WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
ต่างประเทศลบ แต่ตามติดงบไตรมาส 2- Flow เข้า”
 
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : BEM (จากซื้อเป็นถือ), PRIN (จากซื้อเป็น Fully Valued)
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปรับขึ้นต่อเล็กน้อย 0.84 จุด ที่ 1722.48 จุด ระหว่างวันไปทำยอดสูงสุดที่ 1729.42 จุด ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สอดคล้องกับตลาดหุ้นในภูมิภาค มูลค่าซื้อขายปานกลางที่ 47.9 พันล้านบาท ปัจจัยต่างประเทศที่ชะลอลง คือ ดาวโจนส์ น้ำมันปรับลง และที่สำคัญจีนกลับมาตอบโต้เก็บภาษีจากสหรัฐแล้ว แต่ปัจจัยที่ดีคือ ดอลลาร์อ่อน บาทแข็ง เงินไหลเข้า ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง นั่นคือยังช่วยหนุนดัชนีฯได้ต่อ และติดตามผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ที่ทยอยประกาศออกมา วานนี้หลักทรัพย์กลุ่มธนาคารเด่น หลังการประชุม กนง.เสียงแตก แม้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผู้ซื้อสุทธิคือ บัญชีหลักทรัพย์ 1.2 พันล้านบาท สถาบัน 0.9 พันล้านบาท และต่างประเทศ 0.7 พันล้านบาท ด้านผู้ขายสุทธิรายเดียวคือ นักลงทุนทั่วไป 2.8 พันล้านบาท
  แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีปัจจัยต่างประเทศที่กดดัน คือ ดาวโจนส์ น้ำมันปรับลง ดอลลาร์แข็งค่า จีนกลับมาตอบโต้เก็บภาษีจากสหรัฐแล้ว แต่ปัจจัยที่ดีคือ เก็งกำไรงบไตรมาสสองกลุ่มอุตสาหกรรม บาทแข็ง เงินไหลเข้า ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีลดลง นั่นคือยังช่วยหนุนดัชนีฯได้ต่อ แต่ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ การคว่ำบาตรอิหร่านและสงครามการค้า สหรัฐ-จีน ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ส่วนใหญ่ลบแคบๆ ดาวโจนส์ล่วงหน้า -29 จุด (8.30 น.) น้ำมันเช้านี้แกว่งลง ยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีสลับออกมา ส่วนภาพใหญ่ปัจจัยต่างประเทศเดิมที่ค้ำอยู่คือ การคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานสหรัฐโดยรวมจะออกมาดีส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยยังเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่เริ่มกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า เพราะเราเป็นห่วงโซ่ผู้รับจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ แต่หากทรัมป์ถูกต่อต้านมากๆในอนาคต จนต้องกลับมาเจรจาก็จะเป็นแรงดีดกลับของ SET ได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัว (Selective Buy) ที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ล็อคกำไร ลดความเสี่ยง ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1680-1740 จุด
  Update หุ้นเด่น : KBANK – หลังประกาศกำไร 2Q61 ดีกว่าที่เราและตลาดคาด นั่นคือ โตถึง 21.5% y-o-y และเพิ่ม 1.4% q-o-q ผลจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยแข็งแกร่งกว่าคาด เราได้มีการปรับประมาณการปีนี้ดีขึ้นถึง 12% โดยคาดว่ากำไรตลอดปีนี้จะเพิ่มได้ 9% คงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยราคาพื้นฐานที่ปรับชึ้นเป็น 254.00 บาท จากเดิมที่ 225 บาท ด้วย P/BV ปี 61 ที่ 1.6 เท่า ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 17%
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นบวก แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง วิตกสงครามการค้า หุ้นพลังงานตก
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,509.23 จุด ลดลง 74.52 จุด หรือ -0.29% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,853.58 จุด ลดลง 4.12 จุด หรือ -0.14% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,891.78 จุด เพิ่มขึ้น 3.46 จุด หรือ +0.04%
  # ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยความกังวลในเรื่องดังกล่าวได้ฉุดหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมร่วงลง นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่ดิ่งลงตามทิศทางราคาน้ำมัน และหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่สองเมื่อคืนนี้
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง วิตกสงครามการค้า
