- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 17 July 2018 19:03
- Hits: 5517
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ข่าวลบ น้ำมันดิ่งแรง รอถ้อยแถลงพาวเวล”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปรับตัวลงถึง 15.83 จุด ปิดที่ 1627.69 จุด อยู่ในเกณฑ์สอดคล้องกับตลาดหุ้นในภูมิภาค มูลค่าซื้อขายเบาบางมากที่ 36.6 พันล้านบาท ระหว่างวันดัชนีไปทำยอดต่ำสุดถึง 1623.42 จุด หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจจีนคือ GDP และดัชนีภาคการผลิตอ่อนลง มีแรงขายทำกำไรหลัง SET ปรับตัวขึ้นมาหลายวัน และมีความไม่แน่นอนด้านสงครามการค้าว่าจีนจะตอบโต้สหรัฐอย่างไร มีแรงขายในกลุ่มไฟแนนซ์ โดยเฉพาะ KTC (หลังแตกพาร์) และ TISCO (หลังประกาศงบ) รวมทั้งหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว ที่กังวลจีนจะหายไป หลังมีอุบัติเหตุที่ภูเก็ต ปัจจุบันการซื้อขายด้วยคำสั่งอัตโนมัติ และ AI ทำให้การซื้อขายมีความผันผวนสูงขึ้น ด้านผู้ซื้อสุทธิรายเดียวคือ นักลงทุนทั่วไป 2.3 พันลบ. ด้านผู้ขายสุทธิคือ บัญชีหลักทรัพย์ 1.2 พันลบ. ต่างประเทศ 0.8 พันลบ. และ สถาบัน 0.3 พันลบ.
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีโอกาสถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงแรง มีผลกระทบต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน และรอติดตามถ้อยแถลงของประธานเฟด พาวเวลในวันนี้และพรุ่งนี้ ในเรื่องทิศทางดอกเบี้ยและเศรษฐกิจสหรัฐ ส่วนปัจจัยบวกเดิมที่ค้ำอยู่คือ การคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานสหรัฐโดยรวมจะออกมาดี SET ปรับลงมามาก จนเริ่มถูก ปันผลสูง รวมทั้งสถาบันมีแรงซื้อต่อเนื่อง ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้บวก-ลบแคบๆกันเป็นส่วนใหญ่ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +27 จุด น้ำมันล่วงหน้ารีบาวด์วันนี้ SET มีโอกาสผันผวนสูง ต้องระวังแรงขายทำกำไร ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ส่วนปัจจัยบวกคือ การเลือกตั้งไทยยังเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี ธปท.กลา่ วยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย แตเ่ ริ่มกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแตปี่หน้า เพราะเราเป็นห่วงโซผู่รั้บจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัว (Selective Buy) ที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ หุ้นส่งออกได้ประโยชน์จากบาทอ่อน หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ล็อคกำไร ลดความเสี่ยง ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1620-1650 จุด
Update หุ้นเด่น : RML – แนะนำให้ลดพอร์ต หรือ ขาย คาดว่าจะเป็นขาดทุนไปอีก 2 ไตรมาส คือ 2Q-3Q61 เพราะกว่า The Loft อโศก เริ่มโอน 4Q61 สำหรับประมาณการกำไรตลอดปีนี้เป็น 29 ล้านบาท ลดลง 85% y-o-y ส่วนปี 62 ฟื้นตัวเป็น 147 ล้านบาท แต่กำไรปี 62 น้อยเทียบกับระดับปกติที่ 850-1,220 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายสูงช่วงการลงทุนหลายๆธุรกิจ กว่ากำไรจะดีอีกนานเป็นปี 64 ข่าวด้านบวกคือ เปิดขายโครงการใหม่ทั้งร่วมทุนและพัฒนาเอง รุกธุรกิจอาหารยังต่างประเทศ โรงแรม สำนักงานและธุรกิจใหม่ Digital Platform แต่ P/E ปีนี้และปีหน้าสูงเป็น 148/29 เท่า กำหนดราคาพื้นฐานไว้ที่ 0.97 บาท ด้วย P/BV ปี 61 ที่ 0.7 เท่า ราคาปิดมีส่วนลด (downside) ได้อีก 20%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators กลับเป็นลบเล็กๆ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1635-1640, 1650 โดยมีแนวตัดขาดทุนที่ต่ำกว่า 1620 จุด
