- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 26 July 2018 19:41
- Hits: 1886
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สหรัฐรับรู้ผลกระทบสงครามการค้า สะท้อนจากที่เข้าเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบกลุ่มแรก วานนี้ได้หันมาเจรจากับยุโรป เพื่อลดความขัดแย้งการค้าเหล็กและอลูมิเนียม ทำให้ตลาดผ่อนคลายระยะสั้น แม้ปัญหาการค้าจีน-สหรัฐ ยังมีอยู่ ทำให้ Dollar Index ชะลอการแข็งค่าระยะสั้น ขณะที่จะเห็นแรงขายรับงบ 2Q61 ของหุ้น Real sector หากกำไรเป็นตามคาด (SCC กำไร ใกล้ ASPS คาด) กลยุทธ์ปรับพอร์ตถือหุ้น 40% สลับลงทุนหุ้น Domestic (BJC, BH, DTAC, EASTW, BBL, CPF) Top picks คือ DTAC(FV@68) และเพิ่ม ROBINS(FV@B68) เพราะราคาหุ้นกลับมามี upside จากมูลค่าหุ้นที่ปรับลดสะท้อนความเสี่ยงการแข่งขันของธุรกิจ Online
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. พลังงาน-ค้าปลีก หนุน SET บวก 15 จุด
วานนี้ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดทั้งวัน และปิดตลาดฯ ที่ 1690.08 จุด เพิ่มขึ้นกว่า 15.86 จุด หรือ 0.95% มูลค่าการซื้อขาย 5.75 หมื่นล้านบาท เป็นผลจากตลาดคลายความกังวลต่อสงครามการค้า สหรัฐ-ยุโรป โดยเป็นการฟื้นตัวของหุ้นพลังงาน-ปิโตรเคมี (PTT PTTEP PTTGC) ตามด้วยกลุ่มค้าปลีก (CPALL, MAKRO, HMPRO) กลุ่ม ธ.พ. (KTB, SCB, TMB) และเป็นรายหุ้นในกลุ่มอสังหาฯ ขนาดใหญ่คือ LH (+4.31%) บวกแรงในรอบ 5 ปี และ QH (+5.42%) สุดท้าย SCCC (+6.13%) รับงบ 2Q61 เติบโตโดดเด่น และ นักวิเคราะห์ ASPS ปรับคำแนะนำเป็นซื้อครั้งแรกในรอบ 16 เดือน เพราะผ่านพ้นความกังวลเรื่องเพิ่มทุน และการลงทุนในต่างประเทศ ที่เริ่มเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ ดัชนีอาจจะฟื้นตัวต่อโดยมีแนวต้านบริเวณ 1700 จุด โดยให้น้ำหนักต่อสงครามการค้าสหรัฐ-ยุโรปลดลง แต่ระหว่างสหรัฐ-จีน ยังมีอยู่ ขณะที่รายงานงบ 2Q61 ของกลุ่ม Real sectorน่าจะมีแรงขายรับงบ หากไม่มีประเด็นที่จะทำให้มีการปรับเพิ่มประมาณการหรือคำแนะนำ เช่น SCC รายงานงบออกมาใกล้เคียงกับคาด
สหรัฐ-ยุโรป หันมาเจรจาการค้า ผ่อนปรนภาษีเหล็ก-อลูมิเนียม
ตลาดหุ้นโลกผ่อนคลายในช่วงสั้น หลังจากสหรัฐ-ยุโรปได้เจรจากันเมื่อวานนี้ โดย ยุโรปยินยอมที่จะนำเข้าถั่วเหลืองและก๊าซธรรมชาติเหลวจากสหรัฐเพิ่มขึ้น ขณะที่สหรัฐผ่อนคลาย จะลดภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กและอลูมิเนียมจากยุโรป หลังจากปลายเดือน มี.ค. สหรัฐได้ขึ้นภาษีนำเข้า (Safe Guard) เหล็กที่ 25% และอลูมิเนียมที่ 10%ต่อยุโรป ทำให้ยุโรปตอบโต้กลับด้วยการขึ้นภาษีนำเข้า 340 สินค้า อาทิ วิสกี้, กางเกงยีนส์, มอเตอร์ไซค์ Harley และสินค้าเกษตร อาทิ ธัญพืช มูลค่ารวม 3.2 พันล้านเหรียญฯ (มีผลตั้งแต่ 22 มิ.ย.) นอกเหนือจากนั้นสหรัฐต้นเดือน มิ.ย. ยังประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ จากยุโรป 25% ทำให้ยุโรปเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐมูลค่ารวมที่ 2.9 แสนล้านเหรียญฯ (เท่ากับมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดที่ยุโรปนำเข้าจากสหรัฐในปี 2560)
