WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
กลยุทธ์การลงทุน
 
  คาดดัชนีฯ แกว่งตัวลงในกรอบ 1725-1740 จุด แรงกดดันจากหุ้นน้ำมัน PTTEP, PTT ตามราคาน้ำมันดูไบที่อาจหลุด 70 เหรียญ เพราะกังวลปริมาณผลิตน้ำมันโลกจะเพิ่มขึ้น แต่อาจจะได้แรงหนุนจากหุ้นแบงค์ เพราะเงินเฟ้อของไทยที่คาดว่าจะแตะ 2% จากต้นทุนน้ำมันหนุน Spread แบงค์ในช่วง 2H61 ชดเชยรายได้ non-interest income ที่หายไปบางส่วน ขณะที่ราคาหุ้นสะท้อนข่าวร้ายพอสมควร (ชอบ BBL, KBANK, TCAP, KKP) กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic Play เทน้ำหนักไปที่กลุ่มแบงค์ ก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง Top picks SCC(FV@B<span<; a=""> lang="TH" style="font-size:14.0pt;line-height:107%;font-family:'Cordia New',sans-serif">600)) และ BBL(FV@B<span<; a=""> lang="TH" style="font-size:14.0pt;line-height:107%;font-family:'Cordia New',sans-serif">220)  
 
ย้อนรอยหุ้นไทยวันวาน...หุ้นกลุ่ม ปตท. กดดันดัชนี
 
  วันจันทร์ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวัน และลงทดสอบแนวรับสำคัญที่ 1730 จุด ก่อนจะรีบาวด์ขึ้นมาปิดที่ 1734.54 จุด ลดลง 6.67 จุด (-0.38%) ด้วยมูลค่าการซื้อขายเพียง 5.08 หมื่นล้านบาท หุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ กดตลาดลงหนัก นำโดย PTT, PTTEP, PTTGC และหุ้นโรงไฟฟ้า BGRIM (-5.2%) ซึ่งฝ่ายวิจัยปรับลดมูลค่าหุ้นเหลือ 30.4 บาท (เดิม 33.5 บาท) สะท้อนการปรับลดประมาณการ ตามแผนการผลิตโรงไฟฟ้าที่หมดอายุ ซึ่งได้รับอนุมัติจาก EGAT ให้ต่ออายุน้อยกว่าที่คาด   ตรงกันข้ามหุ้นที่ปรับขึ้นสวนตลาดคือ กลุ่มธ.พ. (KBANK, BBL) ตามด้วยค้าปลีก (CPALL, MAKRO) อสังหาฯ (ANAN SIRI) และ โรงพยาบาล (BDMS, BCH)
 
  คาด SET Index ยังแกว่งตัวในกรอบแนวรับ 1,725 จุด แนวต้าน 1,740 จุด โดยยังให้น้ำหนักกับปัจจัยต่างประเทศ ทั้งการเมืองในอิตาลี ที่จะมีผลต่อค่าเงินยูโร ทิศทางราคาน้ำมันดูไบมีโอกาสลดลงต่ำกว่า 70 เหรียญฯ และ เงินเฟ้อโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ไทยอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้
 
อิตาลีมีความเสี่ยงจะออกจากยุโรป ยูโรอ่อน vs ดอลลาร์
 
  การเมืองโลกยังมีน้ำหนักกดดันตลาดหุ้นโลกอีกครั้ง โดยเฉพาะในอิตาลีหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลยังยืดเยื้อและไม่สำเร็จ และมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการเลือกตั้งใหม่อาจจะเกิดขึ้นภายในวันที่ 29 ก.ค.
 
  ทั้งนี้เพราะรัฐบาลผสมที่จัดตั้งใหม่มีแนวคิดที่จะถอนตัวออกจากยุโรป (Italexit) หลังจากอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ออกจากยุโรป (Brexit)ไปตั้งแต่ มิ.ย. 2559 (รายละเอียดใน Maret Talk วันจันทร์)
 
  ทั้งนี้เชื่อว่าทั้ง Italexit และ Brexit จะกดดันต่อการเติบโตเศรษฐกิจของยุโรป เนื่องจากอิตาลีเป็น 1 ในประเทศสมาชิกที่ใช้สกุลเงินยูโร (Single currency มี 19 ประเทศ VS อังกฤษใช้เงินปอนด์) และยังมีการค้าขายกับยุโรป 54%ของการค้าทั้งหมดของอิตาลี (VS อังกฤษค้าขายกับยุโรป 58%) และที่สำคัญคือมีปัญหาหนี้สินในต่างประเทศจำนวนมาก โดย อิตาลีเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่ประสบปัญหาทางการเงิน หรือกลุ่ม PIIGS โดยมีหนี้ต่างประเทศเทียบ GDP สูงที่สุดอันดับ 2 ของ EU ราว 134% รองจาก กรีซสูงสุด 177.4% ต่อ GDP
 