สำหรับการ Scan หุ้นที่มีโอกาสทำ New high ที่เข้ามาใหม่เป็น KCE, TOP, GLOBAL, PTL, PLANB, GFPT ที่ยังคงอยู่ใน List ได้แก่ KTB, BEC, TMB, CPN, PSL, AJ, CPF หุ้นที่หลุด List GULF, HMPRO, CK, BANPU, TU, WICE, UTP และที่ให้หาจังหวะTake profit คือ -
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมันปรับลงแรง หลังสหรัฐผ่อนคลายซื้อน้ำมันอิหร่าน
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 2.95 ดอลลาร์ หรือ 4.15% ปิดที่ 68.06 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย. ดิ่งลง 3.49 ดอลลาร์ หรือ 4.6% ปิดที่ 71.84 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดร่วงลงกว่า 4% เมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) หลังจากคณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐประกาศผ่อนผันให้ประเทศต่างๆสามารถซื้อน้ำมันอิหร่านต่อไป แม้มีการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้นักลงทุนมองว่า สหรัฐอาจยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านในวันข้างหน้า และลิเบียส่งออกมากขึ้น
-วานนี้จีนเผยตัวเลขเศรษฐกิจ 2Q61 บางรายการอ่อนลง
# วานนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 2/2561 ขยายตัว 6.7% ซึ่งชะลอตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาส 1 ที่ขยายตัว 6.8%
# สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.ขยายตัว 6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ส่วนยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.ขยายตัว 9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วขึ้นจากเดือนพ.ค.ที่ขยายตัวเพียง 8.5%
•/- ปธ.เฟดเตรียมแถลงคองเกรสวันนี้ คาดชูศก.แข็งแกร่ง, เดินหน้าขึ้นดบ.ค่อยเป็นค่อยไป
# นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีกำหนดกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ โดยนายพาวเวลจะกล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ และจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันพุธ
# แถลงการณ์ของนายพาวเวลในอดีตระบุว่า เฟดมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ, ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในภาคครัวเรือน, การขยายตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ และสภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลายภายในประเทศ ขณะที่อัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำ โดยเฟดคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปยังคงเป็นการดำเนินการที่เหมาะสม เนื่องจากไม่มีแรงกดดันจากเงินเฟ้อ
# เฟดคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยในช่วงปลายปี 2562 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะอยู่ในระดับซึ่งจะจำกัดการขยายตัวเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยจะอยู่เหนือระดับที่เป็นกลางในช่วงเวลาดังกล่าว มุมมองของเฟดดังกล่าวสอดคล้องกับคำกล่าวของนายพาวเวลก่อนหน้านี้ที่ว่า เขาเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในสภาวะสดใส โดยมาตรการปรับลดอัตราภาษี และการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลจะช่วยหนุนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ต่อไปอีก 3 ปี
-ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ มิ.ย.สูงที่เคยประกาศ นักลงทุนจึงติดตามแถลงการณ์พาวเวล
# ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน และหากเมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI พุ่งขึ้น 2.9% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2555 ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI พื้นฐานดีดตัว 2.3% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว
• ตัวเลขยอดค้าปลีก และสต็อกคงคลัง เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาด
# กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ขณะที่สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เช่นกัน
+/- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับขึ้น ตามหุ้นกลุ่มแบงค์ แต่ S&P 500 ลด ตามหุ้นพลังงาน
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,064.36 จุด เพิ่มขึ้น 44.95 จุด หรือ +0.18% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,805.72 จุด ลดลง 20.26 จุด หรือ -0.26% และดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,798.43 จุด ลดลง 2.88 จุด หรือ -0.10%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นธนาคาร หลังจากแบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยกำไรและรายได้ที่สูงกว่าคาดในไตรมาส 2 อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P500 ปิดในแดนลบเนื่องจากหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงกว่า 4% ขณะที่นักลงทุนส่วนหนึ่งได้ชะลอการซื้อขายก่อนที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในวันนี้
+/• กระแสการต่อต้านประธานาธิบดี ทรัมป์ สำหรับนโยบายกีดกันการค้าทวีมากขึ้น
# นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุมาร์เก็ตเพลสเมื่อวานนี้ว่า การที่คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าในระดับสูงนั้น จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ
# เลขาธิการ UN เชื่อว่า สหรัฐและจีนไม่ได้อยู่ในสถานะการทำสงครามการค้าอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการค้าเพียงแต่มีการออกมาตรการต่างๆออกมาเป็นจำนวนมาก พร้อมกับแสดงความหวังว่า ข้อพิพาททางการค้าจะสามารถแก้ไขได้ "ผ่านการเจรจาและการคำนึงถึงบทบาทขององค์การการค้าโลก (WTO)"
+/• จีนส่งสัญญาณสงบศึก แต่ยังต้องรอดูท่าที
# นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน เนื่องจากจีนยังไม่ได้ออกมาตรการตอบโต้สหรัฐ แม้ว่าคณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็ตาม
# นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จีนและสหรัฐยังมีแนวโน้มที่จะจัดการเจรจาเพื่อยุติสงครามการค้าระหว่างกัน โดยนายหวัง ชูเหวินรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของจีน ได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สหรัฐร่วมแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการค้า ผ่านทางการเจรจาทวิภาคีรอบใหม่ และระบุว่า จีนไม่ต้องการทำสงครามการค้า ขณะที่มีรายงานว่า คณะทำงานของปธน.ทรัมป์ก็เต็มใจที่จะหันหน้าเจรจากับจีนเช่นกัน
• ทองคำ : ปรับลง เพราะดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 1.5 ดอลลาร์ หรือ 0.12% ปิดที่ 1239.70 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) โดยได้รับผลกระทบจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นในเดือนมิ.ย. นอกจากนี้การที่ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ ยังส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหลักทรัพย์
+/- รมว.พาณิชย์ ประเมินภาพรวมไทยได้ผลบวกจากสงครามการค้า คาดส่งออกปีนี้มีโอกาสโต 2 digit
# นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามและประเมินสถานการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสงครามการค้าอย่างต่อเนื่อง และมั่นใจว่าการส่งออกไทยในปีนี้จะเติบโตได้เกินกว่าเป้าหมายเดิมที่วางไว้ที่ 8% อย่างแน่นอน และยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้ในระดับ 2 หลัก
# ในภาพรวมแล้วสงครามการค้าได้ส่งผลในเชิงบวกต่อการส่งออกของไทยมากกว่า เนื่องจากการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนได้สร้างโอกาสแก่ไทยที่จะส่งสินค้าเข้าไปแทนที่สินค้าที่ถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
# ผลกระทบ: ปีนี้การส่งออกมีแนวโน้มจะกระทบไม่มาก เพราะต้องใช้เวลาพอควรกว่าที่สหรัฐจะขึ้นภาษี 10% มูลค่าจำนวนมากถึง 2 แสนล้านดอลลาร์กับจีน ราว ก.ย.61 ต้องติดตามปี 62 แต่ในแง่ด้านลบคือ ไทยเป็นห่วงโซ่สำคัญในการผลิตสินค้าขั้นกลางให้กับทั้งสองประเทศ หากในอนาคตมีสงครามการค้ากันจริง ก็จะพลอยได้รับผลกระทบทางลบไปด้วยจึงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ
+ สื่อสาร: DTAC-ADVANC เข้ารับคำขอเข้าร่วมการประมูล 1800 MHz -900 MHz
# วานนี้บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด และบริษัท ดีแทค บรอดแบนด์ จำกัดซึ่งทั้ง 2 บริษัทเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.โทเทิ่ลแอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์คจำกัด (AWN) ซึ่งเป็นบ.ย่อย ADVANC ได้เข้ามาขอรับเอกสารคำขอเข้าร่วมประมูลคลื่นย่านความถี่ 1800 MHz และคลื่นย่านความถี่ 900 MHz จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
# นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. คาดว่า บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) จะเข้ามารับคำขอเข้าร่วมประมูลทั้งสองคลื่นความถี่ราววันที่ 19-20 ก.ค.นี้ เพราะได้รับแจ้งจาก TRUE ว่าต้องรอเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทก่อนและเชื่อว่าผู้ประกอบการทั้งสามรายจะเข้าประมูลคลื่นหลังจากมีการปรับหลักเกณฑ์การประมูลแล้ว
# ผลกระทบ: ถือว่าออกมาสอดคล้องกับที่คาดไว้ ตามสมมุติฐานของ DBS คือ DTAC จะชนะประมูล 2 คลื่นคือ 900 และ 1800 MHz ส่วน ADVANC ชนะ 1 คลื่นคือ 1800 เราแนะนำ ซื้อ ทั้ง ADVANC และ DTAC แต่ยังชอบ ADVANC มากกว่าในระยะสั้นนี้ เพราะมีคลื่นในมือพร้อมแล้ว และได้ประโยชน์จากการที่ กสทช.ผ่อนเกณฑ์การประมูล จึงมีความเสี่ยงน้อยกว่า DTAC ซึ่งยังต้องพึ่งพิงผลประมูลที่จะออกมา หลังจะหมดสัมปทาน ก.ย.61 นี้
-/• DTAC: ระยะนี้ได้รับผลกระทบจาก กำไร 2Q61 ที่ลดลงมาก และประเด็นต้นทุน Filter ที่สูง
# ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 179 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 743 ล้านบาท เนื่องจาก EBITDA ที่ลดลงจากการจ่ายเงินให้กับทีโอที ค่าเช่าคลื่น 2300 MHz และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของต้นทุนการให้บริการที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง (ติดตามรายละเอียดได้จากบทวิเคราะห์)
# DTAC กังวลเกณฑ์ประมูลคลื่น 900 MHz กำหนดผู้ชนะต้องทำ Filter กันกวนคลื่นอาจทำค่าใช้จ่ายเกินงบ นั่นคือค่าใช้จ่าย-จำนวนเงินที่ กสทช. ลดราคาขั้นต่ำของการประมูลให้จำนวน 2,000 ล้านบาท เชื่อว่าไม่ครอบคลุมงบประมาณและชนะการประมูลจะต้องรับความเสี่ยงจากการเข้าไปดำเนินการติดตั้ง Filter ในสถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตรายเดิมทั้งหมดที่มีอยู่ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในทางปฏิบัติ
# ผลกระทบ: คาดว่าทาง DTAC มีการต่อรองกับ กสทช.