- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 17 May 2018 16:55
- Hits: 924
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
หุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบ 1744-1765 จุด แม้มีปัจจัยภายนอกกดดัน แต่ยังมีแรงหนุนรายตัวจากโครงการ EEC บวกต่อ WHA, AMATA และผู้รับเหมา CK, ITD, STEC รวมถึง IRPC จับมือ WHA พัฒนานิคมฯ ช่วยเพิ่ม NAV ทั้ง 2 บริษัท กลยุทธ์เน้นเลือกหุ้น Domestic Play โดยเฉพาะได้ประโยชน์จาก เช่น EEC (WHA, EASTW และ laggards : CK, ITD Top picks WHA([email protected]) และ LH([email protected])
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. เทขายกลุ่ม ICT-ค้าปลีก-SAWAD กดตลาดฯ ดิ่ง 16 จุด
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวัน และทำจุดต่ำสุดที่ 1747.32 จุด ก่อนจะขึ้นมาปิดที่ 1750.62 จุด ลดลงแรง 16.24 จุด หรือ 0.92% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 6.75 หมื่นล้านบาท มีแรงขายรายหุ้นรับงบ 1Q61 อย่าง SAWAD ซึ่งราคาหุ้นปรับตัวลงแรง 21.71% หลังรายงานกำไรสุทธิ 1Q61 หดตัวถึง 35.6% yoy ตามด้วยแรงขายกลุ่ม ICT (ADVANC TRUE DTAC) กลุ่มค้าปลีก (CPALL BEAUTY) อย่างไรก็ตามราคาหุ้นกลุ่มรับเหมาฯ รายใหญ่ (CK UNIQ STEC ITD) outperform ตลาดรับอานิสงค์ พรบ. EEC บังคับใช้แล้ว ส่วนกลุ่ม ธ.พ. ยังปรับตัวลงต่อเนื่อง
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1744-1765 จุด ยังให้น้ำหนักต่อหุ้นนิคม หลัง พ.ร.บ.EEC คืบหน้า และล่าสุด IRPC ร่วมทุน WHA พัฒนาที่ดินของ IRPC ที่มีในอดีต ช่วยเพิ่ม NAV ทั้ง 2 บริษัท ส่วนปัญหาการกีดกันการค้า และภูมิรัฐศาสตร์ยังหนุนราคาน้ำมันในระดับสูง
กนง. คงดอกเบี้ยตามคาด สวนทางสหรัฐฯยังขึ้นต่ออีก 1-2 ปี
ต่างประเทศยังให้น้ำหนักการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ยังอยู่ระหว่างจัดทำประชาพิจารณ์ของผู้ประกอบการในประเทศระหว่าง 15-22 พ.ค. จึงจะได้ข้อสรุปว่าจะมีการตอบโต้การค้าผ่านภาษีนำเข้าที่กำหนดไว้สูง 25% ว่ากระทบสินค้าประเภทใดบ้าง แม้ล่าสุดสหรัฐมีท่าทีผ่อนคลายลง หลังให้บริษัท ZTE (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมอันดับ 2 ของจีน) กลับดำเนินธุรกิจในสหรัฐได้ แต่มีเงื่อนจีนต้องยกเลิกการขึ้นภาษีสินค้าเกษตรจากสหรัฐ
ขณะที่ไทยผลการประชุม กนง. เป็นไปตามคาด คือคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ตามเดิมตั้งแต่ เม.ย. 2558 เนื่องจากยังกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ โดย ASPS คาดว่า กนง. จะยังดอกเบี้ยตลอด 1H61 และน่าจะปรับขึ้นอย่างเร็วคือ 4Q6 หรือ 1Q62 ขึ้นกับแนวโน้มเงินเฟ้อใน 2H61 ล่าสุด ขยายตัวเดือน เม.ย. อยู่ที่ 1% หรือเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 0.75%ytd (ASPS คาดทั้งปี 1.55%)
โดยรวมเป็นหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์ยังเดินหน้าแข็งค่าต่อเนื่องราว 4.2% จากจุดต่ำสุดกลางเดือน เม.ย.61 หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560 ตรงข้ามกับค่าเงินเอเชียอ่อนค่าต่อเนื่อง คือเงินบาทซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าเร็วกว่า ล่าสุด 32.03 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่ากว่า 11.73% นับจากปลายปี 2559 เช่นเดียวกับริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าลดลงเหลือราว 11.67% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้นรูเปียะห์อินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ยังอ่อนค่าอยู่ น่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61
ปัญหาแหล่งผลิตน้ำมัน หนุนราคาน้ำมันขึ้นต่อ
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ที่ 1.4 ล้านบาร์เรล (มากกว่าตลาดคาดลดลง 7.63 แสนบาร์เรล) ผลจากการนำเข้าน้ำมันลดลงราว 4.11 แสนบาร์เรล/วัน แต่ส่งออกทำระดับสูงสุดอยู่ที่ 2.6 ล้านบาร์เรล/วัน และโรงกลั่นมีการผลิตเพิ่มเนื่องจากใกล้เข้าสู่ฤดูกาลขับขี่ ขณะที่ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ สะท้อนสหรัฐเพิ่มหลุมขุดเจาะมาที่ที่ 844 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐ ล่าสุด ขึ้นมาที่ 10.7 ล้านบาร์เรล/วัน(อันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย) และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้
