- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 13 July 2018 21:50
- Hits: 3160
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สงครามการค้าผ่อนคลายช่วงสั้น หลังสภาสูงสหรัฐ มีมติให้ประธานาธิบดีฯ ต้องขอความเห็นชอบจากสภาสูงทุกเรื่อง ก่อนประกาศนโยบายใดๆ ส่วนเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. สหรัฐยังเพิ่ม 2.9% หนุนขึ้นดอกเบี้ย และ ดอลลาร์แข็งค่า กดดันเงินบาท และสินค้าโภคภัณฑ์ กลยุทธ์ฯ เน้นหุ้นปัจจัยสี่ (BJC, BH) สาธารณูปโภค (RATCH, TTW, EASTW, DTAC) หุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น (BBL, KBANK, PLANB) หุ้นอาหาร-ส่งออก (CPF, TU, GFPT) Top picks: GFPT(FV@14) และ CPF(FV@B30) ได้ประโยชน์เงินบาทอ่อนค่า
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้….SET index ลอยลำเหนือ 1630 จุด รอทดสอบ 1650 จุด
วานนี้ SET Index ฟื้นตัวขึ้นต่อ ระหว่างวันขยับขึ้นสูงถึง 10 จุด ก่อนจะลดช่วงบวกลงและปิดตลาดที่ 1,640.93 จุด เพิ่มขึ้น 4.30 จุด หรือ +0.26% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 4.7 หมื่นล้านบาท หลายกลุ่มฯ ฟื้นตัวหนุนดัชนี นำโดยกลุ่มส่งออก-อาหาร รับอานิสงส์บาทอ่อนค่ามากสุดในรอบ 9 เดือน รวมถึงต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ถูกลงตามราคากากถั่วเหลือง ตามมาด้วยกลุ่ม ร.พ. BDMS ขณะที่หุ้นน้ำมัน PTT PTTEP หุ้นกลุ่ม ธ.พ. BBL KBANK KTB TISCO และหุ้นค้าปลีก CPALL ปรับตัวลงกดตลาดเล็กน้อย
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ SET Index มีโอกาสแกว่งพักตัว แนวรับ 1630 จุด แนวต้าน 1650 จุด ประเด็นสงครามการค้าผ่อนคลายลงช่วงสั้น หนุนกลุ่มส่งออกฟื้นตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่อง หนุนสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี ส่งผลดอลลาร์แข็งค่า กดดันสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัวต่ออีกระยะ
สหรัฐกีดกันการค้าได้ช้าลง หากต้องได้รับการอนุมัติจากสภาสูง
CNBC ระบุว่า วุฒิสภาสหรัฐมีมติ 88 ต่อ 11 เสียง ให้อำนาจสภาสูงและสภาล่าง (สว. และ ส.ส.) มีส่วนในการตัดสินใจและอนุมัติของประธานาธิบดี อาทิ การขึ้นภาษีการค้า เพื่อป้องกันมิให้ประธานาธิบดีใช้อำนาจทางที่ผิด อย่างไรก็ตามปัจจุบันสหรัฐอยู่ระหว่างพิจารณาออกกฎหมายใหม่เพิ่มอำนาจให้ประธานาธิบดี (United States Fair and Reciprocal Tariff Act หรือ FART Act) สามารถขึ้นภาษีการค้าโดยไม่ต้องคำนึงว่าภาษีจะผิดกฎขององค์การการค้าโลก (WTO)
เชื่อว่าสหรัฐจะยังคงเดินหน้ากีดกันการค้าต่อ แต่อาจจะล่าช้ากว่าเดิม แต่วงเงินกีดกันการค้าที่ประกาศแล้ว รอบแรก 3.4 หมื่นล้านเหรียญ ยังเดินหน้า และ กระทบต่อ ผู้ผลิตและผู้บริโภค นับจาก 2H61 เป็นไป และน่าจะกระทบเศรษฐกิจโลก และ ไทยชัดเจนในปี 2562 เพราะเอเชียซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของจีน (สัดส่วน 50% ของการค้าขายของจีนทั่วโลก) อีกทั้งเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบ และ Supply chain ให้กับจีน ส่วนวงเงินกีดกันการค้ารอบใหม่ 1.6 หมื่นล้านเหรียญ (จากวงเงินรอบแรก 5 หมื่นล้านเหรียญฯ) ที่อยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ กำหนดจะเสร็จสิ้นเดือน ก.ค. อาจจะประกาศล่าช้าออกไป รวมถึงวงเงินอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ (รวมเป็น 2.5 แสนล้านเหรียญฯ) ที่ประกาศหลังสุด จำนวน 6,031 สินค้า ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าจำเป็น อาทิ สินค้าเกษตร, ประมง, เครื่องนุ่งห่ม, เฟอร์นิเจอร์ (รายละเอียดดังตาราง) จะขึ้นภาษีในอัตราภาษีลดเหลือ 10% (รอบแรก 25% กับสิ้นค้าทุกประเภท) เดิมกำหนดประชาพิจารณ์วันที่ 20-23 ส.ค. น่าจะมีผลบังคับใช้ล่าช้ากว่าเดิม โดยรวมน่าจะทำให้แรงกดดันตลาดหุ้นและเศรษฐกิจโลกลดลง
