- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 20 July 2018 16:17
- Hits: 1145
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนีน่าจะผันผวนตามทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงต่ำกว่า 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตราบดอลลาร์ยังแข็งค่า และ supply เพิ่มต่อเนื่อง และแรงขายรับงบแบงก์ใหญ่ที่ออกมาดีกว่าคาด แต่จากการบริหารจัดการต้นทุน (SCB ปรับคำนำแนะนำเป็น Switch) ยกเว้น BBL มีพัฒนาการที่ดี สินเชื่อดีกว่าคาด รายได้ค่าบริการประกันที่มีแนวโน้มดีขึ้น และสำรองสูงสุด กลยุทธ์ฯ เน้นหุ้น Domestic Play (BJC, BH, RATCH, TTW, EASTW, BBL, PLANB, CPF, GFPT) Top picks เลือก RATCH(FV@61) และเพิ่ม BBL(FV@B220)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้….SET index บวกใกล้แนวต้าน 1,650 จุด
SET index วานนี้บวกแรง 15 จุด ทดสอบ 1650 จุด แต่ปิดที่ 1,646.89จุด เพิ่มขึ้น 11.04 จุด หรือ 0.67% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 4.24 หมื่นล้านบาท หุ้นกระจุกตัวในพลังงานทดแทน EA +6.06%, BCPG, +5.42% และ BGRIM +2.88% (ยกเว้น PTTEP PTT ทรงตัว) ตามด้วยกลุ่มขนส่ง BEM, AOT สำหรับหุ้น ธ.พ. SCB บวกเล็กน้อย 1.2%, TCAP เปิดกระโดดขึ้นรับงบฯ ช่วงเช้า และลดช่วงบวกลงปิดที่ 48.5 บาท ส่วน BBL KBANK ปิดตลาดในแดนลบ ขณะที่หุ้นรายตัวอื่นๆ CPALL -0.33% ภาพทางเทคนิคดูไม่ support เนื่องจากราคาหลุดทุกเส้นค่าเฉลี่ยรายวัน พร้อมเส้น MADC ยังอยู่ภายใต้เส้นศูนย์ และ BDMS -0.95%
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้คาดว่าน่าจะผันผวนตามแรงขายรับงบหุ้นแบงก์ ที่กำไรออกมาดีกว่าคาด แต่เป็นเพราะการบริหารจัดการต้นทุน และราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัวในทางลง จากปัญหา oversupply รวมถึงมีการตรวจพบยาปฏิชีวนะในเนื้ออกไก่สด ทำให้อาจจะมีแรงขายระยะสั้นหุ้นส่งออกอาหาร
สงครามการค้า ชุดแรกกระทบ สิงคโปร์-ญี่ปุ่น
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่เกิดขึ้น รอบแรกเมื่อวันที่ 6 ก.ค. (อัตราภาษีนำเข้า 25% วงเงิน 3.4 หมื่นล้านเหรียญฯ) เห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นตามลำดับ เริ่มจากสินค้าโภคภัณฑ์ พบว่าราคาเกือบทุกประเภทปรับลดลง อาทิ ทองแดง, สังกะสี (Zinc), เมล็ดถั่วเหลือง, กากถั่วเหลือง, ราคาน้ำมันดิบ
ตามด้วยการส่งออกที่เห็นการชะลอในบางประเทศตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2561 คือ สิงคโปร์ ยอดส่งออกเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นเพียง 1.1%yoy ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และพบว่าตลาดส่งออกสูงสุดคือ จีนราว (14% ของตลาดส่งออกทั้งหมด) หดตัวถึง 15.8%yoy เทียบกับในเดือน เม.ย. และ พ.ค. ที่หดตัว 2.2% และหดตัว 6% ตามลำดับ ทั้งนี้การชะลอตัวเกิดจากที่ประเทศในเอเชียเป็นคู่ค้าสำคัญของจีน (จีนค้าขายกับตลาดเอเซียสูงสุดราว 48.5% ของการนำเข้าในตลาดโลก) โดยเอเซีย ผู้ส่งออกวัตถุดิบ (Supply Chain) ให้กับจีน ทั้งนี้คาดว่า ผู้ผลิตในจีนน่าจะชะลอการสั่งซื้อวัตถุดิบ ก่อนจะมีการขึ้นภาษีนำเข้า 6 ก.ค.