อย่างไรก็ตามปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง และการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐต่ออิหร่าน (กำลังการผลิตราว 3.75 ล้านบาร์เรลหรือ 11.7%ของกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC ทั้งหมด) ในรอบนี้ (มีผลในอีก 180 วัน หรือภายใน 4 พ.ย. 2561) สร้างความกังวล Supply น้ำมันจะหายไป แต่ค่าเงิน Dollar ยังแข็งค่าต่อเนื่องน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ให้แกว่งตัวบริเวณ 70 เหรียญฯ (ytd 65เหรียญฯ) ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันทุกตัวล้วนมี Upside จำกัดทั้ง PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@B54) จึงแนะนำ Switch ไป BANPU([email protected]) ซึ่งราคายัง laggards
ต่างประเทศยังให้น้ำหนักการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ยังอยู่ระหว่างจัดทำประชาพิจารณ์ของผู้ประกอบการในประเทศระหว่าง 15-22 พ.ค. จึงจะได้ข้อสรุปว่าจะมีการตอบโต้การค้าผ่านภาษีนำเข้าที่กำหนดไว้สูง 25% ว่ากระทบสินค้าประเภทใดบ้าง แม้ล่าสุดสหรัฐมีท่าทีผ่อนคลายลง หลังให้บริษัท ZTE (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมอันดับ 2 ของจีน) กลับดำเนินธุรกิจในสหรัฐได้ แต่มีเงื่อนจีนต้องยกเลิกการขึ้นภาษีสินค้าเกษตรจากสหรัฐ
ขณะที่ไทยผลการประชุม กนง. เป็นไปตามคาด คือคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ตามเดิมตั้งแต่ เม.ย. 2558 เนื่องจากยังกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ โดย ASPS คาดว่า กนง. จะยังดอกเบี้ยตลอด 1H61 และน่าจะปรับขึ้นอย่างเร็วคือ 4Q6 หรือ 1Q62 ขึ้นกับแนวโน้มเงินเฟ้อใน 2H61 ล่าสุด ขยายตัวเดือน เม.ย. อยู่ที่ 1% หรือเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 0.75%ytd (ASPS คาดทั้งปี 1.55%)
โดยรวมเป็นหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์ยังเดินหน้าแข็งค่าต่อเนื่องราว 4.2% จากจุดต่ำสุดกลางเดือน เม.ย.61 หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560 ตรงข้ามกับค่าเงินเอเชียอ่อนค่าต่อเนื่อง คือเงินบาทซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าเร็วกว่า ล่าสุด 32.03 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่ากว่า 11.73% นับจากปลายปี 2559 เช่นเดียวกับริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าลดลงเหลือราว 11.67% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้นรูเปียะห์อินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ยังอ่อนค่าอยู่ น่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61
ปัญหาแหล่งผลิตน้ำมัน หนุนราคาน้ำมันขึ้นต่อ
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ที่ 1.4 ล้านบาร์เรล (มากกว่าตลาดคาดลดลง 7.63 แสนบาร์เรล) ผลจากการนำเข้าน้ำมันลดลงราว 4.11 แสนบาร์เรล/วัน แต่ส่งออกทำระดับสูงสุดอยู่ที่ 2.6 ล้านบาร์เรล/วัน และโรงกลั่นมีการผลิตเพิ่มเนื่องจากใกล้เข้าสู่ฤดูกาลขับขี่ ขณะที่ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ สะท้อนสหรัฐเพิ่มหลุมขุดเจาะมาที่ที่ 844 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐ ล่าสุด ขึ้นมาที่ 10.7 ล้านบาร์เรล/วัน(อันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย) และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้