อย่างไรก็ตามสงครามการค้าสหรัฐ-จีนยังคงมีอยู่ ซึ่งมีผลแล้ว 6 ก.ค. โดยขึ้นภาษีนำเข้า 25% มูลค่า 3.4 หมื่นล้านเหรียญฯ ขณะที่รอบที่ 2 วงเงิน 1.6 หมื่นล้านเหรียญฯ จะได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งผลกระทบได้เกิดขึ้นแล้วต่อภาคเกษตรในสหรัฐโดยเฉพาะผู้ผลิตถั่วเหลือง , เนื้อหมู สะท้อนจากราคาสินค้าที่ปรับลงแรงตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค.-ปัจจุบัน ทำให้ล่าสุดสหรัฐเข้าเยียวยาเกษตรกร อาทิ ถั่วเหลือง, ข้าวสาลี ที่ได้รับกระทบสงครามทางการค้า จะทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐเปลี่ยนท่าทีกับจีนหรือไม่ หากผ่อนคลายลงน่าจะหนุนตลาดฟื้นตัวต่อได้
สต็อกน้ำมันลดลงมากกว่าคาด หนุนน้ำมันบวกระยะสั้น
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบพลิกกลับมาลดลง 6.15 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาดจะลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล แต่คาดว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น เชื่อว่า ปัญหา Oversupply น่าจะเกิดขึ้นเมื่อสัญญาณการควบคุมการผลิตในกลุ่ม Cartel สิ้นสุดลงสิ้นปีนี้ ขณะที่สหรัฐ ยังคงเพิ่มกำลังการผลิตอยู่ที่ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สูงสุดเป็นประวัติการณ์)
ขณะที่สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ยังมี น่าจะกดดันความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกชะลอลง โดยเฉพาะผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกคือ สหรัฐบริโภคราว 24.9 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิด 25.5%ของการบริโภคน้ำมันในตลาดโลก รองลงมาอันดับ 2 คือจีน 12.5 ล้านบาร์เรล/วัน ราว 12.8%
แม้ Dollar Index ชะลอการแข็งค่าช่วงสั้น แต่การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐที่จะเกิดขึ้นอีก 2 ครั้งในปีนี้ น่าจะหนุนให้ Dollar Index กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง และ น่าจะกดดันหุ้นน้ำมันให้ลงมา 70 เหรียญฯ อีกครั้ง ขณะที่ราคาหุ้นใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นปี 2561 หรือมี Upside จำกัด แนะนำขายทั้ง PTT(FV@B54) และ PTTEP(FV@B137)
ยอดขายบ้าน และ PMI สหรัฐชะลอตัว
แม้ไม่คำนึงถึงผลกระทบจากสงครามทางการค้า พบว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐก็เริ่มชะลอตัว สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว จากนี้หากสงครามทางการค้ายังมีจะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจสหรัฐให้ชะลอตัวเร็วกว่าคาด ซึ่งน่าจะกระทบคู้ค้าหลักของสหรัฐ เช่น ยุโรป (18.8%) ญี่ปุ่น (5.5%) และเอเชีย (41.2%) เป็นต้น
ทั้งนี้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัว เห็นได้จากฝั่งผู้บริโภคคือ ยอดขายบ้านใหม่ (housing start) เดือน มิ.ย. หดตัว 5.3% จากเดือน พ.ค. (mom) ถือว่าต่ำสุดนับจาก ต.ค. 2560 สอดคล้องกับยอดขายบ้านมือสองเดือนเดียวกัน (คิดราว 90%ของบ้านทั้งหมดในสหรัฐ) ลดลง 0.6%mom ชะลอตัวเป็นเดือนที่ 3 ทั้งนี้เป็นผลจากสต็อกบ้านลดลง และผู้ประกอบการชะลอการก่อสร้าง จากต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นและขาดแคลนแรงงาน รวมถึงดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามการขึ้นดอกเบี้ยฯในช่วงที่ผ่านมา กดดันกำลังซื้อ (สัดส่วนราว 69.1% ของ GDP)
