- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 02 August 2018 17:53
- Hits: 5071
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ลบ...เจรจาการค้าไม่สำเร็จ-เฟดขึ้นด/บ ก.ย.แต่ลุ้น Flow”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ทะยาน 20.22 จุด ปิดที่ 1722.01 จุด ใกล้เคียงยอดสุงสุดที่ 1722.72 จุด ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค มูลค่าซื้อขายสูงขึ้นที่ 60.9 พันล้านบาท ปัจจัยบวกมาจาก 1) สหรัฐ-จีนกำลังเจรจาลับๆยุติสงครามการค้า และ 2) ผลประชุมญี่ปุ่นโดยรวมยังคงนโยบายผ่อนคลายการเงิน ดีกว่าคาด มีเงินไหลเข้า (Fund Flow) พิจารณาได้จากเงินบาทแข็งค่ามาก หุ้นกลุ่มหลักปรับตัวขึ้น แต่ที่โดดเด่นคือ พลังงาน แต่ BEAUTY ดิ่งลงหนัก ด้านผู้ซื้อสุทธิ คือ สถาบัน 3.9 พันล้านบาท ต่างประเทศ 1.2 พันล้านบาท ด้านผู้ขายสุทธิคือ นักลงทุนทั่วไป 5.0 พันล้านบาท และ บัญชีหลักทรัพย์ 0.06 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET กลับมาถูกกดดันจากข่าวการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีนไม่สำเร็จ จีนกลับถูกเก็บอัตราภาษีเพิ่มขึ้น แม้เฟดไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ตามคาดแต่ส่งสัญญาณปรับขึ้น ก.ย. น้ำมันวานนี้กลับปรับลง แต่ปัจจัยที่ค้ำจุนอยู่ ได้แก่ เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง มี Flow เข้า และต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ เก็งกำไรไตรมาส 2 หลักทรัพย์กลุ่ม non-bank หลังกลุ่มแบงค์ดีกว่าคาด จึงยังควรต้องระวังแรงขายทำกำไรสลับออกมา หลัง SET ขึ้นมาแรง ติดตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ล่าสุดกลับมายืนเหนือ 3% และดอลลาร์แข็งค่าเป็นปัจจัยลบ ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ส่วนใหญ่ลบแคบๆ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +29 จุด (8.08 น.) น้ำมันเช้านี้ปรับขึ้นได้ ปัจจัยต่างประเทศเดิมที่ค้ำอยู่คือ การคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานสหรัฐโดยรวมจะออกมาดี ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ภาพใหญ่ที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยยังเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่เริ่มกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า เพราะเราเป็นห่วงโซ่ผู้รับจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ แต่หากทรัมป์ถูกต่อต้านจนต้องกลับมาเจรจาก็จะเป็นแรงดีดกลับของ SET ได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัว (Selective Buy) ที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ล็อคกำไร ลดความเสี่ยง ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1700-1750 จุด
Update หุ้นเด่น : BCP – การ IPO หุ้น BBGI เป็น Catalyst ในระยะสั้น – BCP มีแผนนำบริษัทย่อย คือ BBGI เข้าจดทะเบียนใน SET (ปัจจุบัน BCP ถือหุ้น 60% และ KSL ถือ 40%) และจะมี Pre-emptive Right ให้ผู้ถือหุ้นเดิม โดย BBGI ทำธุรกิจไบโอเอทานอล และไบโอดีเซล กำลังการผลิต 1.7 ล้านลิตร/วัน ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จำนวนหุ้น IPO ไม่เกิน 216.6 ล้านหุ้น (30%ของทั้งหมดหลัง IPO) อีกทั้ง BCPG จะขายโซล่าร์เข้า REIT ที่ญี่ปุ่นช่วยเสริมกำไรด้วย คาดการณ์กำไรปีนี้ของ BCP จะ -14%YoY แล้วค่อย +10% ในปี 62 ส่วนราคาพื้นฐานเป็น 40.00 บาท ให้อิง P/BV ปีนี้ 1.2 เท่า (+1SD) ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ P/E ปี 61 ต่ำเพียง 9.0 เท่า และจะลดลงเป็น 8.3 เท่าปีหน้า คาดการณ์ Dividend Yield ปีนี้ 5.6% และปี 62 ที่ 6.1% จัดให้เป็นหุ้น Value Play ในกลุ่มพลังงาน แนะนำ ซื้อ
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators กลับเป็นบวกเล็กๆ แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1730-1740, 1750 โดยมีแนวตัดขาดทุนที่ 1700
สำหรับการ Scan หุ้นที่มีโอกาสทำ New high ที่เข้ามาใหม่เป็น TASCO, CPN, TOP, RS, GLOBAL, AH, TU ที่ยังคงอยู่ใน List ได้แก่ CPT,GFPT,HMPRO,AP,PTL หุ้นที่หลุด List - และที่ให้หาจังหวะ Take profit คือ IRPC,IVL,BBL,BPP,MINT,STANLY,CPF
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย ก.ย.
