- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 24 July 2018 17:37
- Hits: 1210
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
หุ้นไทยฟื้นตัวแต่มีกรอบจำกัด ยังให้น้ำหนักสงครามการค้า ตราบที่สหรัฐปักธงจะเพิ่มการกีดกันการค้าจีนสูง 5 แสนล้านเหรียญฯ ส่วนในประเทศให้น้ำหนักผลการดำเนินงาน Real sector หลังกลุ่มแบงก์รายงานจบ โดยยังคงให้ปรับพอร์ตถือหุ้น 40% และสลับมาหุ้น Domestic ยังชอบ BJC, BH, DTAC, RATCH, EASTW, BBL, CPF Top picks เลือกหุ้น Laggard คือ RATCH(FV@B61) และ DTAC(FV@68) ราคาหุ้นตอบรับกำไรงวด 2Q61 ต่ำสุดของปีนี้ เพราะบันทึกค่าใช้จ่ายคลื่น 2300 Mhz ครั้งเดียว คาดจะเข้าประมูลคลื่น 900 Mhz เพิ่มประสิทธิภาพบริการทัดเทียมคู่แข่ง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….SET แกว่งบวกสลับลบ หุ้นแบงก์ยังหนุนต่อ
วานนี้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวขึ้นต่อ โดยช่วงบ่ายดัชนีฯขึ้นมาทดสอบบริเวณ 1680 จุด ก่อนจะย่อลงมาปิดที่ 1675.75 จุด เพิ่มขึ้น 4.69 จุด หรือ 0.28% มูลค่าการซื้อขาย 4.85 หมื่นล้านบาท การปรับขึ้นของดัชนียังได้แรงหนุนของหุ้นกลุ่มธนาคารฯ ซึ่งปรับตัวขึ้นต่อ ทั้ง BBL, KBANK SCB และ KTB ส่วนหุ้นปิโตรเคมี นำโดย IVL ดีดขึ้นช่วงบ่ายมาปิดที่ 59.75 บาท (+1.7%) เช่นเดียวกับ PTTGC ราคาหุ้นปรับขึ้นต่อเนื่องอีก 2.21% ขณะที่หุ้นโรงกลั่น (TOP IRPC ESSO BCP SPRC) ปรับตัวขึ้นแรงทั้งกลุ่มฯ เป็นผลจากค่าการกลั่นที่ฟื้นตัวต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ ส่วน PTT PTTEP ปรับตัวลงสวนกับทิศทางราคาน้ำมันดิบโลก
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดว่าดัชนีอาจจะฟื้นตัวจำกัดตามกรอบ 1650-1680 จุด เพราะความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยังมีอยู่ สะท้อนจากเงินบาทยังอ่อนค่าตามเงินหยวน และในประเทศ ติดตามงบ 2Q61 ของ real sector หลังกลุ่มแบงก์รายงานงบเสร็จสิ้น
ตลาดบ้านสหรัฐชะลอตัว..กำลังซื้อลดลง
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐบางสัญญาณส่งสัญญาณชะลอตัว สะท้อนจากตลาดบ้าน โดยเฉพาะ ยอดขายบ้านมือสอง (คิดราว 90% ของบ้านทั้งหมดในสหรัฐ) เดือน มิ.ย. หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 0.6%mom เป็นผลจากสต็อกบ้านลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการก่อสร้าง จากต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้นและขาดแคลนแรงงาน รวมถึงต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ตามการขึ้นดอกเบี้ยฯในช่วงที่ผ่านมา กดดันกำลังซื้อ (สัดส่วนราว 69.1% ของ GDP)
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ซึ่งเริ่มเห็นผลกระทบต่อผู้ผลิตภาคเกษตร อาทิ ถั่วเหลือง, เนื้อหมู และอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางที่สูงขึ้น จากต้นทุนนำเข้าสูงขึ้นจากภาษีนำเข้า ล้วนกระทบต่อผู้บริโภค เชื่อว่าจะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐน่าจะเติบโตในต่ำกว่าที่ IMF 2.9% ในปี 2561 และชะลอเหลือ 2.7% ในปี 2562 (จาก 2.3% ในปี 2560) สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐผ่านจุดสูงสุด และจากน่าจะมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง
ตลาดคาด BOJ จะเลิกนโยบายดอกเบี้ยต่ำ หนุนเยนแข็งค่า..หุ้นปรับฐาน
ส่วนการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) 30-31 ก.ค. นี้ นักเศรษฐศาสตร์ในตลาดได้ออกมาแสดงความเห็นว่า BOJ มีแนวโน้มจะหยุดการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย เนื่องจากเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 0.7% อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่า BOJ น่าจะยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย จากการขยายตัวในอัตราต่ำ และ IMF คาด GDP ญี่ปุ่นขยายตัวต่ำที่ 1.0% และ 0.9% ในปี 2562 และ 2563 (จาก 1.7% ในปี 2560)
ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาค 4 วันติดต่อ และไทยเป็นวันที่ 2
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 206 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเกาหลีใต้ที่ถูกขายสุทธิ 82 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 213 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 24 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 48 ล้านเหรียญ หรือ 1.61 พันล้านบาท สวนทางสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 418 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิ 457 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกขายต่อเนื่อง เพราะหากพิจารณาจาก Bond Yield 10 ปี ของไทยอยู่ที่ 2.74% ยังน้อยกว่า Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐที่วานนี้ปรับตัวขึ้นแรง 6.1 bps. มาอยู่ที่ 2.954% รวมถึง Fund Flow ที่ไหลเข้าในตลาดหุ้นเอเชีย อาจมีสะดุดบ้าง หาก Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐ ยังขยับขึ้นต่อเนื่อง
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
Real sector ประกาศงบ 2Q61 มีน้ำหนักต่อตลาดมากขึ้น
หลังจากที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ 10 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา รายงานกำไร 2Q61 เท่ากับ 5.33 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% qoq และ 17.6% yoy ซึ่งเป็นผลประกอบการที่ดีกว่าคาดที่ส่วนใหญ่เกิดจากรายการพิเศษ เชื่อว่าราคาหุ้นที่ฟื้นตัวของกลุ่มธนาคารน่าจะเริ่มลดน้อยลง
จากนี้ไปจะเข้าสู่การรายงานงบฯ ของหุ้นกลุ่ม real sector โดยเฉพาะหุ้น Market Cap. ขนาดใหญ่ที่คาดรายงานงบฯ ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ คือ PTTEP (Switch: FV@137) คาดงวด 2Q61 กำไรสุทธิลดลงถึง 66.1%qoq แต่หากตัดรายการพิเศษ พบว่ากำไรปกติเพิ่มขึ้น 21%qoq ตามราคาขายและปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น ตามด้วย SCC (Buy: FV@600) คาดกำไร 2Q61 อยู่ที่ 1.26 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1%qoq ด้วยแรงหนุนของธุรกิจปิโตรเคมีและเงินปันผลรับจากธุรกิจลงทุน ส่วนธุรกิจปูนซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กำไรอ่อนตัว qoq ตามฤดูกาล แต่จะเติบโต yoy จาก Operation ในต่างประเทศที่ดีขึ้น
ส่วนธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี แม้คาด 2Q61 กำไรสุทธิเติบโต qoq หลักๆ มาจากการบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมัน ทั้ง IRPC (Buy : [email protected]) และ TOP (Switch : FV@B93) (ยกเว้น PTTGC (Buy : FV@B98) คาดกำไรสุทธิลดลง qoq) แต่ในส่วนของผลการดำเนินงานปกติคาดอ่อนตัวลง qoq เนื่องจากค่าการกลั่นที่ลดลง เช่นเดียวกับ spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่อ่อนตัวลงในสายอะโรเมติกส์ (ยกเว้นสายโอเลฟินส์ยังทรงตัวได้)
ขณะที่ 3Q61 คาดผลการดำเนินงานอ่อนตัว qoq ต่อ เนื่องจากเข้าสู่ช่วง low season, แผน shutdown โรงกลั่น และ supply ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีใหม่ที่จะผลิตเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้คาดจะไม่มีการบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันในระดับสูงเช่นในงวด 2Q61 อีกทั้งผลกระทบจากค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อ ทำให้อาจจะเผชิญกับขาดทุนจาก Fx ได้อีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่ฟื้นตัวขึ้นมาในช่วงนี้มาจากการเก็งกำไรตามค่าการกลั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงสั้น แต่หากพิจารณาปัจจัยพื้นฐานแล้วมีโอกาสที่ราคาจะปรับลงได้หลังจากนี้ จึงแนะนำหาจังหวะทยอยขายทำกำไร และกลับมาลงทุนหลัง 3Q61 แต่สำหรับนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่แล้วแนะนำถือต่อในหุ้นที่เงินปันผลที่ค่อนข้างสูง ซึ่งทั้ง PTTGC, IRPC และ TOP มี Div. Yield สูงกว่า 5%p.a.
ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่มีการทำ Earnings Preview ออกมาเพิ่มเติมคือ
SEAFCO (Buy:[email protected]) คาดกำไร 2Q61 อยู่ที่ 77 ล้านบาท เติบโต 47%QOQ และ 102%YoY หนุนจากรายได้ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นชัดเจนหลังเข้าพื้นที่งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ ชมพู รวมถึงการเริ่มรับรู้รายได้โครงการ The One Bangkok ล่าสุดมี Backlog สูงถึง 3,898 ล้านบาท ทำให้ SEAFCO มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาทต่อไตรมาส ต่อเนื่องไปถึง 2Q62 จึงมีความเป็นไปได้ที่รายได้ปีนี้อาจสูงถึง 2.5 พันล้านบาท เพิ่มเกือบ 40%YoY สูงกว่าเป้าหมายที่บริษัทเคยตั้งไว้ที่ 30%
PYLON (Buy:[email protected]) คาดกำไรสุทธิ 29 ล้านบาท ลดลง 60%QoQ ปัญหาส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ทำให้การรับรู้รายได้ล่าช้ากว่าแผน แต่เพราะงวด 2Q60 มีฐานกำไรต่ำกว่าปกติ จึงเห็นการเติบโต 79%YoY และเชื่อว่าการรับรู้รายได้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. จากการเริ่มต้นงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสีเหลือง และ โครงการคอนโดขนาดใหญ่ที่เพิ่งผ่าน EIA แต่ผลการรับรู้รายได้ล่าช้าทำให้ ASPS ปรับลดประมาณการกำไรปี 2561 ลง 12% แต่กำไรยังทำ New High
BANPU (Buy:[email protected])คาด 2Q61 พลิกกลับเป็นกำไรสุทธิ 3.36 พันล้านบาท เพราะไม่มีบันทึกเงินชดเชยหงสา แต่หากดูเฉพาะกำไรปกติ คาดเพิ่มขึ้น 28.6%qoq อยู่ที่ 3.34 พันล้านบาท หนุนจากปริมาณขายถ่านหินและส่วนแบ่งกำไรเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่คาดกำไรปกติ 3Q61 จะลดลงเล็กน้อยจาก 1Q61 เพราะราคาขายถ่านหินลดลงตามฤดูกาล แม้จะชดเชยบางส่วนจากปริมาณขายถ่านหินที่เหมืองอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น แต่กลับถูกหักล้างจากการ shutdown โรงไฟฟ้าหลักทั้งหงสาและ BLCP
AMATA (Buy:[email protected]) คาดกำไร 2Q61 ที่ 286 ล้านบาท ลดลง 31% QoQ (เพิ่ม 12%YoY) จากรายได้นิคมฯ ที่ชะลอตัว QoQ (Low Season) แต่ยังมีรายได้คงที่ (Recurring Income) จากค่าเช่าโรงงาน ค่าน้ำ และส่วนแบ่งกำไรโรงไฟฟ้า ช่วยหนุน ส่วนแนวโน้มกำไร 2H61 จะโดดเด่นเมื่อเทียบกับ 1H61 นอกจากนี้ การที่ AMATA ร่วมกับทุน กับบริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก็ส สัดส่วน 49%:51% จัดตั้ง บริษัท อมตะ บีไอจี อินดัสเทรียลแก็ส (ABIG) งบลงทุน 200 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตก๊าซไนโตรเจนและท่อขนส่ง คาดจะช่วยให้บริษัทมี Recurring Income เพิ่มขึ้น ในระยะยาว
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO11690