เงินเฟ้อสหรัฐแตะ 2.9% หนุนดอกเบี้ยขึ้นอีก 0.5% ปีนี้
สหรัฐรายงานเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. เพิ่ม 2.9% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ตามที่ตลาดคาด (สูงสุดในรอบ 6 ปี) จาก 2.8% ในเดือน พ.ค. เป็นผลจากสินค้าหมวดพลังงานเพิ่มขึ้น 12%, เคหสถาน 3.4%, อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 1.4% เป็นต้น และน่าจะเป็นผลจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นเพราะ (Demand Pull) ตลาดแรงงานที่เข้าสู่การจ้างงานเต็มที่ (Full employment) สะท้อนจาก อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. ที่ 4.0% (ต่ำสุดในรอบ 16 ปี) ซึ่งยังหนุนให้ Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้
ผลสำรวจของ Bloomberg ให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ย (เหลือการประชุมในปีนี้อีก 4 ครั้ง) รอบ 25-26 ก.ย. ด้วยโอกาส 75% และอีกครั้งคือ รอบ 18-19 ธ.ค. ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปีนี้อยู่ที่ 2.5% และปี 2562 ขึ้นอีก 3 ครั้ง และปี 2563 ขึ้น 2 ครั้ง จะทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐสิ้นปีนี้อยู่ที่ 2.5% และปี 2562-2563 อยู่ที่ 3.25% และ 3.75% ตามลำดับ จะหนุน Dollar Index มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง (แข็งค่าราว 3.02%ytd) กดดันเงินเอเชีย และ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นทองคำและน้ำมันดิบในระยะต่อไป
สงครามการค้าผ่อนลง...ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย
น้ำหนักประเด็นการกีดกันการค้าสหรัฐลดลง หลังวุฒิสภาเข้ามาคานอำนาจประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย 25 ล้านหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) และเป็นการซื้อสุทธิ 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 43 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 10 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศ แม้จะถูกขายสุทธิ แต่แรงขายเบาลง คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิเพียง 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิอีก 17 ล้านเหรียญ หรือ 558 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 9) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 41 ล้านบาท (หลังจากซื้อติดต่อกัน 4 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 2.43 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.75%
Earning & Preview งวด 2Q61
กลุ่มธ.พ. เริ่มทยอยประกาศงบ 2Q61 เริ่มที่ TISCO (Switch: FV@90) กำไรสุทธิ 2Q61 เท่ากับ 1.71 พันล้านบาท สูงกว่าคาด 9% โดยหดตัวเพียง 3.2% qoq (แต่ยังเพิ่มขึ้น 13.6% yoy) จากสำรองหนี้ฯ ลดลง และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ต่ำกว่าคาด ส่วนธุรกิจหลักโดยรวมยังตามคาด ด้านคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลง จากกลุ่มลูกหนี้ SME ทำให้ NPL เพิ่มขึ้นเป็น 2.69% แต่ลูกหนี้มีหลักประกันที่ดินเกินมูลหนี้ จึงไม่ต้องกันสำรองเพิ่ม จึงทำให้ coverage ratio ลดลงเหลือ 184.9% จาก 204.3% ในงวด 1Q61 ขณะที่ช่วงที่เหลือของปี กำไรมีโอกาสอ่อนตัวจาก NIM ที่ลดลง ฝ่ายวิจัยปรับลดมูลค่าพื้นฐาน ปี 2561 เหลือ 90 บาท (เดิม 95 บาท) และแนะนำ switch ไป TCAP(FV@B65)
สำหรับกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ASPS ได้ทยอยประเมินผลการดำเนินงานออกมา คือ
BCH (Buy: [email protected]) คาดกำไร 229 ล้านบาท เติบโต 33% YoY จากฝนที่ตกเร็วกว่าปกติ และการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนของ รพ. ที่ปรับปรุงและยกระดับไปก่อนหน้า รวมทั้งการขยายศูนย์ผู้ป่วยแผลเบาหวานเป็นไปตามแผน ขณะที่ SG&A/Sales ลดลงจาก 2Q60 ที่สูงกว่าปกติจากรายการพิเศษของประกันสังคม หนุนอัตรากำไรดีขึ้น ส่วน 2H61 คาดกำไรยังเติบโตได้จากกลุ่มผู้ป่วยเงินสดที่มี margin สูงกว่าประกันสังคม โดยเฉพาะกลุ่มแผลเบาหวานที่เท้าอาจหนุนให้ WMC พลิกเป็นกำไรปีแรก
SCC (Buy: FV@600) คาดกำไร 2Q61 อยู่ที่ 12,666 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1% QoQ ด้วยแรงหนุนของธุรกิจปิโตรเคมีและเงินปันผลรับจากธุรกิจลงทุน ส่วนธุรกิจปูนซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กำไรอ่อนตัว QoQ ตามฤดูกาล แต่จะเติบโต YoY จาก Operation ในต่างประเทศที่ดีขึ้น ด้านธุรกิจ Packaging ยังเติบโตตามราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น ขณะที่แผนในการเติบโตในอนาคต SCC ได้ลงทุนโครงการใหญ่ 2 โครงการ คือ Long Son Complex ในเวียดนาม 1.75 แสนล้านบาท และ MOC Expansion ในไทยอีก 1.6 หมื่นล้านบาท แม้จะส่งผลให้การเติบโตของกำไร 3 ปีข้างหน้ามีอย่างจำกัด แต่การลงทุนครั้งใหญ่ในธุรกิจปิโตรเคมีจะช่วยยกฐานกำไรและ EBITDA ของ SCC ให้เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป
TOP (Switch: FV@93) คาดกำไรสุทธิ 2Q61 เท่ากับ 4.4 พันลบ. ลดลง 21.0%qoq กดดันหลักจากธุรกิจทั้งโรงกลั่น และปิโตรเคมี ที่ปรับตัวลดลง รวมถึงการบันทึกขาดทุน Fx แต่ยังได้กำไรจากสต๊อกน้ำมันสูงถึง 3.7 พันลบ. มาช่วยพยุงไว้ ทำให้กำไรปกติลดลง 32.8%qoq มาอยู่เพียง 2.5 พันลบ. ส่วนทิศทางกำไรปกติ และกำไรสุทธิ 3Q61 มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจาก 2Q61 กดดันจากธุรกิจโรงกลั่นเข้าสู่ช่วง low season เช่นเดียวกับธุรกิจอะโรเมติกส์คาด spread ลดลงจาก supply ใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วง 2H61 นอกจากนี้คาด 3Q61 จะไม่บันทึกกำไรสต๊อกน้ำมันสูงเช่นใน 2Q61
เก็งกำไรช่วงสั้นหุ้นส่งออก กลยุทธ์หลักยังเน้น Domestic Play
ตลาดผ่อนคลายช่วงสั้น แต่เชื่อว่าผลจากสงครามการค้ายังคงมีอยู่ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและการค้าโลกจะชัดเจนในปี 2562 ขณะที่ในระยะสั้นน่าจะเห็นการกลับมา Outperform ของหุ้นกลุ่มส่งออกอาหารและชิ้นส่วนฯ เนื่องจากราคาปรับตัวลงไปมากในช่วงก่อนหน้าซึ่งได้สะท้อนความกังวลไประดับหนึ่ง ประกอบกับบาทที่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่า จึงเป็นปัจจัยหนุน เน้น selective buy เลือก หุ้นส่งออก-อาหาร GFPT(FV@14), CPF(FV@30) และหุ้นชิ้นส่วนฯ HANA(FV@40) แม้มีเพียง upside 11% แต่สามารถลงทุนได้เมื่อราคาอ่อนตัว นอกจากนี้ HANA ยังเป็นหุ้นที่ไม่มีหนี้สิน จึงปลอดภัยจากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น มากสุดในกลุ่มฯ
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การลงทุนหลัก เน้นหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ และมีเกราะป้องกันจากดอกเบี้ยขาขึ้น โดยให้น้ำหนักลงทุน 40% ของพอร์ต ชอบ TTW, RATCH, BJC, DTAC, ADVANC, BBL, KBANK และ BH (ติดตามอ่านรายละเอียดรายงานฉบับยาว ใน Investment Strategy 9 ก.ค. 2561)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO11226