WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
กลยุทธ์การลงทุน
  ยังให้น้ำหนักกับสงครามการค้า ซึ่งน่าจะกดดันความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์โลกชะลอตัว และะกดดันน้ำมันดูไบต่ำกว่า 70 เหรียญฯ อีกรอบ ขณะที่วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นยังมีอยู่ ตราบที่เงินเฟ้อยังขยับขึ้น โดย FED ตั้งเป้าหมายดอกเบี้ย 2.25% ปีนี้ ส่วนไทยเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 1.46% ใกล้ดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ กนง.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ก่อนสิ้นปีนี้ ส่วนแรงขายรับงบ 2Q61 หุ้น Real sector ยังมี กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic (BJC, BH, DTAC, EASTW, BBL, CPF) Top picks คือ BBL(FV@B220) และ BH(FV@B221)       
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้…. หุ้นกลุ่ม PTT หนุน SET บวก 20 จุด 
  ตลาดหุ้นไทยวานนี้บวกขึ้นแรงผ่านแนวต้านบริเวณ 1700-1710 จุด อย่างง่ายดาย ปิดตลาดที่ 1,722.01 จุด เพิ่มขึ้น 20.22 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย 6.09 หมื่นล้านบาท การปรับขึ้นของดัชนีถูกดันหลักโดยหุ้นกลุ่ม PTT (PTT PTTEP PTTGC)  เช่นเดียวกับกลุ่มธ.พ. กลาง- ขนาดเล็ก ที่ outperform ตลาด  (KKP+3.10%, BAY+2.56%, KTB+1.58%) และหุ้น ICT นำโดย ADVANC ตรงข้ามหุ้นที่กดดันตลาด เป็นรายหุ้นคือ  BEAUTY-5.13%, BTS-3.17% และ BJC-1.75%   
  แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดว่ามีโอกาสขะลอการขึ้น หลังจากที่ฟื้นตัวแรงเมื่อวานนี้ เพราะตลาดน่าจะให้น้ำหนักกับสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ที่กลับมากดดันอีกครั้ง หลังจากสหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ ในอัตรา 25% จากเดิมที่จะขึ้นเพียง 10% และการขึ้นดอกเบี้ยโลกยังต่อเนื่อง จากแรงกดดันเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในสหรัฐ แคนาดา อังกฤษ และเอเชีย    
เงินเฟ้อยังหนุนอินเดีย และสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยตามแผน 
  ที่ประชุมธนาคารกลางอินเดีย (RBI) วานนี้สรุปขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ อีก 0.25% เป็น 6.5% ตามตลาดคาด เพราะกังวลเงินเฟ้อที่สูงราว 5%yoy ใน มิ.ย. สูงกว่าเป้าที่ 4% จากแรงกดดันราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และค่าเงินรูปีอ่อนค่า (อ่อนค่า 7.4%ytd)  
ส่วนผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ให้คงดอกเบี้ยฯ ที่ 2.0%  แต่จะไปขึ้นในการประชุมรอบ  25-26 ก.ย.  ตามแผนเดิมที่จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งๆละ 0.25% (การประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้)  ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปีนี้อยู่ที่ 2.25% เทียบเงินเฟ้อล่าสุด 2.9% เป็นที่สังเกตว่าในรายงาน Fed ยังแสดงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่เติบโตแข็งแกร่ง (GDP Growth ใน 1H61 เฉลี่ย 2.6% และ ทั้งปี  2.8% เทียบกับ 2.3% ในปี 2560) สะท้อนตลาดแรงงานแข็งแกร่ง (อัตราว่างงาน 4% ต่ำสุดในรอบ 18 ปี)  แต่ยังคงเงินเฟ้อเป้าระยะยาวไว้ที่ 2% 
  ทั้งนี้เชื่อว่า เงินเฟ้อสหรัฐในปีนี้ น่าจะแตะ 3% ใน 1H61 (มิ.ย. 2.9% สูงสุดในรอบ 6 ปี ส่วน ก.ค. จะประกาศ 10 ส.ค.) จากต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งราคาน้ำมันที่เกิน 70 เหรียญฯ  ดอกเบี้ย และภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้น จะกดดันให้ดอกเบี้ยฯ แตะ 3% ในปี 2562 และ 3.25% ในปี 2563  ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะทำจุดสูงสุดในปีนี้ และชะลอตัวในปี 2562  พร้อมเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2563  เป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดหุ้นสหรัฐน่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว จากนี้น่าจะทรงกับลง
เงินเฟ้อไทยใกล้ 1.5% ไม่อาจหนีวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น 
  อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน ก.ค. ขยายตัว 1.46%yoy จาก 1.38% ในเดือน มิ.ย. ต่ำกว่าที่ตลาดและ ASPS คาดเล็กน้อย ความแตกต่างเกิดจากสินค้าหมวดอาหารสดต่ำกว่าคาด โดยพบว่าผักผลไม้และเนื้อสัตว์ ยังหดตัวคือ ผัก - 5.3%, ผลไม้ - 2.35% เป็นผลจากฝนตก ผลผลิตออกมาดีกว่าปี  2559-2560 ที่เกิดภัยแล้ง ขณะที่สินค้าหมวดที่มิใช่อาหารยังคงสูงตามคาด คือ น้ำมันเพิ่มขึ้น 13.85%, ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 5.86% และ เคหสถานเพิ่มขึ้น 1.12% เป็นต้น
  ทั้งนี้คาดว่า ราคาอาหารสด อาทิ ผักผลไม้และเนื้อสัตว์น่าจะมีแนวโน้มค่อยๆฟื้นตัวในช่วงที่เหลือ  ขณะที่ค่าเงินบาทอยู่ในทิศทางอ่อนค่า (อ่อนค่าราว 1.89%ytd หรือ  6.59% นับตั้งแต่จุดต่ำสุดในเดือน เม.ย.) และราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับสูง เหนือ 70 เหรียญ (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 68.83 เหรียญ)  ทำให้เงินเฟ้อมีโอกาสขยับไปแตะ 1.59% ใน ส.ค. และ 1.79%  ใน ก.ย. และ 2.01% ใน ธ.ค.  ทำให้ กนง. อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ชอบ BBL(FV@B220)
ปัจจัยแวดล้อมกดดันราคาน้ำมันต่ำกว่า 70 เหรียญฯ อีกรอบ  
  สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบพลิกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง 3.8 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่ตลาดคาดจะลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล  เป็นผลจากฤดูฝนทำให้โรงกลั่นลดกำลังการผลิตลง   และสหรัฐยังคงผลิตน้ำมันทดแทนการนำเข้า  ล่าสุดผลิตวันละ   11 ล้านบาร์เรลต่อวัน  (สูงสุดเป็นประวัติการณ์)
  เช่นเดียวกับกลุ่ม OPEC  ได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในเดือน  ก.ค. ราว  7 หมื่นบาร์เรล/วัน อยู่ที่ระดับ 32.64 ล้านบาร์เรล/วัน (เป็นระดับสูงสุดของปีนี้) ขณะที่ข้อตกลงให้จำกัดกำลังการผลิตระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC และ non-OPEC) จะสิ้นสุดในปลายปีนี้   
ขณะที่ฝั่งความต้องการคาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก จะทำให้ปัญหา Oversupply กลับมาอีกครั้งในปี 2562  นอกจากนี้  Dollar Index  ที่มีแนวโน้มแข็งค่าตามการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐที่จะขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2 ครั้งในปีนี้  (ตั้งแต่ต้นปีแข็งค่าราว 2.75%ytd)  น่าจะกดดันหุ้นน้ำมันลงต่อ  ขณะที่ราคาหุ้นใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นปี 2561 หรือมี Upside จำกัด แนะนำขายทั้ง PTT(FV@B54) และ PTTEP(FV@B137)
การกีดกันทางการค้ากดดันสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำอีกรอบ 
  สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกือบทุกชนิดให้แกว่งตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่สหรัฐประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน มูลค่า 3.4 หมื่นล้านเหรียญ เมื่อ 6 ก.ค. ที่ผ่านมา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงแรง แต่หลังจากนั้น ความกังวลสงครามการค้าที่คลี่คลายช่วงสั้น ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวขึ้นช่วงสั้น ยกเว้น ราคาน้ำตาลที่ยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เหตุจากภาพรวมอุตสาหกรรมน้ำตาลโลกยังเผชิญปัจจัยกดดันจากส่วนเกินผลผลิตน้ำตาลที่เกินดุลไปอีกอย่างน้อย 2 ปีข้างหน้า (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง)
  ขณะที่ราคาสุกรในประเทศและราคาไก่เป็นยังทรงตัวใกล้เคียงก่อนหน้าที่ 58 บาทต่อ กก. และ 34 บาทต่อ กก. ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้เชื่อว่า ความกังวลจากสงครามการค้าที่กลับมาอีกครั้ง น่าจะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะตอบรับในทางลบอีกครั้ง ซึ่งหุ้นที่อิงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นต้นทุนน่าจะได้ประโยชน์ เช่น KCE, HANA, CPF, GFPT, TFG, BR (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก Market Talk วันที่ 12 ก.ค.)