เช่นเดียวกับภาคการผลิต พบว่า ดัชนี PMI ล่าสุดเดือน ก.ค. 55.5 จุด ใกล้เคียงกับเดือน มิ.ย. (อยู่ 55.4) ทั้งนี้หลังจากดัชนี PMI ฟื้นตัวติดต่อกันมานานถึง นับจากกลางปี 2560 และ มาทำดสูงสุดที่ 56.5 เดือน เม.ย. และ 56.4 ในเดือน พ.ค. ก่อนที่จะชะลอตัวลงใน 2 เดือนหลังสุด
ขณะที่ประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐได้ชะลอตัวไปก่อนหน้า หากพิจารณาจากดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ก.ค. เช่น ญี่ปุ่น ชะลอตัวแรงอยู่ที่ระดับ 51.6 จุด นับว่าต่ำสุดในรอบ 1 ปี 8 เดือน ตามมาด้วย ยุโรป ดัชนี PMI เดือนเดียวกัน แม้ขยับขึ้นมาที่ 55.1 จุด แต่ต่ำสุดในรอบ 1 ปี และอังกฤษ ดัชนี PMI เดือน มิ.ย. 54.4 ลดลงจาก 58.2 เมื่อปลายปี 2560 เป็นต้น
ต่างชาติสลับขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 286 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) แต่ยังมีอยู่ 2 ประเทศที่ซื้อสุทธิเล็กน้อย คือ อินโดนีเซีย 7 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ 178 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิวันเดียว), ไต้หวัน 119 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 5 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 10 ล้านเหรียญ หรือ 331 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิสูงถึง 4.4 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 1.12 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 5 วัน) กดดัน Bond Yield 10 ปี ของไทยลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ 2.72%
ปรับเพิ่มคำแนะนำ SCCC และ ROBINS หลังราคาหุ้นสะท้อนปัจจัยลบ
หลังจากประกาศงบ 2Q61 SCCC(Buy:FV@B258) ซึ่งมีกำไรสุทธิ +23%QoQ และ +316%YoY เกิดจากการปรับกลยุทธ์เน้นขายสินค้าที่ให้ margin สูงขึ้น และการเพิ่มรายได้จากธุรกิจใหม่(ธุรกิจ Trading ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ) ทำให้มีการปรับคำแนะนำเป็นซื้อ เพื่อสะท้อนแนวโน้มธุรกิจที่กลับมาขยายตัว พร้อมมูลค่าเหมาะสมที่ 258 บาท Upside สูงถึง 15.18%
ตรงข้ามกับ SCC (Buy:FV@B530) แม้กำไรสุทธิใกล้เคียงคาดทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล แต่หากพิจารณาเป็นรายธุรกิจพบว่า Packaging (13.5% ของกำไรรวม) มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากราคาขายที่ดีขึ้น ขณะที่สามารถควบต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น ส่วนธุรกิจปิโตรเคมีและธุรกิจซีเมนต์ยังทรงตัว โดยปิโตรเคมี Spread ลดลง แต่ชดเชยได้จากการรับรู้กำไรส่วนแบ่ง (Equity Method) จากบางแห่งที่กลับมาผลิตปกติหลังจากที่ shutdown ในงวดก่อนหน้า ส่วนธุรกิจปูนชะลอตัวเพราะต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ปูนยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่แนวโน้มกำไร 2H61 น่าจะทรงตัวจาก 1H61 อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นความเสี่ยงมากขึ้นเกี่ยวกับ Trend การลดใช้พลาสติกทั่วโลก จึงปรับลดประมาณการ Terminal Growth ลงจาก 2.75% เหลือ 2.0% เพื่อสอดคล้องกับหุ้นปิโตรเคมีอื่นภายใต้ Coverage ของ ASP ทำให้ได้ Fair Value ใหม่อยู่ที่ 530 บาท (เดิม 600 บาท) แต่ยังคงแนะนำซื้อ
