WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
 
กลยุทธ์การลงทุน
  ปัญหาความขัดแย้งคาบสมุทรเกาหลีผ่อนคลายลง สหรัฐฯ-เกาหลีเหนือจับมือกัน ดีต่อเศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะจีน ซึ่งค้าขายหลักกับเกาหลีเหนือ แต่ปัญหาของตลาดหุ้นเอเซียยังมาจากเม็ดเงินไหลออก หลังสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยฯต่อเนื่อง จากเงินเฟ้อเร่งตัว หนุนให้ธนาคารกลางเอเชียขึ้นดอกเบี้ยตาม โดยไทยน่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ เพราะเงินเฟ้ออาจแตะ 2% ใน ก.ย.บวกต่อหุ้นธนาคาร Top picks BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) ยังชอบ BJC(FV@B69) และ PLANB([email protected]) ได้ประโยชน์กระแสบอลโลก
 
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ …..แรงซื้อหุ้นพลังงาน–แบงก์ หนุน SET Index ปิดบวก
  วานนี้ SET Index แกว่งในแดนบวกตลอดวัน โดยทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1,735.84 จุด ก่อนย่อตัวในช่วงท้ายตลาดลงมาปิดที่ 1,727.29 จุด เพิ่มขึ้น 4.18 จุด หรือ +0.24% มูลค่าการที่หนาแน่นขึ้น 5.08 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ได้แรงหนุนหลักมาหุ้นพลังงาน PTT (+1.48%) และ PTTEP (0.74%) ตามด้วยหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ (KBANK, BBL, SCB) และสุดท้ายคือหุ้นค้าปลีก ซึ่งได้อานิสงค์จากกระแสบอลโลกทั้งสิ้น คือ CPALL, HMPRO และ BJC ตรงข้ามหุ้น ICT ราคาย่อตัว (DTAC และ TRUE)  
  คาด SET Index ยังคงแกว่งผันผวน แนวรับ 1,710 จุด แนวต้าน 1,730 จุด โดยให้น้ำหนักกับเงินเฟ้อโลกที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ จากต้นทุนเชื้อเพลิง และความต้องการที่เพิ่มขึ้น จากการจ้างงานเต็มที่ และผลของเงินเฟ้อน่าจะหนุนให้เอเซียขึ้นดอกเบี้ยตามแต่ค่อยเป็นค่อยไป
 
เงินเฟ้อสหรัฐฯ พ.ค.สูงสุดในรอบ 6 ปี หนุน Fed อาจขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง 
  วานนี้สหรัฐรายงานเงินเฟ้อเดือน พ.ค. สูงถึง  2.8%yoy ทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ราว 2.7% หลักๆ มาจากการเพิ่มขึ้นจากหมวดพลังงาน 11.7%, เคหสถาน 3.5%, เครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น 1.4% เป็นต้น เป็นการตอกย้ำว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามแผนที่วางไว้ ซึ่งวันนี้เป็นวันที่สองของการประชุม Fed (12-13 มิ.ย.) แต่จะทราบผลราวตี 1 ของวันนี้  โดยตลาดคาด Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2.0% และแนวโน้มมีโอกาสขึ้นได้อีกอย่างน้อย 1 ครั้งภายในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ขึ้นกับเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้จะเร่งตัวขึ้นแตะ 3% หรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแผนการขึ้นดอกเบี้ยที่คาดว่าจะให้เป้าหมายสูงสุดที่ 3.5% ในปี 2563 อาจจะเกิดเร็วขึ้น 
 
  ขณะที่พรุ่งนี้ 14 มิ.ย. จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งน่าจะเริ่มส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินตึงตัว โดยการเลิกการใช้ QE ซึ่งจะสิ้นสุดตามแผนภายในปี 2561 และน่าจะขึ้นดอกเบี้ยในปี 2562 เพราะเงินเฟ้อเดือน พ.ค. อยู่ที่ 1.9% จาก 1.2% ใน เม.ย. แต่การขึ้นดอกเบี้ยอาจจะค่อยเป็นค่อยไปเพราะเศรษฐกิจประเทศสมาชิกยุโรปยังอ่อนแอ โดยเฉพาะในกลุ่ม PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์, อิตาลี กรีซ และสเปน)  
  และ 14-15 มิ.ย. การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น  คาดว่าน่าจะยังใช้นโยบายการเงินอ่อนตัวต่อเนื่องจนเดือน พ.ค. ปี 2562 (ใช้ QE ตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 80 ล้านล้านเยน) เพราะเงินเฟ้อยังถดถอยคือ 0.4% ในเดือน พ.ค. เทียบกับ 0.5% ใน เม.ย. และ 1% ใน มี.ค.  2561 
 
