WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BLSบล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
ภาพตลาดและแนวโน้ม 
Market relief 
          เมื่อวานหุ้นไทยภาคบ่ายเริ่มดีขึ้น จากข่าว ศาล รธน.ตีความ กม.ลูกเลือกตั้ง สส. ไม่ขัด รธน.หนุนโอกาสเดินหน้าเลือกตั้งสร้างความเชื่อมั่นต่อหุ้นกลุ่มบริโภคและการลงทุน บวกกับประเด็น "การเมืองอิตาลี" ข่าวพรรค 5 Star และพันธมิตรกลับมาพยายามจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งแทนการตั้งรัฐบาลรักษาการ (ยังเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะหากยังยืดเยื้อจะเริ่มลามไปถึงความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้)      
          วันนี้หลังจบการปรับพอร์ตตามน้ำหนักลงทุน MSCI EM (มีผล 31 พค.) คาดแรงขายต่างชาติที่เบาลงจะหนุนให้หุ้นไทยรีบาวด์ได้ง่ายขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์+3% d-d, US Bond yield 10 ปี ลงต่อมาแตะระดับ 2.84% 
          ระยะสัปดาห์ หลังจาก กม.ลูกเลือกตั้ง ผ่านครบหมดแล้ว เราเชื่อว่า ความหวังในการเลือกตั้งจะกลับมาหนุนความเชื่อมั่นของตลาดกลับคืนมา และตลาดหุ้นจะเล่นได้ดี ตลอดเดือน มิย. หนุนให้ตลาดหุ้นกลับขึ้นไปทดสอบแถว 1,800 จุด อีกครั้ง ด้านแรงขายปรับพอร์ตของนักลงทุนต่างชาติคาดว่าจะลดลงตั้งแต่สัปดาห์นี้ไป เมื่อ MSCI rebalance รอบเดือน พค.เสร็จสิ้นลง 
What to watch
          (-) ข่าวมาตรการกีดกันการค้า จีน-สหรัฐฯ ยังปรากฎตามสื่อต่างๆ เป็นระยะๆ: ทำเนียบขาวระบุ วันที่ 15 มิ.ย.นี้ สหรัฐจะเปิดเผยรายชื่อสินค้าจีนวงเงิน US$5 หมื่นล้าน ที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% (ที่มาอินโฟเควสท์, Money channel) 
          (+) เมื่อวานนี้ ศาล รธน.วินิจฉัย พรป. เลือกตั้ง สส. ไม่ขัดต่อ รธน.       
          (-/+) น้ำหนักหุ้นไทยใน MSCI EM คาดจะกระทบลดลงเล็กน้อย จากการปรับนำหนักรายไตรมาส ของ MSCI ซึ่งจะมีผลสิ้นเดือนนี้เป็นต้นไป: โดยปีนี้ตลาดหุ้นจีน กระดาน A-Shares จะมีน้ำหนักในดัชนีฯ MSCI EM เพิ่มขึ้นเป็น 0.82% ตามการปรับน้ำหนักหุ้น และการเพิ่มหุ้น เข้าคำนวณดัชนีฯ โดยน้ำหนักตลาดหุ้นจีน AShares จะเพิ่มครั้งละ 2.5% ในเดือน พค. และ สค.   
          (+) คาดหุ้นเข้าออก SET50 จะประกาศ ช่วงกลางเดือน มิย. โดยเราคาดว่าจะมีหุ้นเข้าใหม่ ได้แก่ BGRIM BLA DELTA ESSO GLOW KTC TOA และ หุ้นออก BCP CBG KCE KKP PSH TPIPP WHA ส่งผลให้ราคาหุ้นที่ถูกปรับ เพิ่ม/ถอด จะผันผวน ขึ้น/ลง ในระยะสั้น ตามการปรับพอร์ตของกองทุนที่อ้างอิงผลตอบแทนกับดัชนีฯ SET50  
          (*) จับตาการประชุมเฟด 14 มิย. นี้ ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% (กรอบล่าง 1.75-บน 2%) และคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยช่วงที่เหลือของปี (Dot plot) Consensus ยังคิดว่าปีนี้ เหลือขึ้นอีก 1 ครั้ง ในเดือน กย. 