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,333.82 จุด ลดลง 81.37 จุด หรือ -0.32% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,813.36 จุด ลดลง 2.93 จุด หรือ -0.10% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,707.29 จุด เพิ่มขึ้น 35.50 จุด หรือ +0.46%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากบริษัทแอปเปิลอิงค์ เปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง กลับมากังวลอุปทานเพิ่ม
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 67.66 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย. ดิ่งลง 1.82 ดอลลาร์ หรือเกือบ 2.5% ปิดที่ 72.39 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญคาดการณ์ว่าจะลดลง นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในเดือนก.ค.
• ทองคำ : ปรับลง เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 6.00 ดอลลาร์ หรือ 0.49% ปิดที่ 1,227.60 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐจะแถลงมติการประชุม
- การเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ไปในทางไม่สำเร็จ จีนถูกเก็บอัตราภาษีเพิ่มอีก
# ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ได้สั่งการให้นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) พิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ระดับ 25% คิดเป็นวงเงินรวม 2 แสนล้านดอลลาร์
# ทั้งนี้ แผนการเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 25% นั้น สูงกว่าแผนการที่สหรัฐเคยประกาศไว้เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมาว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนในอัตรา 10% ซึ่งครอบคลุมถึงสินค้าจำนวน 6,031 รายการ ตั้งแต่สินค้าเพื่อผู้บริโภคไปจนถึงสินค้าด้านการเกษตร หลังจากสหรัฐและจีนไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาททางการค้า โดยมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมในครั้งนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือนก.ย.
-เฟดยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม ก.ย.61
# คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 1.75-2.00% ในการประชุมเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ของเฟดได้ระบุถึงภาวะเศรษฐกิจและการจ้างงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ใกล้ระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% นับตั้งแต่การประชุมในเดือนมิ.ย. โดยถ้อยแถลงดังกล่าวนับเป็นการส่งสัญญาณว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.
# ทั้งนี้ จากการใช้เครื่องมือ FedWatch ของ CME Group วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐพบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 91% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. และมีโอกาส 71% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค.
-ธนาคารกลางอินเดียมีมติขี้นดอกเบี้ยเป็น 6.50%
# ธนาคารกลางอินเดียมีมติขี้นอัตราดอกเบี้ยจาก 6.25% เป็น 6.50% ในการประชุมวานนี้ หลังจากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสูง เดิอน ก.ค. +3.18% เทียบกับ มิ.ย.ที่ 3.12% อีกทั้งเป็นการป้องกันกระแสเงินทุนไหลออก
+ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังไม่เปลี่ยนการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงิน ดีกว่าตลาดคาด
# นักลงทุนพากันเพิ่มการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากที่ BOJ ใช้มาตรการชี้นำล่วงหน้า (Forward guidance) ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่า BOJ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมากต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้นักลงทุนรู้สึกผ่อนคลายที่ BOJ ยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป ท่ามกลางภาวะเงินฝืด
# ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลญี่ปุ่นจะดีดตัวขึ้น หลังจากที่ BOJ เข้าทำการซื้อพันธบัตรฉุกเฉิน แต่การปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหลังการประกาศของ BOJ วานนี้ ก็ได้ทำให้นักลงทุนหันกลับเข้าซื้อดอลลาร์
# อย่างไรก็ดี ดอลลาร์เผชิญแรงขายเล็กน้อย หลังจากที่นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ กล่าวว่า BOJ จะปล่อยให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลญี่ปุ่นเคลื่อนตัวในช่วง -0.2% จนถึง +0.2% จากเดิมที่อยู่ในช่วง -0.1% จนถึง +0.1%
-มีการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
