- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 15 June 2018 18:55
- Hits: 1698
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สหรัฐขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด เพราะเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ทำให้คาดว่าธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จะขึ้นดอกเบี้ยตาม แต่อาจช้ากว่าสหรัฐฯ ขึ้นกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ แต่ในสถาณการณ์นี้น่าจะหนุนให้ค่าเงินดอลล่าร์ฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเอเชีย ส่งผลให้เงินทุนยังไหลออก และกดดันสินค้าโภคภัณฑ์ กลยุทธ์เลือกหุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นคือ ธนาคาร,ประกันชีวิต Top picks BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) และ PLANB([email protected]) ได้ประโยชน์จากบอลโลก และเเป็นบริษัทปลอดหนี้ รวมถึงเป็น 1 ในบริษัทที่จะเข้าคำนวณ SET100
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ …..SET Index เจอแรงขาย หลัง Fed ขึ้นดอกเบี้ย
วานนี้ตลาดหุ้นในภูมิภาคหลายแห่งปรับตัวลดลง หลัง Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวานนี้ ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยก็ปรับตัวลงเช่นเดียวกัน โดยระหว่างวันลงลึกถึง 1,699 จุด ก่อนที่จะฟื้นขึ้นมาปิดที่ 1,709.86 จุด ลดลง 8.48 จุด หรือ -0.49% พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายกว่า 5.97 หมื่นล้านบาท ภาพรวมของหุ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเผชิญแรงขายตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มปิโตร-โรงกลั่น PTTGC(-3.18%) TOP(-4.68%) ขณะเดียวกันหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ที่ได้ประโยชน์จากช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น KBANK, BBL สามารถประคองตัวและปรับขึ้นสวนทางตลาดได้ อีกกลุ่มที่ปรับตัวโดดเด่นคือ โรงไฟฟ้าทั้ง IPP และ SPP คือ GLOW (+6.27%) EGCO (+1.72%) และ GPSC(2.47%)
คาด SET Index ยังคงแกว่งผันผวน น่าจะมีกรอบการเคลื่อนไหว 1700-1720 จุด โดยให้น้ำหนักต่อเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงการกีดดันการค้าโลกที่ชัดเจนขึ้น
ECB ยืดใช้มาตรการ QE กดเงินยูโรอ่อนค่า vs ดอลลาร์
ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) แม้จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค.2559) คาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกอย่างเร็วคือ 2Q62 แต่ขยายระยะเวลา QE ต่ออีก 3 เดือน ตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค.2561 แต่ลดวงเงินเหลือ 1.5 หมื่นล้านยูโร/เดือน จากปัจจุบันวงเงินที่ใช้ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน เพราะยังกังวลต่อเศรษฐกิจยุโรปที่ฟื้นตัวล่าช้า สะท้อนจากปรับลด GDP Growth ในปี 2561 เหลือ 2.1% จากเดิมคาด 2.4% แต่กลับปรับเพิ่มเงินเฟ้อปีนี้ขึ้นเป็น 1.7% จาก 1.4% อันนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง และกดดันให้เงินยูโรเทียบดอลลาร์อ่อนค่าราว 2% หรืออ่อนค่าราว 3.6% นับตั้งแต่ต้นปี(ytd) ตรงข้างกับ Dollar index แข็งค่าราว 1.6% หรือแข็งค่า 3.08% (ytd) เป็นปัจจัยกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน และทองคำ
ขณะที่ตลาดน่าจะติดตามผลการประชุม BOJ ระหว่าง 14-15 มิ.ย. คาดญี่ปุ่นจะใช้นโยบายการเงินตึงตัวอาจจะล่าช้ากว่าประเทศอื่นๆ เพราะเริ่มติดกับปัญหาเงินเฟ้อต่ำอีกครั้ง ล่าสุด เหลือ 0.4% ใน พ.ค. จาก 1% ใน มี.ค. 2561 จึงคาดยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และคง QE จากปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 80 ล้านล้านเยน
ถัดมา 15 มิ.ย. สหรัฐจะเปิดเผยรายชื่อสินค้านำเข้าจากจีน ที่จะขึ้นภาษีจำนวน 1,300 รายการ มูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญฯ ซึ่งต้องดูท่าทีของจีนที่จะมีการตอบโต้กลับหรือไม่ และ 22 มิ.ย. การประชุม OPEC และ Non-OPEC ต้องมาดูกันว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ทั้งซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจะเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่ ซึ่งจะสร้างความกังวลกับปัญหา oversupply ที่เพิ่มมากขึ้น กดดันราคาน้ำมันต่อเนื่อง
DTAC ไม่ประมูลคลื่น 1800 MHz... เหลือ ADVANC จะประมูลหรือไม่????