หุ้นแนะนำวันนี้
LH วันนี้จะมีผลรวมคำนวณใน MSCI Thailand Standard index
CK STEC ดูรายงานวันนี้  เราปรับพอร์ตกลยุทธ์ประจำสัปดาห์โดยถอดหุ้น PTTEP ออกและเพิ่ม STEC เข้าไปแทน
รายงานวันนี้
JMT : Plenty room to grow 
          บริษัทวางแผนที่จะซื้อ secured mortgage NPL  7 พันล้านบาท (Face value) นอกเหนือจาก unsecured retail NPLs ที่ 4.5 หมื่นล้านบาทในปีนี้ เทียบกับปีที่แล้วที่เพียง 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดจะได้ส่วนลดจาก Face value สำหรับ secured NPLs 40% และ unsecured retail NPLs 95-97% นอกจากนั้นยังคาดการตามเก็บหนี้จะเติบโตมากกว่าปีที่แล้ว เป้าหมายทั้งการเพิ่มพอร์ตและการตามเก็บหนี้ของบริษัทสูงกว่าประมาณการของเรา หนุนให้มีอัพไซด์ในอนาคต เรายังคงคาดกำไรปีนี้เติบโต 34% ยังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 41.50 บาท    
Construction : Don't miss the train
          เราปรับคำแนะนำหุ้นกลุ่มรับเหมาขึ้นจาก UNDERWEIGHT เป็น OVERWEIGHT เนื่องจากเราเชื่อว่าถึงเวลาที่จะเข้าสะสมหุ้นในกลุ่ม ก่อนที่จะเริ่มมีการประมูลขนาดใหญ่จากทางภาครัฐออกมาในช่วงครึ่งปีหลัง ในด้านของ Valuation ยังเทรดอยู่ในระดับแค่ค่าเฉลี่ยระยะยาว PBV ในขณะที่สภาวะแบบนี้ควรที่จะเทรดระดับ +0.5-1 SD เหนือค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตามเราแนะนำขายทำกำไรในช่วงปลาย 4Q18 เนื่องจากโดยปกติแล้วการประมูลงานต่างๆ จะเงียบหายไปนับแต่การเลือกตั้งไป 6 เดือน เราชอบ STEC ที่สุดในกลุ่ม  
BTS : 4Q17 net profit met estimate; core earnings expansion ahead
          รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 2.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 462% YoY และ 178% QoQ หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรหลักอยู่ที่ 51 ล้านบาท ลดลง 88% YoY และ 93% QoQ กำไรสุทธิเป็นไปตามที่คาดในขณะที่กำไรหลักต่ำกว่าคาด จากค่าใช้ต่าย SG&A ที่สูงกว่าคาด และขาดทุนจาก JVs เรามองว่ากำไรหลักใน 1Q18 (เม.ย.-มิ.ย.) จะเติบโต YoY และ QoQ หนุนโดยธุรกิจขนส่ง, สื่อ, JV กลับมาเป็นกำไร และค่าใช้จ่ายที่กลับมาปกติ บริษัทประกาศจ่ายปันผล 0.185 บาท/หุ้น (ทั้งปี 0.35 บาท/หุ้น) คิดเป็นอัตราผลจอบแทนเงินปันผลที่ 2% เรายังคงคแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 11.70 บาท 
Quick Takes 
BGRIM : Increase investment in existing solar project      
          BGRIM ประกาศทำข้อตกลงซื้อหุ้น BGYSP อีก 51% จาก Yanhee Solar Power Co., Ltd ด้วยเม็ดเงินลงทุนจำนวน 600 ล้านบาท ซึ่งหลังจากดีลนี้แล้วเสร็จจะทำให้ BGRIM ถือครอง BGYSP (โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 59.7 เมกะวัตต์ เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนธ.ค. 2558) 100% เต็ม เบื้องต้นเราประเมินว่าดีลนี้จะทำให้ NAV ของ BGRIM เพิ่มขึ้น 0.3 บาท/หุ้น แม้สัดส่วนจากโครงการนี้จะไม่มาก ข่าวนี้แสดงให้เห็นว่า BGRIM มุ่งหน้าเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง        
RATCH :  Signing of Project Development Agreement for Xe Kong hydropower project 
          RATCH ประกาศเซ็นต์ข้อตกลงการพัฒนา Xe Kong hydropower project (XXHP) ซึ่ง BGRIM ถือหุ้น 20% โดยโครงการดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 340 เมกะวัตต์ ในประเทศลาว ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังการผลิตของ BGRIM 4% มูลค่าโครงการอยู่ที่ราว 835 ล้านเหรียญสหรัฐ เราคาด BGRIM จะต้องใช้เงินลงทุน 1.6 พันล้านบาท โดยการลงทุนครั้งนี้ถือว่าไม่มาก เนื่องจากคิดเป็นเพียง 9% ของเงินสดที่บริษัทมีในมือใน 1Q18 ที่ 17.6 พันล้านบาท แม้ยังไม่มีประกาศกำหนดเวลา COD เราประเมินว่าจะ COD ในปี 2024 และเบื้องต้นเราคาดโครงการนี้จะทำให้ NAV ของบริษัทเพิ่มขึ้น 0.7 บาท/หุ้น อย่างไรก็ตาม เรายังไม่ได้นำปัจจัยนี้มาคิดในประมาณการของเราจนกว่าจะทำการเซ็นต์ PPA 
EGCO  : Key takeaways from analyst meeting 
          เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ ข้อมูลจากที่ประชุมยืนยันมุมมองเชิงบวกที่เรามีต่อ EGCO เราคาดกำไรหลัก 2Q18 ของบริษัทจะชะลอตัว YoY เนื่องจากสัดส่วนกำไรจากสินทรัพย์ที่ขายใน 1Q18 ลดลง อย่างไรก็ตาม กำไiหลักมีแนวโน้มขยายตัว QoQ หนุนโดยปริมาณการผลิตใน Quezon (โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาด 460 เมกะวัตต์ในประเทศฟิลิปปินส์, บริษัทถือหุ้น 100%; คิดเป็น 11% ของกำลังการผลิตทั้งหมด) เพิ่มขึ้นหลังจากมีการหยุดซ่อมบำรุงใน 1Q18 บริษัทอยู่ในระหว่างศึกษาการขยายธุรกิจไฟฟ้าใน CLMV เช่น โรงไฟฟ้า Kwangji (โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาดใหญ่ในประเทศเวียดนาม) และโครงการพลังงานทดแทนขนาดใหญ่ในประเทศเวียดนาม อีกทั้ง EGCO สนใจในธุรกิจ LNG ด้วยหากมีโอกาสเข้ามา ด้วยมูลค่าหุ้นที่ต่ำที่สุดในกลุ่ม Utilities (PER ปี 2561 อยู่ที่เพียง 12.8 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 22.9 เท่า) เรายังคงแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 280 บาท
AH : Key takeaways from Opportunity Day
          บริษัทมองภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วง 2H18 จะยังเติบโตต่อเนื่องทั้งจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก โดยคาดว่ายอดการผลิตรถยนต์รวมของประเทศในปี 2018 จะอยู่ที่ 2.1 ล้านคัน ซึ่งสูงกว่าที่สภาอุตสาหกรรมประเมินไว้   ที่ 2 ล้านคัน ผลประกอบการในช่วงไตรมาส 2/61-4/61คาดว่าจะเติบโต YoY จากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และ economies of scale บริษัทได้รับคำสั่งซื้อชิ้นส่วนโมเดลรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเตรียม tooling โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในเดือน กันยายน 2562 บริษัทประเมินว่าสัดส่วนของรถยนต์ EV ในประเทศไทยจะทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีราคาแพง โดยปัจจุบันบริษัทมีการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ EV แล้ว และกำลังหาชิ้นส่วน EV อื่นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV ในอนาคต เราคาดว่าผลประกอบการของ AH จะเติบโต YoY ในทุกไตรมาส (แม้ในไตรมาส 2/61 นั้นจะปรับตัวลดลง QoQ เนื่องจาก seasonality) หนุนโดยยอดขายของรถยนต์ที่เติบโตตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และคำสั่งซื้อชิ้นส่วนใหม่รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นที่แข็งแกร่งขึ้นรวมถึงยังมีอัพไซด์ในระยะยาวจากการเข้าร่วมลงทุนกับ SGAH ปัจจุบันหุ้นซื้อขายกันอยู่ในระดับค่า PER ปี 2561 ที่ 10 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่เราวิเคราะห์ เรายังคงแนะนำ "ซื้อ"
หุ้นมีข่าว/ประเด็น 
(-) JAS ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พิพากษาให้ "แจส" ชำระหนี้แก่ "ชินฮาน แบงก์"มูลค่า 1,000 ล้านเยน หรือราว 290 ล้านบาท หลังศาลฎีกาพิพากษากลับไม่เห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการ และให้ยกเลิก การฟื้นฟูฯ ส่งผลให้เจ้าหนี้เสียหายจากถูกแฮร์คัท ขณะที่เจ้าหนี้อีก 2 ราย เลื่อนอ่าน ไปเดือนมิ.ย. และ ก.ค.2561 (ที่มา กรุงเทพธุกิจ) 
(+) BGRIM  ขยายธุรกิจต่างประเทศ ลุยโรงไฟฟ้าเวียดนาม และเกาหลีใต้ ดันสัดส่วนรายได้ 30% ภายใน 5 ปี คาดปีนี้รายได้มากกว่าเป้าหลังเข้าถือหุ้นโรงไฟฟ้าบริษัทลูกเพิ่ม พร้อมเดินหน้าทำความเข้าใจ นักเคราะห์มั่นใจโรงไฟฟ้านิคมฯลงทุนตามแผน (ที่มา กรุงเทพธุรกิจ) 
(+) EPG  แจ้ง กำไรสุทธิ 993 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กระทบกับรายได้จากการขายของกลุ่มธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และกลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ และประกาศจ่ายปันผล 0.15 บาทต่อหุ้น (ที่มา ผู้จัดการ) 
(*) สศอ.กำลังติดตามใกล้ชิดเกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าโดยเฉพาะกรณีเวียดนามที่ออกมาตรการควบคุมนำเข้ารถยนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกเอกสารรับรองรถยนต์นำเข้าจากประเทศผู้ส่งออกและการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ใหม่ที่นำเข้ามาจำหน่ายซึ่งหากไม่มีการแก้ไขระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อฐานการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยและอาจส่งผลให้ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนดำเนินมาตรการดังกล่าวตามได้ซึ่งคงจะไม่เป็นผลดีต่อการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน (ที่มา แนวหน้า)
          
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336  
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค 
ธนัท พจน์เกษมสิน,นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ 
นภนต์ ใจแสน, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน   
OO9465

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!