- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 10 July 2018 17:09
- Hits: 1352
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตัดลดดัชนีเป้าหมายลง สะท้อนปัจจัยเสี่ยงการค้าโลก กระทบเศรษฐกิจและกำไรตลาดหุ้นเต็มที่ปี 2562 และ fund flow ไหลออก โดยปรับลด P/E ปี 2561 ลงจากเดิม 16 เท่าเหลือ 15 เท่าอยู่ที่ 1662 จุด การปรับขึ้นจะหยุดอยู่แค่นี้หรือไม่ ขึ้นกับท่าทีของสหรัฐต่อสงครามการค้า กลยุทธ์ฯ เน้นหุ้นอุปโภคบริโภค (DTAC, BJC) สาธารณูปโภค (RATCH, TTW, EASTW) หุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น (BBL, KBANK, PLANB) หุ้นอาหาร-ส่งออก หนุนจากเงินบาทอ่อนค่า (CPF, TU, GFPT) Top picks: BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) และ BJC(FV@B69)
ย้อนรอยตลาดหุ้น ….ตลาดหุ้นไทยผันผวน
วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวตามภูมิภาค เพื่อรอดูผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน หลังจากการขึ้นภาษีนำเข้ามีผลแล้วตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา โดยตลาดหุ้นไทยผันผวนกล่าวคือ ระหว่างวันลดลงกว่า 13 จุด ก่อนจะฟื้นตัวปิดตลาดที่ 1614.76 จุด เพิ่มขึ้น 13.34 จุด หรือ +0.83% มูลค่าการซื้อขาย 6.56 หมื่นล้านบาท โดยได้รับแรงหนุนเกือบทุกกลุ่ม คือกลุ่ม ICT โดยเฉพาะผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทั้ง 3 ค่ายใหญ่ (TRUE ADVANC และ DTAC) ตามด้วยหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ค้าปลีก โดยหุ้น BEAUTY ปิดตลาดบวก 8 บาท (+11.11%) หลังแจ้งต่อ ตลท.ว่าจะซื้อหุ้นคืน โดย 9 ก.ค. นี้ จะจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติซื้อหุ้น (จะสรุป ราคา จำนวนหุ้น และวงเงินซื้อหุ้นคืน) และสุดท้ายหุ้นโรงกลั่น-ปิโตร PTTGC (+2.78%) ยกเว้นหุ้นน้ำมัน ทั้ง PTT และ PTTEP ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบ หลัง EIA รายงานตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น
แนวโน้มดัชนีตลาดวันนี้ ยังผันผวน แม้ยืนเหนือ 1600 จุด แต่ยังมีความเสี่ยง โดยยังให้น้ำหนักต่อสงครามการค้า จีน- สหรัฐ ที่มีผลบังคับแล้ว ซึ่งจะเห็นผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และ เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น กดดันกำลังซื้อผู้บริโภคในสหรัฐ จึงเตรียมปรับลดดัชนีเป้าหมายปี 2561 ลง โดยใช้ P/E 15 เท่า จากเดิม 16 เท่า สะท้อนแรงซื้อต่างชาติที่หายไป จะได้ดัชนีเป้าหมายปี 2561 ที่ 1662 จุด จากเดิม 1772 จุด ทั้งนี้ยังคงกำไรตลาดปีนี้ที่เดิม
เศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง ผลกระทบสงครามการค้าจะเกิดขึ้น 2H61 เป็นต้นไป
ต่างประเทศสัปดาห์นี้ให้น้ำหนักสหรัฐรายงานเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. ซึ่งตลาดคาดยังเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ 2.9%yoy จาก 2.8% ในเดือนก่อนหน้า โดยมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ยืนเหนือ 70 เหรียญฯ (Cost Push) และฝั่ง Demand Pull จากตลาดแรงงาน ที่อยู่ในภาวะจ้างงานเต็มที่ (Full employment) แม้สัปดาห์ที่แล้ว อัตราการว่างงานจะเพิ่มมาที่ 4% (ต่ำสุดในรอบ 16 ปี) จาก 3.8% ในเดือน พ.ค. แต่เป็นผลจากที่มีแรงงานเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ยังหนุนให้ Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปีอยู่ที่ 2.5%
อย่างไรก็ตามคาดว่าเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก ผลกระทบสงครามการค้าที่เริ่มเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทั้งสหรัฐและจีนได้ขึ้นภาษีสินค้านำเข้า 25% วงเงินรอบแรก 3.4 หมื่นล้านเหรียญ โดยสหรัฐมุ่งไปที่สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นกลุ่มเทคโนโลยี, ขนส่ง อาทิ อากาศยาน, ยานยนต์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, เป็นต้น ส่วนจีนเน้นไปที่สินค้าเกษตร และเป็นสินค้าที่จีนนำเข้าจากสหรัฐ อาทิ ถั่วเหลือง, เนื้อหมู, ยานยนต์ เป็นต้น
