WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน


กลยุทธ์การลงทุน
  เงินเฟ้อที่เร่งตัวในสหรัฐ หนุนFed ขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นกว่าคาด และดันDollar indexแข็งค่าเร็วขึ้น ตรงกันข้ามกดค่าเงินสกุลอื่น ๆ ซึ่งเป็นคู่ค้าสหรัฐ รวมถึงเงินบาทอ่อนตัว และกดดันน้ำมันดูไบหลุด70เหรียญฯ เท่ากับกดดันหุ้นน้ำมันทั้งPTT, PTTEPแต่คาดว่ายังมีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาชึ้นช่วยประคองดัชนี (แบงก์/ประกันชีวิต)Top picks BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227)และPLANB([email protected])ปลอดหนี้ ไม่กระทบดอกเบี้ยขาขึ้น และระะยะสั้นยังได้ประโยชน์จากบอลโลก และยังเป็น1บริษัทจดทะเบียนที่จะเข้าคำนวณSET100กลางปีนี้

ย้อนรอยหุ้นไทย….. กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ ยังถูกขาย....เงินทุนต่างชาติยังไหลออก
  ศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยยังคงแกว่งตัวในแดนลบ โดยระหว่างวันหลุดแนวรับจิตวิทยาที่ระดับ1,700จุด ก่อนจะมีแรงซื้อเข้ามาหนุนดัชนีขึ้นมาปิดที่ระดับ1,704.82จุด ลดลง5.04จุด หรือ -0.29%พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า6.88หมื่นล้านบาท ตลาดฯ ยังถูกกดดันจากแรงขายหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มพลังงานฯ อย่างPTTราคาปรับหุ้นต่ออีก2%ตามด้วยPTTEP (-1.5%)ปิโตรเคมีIVL (-2.09%)และPTTGC (-0.3%)ขณะที่ราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าทั้งGPSCและGLOWปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง แม้GPSCออกมาชี้แจงแล้วว่ายังไม่มีข้อสรุปกับประเด็นการเข้าซื้อกิจการของGLOWส่วนการเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่มICTยังแกว่งผันผวนตลอดวัน หลังจากDTACและADVANCไม่เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตคลื่น1800 MHzเช่นเดียวกับTRUEที่แจ้งไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนหุ้นกลุ่ม ธ.พ. มีเพียงSCBที่ปรับตัวขึ้น ส่วนหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มฯ ที่เหลือแกว่งทรงตัว (BBL)และปรับตัวลงเล็กน้อย (KBANK KTB)
  คาดSET Indexยังคงแกว่งผันผวน แนวรับ1,695จุด แนวต้าน1,710จุด โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดน่าจะมาจากเงินเฟ้อโลกที่กำลังขยับสูงขึ้นในลักษณะเดียวกับสหรัฐ ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยฯ มีโอกาสเร็วขึ้น หนุนDollar Indexแข็งค่าเร็ว กดดันราคาน้ำมันดูไบต่ำกว่า70เหรียญฯเท่ากับหุ้นPTT, PTTEPจะกดดันดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์นี้

สงครามการค้าจีน-สหรัฐ เริ่มแล้ว และกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก
  สงครามการค้าสหรัฐ–จีน เริ่มขึ้นแล้ว หลังจากผลการทำประชาพิจารณ์ในสหรัฐเสร็จสิ้น โดยปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน วงเงิน5หมื่นล้านเหรียญฯ (ถือว่าน้อยกว่าในช่วงก่อนหน้าที่คาดว่าจะสูงถึง1แสนล้านเหรียญฯ)โดยมุ่งไปที่สินค้า1,100รายการ โดยแบ่งเป็น  2ช่วง

  เช่นเดียวกับจีนประกาศตอบโต้คืนทันทีในวันเดียวกัน โดยขึ้นภาษีนำเข้าต่อสหรัฐในวงเงินเท่ากันสินค้า659 รายการซึ่งมุ่งไปที่สินค้าเกษตรและสินค้าที่จีนนำเข้าเป็นหลักอาทิถั่วเหลือง,เนื้อหมู,ยานยนต์ เป็นต้น
  อย่างไรก็ตามประเด็นที่ยังให้น้ำหนัก คือ สหรัฐจะมีการประกาศขึ้นภาษีเพิ่มอีกหรือไม่ ซึ่งจีนพร้อมตอบโต้อีกครั้ง ทั้งแม้ก่อนหน้านี้จีนมีท่าทีผ่อนคลายต่อทั่วโลกสะท้อนจากปลายเดือน พ.ค. ประกาศลดภาษีนำเข้า อาทิ รถยนต์ และสินค้าอุปโภคและบริโภคหลักๆ อาทิ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องสำอางจากทั่วโลกสวนทางกับสหรัฐที่ได้ประกาศภาษีนำเข้าสินค้าทั่วโลก7สินค้า คือรถยนต์ และ อุปกรณ์เหล็ก อลูมิเนียม เครื่องซักผ้า แผงโซลาร์เซลล์ น้ำมันไบโอดีเซล และยางรัด
สงครามการค้าทั่วโลก ในครั้งนี้เชื่อว่าผู้บริโภคขั้นสุดท้ายจะได้รับรุนแรงพอๆ กับผู้ประกอบการ ซึ่งน่าจะกดดันเงินเฟ้อในสหรัฐ และจีนเร่งตัวขึ้นจากราคาสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น และกดดันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกในที่สุด