อย่างไรก็ตามปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง และการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐต่ออิหร่าน (กำลังการผลิตราว 3.75 ล้านบาร์เรลหรือ 11.7%ของกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC ทั้งหมด) ในรอบนี้ (มีผลในอีก 180 วัน หรือภายใน 4 พ.ย. 2561) สร้างความกังวล Supply น้ำมันจะหายไป แต่ค่าเงิน Dollar ยังแข็งค่าต่อเนื่องน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ให้แกว่งตัวบริเวณ 70 เหรียญฯ (ytd 65เหรียญฯ) ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันทุกตัวล้วนมี Upside จำกัดทั้ง PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@B54) จึงแนะนำ Switch ไป BANPU([email protected]) ซึ่งราคายัง laggards
WHA/IRPC จับมือทำนิคมฯ...Win-Win ทั้งคู่
WHA เปิดเผยบริษัทย่อย คือ บมจ.ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ (เดิมคือ บมจ.เหมราชพัฒนาที่ดิน WHA ถือหุ้น 98.90%) ร่วมทุนกับ IRPC โดย WHA ถือหุ้นบริษัทใหม่ 60% และ IRPC 40% เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมบริเวณอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง พื้นที่ 2,152 ไร่ โดยคาดจะจัดตั้งแล้วเสร็จภายใน 3Q61 ทุนจดทะเบียน 650 ล้านบาท
ถือเป็นประเด็นบวกต่อทุกฝ่าย โดย IRPC (ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว) จะขายที่ดินให้กับบริษัทร่วมทุนในราคาใกล้เคียงทุน คาดได้กำไรราว 50 ล้านบาท ซึ่งจะบันทึกในงวด 2Q61 หรือ 3Q61 ส่วน WHA จะมีที่ดินในพื้นที่ EEC เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 9,000 ไร่ เป็น 11,152 ไร่ และคาดว่า WHA จะนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนารองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า เพราะที่ดินที่นิคมฯ เหมราช (มาบตาพุด) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเหล่านี้ มีที่ดินเหลือเพื่อขายไม่ถึง 100 ไร่ นอกจากนี้ WHA จะสร้างระบบสาธารณูปโภค เพื่อจำหน่ายน้ำดิบและน้ำเพื่ออุตสาหกรรม ป้อนสู่โรงงานในนิคมฯ ต่อยอดขายน้ำแก่ WHA ในอนาคต
เชื่อว่า WHA จะศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) และยื่นต่อคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษตะวันออก เพื่อขอให้ยกระดับนิคมฯ แห่งนี้ เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมจากก่อนหน้า 9 โครงการ ซึ่งจะทำให้ราคาประเมินของที่ดินดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นในอนาคคต ทั้งนี้เมื่อประเมินมูลค่าส่วนเพิ่ม (NAV) ต่อ IRPC และ WHA ภายใต้สมมติฐาน ต้นทุนพัฒนาที่ดินไร่ละ 2.0 ล้านบาท และราคาขายไร่ละ 4 ล้านบาท โดยให้เริ่มขายได้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นระยะเวลา 5 ปี (เฉลี่ยปีละ 430 ไร่) โดยกำหนดให้ราคาขายและต้นทุนพัฒนาเพิ่มขึ้นปีละ 5% ซึ่ง จะทำให้ได้ NAV เพิ่มกับ IRPC([email protected]) ราว 0.06 บาทต่อหุ้น และ WHA([email protected]) 0.12 บาทต่อหุ้น หรือเพิ่มขึ้นมูลค่าหุ้น 0.87% และ 2.5% จากมูลค่าปัจจุบันทำให้ WHA มีความน่าสนใจมากอยู่
WHA เปิดเผยบริษัทย่อย คือ บมจ.ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ (เดิมคือ บมจ.เหมราชพัฒนาที่ดิน WHA ถือหุ้น 98.90%) ร่วมทุนกับ IRPC โดย WHA ถือหุ้นบริษัทใหม่ 60% และ IRPC 40% เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมบริเวณอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง พื้นที่ 2,152 ไร่ โดยคาดจะจัดตั้งแล้วเสร็จภายใน 3Q61 ทุนจดทะเบียน 650 ล้านบาท
ถือเป็นประเด็นบวกต่อทุกฝ่าย โดย IRPC (ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว) จะขายที่ดินให้กับบริษัทร่วมทุนในราคาใกล้เคียงทุน คาดได้กำไรราว 50 ล้านบาท ซึ่งจะบันทึกในงวด 2Q61 หรือ 3Q61 ส่วน WHA จะมีที่ดินในพื้นที่ EEC เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 9,000 ไร่ เป็น 11,152 ไร่ และคาดว่า WHA จะนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนารองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า เพราะที่ดินที่นิคมฯ เหมราช (มาบตาพุด) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเหล่านี้ มีที่ดินเหลือเพื่อขายไม่ถึง 100 ไร่ นอกจากนี้ WHA จะสร้างระบบสาธารณูปโภค เพื่อจำหน่ายน้ำดิบและน้ำเพื่ออุตสาหกรรม ป้อนสู่โรงงานในนิคมฯ ต่อยอดขายน้ำแก่ WHA ในอนาคต
