WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
 
“ลุ้นรีบาวด์...แต่ปัจจัยต่างประเทศยังกดดัน”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวันศุกร์ – SET Index ปรับลง 7.15 จุด ปิดที่ 1719.82 จุด สอดคล้องกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าซื้อขายปานกลาง 57.6 พันล้านบาท ปัจจัยต่างประเทศเป็นลบในเรื่องสงครามการค้าหลังสหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก อลูมิเนียมกับ แคนาดา เม็กซิโก และอียู ขณะที่ตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่าย (PCE) บ่งชี้เงินเฟ้อ กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยประชุม 12-13 มิ.ย.61 หุ้นพลังงานกลับถูกขายทำกำไร แต่กลุ่มหลัก เช่น ธนาคาร ดีดตัวสูงขึ้นได้ และเก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็กหุ้น SUPER ปรับลงแรงมาก ด้านผู้ขายสุทธิคือ หลักทรัพย์ 1.4 พันลบ. ด้านผู้ซื้อสุทธิคือ รายย่อย 0.9 พันลบ. สถาบัน 0.4 พันลบ.และต่างชาติ 0.1 พันลบ.
  แนวโน้มและกลยุทธ์–SET มีโอกาสจะรีบาวด์สอดคล้องกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ หลังปรับตัวลงลึก 71 จุด ตั้งแต่ต้น พ.ค.61 จน P/E เป็น 17.5เท่า แต่ปัจจัยต่างประเทศเป็นลบในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยประชุม 12-13 มิ.ย.61 นี้ หลังตัวเลขเศรษฐกิจการจ้างงาน อัตราค่าจ้าง และการผลิตยังร้อนแรง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ทยอยปรับขึ้นแล้ว ส่วนปัจจัยในประเทศเป็นบวกเรื่องเศรษฐกิจไทยดีเช่นเคย เงินเฟ้อ พ.ค.แม้สูง แต่ 2H61 มีโอกาสผ่อนลง อิทธิพล MSCI ถ่วงน้ำหนักตลาดไทยลงผ่อนคลาย หลังมีผลไปเมื่อปลายเดือนที่แล้ว คาดว่าดัชนีฯมีโอกาสอยู่ในลักษณะแกว่งแคบ เพราะปัจจัยต่างประเทศกดดัน ดอลลาร์แข็งค่า เงินไหลออก ไม่มีปัจจัยใหม่ๆ ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้แกว่งตัวแคบๆเป็นบวก ส่วนดาวโจนส์ล่วงหน้ากลับมารีบาวด์ 32 จุด ข่าวที่ยังต้องติดตามคือสหรัฐฯอาจปรับเพิ่มภาษีรถยนต์นำเข้า สงครามการค้า ทรัมป์กลับมาประชุมกับเกาหลี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี สถานการณ์ในประเทศระยะนี้ ปัจจัยบวกเป็นเรื่อง
  เศรษฐกิจไทยเติบโตดีเกินคาด ส่วนระยะกลาง-ยาวยังต้องติดตามเรื่องการกีดกันทางการค้าที่ไม่แน่นอน ค่าเงินบาทมีความผันผวนเทียบกับดอลลาร์มาก กระทบเงินไหลเข้า-ออก กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นหุ้นรายตัว (Selective Buy) ที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ มีแรงกระตุ้น (Catalyst) เฉพาะตัว ตามบทวิเคราะห์ DBS ได้ นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย เพือล็อคกำไร ลดความเสี่ยง ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1710-1740 จุด
  Update หุ้นเด่น : KBANK- ธนาคารยังคงให้ Guidance แบบอนุรักษ์นิยม ผู้บริหารกล่าวว่าผลกระทบการยกเลิกค่าธรรมเนียมดิจิตอลแบงค์กิ้งยังไม่เห็นในงบฯ 1Q61 แต่จะเห็นตั้งแต่ 2Q61 เป็นต้นไป คาดรายได้ค่าธรรมเนียมปีนี้จะหดตัว 8-6% การตั้งสำรองฯ 1Q61 ต่ำกว่าที่แบงค์ให้ Guidance ไว้ที่ 185bps คงตั้งเป้าสินเชื่อเติบโต 7- 5% แม้ว่า 1Q61 จะขยายเพียง 2% ก็ตาม ให้ราคาพื้นฐาน 225 บาท ราคาปิดมีส่วนเพิ่ม 15%
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯมีน้ำหนักเป็นการลง แต่มีสภาวะ Oversold & Divergence มีค่าบวก จึงอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนแล้วจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1730-1735, 1740 โดยมีแนวรับ 1710-1700 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1719 จุด
  สำหรับการ Scan หุ้นที่มีโอกาสทำ New high ที่เข้ามาใหม่เป็น KBANK, EPG, BAFS, WORK, GGC, M, VNT, D ที่ยังคงอยู่ใน List ได้แก่ SYNTEC, KTB, SEAFCO, HMPRO, TTCL, AP, EGCO, BEM, SAT, AUCT, BTSGIF หุ้นที่หลุด –ไม่มี- และที่ให้หาจังหวะTake profit BTS
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
-ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายตัวยังร้อนแรง เฟดมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ย
  # กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 188,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.8% ซึ่งเป็นระดับตํ่าสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2543 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะทรงตัวที่ระดับ 3.9%
  #ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 8 เซนต์/ชั่วโมง หรือ 0.3% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 0.1% ในเดือนเม.ย. และเพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 2.6% ในเดือนเม.ย.