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 13 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 66.81 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 21 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 72.07 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 ส.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับลงเพียงเล็กน้อยเนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าอุปทานน้ำมันโลกจะประสบภาวะตึงตัวหลังจากสหรัฐประกาศคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่นั้นเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาด
• ทองคำ : ปรับลง เพราะดอลลาร์แข็งค่า
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 1.1 ดอลลาร์ หรือ 0.22% ปิดที่ 1219.90 ดอลลาร์/ออนซ์
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 ส.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้สร้างแรงกดดันต่อตลาด นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
-ตัวเลขขอรับสวัสดิการครั้งแรก ออกมาดี
  # สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 213,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 220,000 ราย ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทรงตัวในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย.
-จีนตอบโต้สหรัฐฯแล้ว เก็บภาษีนำเข้าเพิ่มบ้าง
  # กระทรวงพาณิชย์ของจีนแถลงเมื่อวานนี้ว่า จีนจะเรียกเก็บภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐวงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบและรถยนต์ โดยการดำเนินการดังกล่าวของจีนมีขึ้นเพื่อตอบโต้สหรัฐซึ่งเมื่อวานนี้ได้เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติมในอัตรา 25% วงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.
- ดอลลาร์แข็งค่า ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี
  # ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 ส.ค.) หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ปรับตัวลดลงสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ต้องติดตามต่อไป
  # นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อบ่งชี้ทิศทางอัตราเงินเฟ้อและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+/• หนี้สาธารณะคงค้าง มิ.ย.61 ลดลงจาก พ.ค.61
  # สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิ.ย.61 มีจำนวน 6,531,509.63 ล้านบาท คิดเป็น 40.67% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งถือว่าลดลงจากเดือนก่อนหน้า (พ.ค.61) ซึ่งอยู่ที่ 40.78% ของ GDP ทั้งนี้ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และมีการชำระหนี้ของรัฐบาลและหนี้รัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง
+/- สัปดาห์นี้ติดตามการประกาศงบกลุ่มพลังงาน ที่มี market cap สูงสุด
  # สัปดาห์นี้จะมีหุ้นกลุ่มพลังงานจะทยอยประกาศผลประกอบการออกมา ทั้งกลุ่ม PTT และกลุ่มโรงกลั่น ซึ่งถ้าหากผลประกอบการของกลุ่มดังกล่าวออกมาสูงหรือต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ก็จะเป็นผลบวกหรือลบ ทำให้ตลาดมีความผันผวนต่อไปได้ แต่ในระยะสั้นหลังประกาศงบการเงิน IVL และ TOP กลับมีแรงขายเมื่อมีข่าวจริง (Sell on Fact)
+ KTC-GULF ได้ลุ้นอีก MSCI ดึงเข้าคำนวณ ด้านฟุตซี่เตรียมเพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นไทย
  # ลุ้น "บัตรกรุงไทย" (KTC) และ กัลฟ์ฯ (GULF) เข้าคำนวณ MSCI Global Standard ประกาศรายชื่อ 13 สค..นี้ส่วน MSCI Small Cap Index คาดว่าจะมีหลายตัว ขณะที่ FTSE All-World เตรียมประกาศเพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นไทยช่วงวันที่ 24 ส.ค.นี้ (ข่าวหุ้น)
+ BANPU ทีเด็ดแจ้งงบ Q2 ลุ้นพลิกมีกำไร 4 พันล้าน
  # จับตา BANPU ประกาศงบไตรมาส 2 วันนี้ ลุ้นพลิกกำไรสุทธิ 4 พันล้านบาท เหตุไร้ตั้งค่าใช้จ่ายพิเศษคดีโรงไฟฟ้าหงสาแถมได้อานิสงส์ธุรกิจถ่านหินโต-ราคาขายถ่านหินพุ่ง โบรกฯ การันตี "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 26 บาท อัพไซด์สูง 25% (ข่าวหุ้น)
+/• DTAC ยกข้ออ้าง เลี่ยงประมูล 900 ปูทางรับเยียวยา
  # DTAC อ้างสาระพัดเหตุไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz หวั่นต้นทุนบริหารจัดการสูง แนะ กสทช.ใช้คลื่น 450 MHz เดินรถไฟฟ้า แบบเดียวกับรถไฟความเร็วสูงของจีน ปูทางอ้างเหตุความจำเป็นไม่ประมูล เพื่อขอรับมาตรการเยียวยาจากกสทช.(ข่าวหุ้น)
 
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO12365

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!