# การประชุม BoE ในวันพฤหัสบดีนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า BoE จะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75% หลังจากทางการอังกฤษเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใส
-ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเป็น ข้อมูลแรงงานออกมาแข็งแกร่ง
# ข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐ โดยออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 219,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง
# นักลงทุนยังจับตากระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ในวันพรุ่งนี้เวลาประมาณ 19.30 น.ตามเวลาไทย
- ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่า สะท้อนข่าวเฟด
# ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการจ้างงานยังคงแข็งแกร่ง
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่จะประกาศต่อไป
# ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่จะประกาศต่อไปในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนก.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนมิ.ย.,ดุลการค้าเดือนมิ.ย., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. และดัชนีภาคบริการเดือนก.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ อัตราเงินเฟ้อไทย ก.ค.61 ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
# กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือนก.ค.61 อยู่ที่ 1.46% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 1.49% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.79%
# สำหรับ 7M61 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.04% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.70% อยู่ในประมาณการของเราและตลาด
# ผลกระทบ: ทาง DBS คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทรงตัวที่ 1.50% ถึงสิ้นปี 2561 และเริ่มขยับขึ้นใน 1Q62 โดยปีหน้าจะปรับขึ้น 4 ครั้งๆละ 0.25% ทำให้สิ้นปี 62 จะเป็น 2.50%
+ ค่าการกลั่นสิ้น ก.ค.61 มีความแข็งแกร่ง
# ปิด ก.ค.61 ค่าการกลั่นเป็น 6.42 เหรียญต่อบาร์เรลล์คิดเป็นอัตราการเพิ่มจากปลาย มิ.ย.61 ถึง 67%
# แม้ว่าจะไม่สามารถปิดที่จุดสูงสุด (Peak) ได้ที่ 6.81 เหรียญต่อบาร์เรลล์ ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 25 ก.ค.61
# คาดว่าหล้กทรัพย์กลุ่มโรงกลั่นยังจะมีโมเมนตัมที่ดี เพราะเข้าสู่ช่วงมรสุมซึ่งปกติจะดีกับค่าการกลั่น
# หลักทรัพย์กลุ่มโรงกลั่นที่ Laggard และแนะนำ ซื้อ คือ BCP และ PTTGC ส่วนหลักทรัพย์กลุ่มโรงกลั่นอื่นๆที่ได้ประโยชน์จาก GRM ที่สูงขึ้นคือ ESSO, IRPC, TOP และ SPRC เป็นต้น
+ ฟิทช์ ระบุผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของไทยสะท้อนคุณภาพสินทรัพย์ที่เริ่มทรงตัวได้
# บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ จำกัด ระบุว่า ผลประกอบการณ์ครึ่งแรกของปี 61 ของธนาคารไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารไทยเริ่มทรงตัวซึ่งส่งผลดีต่ออัตรากำไรและความสามารถในการรองรับความเสี่ยง โดยแนวโน้มในครึ่งแรกเป็นไปตามคาดการณ์ของฟิทช์ และสอดคล้องกับที่ฟิทช์ปรับแนวโน้มอุตสาหกรรมของภาคการธนาคารไทยสำหรับปี 61 เป็น 'มีเสถียรภาพ'
# ผลกระทบ: หลักทรัพย์กลุ่มธนาคารที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและแนะนำ ซื้อ คือ BBL, KBANK, KKP, TCAP และ TMB
•/+ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ก.ค. ปรับลงเล็กน้อย
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ก.ค.61 ปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 52.8 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ 52.0 จากองค์ประกอบด้านคำสั่งซื้อ การผลิต และผลประกอบการที่ลดลงเป็นสำคัญ แต่องค์ประกอบเกือบทั้งหมดยังอยู่เหนือระดับ 50 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี
+ คาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ปีนี้แตะถึง 7 แสนล้านบาท
# ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย คาดว่ายอดสินเชื่อปล่อยใหม่ในปีนี้จะเติบโตแตะ 7 แสนล้านบาท จากปี 60 อยู่ที่ 6 แสนล้านบาท โดยในไตรมาสแรกมียอดสินเชื่อปล่อยใหม่แล้ว 1.5 แสนล้านบาท เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น (Aspen)
# ผลกระทบ: เป็นบวกกับกลุ่มที่อยู่อาศัย เพราะความต้องการสินเชื่อเพิ่มเป็นการสะท้อนอุปสงค์ที่อยู่อาศัยที่ยังแข็งแกร่งอยู่ เพีงแต่หนี้ครัวเรือนที่สูง จึงทำให้เกิดปัญหายอดปฏิเสธสินเชื่อ (Rejeciton Rate) ที่มาก หลักทรัพย์พื้นฐานดีขนาดใหญ่ที่ยังแนะนำให้ซื้อคือ ANAN, AP, GOLD และ ORI ส่วนหลักทรัพย์ขนาดกลาง-เล็ก แนะนำซื้อ เช่นกัน สำหรับ LALIN, PF, PRIN, SENA และ SC
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO12016