เชื่อว่า WHA จะศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) และยื่นต่อคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษตะวันออก เพื่อขอให้ยกระดับนิคมฯ แห่งนี้ เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมจากก่อนหน้า 9 โครงการ ซึ่งจะทำให้ราคาประเมินของที่ดินดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นในอนาคคต ทั้งนี้เมื่อประเมินมูลค่าส่วนเพิ่ม (NAV) ต่อ IRPC และ WHA ภายใต้สมมติฐาน ต้นทุนพัฒนาที่ดินไร่ละ 2.0 ล้านบาท และราคาขายไร่ละ 4 ล้านบาท โดยให้เริ่มขายได้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นระยะเวลา 5 ปี (เฉลี่ยปีละ 430 ไร่) โดยกำหนดให้ราคาขายและต้นทุนพัฒนาเพิ่มขึ้นปีละ 5% ซึ่ง จะทำให้ได้ NAV เพิ่มกับ IRPC([email protected]) ราว 0.06 บาทต่อหุ้น และ WHA([email protected]) 0.12 บาทต่อหุ้น หรือเพิ่มขึ้นมูลค่าหุ้น 0.87% และ 2.5% จากมูลค่าปัจจุบันทำให้ WHA มีความน่าสนใจมากอยู่
ต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค แต่สลับซื้อหุ้นไทย
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยแรงขายที่ลดลงเหลือเพียง 50 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 83 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 50 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 17) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ส่วนอีก 2 ตลาดสลับมาซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยสลับมาซื้อสุทธิ 66 ล้านเหรียญ หรือ 2.13 พันล้านบาท ต่างกับสถาบันในประเทศขายสุทธิ 1.57 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามวานนี้มีการซื้อขาย Big Lot หุ้น JASIF สูงถึง 5.67 พันล้านบาท (540 ล้านหุ้น คิดเป็นเกือบ 10% ของทุนจดทะเบียน) หากหักรายการนี้ออก ต่างชาติอาจมีสถานะซื้อสุทธิน้อยลงหรือขายสุทธิได้ รวมถึงสถาบันฯอาจมีสถานะขายสุทธิมากกว่าที่เห็น
อย่างไรก็ตามคาดว่า Fund Flow ยังมีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น อาทิ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เนื่องจากผล ตอบแทนที่เริ่มจูงใจ โดยล่าสุด Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ อยุ่ที่ 3.10% (สูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี) ขณะเดียวกัน Bond Yield 10 ปี ของไทยก็ขยับขึ้นตามมาอยู่ที่ 2.74% (สูงสุดในรอบ 1 ปี)
กำไรตลาด 1Q61 ดีกว่าคาด...2Q61 อาจอ่อนตัว
ภาพรวมผลประกอบการ 1Q61 มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบทั้งสิ้น 543 บริษัท คิดเป็น 97% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.85 แสนล้านบาท นับเป็นฐานกำไรที่ดีกว่าคาด และใกล้เคียงกับงวด 1Q60 ที่มีกำไรสุทธิรวม 2.88 แสนล้านบาท และดีกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.55 แสนล้านบาท หากพิจารณาเฉพาะ Real Sector พบว่า กำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 2.18 แสนล้านบาท น้อยกว่า 1Q60 ที่ 2.25 แสนล้านบาท แต่ดีกว่า 4Q60 ที่ 2.04 แสนล้านบาท
กลุ่มฯ ที่ผลประกอบการเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ พลังงาน, ธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจการเงิน, ประกันฯ, โรงพยาบาล, ขนส่ง, ยานยนต์, เหล็ก, เกษตร
กลุ่มที่กำไรเติบโต yoy แต่หดตัว qoq คือ ค้าปลีก, ปิโตรฯ, ท่องเที่ยว
กลุ่มที่กำไรเติบโต qoq แต่หดตัว yoy คือ ICT, วัสดุก่อสร้าง, รับเหมาฯ, อาหาร, บันเทิง
กลุ่มที่กำไรหดตัวทั้ง yoy และ qoq คือ อสังหาฯ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ 2Q61 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง qoq เนื่องจากหลายกลุ่มฯ ที่มี Market Cap ใหญ่ มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ชะลอตัวลง อาทิ