และถัดมาคือ ญี่ปุ่นพบว่า ยอดส่งออกไปสหรัฐในเดือนเดียวกัน หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือน คือ ติดลบ 0.9% และเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2561 นับจากสหรัฐ ขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก และ อลูมิเนียม ตั้งแต่ต้นปี 2561 (ภาษี Safegaud)
ขณะที่ไทย เชื่อว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยราว 18.1% (ญี่ปุ่น 11.5% และ สหรัฐ 9.7%) และวันนี้จะมีการรายงานยอดส่งออกในรูปดอลลาร์ เดือน มิ.ย. ซึ่งตลาดคาดขยายตัว 9.5% แต่ชะลอจาก 11.4% ในเดือน พ.ค.(ส่งออกเฉลี่ย 5M2561 ขยายตัวเฉลี่ย 11.5%)
พบยาปฏิชีวนะในอกไก่ Sentiment เชิงลบต่อหุ้นส่งออกไก่
มีข่าวกระทบตลาดอีกประเด็นคือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเปิดเผยว่าจากการสุ่มเก็บตัวอย่างเนื้ออกไก่และตับสดไก่จากห้างสรรพสินค้า ตลาดสดและห้างค้าปลีกออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9-15 มิ.ย. 61 จำนวน 62 ตัวอย่าง พบว่ามีการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 26 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 42% ของตัวอย่างไก่ทั้งหมด และมี 5 ตัวอย่าง ที่มียาปฏิชีวนะเกินมาตรฐาน หรือคิดเป็น 8% ของตัวอย่างไก่ทั้งหมด ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะดังกล่าวสามารถใช้ในสัตว์ระหว่างการเลี้ยงได้ แต่ไม่ควรมียาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคทั้งคนและสัตว์ดื้อยาหรือแพ้ยาได้
ปัจจัยนี้ถือเป็น sentiment ลบต่อกลุ่มไก่ในประเทศในระยะสั้น ได้แก่ TFG ([email protected]) GFPT (FV@B14) และ CPF (FV@B30) ที่มีโครงสร้างรายได้จากธุรกิจไก่ในประเทศ 70%, 70% และ 10% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยประเมินว่ากลุ่มตัวอย่างที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคไปสุ่มตรวจค่อนข้างน้อยมาก เพียง 62 ตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังประเมินว่าผู้ประกอบการไก่รายใหญ่มีมาตรฐานในการเลี้ยงไก่สูง เนื่องจากมีการส่งออกไก่สู่ต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป จึงประเมินว่าผู้ประกอบการไก่รายใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นดังกล่าว
งบแบงก์ 2Q61 ดีกว่าคาด... จากการลดค่าใช้จ่าย/ขายสินทรัพย์
วานนี้ มีการประกาศของธนาคารขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ BBL, SCB, BAY ออกมาล้วนดีกว่าคาด แต่ส่วนใหญ่เป็นการบริหารจัดการด้านต้นทุน โดยเฉพาะ SCB กำไรสุทธิ 11,111 ล้านบาท ลดลงเพียง 2.2% qoq แต่ดีกว่าที่ ASPS คาด (9,934 ล้านบาท) ผลการดำเนินงานดีกว่าคาด มาจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลงเพราะกระจายบางส่วนจากปี 2561 ไปในปี 2562 สวนทางกับรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลง และรายได้สุทธิจากธุรกิจประกันภัยที่ต่ำกว่าคาด ส่งผลให้สัดส่วน cost to income ratio เพิ่มขึ้น ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจาก SCB ได้จัดชั้นลูกหนี้รายใหญ่รายหนึ่งเป็นสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (ค้างชำระ 30-90 วัน) มูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท จึงมีความเสี่ยงที่จะไหลตกชั้นไปเป็น NPL แต่ไม่เห็นการตั้งสำรองฯ ที่เพิ่มในงวดนี้ จึงทำให้นักวิเคราะห์กลุ่ม ธ.พ. ปรับลดคำแนะนำเป็น Swich จากเดิม ซื้อ (FV@B132)
ส่วน BAY กำไรสุทธิ 6.24 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.9% qoq (คาด 5.692 พันล้านบาท) สูงกว่าคาด มาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง ขณะที่ธุรกิจหลักเติบโตได้ดีจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิตามการเติบโตของสินเชื่อในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อ high yield ยกเว้นรายได้ค่าธรรมเนียมฯ อ่อนตัวลง แม้ว่าค่าใช้จ่ายดำเนินงานจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ขยายตัวในอัตราน้อยกว่าการเติบโตของรายได้ ทำให้สัดส่วน cost to income ratio ทรงตัวจากงวดก่อนหน้า โดยรวมส่งผลให้ spread และ yield ดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เช่นเดียวกับ NIM เพิ่มขึ้นเป็น 3.36% จาก 3.31% ใน 1Q61 แต่เนื่องจากราคาหุ้นแพง จึงยังคงคำแนะนำ switch (FV@B42)