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค
  วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 288 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 164 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยไต้หวัน 33 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ได้แก่ อินโดนีเซียซื้อสุทธิ 44 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8), ฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6), และไทย 35 ล้านเหรียญ หรือ 1.15 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)  เช่นเดียวกับสถาบันฯที่ซื้อสุทธิกว่า 3.88 พันล้านบาท
  แรงซื้อหุ้นจากต่างชาติกลับเข้ามาในตลาดหุ้นกลุ่ม TIP อีกครั้ง หลังจากขายสุทธิมาตลอดนับตั้งแต่ต้นปี 61 (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) หนุนให้ดัชนีของทั้ง 3 ประเทศในวานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงติดอันดับ Top 5 ของโลก โดยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.26%, อินโดนีเซีย 1.32% และไทย 1.26% ตามลำดับ
  อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงไทย ยังความเสี่ยงจากประเด็นสงครามการค้า รวมถึงวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น กดดันตลาดฯอยู่ และหากพิจารณา Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ พบว่า ปรับตัวขึ้นมายืนเหนือ 3% อีกครั้ง และยังมากกว่า Bond Yield 10 ปีของไทย ล่าสุดอยู่ที่ 2.7% ด้วยความเสี่ยงดังกล่าวทำให้ Fund Flow มีโอกาสไหลกลับไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยที่ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่า  
ยังมีแรงขายรับงบ 2Q61 หุ้น Real sector
  คาดระดับดัชนีเกิน 1700 จุด น่าจะเห็นแรงรับงบ 2Q61  real sector ที่ประกาศเพิ่มเติมนับจากนี้จนถึงกลางเดือนนี้  ระหว่างที่รอการประกาศงบนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทำ   Earnings Preview เพิ่มเติมคือ 
  EA(Buy:FV@40) คาดกำไรสุทธิ 2Q61 เท่ากับ 937 ล้านบาท ลดลง 52%qoq แต่กำไรปกติลดลง 7%qoq มาอยู่ที่ 957 ล้านบาท กดดันจากรายได้ค่าขายไฟฟ้าที่ลดลง  ตามโครงการลมเข้าสู่ช่วง low season รวมถึงโครงการโซลาร์ที่มีความเข้มแสงน้อย  แต่น่าจะกลับมาโดดเด่นในงวด 4Q61  เพราะจะเริ่ม COD โครงการลมหนุมาน 5 โครงการ  ส่วน Backlog ในมือยังมีเหลืออีก 2 โครงการคือ  ลมหนุมาน 260  MW (COD 4Q61) และ  Energy Storage (ES) เฟส แรก  1 GWh (COD 3Q62) ช่วยหนุนกำไรปี 2562  แต่ราคาหุ้นมี upside จำกัด เน้นลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว
  SC(Buy:[email protected]) คาดกำไรอยู่ที่ 490 ล้านบาท เติบโต 85% yoy และ 89% qoq หนุนด้วยยอดโอนฯ เพิ่มขึ้นทั้งแนวราบ และคอนโด (หลักๆ จากการเริ่มโอนฯ Saladaeng One ตั้งแต่ พ.ค. ที่ผ่านมา ) ขณะที่ 2H61 คาดเติบโตในอัตราเร่งมากขึ้นทั้งในส่วนของธุรกรรมการขาย จากแผนเปิดโครงการใหม่มากถึง 16 โครงการ มูลค่า 1.65 หมื่นล้านบาท ส่วนการโอนฯ มาจากการเปิดขายแนวราบใหม่ และคอนโดฯ จากทั้ง Saladeang One และโครงการใหม่ Beatniq  ที่จะพร้อมโอนฯ 3Q61  
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO12006

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!