ส่วนการตอบโต้การค้ารอบ 2 อีก 1.6 หมื่นล้านเหรียญ จะเป็นสินค้าใดขึ้นกับผลการทำประชาพิจารณ์จะได้ข้อสรุปสิ้นเดือน ก.ค. ซึ่งคาดจีน จะตอบโต้วงเงินที่เท่ากัน ส่วนสหรัฐจะเพิ่มวงเงินการกีดกันค้าจีนถึง 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ตามแผนเดิม และวันศุกร์ประกาศเป็น 5 แสนล้านเหรียญฯ หรือไม่ยังเป็นประเด็นความเสี่ยง แต่เชื่อว่าจีนสามารถตอบโต้สหรัฐได้จำกัด เพราะจีนนำเข้าจากสหรัฐเพียง 1.54 แสนล้านเหรียญ ขณะสหรัฐนำเข้าจากจีน 5.05 แสนล้านเหรียญ
ผลจะกระทบเชื่อว่าจะเกิดต่อผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มทั้งฝั่งผู้ผลิตสหรัฐและจีน คาดฝั่งผู้ผลิตสหรัฐที่กระทบมากสุด คือ ภาคเกษตร ได้แก่ ผู้ผลิตถั่วเหลืองและผู้เลี้ยงสุกร และภาคอุตสาหกรรม คือ อากาศยาน, ยานยนต์ ขณะที่ผลกระทบต่อฝั่งผู้ผลิตของจีน คือ กลุ่มโทรคมนาคม, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ที่จะต้องจ่ายสินค้าแพงขึ้น ซึ่งจะกดดันให้เงินเฟ้อโลกตามมา ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกตามคาดการณ์ของ IMF คาดที่ 3.9% ในปี 2561-2562 มีโอกาสเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายที่ประเมินไว้
การลงทุนเอกชนไทยยังเดินหน้า แม้มีปัจจัยเสี่ยงภายนอก
ท่ามกลางสงครามการค้า และ การลงทุนภาครัฐล่าช้า (จากพรบ.จัดซื้อจัดจ้างและพรบ. วินัยการเงินการคลัง) แต่เห็นความคืบหน้าการลงทุนเอกชน สะท้อนจากยอดขออนุญาตประกอบและขยายกิจการของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่รวม 53 แห่ง มูลค่าการลงทุนเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 9,863.24 ล้านบาท จาก 2,820 ในเดือนพ.ค. หรือเพิ่ม 250% ขณะที่ 1H61 พบว่า ยอดการขออนุญาตประกอบกิจการและการขยายกิจการใหม่มีจำนวน 2,504 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 168,523.69 ล้านบาท (เทียบกับ 1H60 การขออนุญาตประกอบกิจการและการขยายกิจการใหม่เพิ่มขึ้นเพียง 0.52% และ มูลค่าการลงทุนลดลง 31.38%) เรียงลำดับอุตสาหรกรมที่ขยายตัวมากสุด อาหาร พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์โลหะ ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (1H60)
เหตุผลหลักน่าจะมาจาก 1) การใช้กำลังการผลิตรวมของไทยใน 1Q61 อยู่ที่ 72.4% (สูงสุดในรอบ 5 ปี) เทียบกับ 67.4% ใน 4Q60 และ 69.6% ใน 1Q60 อุตสาหกรรมที่ใช้กำลังการผลิตเกิน 80% คือ พลาสติกและยาง, ยานยนต์, ปิโตรเลี่ยม, แปรรูปเนื้อสัตว์, จักรยานยนต์, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (น้ำตาลมีปัจจัยด้านฤดูกาล ทำให้การใช้อัตราการผลิตมากเป็นบางช่วง)การลงทุนภาคเอกชน (17% ของ GDP) จะเป็นเครื่องยนต์สำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจนับจากนี้
และ 2) พ.ร.บ. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) ได้มีผลบังคับใช้ เมื่อ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ เช่น เพิ่มระยะเวลาการเช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขต EEC เพิ่มขึ้นเป็นสูงสุด 99 ปี (จากเดิม 50 ปี), ให้สิทธิลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 17% จากเดิมขั้นบันไดสูงสุด 35% สำหรับต่างชาติที่เข้ามาทำงานใน EEC 3 จังหวัดได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง และอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ
โดยรวมเป็น sentiment เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากจะทำให้ความต้องการที่ดินในนิคมฯ และราคาที่ดินในพื้นที่ EEC เพิ่มมูลค่าขึ้น หนุน Presales และ Gross Margin ของกลุ่มนิคมฯให้เพิ่มขึ้นระยะยาว แนะนำ AMATA ([email protected]) และ WHA ([email protected]) เพราะมีที่ดินใน EEC มากสุดเป็น 2 ลำดับแรกกว่า 1 หมื่นไร่ และ 8.4 พันไร่ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบริการเกี่ยวเนื่องในระบบสาธารณูปโภคน้ำและไฟฟ้า รวมไปถึงคลังสินค้าให้เช่า ผลักดันกำไรให้มากขึ้น