BBL กำไรสุทธิ 9194 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1% qoq ดีกว่า ASPS คาด (8,144 ล้านบาท) ผลการดำเนินงานที่สูงกว่าคาด มาจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ สอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อรายใหญ่ SME สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย และสินเชื่อกิจการต่างประเทศ เช่นเดียวกับรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ขยายตัวเช่นกัน ตรงข้ามกับรายได้ค่าธรรมเนียมฯ และ ธุรกรรมด้าน bancassurance หดตัวลง ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังเป็นไปในเชิงบวก เนื่องจากสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีกในงวดนี้ โดยรวม spread และ yield ดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เช่นเดียวกับ NIM เพิ่มขึ้นเป็น 2.20% จาก 2.18% ใน 1Q61 เป็นหุ้นที่ยังมีพัฒนาดีกว่ากลุ่ม ยังแนะนำสะสมเพิ่ม (FV@B220)
TMB กำไรสุทธิ 2.02 พันล้านบาท ลดลง 11.1% ใกล้เคียงคาด ผลกำไรที่ลดลงเป็นผลจากค่าธรรมเนียมที่ลดลงมากกว่าคาด ซึ่งเกิดจากธุรกรรมการขายกองทุนที่ลดลง แต่หากพิจารณาธุรกรรมการให้สินเชื่อพบว่าสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1.3%qoq และ NIM ดีขึ้นมาที่ 2.96% จาก 2.92% ในงวดก่อนหน้า เป็นผลจาก yield ที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้ารายกลาง (SME) สินเชื่อรายใหญ่และรายย่อย ขณะที่ค่าใช้จ่ายดำเนินงานทรงตัว อย่างไรก็ตามในงวดนี้ได้มีการ write off สินเชื่อที่มีปัญหา 4.6 พันล้านบาท สะท้อนความกังวลที่อาจเป็นภาระในการตั้งสำรองฯ เพิ่มในอนาคต จึงตัดสินใจตัดออกจากงบครั้งเดียว แต่ทำให้ NPLs ต่อสินเชื่อลดลงมาเหลือ 2.37% จาก 2.4% ในงวด 1Q61 ทั้งนี้ ASPS ได้ปรับลดมูลค่าหุ้นเหลือ 2.5 บาทจากเดิม 2.88 บาท โดยอิง PBV 1.14 เท่า จากเดิม 1.32 เท่า ตามวิธี GGM โดยเป็นการปรับลด Long-term ROE และ Long-term Growth ลง จึงลดคำแนะนำเป็น Switch จากเดิมซื้อ
ส่วนหุ้นที่มีการทำ Earnings preview โดยนักวิเคราะห์ ASPS :
DELTA(Sell:FV@B60)คาดกำไรสุทธิงวด 2Q61 เท่ากับ 1.25 พันล้านบาท (ดีกว่าที่คาดไว้เดิมถึง 25%) เพิ่มขึ้นถึง 18.7% qoq และ 48.5% yoy เพระธุรกิจ Data center และธุรกิจภูมิภาคในอินเดียเติบโตต่อเนื่อง นอกจากนี้ gross margin คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากผลบวกของเงินบาทอ่อนค่า แต่ กำไรทั้งปี คาดอ่อนตัวถึง 12.6% yoy จากต้นทุนเพิ่ม เพราะขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งไปหักล้างผลบวกจากแนวโน้มรายได้ในธุรกิจยานยนต์ ศูนย์จัดเก็บข้อมูล และธุรกิจภูมิภาคในอินเดียที่เติบโตไปได้ทั้งหมด
ANAN (Buy:[email protected])คาดกำไรปกติอยู่ที่ 346 ล้านบาท เติบโตสูงถึง 210% qoq และ 75% yoy หนุนจากการโอนฯ คอนโด JV มากขึ้น โดยเฉพาะจาก Ashton Asoke และ Chula-Silom และจะเข้ามาเต็มไตรมาสใน 3Q61 รวมทั้ง 5 คอนโดฯ ใหม่ที่พร้อมโอนใน 2H61 คาดหนุนกำไรเติบโตอย่างมีนัยฯ โดยเฉพาะ 4Q61 จะสูงสุดของปี
ต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไต้หวัน แต่ขายตลาดที่เหลือ
ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าเพียง 7 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิไต้หวันเพียงแห่งเดียวราว 54 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 ประเทศขายสุทธิ เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 18 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 10 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), อินโดนีเซีย 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยต่างชาติขายสุทธิ 13 ล้านเหรียญ หรือ 422 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.89 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิ 1.04 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.77%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO11546