เงินเอเชียอ่อนค่า...ตราบที่ดอกเบี้ยขึ้นกว่าเงินเฟ้อ
  ผลการประชุมBOJสัปดาห์ที่แล้ว สรุปว่ายังไม่ส่งสัญญาณการหยุดใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1%พร้อมกับคงวงเงินQEที่ปีละ80ล้านล้านเยน ตามเดิม เนื่องจากยังติดปัญหาเงินเฟ้อต่ำอีกครั้ง ล่าสุด เหลือ0.6%ใน พ.ค. จาก1%ใน มี.ค.2561

อย่างไรก็ตามติดตาม ผลการประชุมที่จะเกิดขึ้นใน สัปดาห์นี้ อีก2ประเทศ คือ:
  20มิ.ย. การประชุม กนง.แม้ในครั้งนี้คาดว่าจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่จากเงินเฟ้อของไทยที่เร่งตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับต่างประเทศ ทำให้คาดว่า กนง. น่าจะหลีกเลี่ยงการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ไม่ได้ นักเศรษฐศาสตร์ของASPSประเมินว่าเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. น่าจะแตะ1.72%จาก1.49%ใน พ.ค. และจะแตะ2%ใน ก.ย. เทียบกับดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่1.5%เท่านั้น

  และในวันที่22มิ.ย. จะมีการประชุมOPECและNon OPECที่กรุงเวียนนา โดยคาดว่า รัสเซียและประเทศสมาชิกOPECบางแห่ง เช่น ซาอุดิอาระเบียต้องการปรับเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งอาจทำให้ปัญหาOversupplyกลับมากังวลอีกครั้ง

DTACอาจสะดุดไม่มีการประมูลคลื่น1800MHzและกสทช. อาจปรับเงื่อนไขใหม่
  เป็นที่สรุปว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนทั้ง3ราย ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น ซึ่งกดดันให้ กสทช. อาจจะต้องทบทวนเงื่อนไขใหม่ ทั้งเรื่อง เงินประมูลขั้นต้นที่กำหนดไว้37,400ล้านบาท ต่อ15MHz 15ปี (รอบก่อนหน้า  40,000ล้านบาทต่อ  15MHz 18ปี)และN-1ซึ่งน่าจะช่วยผ่อนคลาย ต่อภาพรวมที่ถูกดันต้นทุนสูงตลอดช่วงที่ผ่านมาเพราะในสมมุติฐานนักวิเคราะห์ASPSประเมินว่าทุกรายจะได้15เมกะเฮิรท์ ที่ต้นทุนใกล้เคียงกับที่กล่าวข้างต้น
  ในระยะ1-2ปี เชื่อว่าทุกรายยังให้บริการภายใต้คลื่นที่มีอยู่ แต่หากมองภาพในระยะยาว พิจารณาจำนวนที่ให้บริการลูกค้า ต่อ1คลื่น แล้วผู้ที่หนาแน่นสุดคือ คือADVANC รองลงมาคือDTACส่วนTRUEยังมีคลื่นเหลือสบายๆ
  ทั้งนี้ยกเว้น  DTAC กรณีที่ กสทช. ไม่มีมาตรการเยียวยาการให้บริการ ลูกค้าที่อยู่บนคลื่น  1800 MHz ซึ่งเป็นคลื่นเดิมที่ให้บริการ2Gและ4G  สิ่งที่DTACต้องปรับกลยุทธ์ในช่วงสั้นคือ
  2G ขอโรมมิ่งกับADVANC แต่ก็มีต้นทุนที่ตามมา
  4G แม้รองรับได้ด้วยคลื่น2100 และ2300 MHz แต่อย่างไรก็ตาม โครงข่าย2300 MHzที่ให้บริการ4Gยังต้องใช้เวลา เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่มากพอ จึงอาจเป็นอุปสรรคในการให้บริการ และอาจจะด้อยกว่าคู่แข่งซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียลูกค้าได้
  ระยะสั้น จึงยังให้เลี่ยงลงทุนDTACแต่ให้ลงทุนADVANCถือเป็นตัวเลือกดีสุด

ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น กดดันFund Flowไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาค
  วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ยังหยุดทำการ ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคยังเปิดทำการเป็นปกติความกังวลต่อ  Fed ขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นกว่าคาด หนุนDollar index แข็งค่าเร็วกดดันต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่5ด้วยมูลค่าสูงถึง968ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ456ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่4)ตามมาด้วยไต้หวัน283ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่4)และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก229ล้านเหรียญ หรือ7.47พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่10มูลค่ารวมกว่า3.15หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ5.94พันล้านบาท (ซื้อสุทธิมาแล้วกว่า16 วัน มีมูลค่ารวม3.08หมื่นล้านบาท)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิ4.56พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่3)หนุนBond Yield 10ปี ของไทยขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่2.80%แต่ยังน้อยกว่าสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่2.92%

ดัชนีหลุด1700จุด สะสมหุ้นแบงค์ และที่Debt Free  PLANB, HANA
  จากความกังวลประเด็นต่างประเทศที่มีมากขึ้น ส่งผลให้วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นเอเซีย ยุโรป ปิดปรับตัวลดลง และต่อเนื่องถึงตลาดหุ้นฝั่งสหรัฐที่ปิดตัวในแดนลบ หลังสหรัฐประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีน และจีนโต้ตอบกลับอย่างรวดเร็วเช่น สะท้อนว่าสงครามการค้าได้เริ่มขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว ดังที่กล่าวข้างต้น ผนวกกับราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้หลายประเทศเริ่มมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือใช้นโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น
  ขณะที่SET indexสัปดาห์นี้ คาดเห็นการแกว่งตัวทดสอบบริเวณ1,680 - 1,730 จุด หรือเป็นลักษณะsideway downอย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อของไทยที่เร่งตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับต่างประเทศ ทำให้คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ในสถานการณ์เช่นนี้ถือว่าบวกต่อหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น คือ

หุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น
  1.หุ้น ธ.พ. จากการที่NIMดีขึ้น จากแนวโน้มความต้องการสินเชื่อรายใหญ่เพื่อการลงทุน ซึ่งโครงสร้างสินเชื่อกว่า70%เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับทันที ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า50%เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงสั้น ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย และช่วยบรรเทาผลกระทบของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลง ยังแนะนำBBL(FV@B220)และยังชอบKBANK (FV@B227)และTCAP (FV@B65)
  2.หุ้นประกันฯ จากภาระสำรองเบี้ยฯ ที่ลดลง ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุน (ดอกเบี้ยและเงินปันผล) ในพันธบัตร ตราสารหนี้และหน่วยลงทุน จะเพิ่มขึ้น แนะนำBLA ([email protected])
  3.หุ้นที่มีสถานะเงินสด (Net Cash)มีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
  กลุ่มรับเหมาฯ คือSTEC, SYNTEC, PYLON, STPI, BJCHI
  กลุ่มชิ้นส่วนฯ คือHANA, DELTA, SVI
  กลุ่มยานยนต์ คือIRC, STANLY
  ธุรกิจสนามบิน คือAOTและ
  ธุรกิจสื่อนอกบ้าน คือPLANBเป็นต้น
  ส่วนหุ้นที่หนี้สินเกิน1เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate)ผลกระทบจำกัดเช่นCPALLมีGearingราว2.1เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยคงที่ถึง98.6%, BJCมีGearingราว1.4เท่า มีภาระดอกเบี้ยคงที่ทั้งหมด,  ADVANCมีGearingราว2.1เท่า แต่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย คงที่ถึง70%, CKมีGearingราว1.6เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่74%, ANANมีGearingราว1.7เท่า แต่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่78%เป็นต้น
  ทั้งนี้ยกเว้นบริษัทที่มีGearingสูง และมีสัดส่วนที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัวน่าจะกระทบมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆเช่น  THAI มีGearingสูงถึงกว่า4.6เท่า และ มีภาระดอกเบี้ยลอยตัวถึง40%และDTACและมีGearingสูงราว1.6เท่า มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยลอยตัวทั้ง100%

ภรณี ทองเย็นเลขทะเบียนนักวิเคราะห์:004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรมเลขทะเบียนนักวิเคราะห์:004132
พบชัย ภัทราวิชญ์เลขทะเบียนนักวิเคราะห์:052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์เลขทะเบียนนักวิเคราะห์:075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์เลขทะเบียนนักวิเคราะห์:087636
โยธิน ภูคงนิลผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธรผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10161

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!