WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
กลยุทธ์การลงทุน
  การขึ้นภาษีเพิ่มเติมของสหรัฐ ต่อจีนและยุโรป จะเกิดขึ้นในอีก 1-2 เดือน ทำให้แรงกดดันช่วงสั้นผ่อนคลายลง และดัชนีตลาดถือว่าซึมซับความเสี่ยงระดับหนึ่ง หากประเมินดัชนีเป้าหมายปี 2562 อิง P/E 16 เท่า ปัจจุบันสะท้อนว่า EPS ตลาดปี 2562 ลดลง 15% กลยุทธ์ฯยังเน้นหุ้น Domestic (DTAC, BJC) และหุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น (BBL, KBANK, PLANB) สาธารณูปโภค (RATCH, TTW, EASTW) อาหาร-ส่งออกได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (CPF, TU, GFPT) Top picks: BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) และ BJC(FV@B69)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….SET Index ฟื้นกระจายตัวดี  
  วานนี้ SET Index แกว่งทรงตัวในช่วงเช้า แต่ภาคบ่ายปรับขึ้นได้กว่า 20 จุด ก่อนจะปิดที่ 1,626.62 จุด เพิ่มขึ้น 19.35 จุด หรือ 1.20% มูลค่าการซื้อขาย 5.86 หมื่นล้านบาท โดยตลาดได้แรงบวกกระจายเกือบทุกกลุ่มฯ  นำโดยหุ้นขนส่ง  AOT,  BEM,  BTS และ PSL ที่ฟื้นตัวแรง 7.14%  ซึ่งปรับขึ้นตามค่าระวางเรือ ตามด้วยกลุ่มโรงพยาบาล ที่ฟื้นตัวแรง คือ BDMS และ BCH เช่นเดียวกับกลุ่มอสังหาฯ คือ LH, QH, AP, LPN เนื่องจากแรงจูงใจเรื่องเงินปันผล และ P/E ต่ำ ส่วนหุ้นพลังงาน และปิโตรฯ  ขึ้นดันดัชนีในลักษณะประคองตัว ยกเว้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง กดดันจาก SCC ปิดลบ 6 จุด (-1.42%) ตามหุ้นรายตัวฉุดลงคือ  MARKO, PTT, INTUCH, VNT และ SUPER เป็นต้น
แนวโน้มดัชนีตลาดวันนี้ การฟื้นตัวอาจจำกัด โดยติดแนวต้าน 1630-1635 จุด โดยสงครามทางการค้าผ่อนคลายช่วงสั้นๆ เพราะทั้งจีน และยุโรป รอดูท่าทีสหรัฐจะประกาศรายชื่อสินค้าที่ถูกตั้งกำแพงภาษีเพิ่มเติมจากที่ประกศแล้ว ในอีก 1-2 เดือน  และดัชนีตลาดที่ลดลงมาที่ระดับปัจจุบันถือว่าสะท้อนข่าวร้ายระดับหนึ่ง คือ กำไรตลาดหุ้น (EPS) ปี 2562 ลดลง 15%  
จีน-ยุโรป พร้อมตอบโต้ หากสหรัฐขึ้นภาษีรอบใหม่อีก 1-2 เดือน 
  หลังดัชนีลงราว 12% นับจากจุดสูงสุดที่ 1,838.9 จุด เมื่อ 24 ม.ค. 2561 เชื่อว่า ได้ตอบรับประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนไปในระดับหนึ่ง โดยวันที่ 6 ก.ค. เป็นวันที่ทั้งสหรัฐและจีนจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าอย่างเป็นทางการรอบแรก 25% วงเงินสินค้ารวม  3.4 หมื่นล้านเหรียญ   ขณะที่รอบ 2 วงเงิน  1.6 หมื่นล้านเหรียญ  ซึ่งจะประกาศมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับการทำประชาพิจารณ์ของผู้ที่เกี่ยวในสหรัฐ ภายในเดือน ก.ค.  และคาดจีนก็พร้อมตอบโต้กลับในวงเงินที่เท่ากัน ส่วนวงเงินการตั้งกำแพงภาษีจีน จะขึ้นไปถึง 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ตามที่ประกาศไว้ล่าสุด จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่  ต้องติดตามท่าทีสหรัฐจะผ่อนปรนลงหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจีนสามารถตอบโต้สหรัฐได้จำกัด เพราะจีนนำเข้าจากสหรัฐเพียง 1.54 แสนล้านเหรียญ ขณะสหรัฐนำเข้าจากจีน  5.05 แสนล้านเหรียญ