และกลุ่มรับเหมาฯ ก็น่าจะได้อานิสงส์ด้วยเช่นกัน แม้ว่าการเปิดประมูลภาครัฐจะล่าช้า แต่เชื่อว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรของกลุ่มรับเหมาฯ ในปี 2561-62 อย่างมีนัยฯ เนื่องจากผู้รับเหมารายใหญ่ล้วนมี Backlog รองรับรายได้ในช่วง 2-4 ปีต่อจากนี้ (ล่าสุด Backlog รวมกันอยู่ที่ 4.8 แสนล้านบาท) ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 โดยหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและมี backlog อยู่ในมือจำนวนมาก คือ STEC (FV@B25) และ SEAFCO ([email protected])
กำไรงวด 2Q61 โดยรวมดูไม่ดี หดตัวจากงวด 1Q61
เข้าสู่การทำ Earnings Preview งวด 2Q61 ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มลดลงจาก 1Q61 นำโดยกลุ่มธนาคารฯ ที่คาดว่าจะลดลง 11%QoQ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการลดค่าธรรมบริการธุรกิจ on-line ตามกระแสโลกและพฤติกรรมของคนที่เน้นทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่าน Smartphone มากกว่าการติดต่อผ่าน counter แต่คาดว่าผลกระทบจะค่อยๆ ลดลง และจะกระทบกับหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ KBANK มากสุด ส่วนธนาคารพาณิชย์รายย่อยกระทบเล็กน้อย รถยนต์ ที่อยู่อาศัยและกลุ่ม SME รายเล็ก เป็นต้น และกำไรน่าจะทรงตัวทุกไตรมาสที่เหลือของปี 2561
ขณะที่กลุ่มที่มิใช่ธนาคารน่าจะมีแนวโน้มลดลงตามผลของฤดูกาล เช่น กลุ่มโรงกลั่น และปิโตรเคมี ที่อิงตามเศรษฐกิจโลก ตามด้วยสินค้าฟุ่มเฟือยในกลุ่มความงาม (BEAUTY, RS, DDD) ซึ่งได้รับผลกระทบจากสินค้าปลอม น่าจะกดดันผลกำไร 2Q61 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ที่ ASPS ได้ทยอยประเมิน ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนออกมา คือ
THCOM (Switch: [email protected]) คาดกำไร 2Q61 อยู่ที่ 96 ล้านบาท ลดลง 94.8%qoq ขณะที่กำไรปกติอยู่ที่ 52 ล้านบาท ฟื้นตัว 115%qoq หนุนจากตั้งการสำรองลูกหนี้ลดลง ทำให้กำไรปกติ 1H61เติบโตเพียง 31% ของคาดการณ์ทั้งปี สำหรับแนวโน้มช่วงที่เหลือของปีคาดกำไรปกติจะดีขึ้น หนุนจากการเริ่มใช้งานดาวเที่ยม iPSTAR ของลูกค้าใหม่ในฟิลิปปินส์ แต่ในระยะยาวยังมีความเสี่ยงหลังดาวเทียมสัมปทานสิ้นสุดอายุลง (ก.ย. 64)
DTAC (Buy: FV@68) คาดกำไร 2Q61 ดีกว่าที่เคยประเมินว่าจะขาดทุน แม้มีต้นทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้น (ต้นทุนบริการ+ค่าใช้จ่ายขายบริหาร) จากคลื่นใหม่ 2300 MHz แต่บริษัทจะยังมีกำไรอยู่ที่ 63 ล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ในอนาคตคาดจะเป็นบวกมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่า DTAC จะเข้าประมูลคลื่น 900 (850) MHz และ 1800 MHz ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงบริการสะดุด และปิดความเสี่ยงช่วงสิ้นสุดสัมปทานได้
ADVANC (Buy: FV@230) คาดกำไร 2Q61 อยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท ทรงตัว qoq (แต่เพิ่มขึ้น 13%yoy) หนุนจากการแข่งขันธุรกิจมือถือที่บรรเทาลง และการควมคุมต้นทุนได้ดีขึ้น และในระยะถัดไปคาดจะเติบโตได้ดีต่อเนื่อง จากการขยายฐานธุรกิจใหม่ๆ (ลูกค้าองค์กร, บริการดิจิตอล) นอกจากนี้ต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากคลื่น 1800 MHz จะเบาขึ้น หลัง กสทช. ซอยใบอนุญาต ซึ่งช่วยหนุนกำไรปี 2561-62 ให้สูงขึ้น
ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 5 รวมถึงไทย