เพิ่มขึ้นในเรื่องงบการติดตั้ง Filter เช่นเดียวกับที่เคยเรียกร้องไป เช่น การซอยประมูลคลื่น 1800 MHz แล้วก็สำเร็จ ขึ้นกับ กสทช. ว่าจะยืดหยุ่นมากขึ้นหรือไม่ หากยืดหยุ่นมากขึ้นก็จะเป็นบวก ปัจจุบัน DTAC ก็มีส่วนได้เพิ่ม เช่น ถ้า DTAC ชนะประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ก็จะขอให้ใช้คลื่น 850 MHz ซึ่งเป็นคลื่นเดิมที่ใช้อยู่ก่อนจนกว่าจะติดตั้งอุปกรณ์คลื่น 900 MHz แล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 18 เดือน จากนั้นย้ายไปใช้คลื่น 900 MHz ซึ่งคณะกรมการ กสทช.ได้อนุมัติคำขอดังกล่าว และหาก DTAC ยื่นประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz และหากการประมูลเสร็จสิ้นไม่ทันวันหมดอายุสัญญาสัมปทาน 15 ก.ย.61 ทาง DTAC ก็ยังสามารถใช้สิทธิเยียวยาได้ เพราะเมื่อชนะประมูลแล้วยังต้องให้ระยะเวลา 90 วันในการชำระเงินงวดแรก
+ KCE: คาดราคาหุ้นปรับขึ้น ได้รับผลดีจากวัตถุดิบทองแดงปรับลงมาก
# ราคาทองแดงในตลาดโลก (LME Copper 3 Months) วันที่ 13 ก.ค.61 เป็น 6,180 ดอลลาร์/ตันลดลงถึง 4.4% เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า และลดลง 10% จากค่าเฉลี่ย 2Q61 อย่างไรก็ตามหากเทียบกับ 13 ก.ค.60 เป็น 5,918 ดอลลาร์/ตัน ยังสูงกว่า 4.4%
# ผลกระทบ; ต้นทุนทองแดงเป็นสัดส่วนประมาณ 15-20% เทียบกับต้นทุนรวมในการผลิตสินค้า PCB จึงคาดว่าจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้น KCE ปรับตัวดีขึ้น
# คำแนะนำ: ซื้อ แต่ราคาหุ้นเข้าใกล้ราคาพื้นฐานที่ 42.50 บาทแล้ว นักวิเคราะห์กำลังทบทวน (review) หลังราคาทองแดงปรับลงมากกว่าคาด เพื่อศึกษาว่าจะปรับประมาณการและราคาพื้นฐานขึ้นหรือไม่
-หุ้นกลุ่มอาหาร ได้รับผลลบจากการห้ามนำเข้า-จำหน่ายไขมันทรานส์
# ประกาศ"ห้ามขาย-นำเข้า"กรดไขมันทรานส์พ่นพิษ ฉุดหุ้น"ขนมหวาน-เบเกอรี่" ร่วงยกแผง โบรกเกอร์ประเมินต้นทุนผู้ประกอบการพุ่งคาดกระทบยักษ์ใหญ่"ซีพี-สหพัฒน์" ด้านอาฟเตอร์ยู-ทีเอซีซี ยันไม่กระทบเหตุปรับสูตรล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ)
# "AU-MINT-VPO-TVO" ราคาร่วงหนัก! นักลงทุนเทขายลดความเสี่ยง หวั่นกรณี "พ.ร.บ.ห้ามขาย-นำเข้าไขมันทรานส์" มีผลบังคับใช้ภายใน 180 วัน โบรกฯ ชี้เป็นเซนติเมนต์ลบต่อหุ้น "กลุ่มอาหาร-โรงแรม" (ข่าวหุ้น)
# ผลกระทบ: คาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงฝุ่นตลบ ที่ข่าวยังมีความไม่ชัดเจนนัก ต้องรอพิจารณาหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงและการปรับตัวของผู้ประกอบการ ระยะสั้นจึงอาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องให้ปรับลงมาต่อได้
+/- บาทอ่อนส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออก แต่เป็นลบกับผู้นำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ
# หลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก ที่ได้รับผล sentiment ด้านบวก เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ KCE, HANA, DELTA, SVI กลุ่มเกษตร-อาหาร ได้แก่ CPF, TU, GFPT, TIPCO, MALEE และหลักทรัพย์ท่องเที่ยวได้ประโยชน์ คือแลกเหรียญเป็นบาทได้มากขึ้นเป็น sentiment บวกกับ ERW, CENTEL และ MINT ด้านหลักทรัพย์เสียประโยชน์คือนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ได้แก่ TVO, TSTH, IRPC, BCP, SAT, STANLY, AH, COM7, SYNEX และ SIS รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีหนี้เงินกู้ต่างประเทศจะมีขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ AAV, THAI และ RCL เป็นต้น
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO11366