  นอกจากจีนแล้ว ประเทศคู่ค้าที่ประกาศตอบโต้สหรัฐ รุนแรงพอๆ กับจีนคือ  ยุโรป(EU)  ซึ่งจะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐรอบที่ 2 วงเงินสูงถึง 2.94 แสนล้านเหรียญฯ (ยังไม่กำหนดสินค้าที่ถูกขึ้นภาษี) หลังจากได้ขึ้นรอบแรกวงเงิน 3.3 พันล้านเหรียญฯ ไปเมื่อ 22 มิ.ย. เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐเตรียมขึ้นภาษี(Safe Guard) 25%  โดยการตอบโต้รอบ 2 ของยุโรป ขึ้นกับว่าสหรัฐจะขึ้นภาษี ยานยนต์และชิ้นส่วน  มากน้อยเพียงใด ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการศึกษาในช่วง ก.ค. – ส.ค. เพราะยานยนต์และ ชิ้นส่วน ฯ เป็นสินค้านำเข้าอันดับ 1 ของสหรัฐ ราว 2.54 แสนล้านเหรียญหรือ 12% ของยอดนำเข้าทั้งหมด   
  การตอบโต้ของ EU  นับว่าสำคัญต่อสหรัฐ เพราะปัจจุบันสหรัฐค้าขายกับ EU  สูงสุดราว  17.9% ของยอดการค้าทั้งหมดของสหรัฐ (รองลงมาคือ จีน 16.4% และแคนาดา 15%)  และยุโรปได้ดุลการค้ากับสหรัฐ 17.5% ของยอดขาดดุลสหรัฐทั้งหมด (เป็นลำดับ 2 รองจากจีนได้ดุลการค้ากับสหรัฐสูงถึง 47.1%)  การตอบโต้ของคู่หลังอาจจะรุนแรงได้ เพราะสหรัฐนำเข้าสินค้าจากยุโรปราว  4.35 แสนล้านเหรียญฯ ต่อปี ขณะที่ยุโรป นำเข้าจากสหรัฐราว  2.89  แสนล้านเหรียญฯ  แต่ด้วยวงเงินที่สหรัฐนำเข้าจากยุโรปมากกว่า  ยุโรปจึงอาจจะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ  ซึ่งสงครามการค้ารอบใหม่ที่จะเกิดขี้นในอีก 1-2 เดือน ยังคงกดดันตลาดอีกระลอก เชื่อว่าผู้ที่ตกอยู่ในที่นั่งลำบากน่าจะเป็นสหรัฐ โดยเฉพาะผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าที่แพงขึ้น ยิ่งกดดันเงินเฟ้อ และ ดอกเบี้ยขาขึ้นที่เร็วขึ้น
คง VAT 7% ดีต่อการหุ้นบริโภคในประเทศ  BJC, DTAC
  ไทยใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ที่อัตรา 7% มานานตั้งแต่ปลายปี 2540  ( VAT  10% ถูกประกาศใช้ในปี 2535 เป็นครั้งแรก แต่ได้ปรับลงเหลือ 7%  ในปี 2540 เนื่องจากเกิดช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง)  และเป็นธรรมเนียมที่ทุกรัฐบาลจะคงยืดการใช้  VAT  7% ออกไปอีก  1 ปี เป็นปีที่ 20  ซึ่งถือว่าไม่ใช่ประเด็นใหม่ แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวน่าจะช่วยหนุนกำลังซื้อในประเทศ  แต่ต้องแลกกับที่ รัฐต้องจะสูญเสียรายได้ 2.58 แสนล้านบาทต่อปี   
  ถือเป็น sentiment เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีก แต่หากพิจารณาผลกำไรของสุทธิกลุ่มฯ ปี 2561 พบว่าเติบโตในอัตราชะลอตัวเหลือ  16%  แต่ยังมากกว่าตลาดฯ ที่เติบโต 13% แต่ด้วย Expected P/E ค่อนข้างสูงที่ราว 30  เท่า (สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่ 28 เท่า) เทียบกับ SET Index ปัจจุบันอยู่ที่ 14.7 เท่า ดังนั้นจึงเน้น selective buy  เลือกลงทุนรายหุ้นที่แนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตดี แต่ P/E ไม่สูงมากนัก และราคาหุ้นที upside ฝ่ายวิจัยแนะนำ BJC (FV@B69) คาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโตสูงถึง 38%  และ  P/E ใกล้เคียงกลุ่มที่ 29 เท่า โดยแนวโน้มผลการดำเนินงาน 2Q61 ทรงตัว 1Q61  แต่ 2H61 คาดดีขึ้นจาก 1H61   จากแรงหนุนจากเทศกาลฟุตบอลโลก และการเปิดโรงผลิตขวดแก้วแห่งใหม่ของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ใน 3Q61 บวกกับการบันทึกภาษีคืนตามการปรับปรุงโครงสร้างบัญชีในกลุ่มแล้วเสร็จ ขณะที่ราคาปัจจุบันมีupside ถึง 32%
