS รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีหนี้เงินกู้ต่างประเทศจะมีขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ AAV, THAI, WHA, WHAUP และ RCL เป็นต้น
-/+ ราคาน้ำมัน (ICE Brent Crude Spot Month) ล่าสุดปิดที่ระดับ 70.46 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลล์ เทียบกับสิ้น 2Q61 ที่ระดับ 79.23 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลล์ คิดเป็นการลด 11% (ที่มา: Aspen)
# ผลกระทบ: หลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมัน ปิโตรเคมี และโรงกลั่นน้ำมันที่ได้รับผล sentiment ด้านลบ มีขาดทุนในสินค้าคงคลัง คือ PTT, PTTEP, PTTGC, TOP, ESSO, IRPC, BCP, SPRC แต่กลับเป็นบวกกับหลักทรัพย์ที่อิงน้ำมันเป็นวัตถุดิบเช่น TASCO, EPG และเป็นบวกกับหลักทรัพย์ขนส่งที่ใช้น้ำมันเป็นต้นทุนเช่น AAV, BA, THAI และ NOK
-ตลาดหลักทรัพย์ แจ้งหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย C และ SP หลังงบการเงิน 2Q61 ได้ออกมาแล้ว
# ตลท.เริ่มจับหุ้นฐานะการเงินมีความเสี่ยงขึ้นเครื่องหมาย C รายวัน วันนี้ (16 ส.ค.) โดนรวด 15 บริษัท จับเข้าบัญชี Cash Balance จนกว่าจะแก้ไขเหตุที่ถูกขึ้นเครื่องหมายได้
# บริษัทจดทะเบียนใน SET ที่จะถูกขึ้นเครื่องหมาย C คือ 1.บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (APEX)2.บริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) (AQ)3.บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (AS)4.บริษัท ดิจิตอลเทค แพลนเน็ต จำกัด (มหาชน) (DIGI)5.บริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) (EIC)6.บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) (EMC)7.บริษัท ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (FC)8.บริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) (GJS)9.บริษัท ไฮโดรเท็ค จำกัด (มหาชน) (HYDRO)10.บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) (SPORT)11.บริษัท ที เอ็นจิเนียร์ริ่ง คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) (T)12.บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) (TFI)13.บริษัท ทรีซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน) (TSF)14.บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) (UMS) ส่วนบริษัทจดทะเบียนใน mai คือ 15.บริษัท เอ็มพีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (MPG)
# หลักทรัพย์ที่ถูกขึ้น SP หลังไม่ส่งงบการเงินไตรมาส 2/6 คือ บริษัท ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (CHUO)- บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) (EARTH)- บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) (GSTEL)- บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) (IEC)- บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IFEC)- บริษัท เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) (KC)- บริษัท แอล.วี.เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (LVT)- บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG)- บริษัท โพลาริส แคปปิตัล จำกัด (มหาชน) (POLAR)- บริษัท ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง จำกัด (มหาชน) (STHAI)- บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) (YNP)
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO12532