  #ข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐ โดยผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM พุ่งขึ้นสู่ระดับ 58.7 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 57.3 ในเดือนเม.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะปรับตัวสู่ระดับ 58.4
- ดัชนีภาคการผลิต (PMI) สเปนและอิตาลีอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี
  #ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสเปน ปรับตัวลงสู่ระดับ 53.4 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จากระดับ 54.4 ในเดือนเม.ย. การปรับตัวลงของดัชนี PMI ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่การจ้างงานยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่บ้าง
  #ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอิตาลี ร่วงลงสู่ระดับ 52.7 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือน และต่ำกว่าระดับ 53.5 ในเดือนเม.ย.
+/• ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์สหรัฐกลับมาปรับเพิ่ม รับตัวเศรษฐกิจแข็งแกร่ง
  #ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ทะยาน 219.37 จุด หรือ 0.90% ปิดที่ 24,635.21 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 29.35 จุด หรือ 1.08% ปิดที่ 2,734.62 จุด ดัชนี Nasdaq บวก 112.21 จุด หรือ 1.51% ปิดที่ 7,554.33 จุด
  #ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ (1 มิ.ย.) ขานรับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่พุ่งเกินคาดในเดือนพ.ค. ขณะที่อัตราว่างงานก็ต่ำกว่าคาดการณ์
- น้ำมันปรับลง กังวลสหรัฐฯผลิตน้ำมันเพิ่ม
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 65.81 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 77 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 76.79 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (1 มิ.ย.) จากความวิตกเกี่ยวกับการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐ ซึ่งใกล้แตะระดับการผลิตของรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันมากที่สุดของโลกในขณะนี้
+/• สหรัฐฯกลับมาพร้อมประชุมกับเกาหลีเหนือ
  # นักลงทุนจับตาความคืบหน้าในการจัดการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำสหรัฐและเกาหลีเหนือ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณว่า มีความเป็นไปได้ที่การจัดการประชุมสุดยอดระหว่างตัวเขา และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ จะเกิดขึ้นในวันที่ 12 มิ.ย.ที่สิงคโปร์ ตามที่มีการกำหนดไว้ ขณะที่มีข่าวรัสเซียได้ไปพบกับเกาหลีเหนือก่อนแล้ว
  # เรื่องนี้มีผลกับ SET เพราะหากการประชุมมีความคืบหน้าที่จะบ่งชี้ว่า การเมืองระหว่างประเทศคลี่คลายไปในทางที่ดีก็จะเป็นบวกได้นั่นเอง
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับขึ้นอีก ดอลลาร์แข็งค่า
  # อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับขึ้นอีกเป็น 2.9177%
  # แต่ดอลลาร์สหรัฐกลับมามีแนวโน้มแข็งค่า ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเป็น 94.10 จุด ค่าเงินบาทเช้านี้แข็งค่าเป็น 32.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  # ดัชนีความกลัว (VIX) ล่าสุดลดลง 12.8% จากวันก่อนหน้าเป็น 13.46
• ทองคำปรับลง หันไปเก็งกำไรดอลลาร์ที่แข็งค่า
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 5.4 ดอลลาร์ หรือ 0.41% ปิดที่ 1,299.3 ดอลลาร์/ออนซ์
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (1 มิ.ย.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นหลังสหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่พุ่งเกินคาดในเดือนพ.ค. ขณะที่อัตราว่างงานก็ต่ำกว่าคาดการณ์
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหลักทรัพย์
-/• แม้อัตราเงินเฟ้อ พ.ค.สูง แต่แนวโน้ม 2H61 โตชะลอลง
  # ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค.2561 เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 1.49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 16 เดือน (นับตั้งแต่ ก.พ.60) โดยเป็นผลจากราคาพลังงานในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น 7.68% YoY ส่วนหนึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด หลังราคาน้ำมันดิบโลกเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้นใกล้ระดับ 80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล
  #หากในช่วงที่เหลือของปีนี้ (มิ.ย.-ธ.ค.) ราคาน้ำมันดิบโลกยังประคองตัวเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 70-80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา และค่าเงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับระดับปัจจุบันก็ยังจะเป็นปัจจัยส่งผลต่อราคาพลังงานในประเทศให้เพิ่มขึ้น แต่ด้วยฐานที่สูงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน (ไตรมาส 4/2560) จากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตและการทยอยปรับขึ้นของราคาพลังงานในประเทศตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ทยอยเร่งตัวขึ้น รวมถึงการพยุงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรของภาครัฐก็น่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline inflation) ในช่วงที่เหลือของปี 2561 ยังขยายตัวเป็นบวก แต่เป็นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือน พ.ค.61 (ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย)
  # ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจที่โตดีกว่าคาดประกอบกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นจากราคาพลังงาน โดยคาดว่า ปี 2561 เงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 1.0-4.0% ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นโจทย์ที่ยากขึ้นต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายทางการเงินในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 (ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย)
-NOBLE: แนวโน้มผลการดำเนินงานปีนี้แย่ลง แม้ทริสคงอันดับเครดิต
  # ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB" และคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดปัจจุบันของบริษัทที่ระดับ "BBB-" ในขณะเดียวกันยังจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 1,500 ล้านบาทของบริษัทที่ระดับ "BBB-" ด้วย โดยบริษัทจะนำเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ไปชำระคืนหุ้นกู้ชุดปัจจุบันบางส่วน
  # ผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2561 จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการส่งมอบยอดขายที่รอการรับรู้รายได้จำนวนมากในโครงการ Noble Revolve Ratchada II ทั้งนี้ ยอดขายที่รอการส่งมอบในปัจจุบันช่วยประกันรายได้ของบริษัทบางส่วนจำนวน 3,400-5,300 ล้านบาทต่อปีสำหรับช่วงปี 2561-2563 โดยรายได้ของบริษัทในช่วง 3 ปีข้างหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5,000-9,000 ล้านบาทต่อปีโดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากยูนิตที่เหลือขายในโครงการ Noble Ploenchit มูลค่าประมาณ 8,200 ล้านบาท
  # ผลกระทบ: เราคาดว่าผลการดำเนินงานปีนี้จะดูด้อยกว่าปีที่แล้วทุกไตรมาส เนื่องจากมีโนเบิลเพลินจิตโอนน้อย ต่างจากปี 60 ที่โอนมาก และทำให้รายได้ปี 60 สูงมากเป็น เป็น 9,677 ล้านบาทในปี 2560 จาก 4,503 ล้านบาทในปี 2559 คาดว่ากำไรปีนี้จะลดลง 40% y-o-y เป็น 1.2 พันล้านบาท จากรายได้ที่เป็นเพียง 6,728 ล้านบาท คำแนะนำคือ เต็มมูลค่า (Fully Valued) แม้ราคาหุ้นปรับลงมาลึกแล้ว แต่ก็ยังไม่น่าสนใจ
-/• SEAFCO หุ้นปันผลเข้าซื้อขายพรุ่งนี้
  # จำนวน 61.1 ล้านหุ้น เกิดจากการจ่ายปันผลเป็นหุ้น 10:1 สำหรับปันผลงวดสุดท้ายปี 60
  # ผลกระทบ: ระยะสั้นอาจเกิดแรงขาย เพราะนักลงทุนบางรายเห็นว่าได้มาแบบไม่คิดมูลค่า แต่หากราคาหุ้นปรับลงเป็นจังหวะซื้อ ให้ราคาพื้นฐานที่ 9.88 บาท (ติดตามบทวิเคราะห์ Compay Guide) ล่าสุด
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO9594

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!