  ขณะที่ ROBINS (Swith:FV@B68) ราคาปัจจุบันมี upside ราว 16% คาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโตราว 18% แต่ Expected P/E ต่ำกว่ากลุ่มฯ ที่ 20 เท่า จึงสามารถเข้าไปเก็งกำไรได้ 
  ส่วน CPALL (Switch: FV@B79) ราคาปัจจุบันมี upside เหลือไม่ถึง 5% คาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโตราว 12% ส่วน Expected P/E อยู่ที่ 30.4 เท่า แต่น่าจะได้ sentiment เชิงบวกด้วยเช่นเดียวกัน 
  ทางด้าน COM7 (FV@B21) จำหน่ายสินค้าประเภท IT จึงอาจจะไม่ได้ sentiment บวกมากเท่าสินค้าอุปโภค-บริโภค แต่ด้วยกำไรสุทธิปีนี้เติบโตสูงถึง 29% ส่วน Expected P/E ต่ำกว่ากลุ่มที่ 27 เท่า และราคาปัจจุบันมี upside ราว 19% จึงทยอยสะสมได้เช่นกัน
และ เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่ม ICT โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือเป็นปัจจัย4  เพราะสังคม Online Social กิจวัตรประจำวัน ต้องพึ่งพาการทำผ่านโทรศัพท์มือถือ ทำให้ค่าใช้จ่ายผ่าน Data เพิ่มขึ้น หนุนรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย หรือ APRU จากอดีตที่พึ่งพาเฉพาะเสียง จึงทำให้ปัจจุบันผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ มีกันมากกว่า 1 เครื่องต่อ 1 คน  ประกอบการประมูลคลื่นใหม่ในอนาคต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ โดยเฉพาะ  DTAC (FV@B68) ที่เคยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับ TRUE น่าจะกลับมาสู้ได้อีกครั้ง ตามมาด้วย ADVANC (FV@B230)  ซึ่งน่าจะแข็งแกร่งที่สุดกลุ่ม ICT
ต่างชาติซื้อเฉพาะหุ้นเกาหลีใต้ แต่ยังขายทั้งภูมิภาค รวมถึงไทย
  วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 92 ล้านเหรียญ และยังคงขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิกว่า 324 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 ประเทศที่ถูกสลับมาขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิ 272 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 37 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 8 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 99 ล้านเหรียญ หรือ 3.29 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิอีกกว่า 4.45 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) หนุนให้ SET Index เพิ่มขึ้นอีก 19.35 จุดในวานนี้
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติซื้อสุทธิ 4.65 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) หนุน Bond Yield 10 ปี ของไทยลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.78%