ความกังวลดังกล่าวทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปีของอิตาลีปรับเพิ่มขึ้น 2.93% (สูงสุดตั้งแต่กลางปี 2557) และกดดันให้ค่าเงินยูโรเทียบดอลลาร์อ่อนค่าลงราว 7.24%จากจุดสูงสุดในช่วง กลางเดือน เม.ย.2561 ส่งผลให้ค่าเงิน Dollar เดินหน้าแข็งค่าต่อเนื่องราว 6.9%ในช่วงเดียวกัน เป็นปัจจัยกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ และ น้ำมัน
 
ต่างชาติขายหุ้นไทย แต่สลับมาซื้อ Bond มากขึ้น
 
  วานนี้ตลาดหุ้นไทยและอินโดนีเซียหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันวิสาขบูชา ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคยังเปิดทำการเป็นปกติ แต่ถูกต่างชาติขายสุทธิทั้ง 3 ประเทศ กว่า 447 ล้านเหรียญ ได้แก่ เกาหลีใต้ 233 ล้านเหรียญ, ไต้หวัน 211 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ
 
  ส่วนวันจันทร์ที่ผ่านมา แม้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 53 ล้านเหรียญ แต่มี 2 ประเทศ ที่ถูกซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 69 ล้านเหรียญ และอินโดนีเซีย 37 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 60 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 8 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิมากสุดในภูมิภาคอีก 90 ล้านเหรียญ หรือ 2.89 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 8 วัน มีมูลค่ารวมสูงถึง 2.70 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.70 พันล้านบาท
 
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 อีก 4.82 พันล้านบาท กดดัน Bond Yield 10 ปี ย่อตัวลงเล็กน้อย ล่าสุด 2.85% และขึ้นนำ Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่วานนี้ปรับตัวลงแรงกว่า 14 bps. มาอยู่ที่ 2.78% เนื่องจากนักลงทุนหลีกเลี่ยงความผันผวนของตลาดหุ้นโลก และหันมาลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น
 
กลยุทธ์การลงทุน ยังเน้นหุ้น Domestic Play : SCC, BBL, BCH
 
  เชื่อว่า SET Index ยังเคลื่อนไหวในทิศทางแกว่งตัวลง ระยะสั้น ยังมีปัจจัยกดดันหลายประการ ดังนี้
 
  ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัวลงต่อ จากความกังวลกลุ่ม OPEC และรัสเซียเตรียมเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุม 22 มิ.ย. นี้ เพื่อชดเชยกำลังการผลิตของอิหร่านและเวเนซุเอลาที่จะหายไป จากการถูกสหรัฐคว่ำบาตร อีกทั้งจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่ปี 2015 และเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ามากขึ้น ยิ่งกดดันราคาน้ำมันดิบโลกให้ลดลง
 
  ประเด็นสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนเริ่มกลับมามีน้ำหนักอีกครั้ง ล่าสุด สหรัฐระบุว่าจะประกาศอัตราภาษีและประเภทสินค้าอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มิ.ย. ซึ่งคาดว่าจะขึ้นภาษีราว 25% กับสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยีและโทรคมนาคม (ซึ่งสหรัฐระบุว่าเข้าข่ายการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา) มูลค่ารวมราว 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะประกาศรายละเอียดการจำกัดการลงทุนของจีนในสหรัฐในวันที่ 30 มิ.ย.
 
  แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของไทยที่เร่งตัวเร็วกว่าคาด จากราคาน้ำมันที่ขยับตัวขึ้นสูงกว่าสมมติฐานราคาน้ำมันดิบที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 65 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล รวมทั้งเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้อัตราเงินเฟ้อของไทยมีโอกาสที่จะสูงกว่า 2% ภายในเดือน ก.ย. และอาจทำให้ กนง. มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิมจากที่คาดว่าจะเป็นช่วง 4Q61 หลังจากประเทศอื่น เช่น มาเลเซียขึ้นดอกเบี้ยไปเมื่อ ม.ค. 2561(ครั้งแรกในรอบ 3 ปี) และฟิลิปปินส์ขึ้นดอกเบี้ยฯ(ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) 0.25% เป็น 3.25% ไปเมื่อ กลางเดือน พ.ค. และ วันนี้ อินโดนีเซีย จัดการประชุมธนาคารกลางรอบพิเศษ คาดจะมีการขึ้นดอกเบี้ยฯอีก 25bps อยู่ที่ 4.75% (หลังจากที่ปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 ปี 25bps ไปเมื่อ 17 พ.ค.2561) เนื่องจากต้องการลดแรงกดดันจากค่าเงินรูเปียะห์ที่อ่อนค่า
 
  ประเด็นการเมืองในประเทศ วันนี้ (30 พ.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญจะมีการลงมติ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากผลออกมาว่าไม่ขัดฯ ก็จะดำเนินกระบวนลำดับต่อไปจะส่งร่างกฎหมายกลับไปที่รัฐบาลเพื่อเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ และหากทั้ง 2 ฉบับ(ส.ว. และ ส.ส.) สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันภายในเดือน มิ.ย.2561 ก็เชื่อว่าน่าจะสามารถลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ในเดือน ก.ย. 2561 และกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ได้ครบภายในเดือน ธ.ค.2561 และการเลือกตั้งน่าจะมีขึ้นในช่วง มี.ค. – พ.ค.2562 แต่หากการลงมติเป็นไปในเชิงลบ จะส่งผลต่อ SET Index ให้ปรับฐานลง
 
  จากปัจจัยกดดันต่างๆ ข้างต้น เชื่อว่าจะเป็น sentiment เชิงลบระยะสั้นต่อตลาดฯ โดยเฉพาะหุ้นที่มีต้นทุนพลังงานเป็นหลัก และหุ้นที่มีต้นทุนทางการเงินที่เป็นเงินกู้ยืมในระดับสูงหรือเป็นสกุลเงินต่างประเทศ กลยุทธ์การลงทุน แนะนำลงทุนในหุ้น PER ต่ำ - ปันผลสูง อาทิ SCC (FV@B<span<; a=""> lang="TH" style="font-size:14.0pt;line-height:107%;font-family:'Cordia New',sans-serif">600) คาดกำไร 2Q61 จะฟื้นตัว หนุนด้วยธุรกิจปิโตรเคมี และธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จากการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเงินปันผลจากธุรกิจลงทุน และ LH (FV@B<span<; a=""> lang="TH" style="font-size:14.0pt;line-height:107%;font-family:'Cordia New',sans-serif">13.40) ยอด Presale ยังจะคงสูงขึ้นจากการเปิดคอนโดฯ ใหม่ บวกกับการขายอพาร์ทเม้นท์สหรัฐ 1 แห่ง หนุนกำไรพิเศษปีนี้ และปันผลที่สูงถึง 7.3% (ราว 0.8 บาท)
 
  และหุ้นปลอดภัยที่มีความผันผวนต่ำ อย่างหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล BCH (FV@B<span<; a=""> lang="TH" style="font-size:14.0pt;line-height:107%;font-family:'Cordia New',sans-serif">19.30) แรงหนุนจากผู้ป่วยจีนที่กลับมาใช้บริการ World Medical หลังชะลอตัวใน 1Q61 ซึ่งตรงกับเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ การเปิดและขยายโรงพยาบาลใหม่รองรับฐานผู้ป่วยที่รักษาโรคยากใน Excellent Center ช่วยหนุนให้ทั้งรายได้และอัตรากำไรเพิ่มขึ้น
 
  ขณะที่แนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น ดีต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากจะทำให้ส่วนต่าง (spread) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิสูงขึ้น ช่วยชดเชยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลงอีกทั้งแนวโน้ม GDP Growth ปีนี้ของไทยที่มีการปรับประมาณการขึ้นเป็น 4.4% ช่วยหนุนให้การเติบโตของยอดสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้นักวิเคราะห์มีการปรับเพิ่มขึ้นหนักการลงทุนกลุ่มฯ ขึ้นเป็น “เท่าตลาด” จากเดิม “น้อยกว่าตลาด” แนะนำ BBL (FV@B<span<; a=""> lang="TH" style="font-size:14.0pt;line-height:107%;font-family:'Cordia New',sans-serif">220)
 
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
 
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
 
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
 
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
 
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
 
OO9385

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!