แม้วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นในภูมิภาคส่วนใหญ่จะรีบาวน์กลับขึ้นมา อย่างไรก็ตามต่างชาติยังคงเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่าขายสุทธิรวม 617 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 401 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยไต้หวัน 126 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 27 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5), ฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิอีก 52 ล้านเหรียญ หรือ 1.71 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวม 1.05 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.39 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิ 593 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) หนุนให้ Bond Yield 10 ปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 2.79%
ตัดดัชนีเป้าหมายปีนี้เหลือ 1662 จุด สะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่ม
ดังที่เคยนำเสนอแล้วว่า ผลกระทบจากสงครามทางการค้าที่เกิดขึ้น น่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในงวด 2H61 และจะรุนแรงในปี 2562 ภายใต้สมมติฐานว่าการกีดกันทางการค้าโลกน่าจะจำกัดในวงเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญฯ สหรัฐ ซึ่งต้องติดตามท่าทีสหรัฐจะยังแข็งกร้าวต่อไป ในการเพิ่มวงเงินกีดกันทางการค้าขึ้นไปถึง 2.5 แสนล้านบาทตามที่ประกาศไว้หรือไม่ จึงประเมินว่ากำไรตลาดหุ้นไทยน่าจะกระทบหนักในปี 2562 ซึ่งน่าจะเริ่มจากหุ้นที่อิงจากเศรษฐกิจภายนอก เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น
ขณะที่ fund flow ไหลออกจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 ขายสุทธิราว 5.9 พันล้านเหรียญฯ หรือ 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งมากเป็นลำดับ 2 หรือ 24% ของยอดขายสุทธิใน 5 ประเทศ (ที่มาคือ Bloomberg) รองจากไต้หวันขายสุทธิมากสุด 1.01 หมื่นล้านเหรียญฯ ซึ่งต่างชาติขายสุทธิไทยนับตั้งแต่ส่งสัญญาณยกเลิก ปี 2561 จนทำให้การถือครองหุ้นไทยของต่างชาติเหลือ 22.7% (หากบวก NVDR จะเพิ่ม 30% แต่เป็นสะท้อนว่าต่างชาติถือหุ้นไทยระยะสั้นมากขึ้น) ซึ่งแรงซื้อที่หายไปกดดันให้ดัชนีหุ้นไทยมี P/E ผันผวน โดยเคยสูงสุดที่ 18.6 เท่า และต่ำสุด 13.4 เท่า ในปี 2556-57 หรือ P/E 17.74 เท่า ต่ำสุด 8.97 เท่าในปี 2551 ซึ่งเป็นช่วง Subprime จึงเป็นที่มาของการปรับลดดัชนีเป้าหมายปี 2561 โดยลดจาก 16 เท่า เหลือ 15 เท่า
ภายใต้สมมติฐาน EPS ตลาดที่ 110.78 บาท อิง P/E 15 เท่า จะอยู่ที่ 1662 จุด ซึ่งมี upside 3% กลยุทธ์ โดยถือหุ้น 40% และเน้นหุ้นเติบ โตในประเทศ (Domestic Play) เป็นหลัก และปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น ดังนี้ :
หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอุปโภคในประเทศ โทรศัพท์มือถือชอบ DTAC (FV@B68) เพราะเชื่อว่าจะกลับมาให้บริการมีคุณภาพทัดเทียบกับคู่แข่งขัน หลังจากที่ สูญเสียลูกค้าให้กับ TRUE มานาน ตามมาด้วย ADVANC (FV@B230) ซึ่งน่าจะแข็งแกร่งที่สุดกลุ่ม ICT
รองลงมาเป็นกลุ่มค้าปลีก แนะนำ BJC (FV@B69) เพราะมีสินค้ากระจายตัว และ มี upside มากกสุดในกลุ่มฯ
หุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากโครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับ ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย แนะนำ BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227)
หรือหุ้นที่ปลอดหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (Debt Free) เช่น STEC (FV@B25), SYNTEC ([email protected]), PYLON ([email protected]), PLANB ([email protected])
หุ้นผลิตและส่งออกอาหารครบวงจร และได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า คือ CPF (FV@B30), TU (FV@B21), GFPT (FV@B14)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO11016