ล่าสุดพบว่า ผู้ให้บริการ 2 ราย คือ DTAC, TRUE แจ้งความประสงค์ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz จึงเหลือ ADVANC รายเดียว แต่ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่เข้าร่วมประมูลได้ ทั้งนี้หากมีผู้เข้าประมูลรายเดียว กสทช. จะต้องเปิดรับสมัครผู้สนใจราว 1 เดือน และถ้ายังมี ADVANC เข้ารายเดียว กสทช.กำหนดให้ เคาะราคา 1 ครั้งเพื่อชนะ
หากเป็นกรณีนี้ จะเป็นลบ DTAC จากความเสี่ยงศักยภาพด้อยลง เพราะจะไม่สามารถใช้คลื่น 1800 MHz หลังสัมปทานสิ้นสุดได้แล้ว โดยจะเหลือคลื่น 2100 และ 2300 MHz มีแม้กำลังให้บริการจะสูงราว 45 MHz แต่มีข้อจำกัดในการให้บริการ 2G และ 4G (ทั้ง 2 คลื่นให้บริการ 4G ได้ แต่มีเครื่องมือถือที่รับ 4G ได้ราว 70% ที่รองรับคลื่นดังกล่าว) แต่กระทบ TRUE จำกัด เนื่องจากคลื่นที่มีปัจจุบันเพียงพอต่อการให้บริการอยู่แล้ว แม้อาจจะมีความเสี่ยงต่อผลกระทบต่อรายได้ จากศักยภาพ ADVANC ที่ให้บริการลูกค้าได้มีประสิทธิภาพขึ้น (ลูกค้าต่อ 1 MHz ของ ADVANC จะลดลงเหลือ 0.58 ล้านราย จากเดิม 0.7 ล้านราย) ทั้งนี้ หากเกิดกรณีข้างต้น ฝ่ายวิจัยมีแนวโน้มปรับลดมูลค่าพื้นฐานและคำแนะนำ DTAC เป็น Switch แต่คงคำแนะนำ ซื้อ ADVANC และ Switch TRUE
แต่หาก ADVANC ไม่ร่วมประมูล จะเป็นการกดดันให้ กสทช. กลับไปปรับเกณฑ์ประมูลใหม่ โดยคาดใช้เวลาราว 7 เดือน – 1 ปี ซึ่งกรณีนี้จะเป็นบวกต่ออุตสาหกรรมในระยะยาว และอาจเป็นประเด็นให้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนได้ โดยในกรณีนี้ผลกระทบต่อ DTAC จะจำกัด โดย DTAC จะยังใช้งานคลื่นสัมปทาน 1800 MHz ได้ต่อไป ภายใต้มาตรการเยียวยา (ห้ามมีกำไรจากการใช้คลื่นให้บริการ) ส่วน ADVANC และ TRUE ก็จะให้บริการต่อด้วยคลื่นที่มีในปัจจุบัน ซึ่งยังเพียงพอในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าที่ กสทช. จะใช้เวลาในการทบทวนเงื่อนไข
ภาพรวมทิศทางข้างต้นค่อนข้างที่จะผิดไปจากเดิมที่ฝ่ายวิจัยคาดว่าทุกรายจะเข้าร่วมประมูล จึงต้องติดตามท่าทีของ ADVANC เพราะจะกระทบต่ออุตสาหรกรมโดยรวม ระยะสั้นให้ชะลอการลงทุนกลุ่มสื่อสารไปก่อน
NFC กลับมาเทรดวันนี้... หลังถูกพักการซื้อขาย 15 ปี
เอ็นเอฟซี (NFC) เดิมชื่อ บมจ. ปุ๋ยแห่งชาติ จะกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดวันนี้เป็นวันแรก หลังจากที่ขึ้นเครื่องหมาย SP ตั้งแต่ 2546 เนื่องจากเผชิญกับปัญหาวิกฤติการเงินในปี 2540 และเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลางในปี 2546 โดยดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนและเพิ่มทุนโดยออกหุ้นสามัญให้กับผู้ร่วมทุนใหม่ (Private Placement) ซึ่งดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จเดือน ก.ย. 2547
แต่ต่อมาประสบปัญหาเครื่องจักรที่ใช้ผลิตและสภาพโรงงานที่ชำรุดทรุดโทรม จึงต้องมีการตั้งด้อยค่าทรัพย์สินในปี 2549 – 50 และนำไปสู่การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูครั้ง ที่ 2 จนสามารถกลับมามีกำไรสุทธิตั้งแต่ปี 2558-2560 ที่ 80 ล้านบาท, 397 ล้านบาท และ 215 ล้านบาท ตามลำดับ และล่าสุด 1Q61 มีกำไรสุทธิ 26 ล้านบาท (-42% yoy) สาเหตุหลักจาก Gross margin ลดลงจากงวดปีก่อนที่ 29% เหลือ 23%