ดัชนี 1600 จุด สะท้อน EPS ตลาดปี 2562 ลดลง 15% จากสงครามการค้า  
  การตั้งกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐ ต่อ จีน  รวมถึงการสินค้า Safegard 7 ชนิดที่สหรัฐประกาศไปก่อนหน้า ส่งผลให้คู่ค้าทั่วโลก ประกาศตอบโต้สหรัฐ  นำโดยแคนาดา ยุโรป เม็กซิโก รัสเซีย เป็นต้น แต่คาดกระทบต่อเศรษฐกิจและมูลค่าการค้าโลกตั้งแต่ปี 2562 และอาจยาวไปจนปี 2563 ซึ่งการประกาศสงครามการค้ารอบถัดไปของสหรัฐ ไทยซึ่งเป็น 1 ในผู้ส่งออกวัตถุดิบและส่วนประกอบไปยังจีน จึงน่าจะกระทบทางอ้อม และและน่าจะกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนปี 2562  
  จากการศึกษาผลกระทบของการค้าโลก ต่อ กำไรตลาด ต่อดัชนีตลาดในปี 2562  พบว่า EPS ที่หายไป   ทุกๆ 5%  จะมีผลทำให้ดัชนีเป้าหมายปี 2562 อยู่ 1,854.23 จุด โดยอิง Expected P/E 16 เท่า แต่หากกำไรลดลงเพิ่มขึ้น  10%, 15% และ  20%  ดัชนีเป้าหมายปี 2562  จะลดลงเหลือ  1,688 ,1576, และ 1,483 จุด ตามลำดับ
  ส่วนปี 2561 ยังคงกำไรตลาดที่ 110.78 บาทต่อหุ้น  และหากยังยึด P/E  16 เท่า ดัชนีเป้าหมายปี 2561  จะยังอยู่ที่ 1,772 จุด (อิง Expected P/E 16 เท่า)  ซึ่งดูแล้วมีความเป็นไปได้ค่อนข้างยาก  ประกอบกับ fund flow ไหลออก ทำให้โอกาสที่ดัชนีตลาดจะยืนเหนือ P/E  16 เท่ายากขึ้น จึงอยู่ระหว่างการทบทวนดัชนีเป้าหมายปี 2561  โดยจะต้องลด Expected P/E ลง
  ทั้งนี้หากลด P/E ลงทุก 0.5 เท่า จากเดิม 16 เท่า เป็น 15.5  เท่า และ 15 เท่า ดัชนีเป้าหมายปี 2561 จะลดลงเหลือ 1717 จุด และ  1661 จุด   จึงเชื่อว่าดัชนีตลาดฯ น่าจะจะสะท้อนปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบของสงครามการค้าโลก   กลยุทธ์การลงทุน ให้ถือหุ้น 40% ของพอร์ต และเน้นหุ้นเติบโตในประเทศ (Domestic Play) เป็นหลัก  และ ปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น ดังนี้ :  
  หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอุปโภคในประเทศ  โทรศัพท์มือถือชอบ  DTAC (FV@B68)  เพราะเชื่อว่าจะกลับมาให้บริการมีคุณภาพทัดเทียบกับคู่แข่งขัน หลังจากที่ สูญเสียลูกค้าให้กับ  TRUE  มานาน  ตามมาด้วย ADVANC (FV@B230)  ซึ่งน่าจะแข็งแกร่งที่สุดกลุ่ม ICT
  รองลงมาเป็นกลุ่มค้าปลีก  แนะนำ BJC (FV@B69) เพราะมีสินค้ากระจายตัว และ มี upside มากกสุดในกลุ่มฯ
  หุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากโครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับ ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย แนะนำ BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227
หรือหุ้นที่ปลอดหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (Debt Free) เช่น STEC (FV@B25), SYNTEC ([email protected]), PYLON ([email protected]), PLANB ([email protected])
  หุ้นผลิตและส่งออกอาหารครบวงจร และได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า  คือ  CPF (FV@B30), TU (FV@B21), GFPT (FV@B14)
 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10780

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!