ส่วนหุ้นที่ทำ Earings Preview และ เห็นสัญญานที่ดีจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็นซื้อ คือ ROBINS (Buy:FV@B68) แม้การแข่งขันค้าปลีกที่รุนแรงขึ้นแต่ ROBINS มีการปรับกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง และจับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ด้วยสาขารูปแบบใหม่ ที่เพิ่มระบบออนไลน์และพื้นที่จัดกิจกรรม เชื่อว่าช่วยหนุนประสิทธิภาพการทำกำไรในระยะกลาง-ยาว ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวนับว่าคล้ายคลึงกับ ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ในญี่ปุ่น คือ AEON Mall ที่ประสบความสำเร็จจากการปรับกลยุทธ์ทำให้ผลกำไรเติบโตมากกว่าธุรกิจค้าปลีกในประเทศญี่ปุน ส่วนระยะสั้น Net margin ดีขึ้นจากการเพิ่มสินค้า Private brands และรายได้ค่าเช่าเติบโตตามการขยายสาขา โดยคาดกำไร 2Q61 อยู่ที่ 694.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.6% yoy และจะเติบโตในอัตราเร่งขึ้นใน 2H61
WHA (Buy:[email protected]) คาดกำไร 2Q61 ที่ 276 ล้านบาท อ่อนตัว 65%QoQ แม้จะได้แรงหนุนจากการโอนที่ดินเพิ่มขึ้น 1.8 เท่าตัวQoQ และ รายได้คงที่ (ขายน้ำ/ไฟฟ้า) ก็สามารถชดเชยรายได้จากการขายทรัพย์เข้ากอง HREIT ที่เคยเกิดขุ้นในไตรมาสก่อนได้ อีกทั้งโรงไฟฟ้ายังได้รับผลกระทบค่าเงินบาทที่อ่อนค่า แต่มคาด 2H61 จะกลับมาแข็งแกร่ง หนุนจาก พ.ร.บ. EEC, การประมูลโครงสร้างพื้นฐาน และบริษัทน่าจะเปิดขายนิคมฯแห่งใหม่ รวมถึง E-Commerce Park ดันกำไรทำ New High
CHG (Buy:[email protected]) คาดกำไร 2Q61 เติบโต 28% YoY สู่ 152 ล้านบาท ตามการเติบโตของรายได้ผู้ป่วยเงินสดทั้งส่วนคนไข้นอกจากศูนย์การแพทย์เฉพาะทางใหม่และคนไข้ในจากการเพิ่มเตียงบริการที่เริ่มมีการใช้บริการที่มากขึ้น รวมทั้งโรคระบาดที่มาเร็วกว่าปกติ หนุนให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นและ SG&A/Sales ลดลง สำหรับช่วง 2H61 แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มจาก รพ. ที่เปิดใหม่ คาดไม่กดดันกำไรมากเกินไป ด้วยแนวโน้มโรคระบาดที่ต่อเนื่องจากปลาย 2Q61 ที่เข้าสู่ High season เต็มไตรมาส 3Q61 รวมทั้งการเติบโตของผู้ป่วยเงินสดที่ยังหนุนต่อเนื่อง (ฝ่ายวิจัยอาจมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการกำไรในอนาคต)
BH (Buy:FV@B221) คาดกำไร 2Q61 เติบโต 5.5% YoY อยู่ที่ 1,013 ล้านบาท เติบโตจากรายได้ต่อราย (Revenue Intensity) ที่เพิ่มขึ้น จากการปรับเพิ่มค่าบริการและการรักษาโรคที่ยากขึ้น ขณะที่งวด 3Q61 จะเข้าสู่ High season ซึ่ง BH จะเติบโตได้จากทั้งผู้ป่วยในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และกลุ่มตะวันออกกลางที่กลับมารักษาหลังพ้นช่วงรอมฎอน ขณะเดียวกันก็มีแนวทางกระจายฐานรายได้ไปยังกลุ่มอื่นๆ มากยิ่งขึ้น เพื่อลดความผันผวนของการเติบโต รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในหุ้นที่ปลอดภัยสูงจากฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO11820