เงินเฟ้อไทยใกล้ 2% ใน ก.ย. หนุน กนง. ขึ้นดอกเบี้ย บวกต่อแบงก์ไทย  
  ปัญหาเงินเฟ้อน่าจะกระจายตัวไปทั่วโลกจากปัญหาต้นทุนน้ำมันที่ขยับขึ้นเหนือ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล นับจาก พ.ค. เป็นต้นมา  ประเทศในแถบเอเชียแม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยๆ แต่ก็หนีวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นไม่พ้น  สะท้อนจากประเทศเพื่อนบ้านได้นำร่องไปก่อนหน้า คือ  
  จีน ขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นไปตั้งแต่ ปี 2560 ราว 3 ครั้ง (แต่ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.35%)  
  ต้นปี 2561 มาเลเซียขึ้นดอกเบี้ยฯ  0.25% ที่ 3.25% (ครั้งแรกในรอบ 3 ปี)  
  กลาง พ.ค. 2561 ฟิลิปปินส์ขึ้นดอกเบี้ยฯ  (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี)  0.25% เป็น 3.25%  
  พ.ค. อินโดนีเซีย  ขึ้นดอกเบี้ยฯ ติดต่อกัน 2 ครั้ง ในเดือน พ.ค. รวม  0.5% เป็น 4.75% (ขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 ปี)  
  ปลาย พ.ค. อินเดีย ขึ้นดอกเบี้ยฯ  (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี)   0.25% เป็น 6.25%
  ขณะที่ไทย เชื่อว่าจะเป็นประเทศถัดไปที่จะขึ้นดอกเบี้ย เพราะเงินเฟ้อ เดือน พ.ค.ที่พุ่งขึ้น 1.49%yoy และคาดจะอยู่ที่ 1.72% ในเดือน มิ.ย. มีแนวโน้มแตะ 2% ใน ก.ย. 2561 ซึ่งภายใน 4Q61 กนง. น่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปีราว 0.25%  จากปัจจุบันที่  1.5% น่าจะดีต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ได้ประโยชน์จากรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ซึ่งหนุน Spread ชดเชยผลกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมที่ค่อยๆ ลดลงนับจาก 2Q61 ชอบ BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227
 
ต่างชาติยังขายหุ้นภูมิภาค ในกลุ่ม TIP ไทยถูกขายมากสุด
  วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ 1 วัน เช่นเดียวกับอินโดนีเซียหยุดทำการไปถึงวันที่ 19 มิ.ย. 61 ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 241 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันที่ถูกขายสุทธิ 117 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิวันเดียว) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 78 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 46 ล้านเหรียญ หรือ 1.66 พันล้านบาท (ขายสุทธิวันที่ 7 มีมูลค่ารวม 1.0 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.32 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิมาแล้วกว่า 13  วัน มีมูลค่ารวม 2.15 หมื่นล้านบาท)
  ทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 5.0 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) หนุน Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่ 2.78%
 
ความขัดแย้งคาบสมุทรเกาหลีจบลง...หนุนเศรษฐกิจเอเซียระยะยาว  
  วานนี้ การเจรจาสันติภาพระหว่างสหรัฐ-เกาหลีเหนือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หลังผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ลงนามในข้อตกลงร่วมกัน โดยเกาหลีเหนือให้คำมั่นว่าจะปลดนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ส่วนสหรัฐได้รับรองความปลอดภัยให้กับเกาหลีเหนือ รวมทั้งจะระงับการซ้อมรบระหว่างกองทัพสหรัฐ-เกาหลีใต้ และอาจจะถอนทหารออกจากคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นเสมือนหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งที่มีกันมายาวนานหลายสิบปีผ่อนคลายลง อีกทั้งยังเป็นนิมิตหมายอันดีที่สหประชาชาติและนานาประเทศจะยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับเกาหลีเหนือ ส่งผลบวกต่อการค้าโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย 
  เชื่อว่าประเทศที่น่าจะได้ประโยชน์ค่อนข้างชัดเจน คือ จีน ที่เป็นคู่ค้าหลักของเกาหลีเหนือ คิดเป็นสัดส่วนถึง 85% ของมูลค่าการค้ารวมของเกาหลีเหนือ โดยสินค้าหลักๆ ที่จีนส่งออกไปเกาหลีเหนือมากสุดคือ สิ่งทอ รองลงมาคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์ ขณะที่สินค้าที่จีนนำเข้าจากเกาหลีเหนือ คือ ถ่านหิน, สินแร่บุก, เครื่องนุ่งห่มรองเท้า และถั่ว
  ส่วนของไทย  คาดว่านาจะได้รับผลบวกในการลงนามในข้อตกลงครั้งนี้ ไทยเป็น 1 ในอีกหลายประเทศ ที่ต้องแสดงจุดยืนในการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือตามมติของ UN จึงทำให้ต้องระงับการส่งออกสินค้าจำพวกน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เหล็ก ตะกั่ว เป็นต้น นับตั้งแต่ปี 2549 และในปี 2560 ไทยได้ลดระดับการค้าเหลือเพียง 1.8 ล้านเหรียญ หรือ 0.00% ของมูลค่าการค้าของไทยทั้งหมด และสินค้าส่งออกที่ไทยยัง ส่งออกไปเกาหลีเหนือ จะเป็นสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา อาหารแปรรูป และผลไม้ ซึ่งหากการเจรจาครั้งนี้นำไปสู่การยกเลิกการคว่ำบาตรของนานาชาติ จะเป็นประโยชน์ทางอ้อมต่อไทยในการจะเปิดตลาดส่งออกใหม่ๆ กับเกาหลีเหนือ
  ถือเป็นประเด็นบวกช่วงสั้นต่อภาวะการลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยกดดันที่จะสร้างความผันผวนให้กับตลาดฯ ยังคงมีอยู่ จากประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน, EU, แคนาดา และเม็กซิโก ที่ยังคงต้องเจรจาเพื่อหาข้อสรุป อีกทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นของสหรัฐและมาตรการทางการเงินที่ตึงตัวของยุโรป กดดันให้กระแส Fund Flow ไหลออกจากภูมิภาค รวมทั้งไทย เนื่องจากใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวช้ากว่า แต่ก็เชื่อว่าไทยน่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 4Q61 ต่อจากหลายประเทศในภูมิภาค น่าจะช่วยลดกระแส Fund Flow ที่ไหลออกให้ชะลอลงในช่วงถัดไป
 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10005

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!