ราคาซื้อขายก่อนขึ้นเครื่องหมาย SP ที่ 1.36 บาท/หุ้น (พาร์ 10 บาท) แต่ช่วงที่ผ่านมามีปรับพาร์หลายครั้งจนราคาพาร์ปัจจุบันอยู่ 0.75 บาท ราคาตลาดที่เปิดวันแรกจะเป็นเท่าไหร่ หากเราอ้างอิงจาก Valuation ของกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์มีที่ซื้อขายราว P/E ประมาณ 11.9 เท่าและ PBV 1.7 เท่า และหากเทียบเฉพาะบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายกันอย่าง WG (ประกอบธุรกิจด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมและธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์) มี PER และ PBV ที่ 22 เท่า และ 1.5 เท่าตามลำดับ ก็นำไปคำนวณหาราคาหุ้นอ้างอิงของ NFC ได้เช่นกัน
ผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหาร (Strategic Shareholders) ซึ่งถือหุ้นรวมกัน 598.31 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 55% ของทุนชำระแล้ว ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าจะไม่นำหุ้นของตนออกมาขายเป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันแรกที่บริษัทฯเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหากครบกำหนด 6 เดือนแรกหลังเข้าซื้อขายในตลาดฯ จะสามารถขายได้จำนวน 25% ที่เหลือ 75% จะขายได้เมื่อครบกำหนด 1 ปี
ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคอย่างหนัก ไทยถูกขายเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังหยุดทำการ และหยุดไปถึงวันที่ 19 มิ.ย. 61 ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคหนักสุดในรอบเกือบ 2 เดือน ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.22 พันล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) เนื่องจากสหรัฐฯ มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด จากแรงกดดันเงินเฟ้อ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันที่ถูกขายสุทธิ 445 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 433 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการในวันก่อนหน้า), ฟิลิปปินส์ 42 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 21) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิสูงถึง 300 ล้านเหรียญ หรือ 9.64 พันล้านบาท (ขายสุทธิสูงสุดในรอบ 4 ปี 9 เดือน) โดยหากพิจารณาจากการซื้อขายผ่าน NVDR พบว่า PTT ถูกขายสุทธิสูงสุด 1.1 พันล้านบาท รองลงมา PTTEP 508 พันล้านบาท, AOT 373 ล้านบาท และ TOP 351 ล้านบาท เป็นต้น ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 686 ล้านบาท (ซื้อสุทธิมาแล้วกว่า 15 วัน มีมูลค่ารวม 2.48 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิ 1.98 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) หนุน Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.80% แต่ยังน้อยกว่าสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 2.94%
เงินเฟ้อกับการขึ้นดอกเบี้ย หนุนหุ้นแบงก์ outperform ตลาด
แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นเห็นภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ภายหลัง Fed ขึ้นดอกเบี้ยฯ สู่ 2.00% พร้อมทั้งเตรียมปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก 2 ครั้งในปีนี้ จากมุมมองต่อเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง อัตราว่างงานที่ลดลง และแนวโน้มเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ยกเว้นยุโรป และญี่ปุ่น ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไปจนถึงปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ไม่แข็งแรงนัก ขณะที่ไทย มีโอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 4Q61 เหตุจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเร็วกว่าคาด อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น ทำให้ค่าเงินภูมิภาคเอเซียรวมทั้งไทยอ่อนค่าลง ทำให้กระแส Fund Flow ยังมีแนวโน้มไหลออก กดดันภาวะการลงทุน
ขณะที่สงครามการค้ายังคงเป็นปัจจัยกดดันต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของสหรัฐกับจีน ที่วันนี้สหรัฐจะเปิดเผยรายชื่อสินค้านำเข้าจากจีน ที่จะขึ้นภาษีจำนวน 1,300 รายการ มูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญฯ ซึ่งต้องดูท่าทีของจีนที่จะมีการตอบโต้กลับด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐหรือไม่ เช่นเดียวกับ EU แคนาดา และเม็กซิโก ที่จะโต้ตอบสหรัฐด้วยวิธีการเดียวกัน เหล่านี้ล้วนและมีผลกระทบต่อมูลค่าการค้าโลกทั้งสิ้น
ทางฝั่งราคาน้ำมันโลก ยังคงแกว่งผันผวนเช่นกัน ตลาดฯ ยังรอผลการประชุม OPEC และ Non-OPEC ที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ทั้งซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจะเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่ สร้างความกังวลกับปัญหา oversupply ที่เพิ่มมากขึ้น
โดยรวม ปัจจัยแวดล้อมจากต่างประเทศ ยังคงมีน้ำหนักต่อการเคลื่อนไหวของ SET Index ให้ยังคงแกว่ง sideway ในระยะนี้ โดยมีแนวต้านอยู่ที่บริเวณ 1730 จุด ซึ่งที่ผ่านมาดัชนียังไม่สามารถผ่านแนวดังกล่าวไปได้ไกลมากนัก ส่วนแนวรับ เชื่อว่าดัชนีจะสามารถยืนเหนือ 1700 จุด ซึ่งเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งและเป็นจุดที่เหมาะสมในการทยอยสะสม
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงเน้นไปที่หุ้น Domestic Play คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เป็นขาขึ้น บวกต่อ Spread และช่วยชดเชยผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ธุรกรรม on-line ที่ลดลง แนะนำ BBL (FV@B220) KBANK (FV@B227) และ TCAP (FV@B65)
กลุ่มค้าปลีก ได้อานิสงค์เทศกาลฟุตบอลโลก โดยเฉพาะหุ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภค แนะนำ BJC (FV@B69) และเก็งกำไร ROBINS (FV@B68) และธุรกิจสื่อนอกบ้าน PLANB ([email protected]) ซึ่งได้ประโยชน์จากการเป็นผู้นำสื่อนอกบ้านในช่วงที่เม็ดเงินโฆษณาช่วงฟุตบอลโลกถูกจำกัด รวมทั้ง MINT (FV@B51) ซึ่งมีธุรกิจร้านอาหาร จะได้ประโยชน์จากช่วงฟุตบอลโลกด้วย
ส่วนกลุ่มพลังงาน ราคาน้ำมันที่ผันผวนทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมันแกว่งตัว และมีโอกาสปรับลงในช่วงถัดไป ยกเว้น ราคาถ่านหินช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่น ทำระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกต่อผลการดำเนินการของกลุ่มถ่านหิน แนะนำ BANPU ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10114