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (ผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง รวมทั้งการตั้งสำรองหนี้ฯ ใน ธ.พ. ที่ยังมีภาระเหลืออยู่ รวมทั้งการเร่งตัวของค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนด้านระบบ IT ที่เพิ่มขึ้น),
กลุ่มค้าปลีก (ภาวะการแข่งขันสูงในกลุ่มร้านค้าปลีกรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตที่จัดแคมเปญลดราคา), กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม (เข้าสู่ช่วง low season ของฤดูกาลท่องเที่ยว)
สายการบิน (เข้าสู่ช่วง low season ของฤดูกาลท่องเที่ยว และถูกกดดันจากต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้น)
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง-รับเหมาก่อสร้าง (เป็นช่วง low season เนื่องจากมีช่วงวันหยุดเทศกาลต่อเนื่องหลายวัน)
ยกเว้นเพียง กลุ่ม ICT ที่คาดผลการดำเนินงานทรงตัว หรืออาจดีขึ้นเล็กน้อย, กลุ่มพลังงาน ที่น่าจะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันดิบโลกไตรมาส 2 ที่ทรงตัวในระดับสูง และกลุ่มส่งออก (ชิ้นส่วนฯ และอาหาร) ที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลส่งออก และได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่า
อย่างไรก็ตาม แม้คาดผลประกอบการ 2Q61 อาจไม่สดใสดังกล่าว แต่กำไรฯ 1Q61 ที่ออกมาคิดเป็นสัดส่วนกว่า 26% ของประมาณการฯ ทั้งปีที่ 1.09 ล้านล้านบาท จึงยังคงประมาณการฯ ไว้ก่อน ขณะที่ระดับดัชนีปัจจุบัน มี Expected P/E อยู่ที่ราว 16 เท่า ต่ำกว่าตลาดหุ้นภูมิภาคอย่าง มาเลเซียที่ 16.53 เท่า, ฟิลิปปินส์ 17.80 เท่า แต่สูงกว่าอินเดีย 15.60 เท่า อินโดนีเซีย 14.93 เท่า และสูงกว่าจีนค่อนข้างมาก 12.56 เท่า บวกกับการที่หุ้นจีนถูกเข้าคำนวณใน MSCI จำนวนมาก จึงทำให้ความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทยดูน้อยลงไป
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
OO8905
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยแรงขายที่ลดลงเหลือเพียง 50 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 83 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 50 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 17) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ส่วนอีก 2 ตลาดสลับมาซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยสลับมาซื้อสุทธิ 66 ล้านเหรียญ หรือ 2.13 พันล้านบาท ต่างกับสถาบันในประเทศขายสุทธิ 1.57 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามวานนี้มีการซื้อขาย Big Lot หุ้น JASIF สูงถึง 5.67 พันล้านบาท (540 ล้านหุ้น คิดเป็นเกือบ 10% ของทุนจดทะเบียน) หากหักรายการนี้ออก ต่างชาติอาจมีสถานะซื้อสุทธิน้อยลงหรือขายสุทธิได้ รวมถึงสถาบันฯอาจมีสถานะขายสุทธิมากกว่าที่เห็น
อย่างไรก็ตามคาดว่า Fund Flow ยังมีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น อาทิ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เนื่องจากผล ตอบแทนที่เริ่มจูงใจ โดยล่าสุด Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ อยุ่ที่ 3.10% (สูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี) ขณะเดียวกัน Bond Yield 10 ปี ของไทยก็ขยับขึ้นตามมาอยู่ที่ 2.74% (สูงสุดในรอบ 1 ปี)
กำไรตลาด 1Q61 ดีกว่าคาด...2Q61 อาจอ่อนตัว
ภาพรวมผลประกอบการ 1Q61 มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบทั้งสิ้น 543 บริษัท คิดเป็น 97% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.85 แสนล้านบาท นับเป็นฐานกำไรที่ดีกว่าคาด และใกล้เคียงกับงวด 1Q60 ที่มีกำไรสุทธิรวม 2.88 แสนล้านบาท และดีกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.55 แสนล้านบาท หากพิจารณาเฉพาะ Real Sector พบว่า กำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 2.18 แสนล้านบาท น้อยกว่า 1Q60 ที่ 2.25 แสนล้านบาท แต่ดีกว่า 4Q60 ที่ 2.04 แสนล้านบาท
กลุ่มฯ ที่ผลประกอบการเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ พลังงาน, ธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจการเงิน, ประกันฯ, โรงพยาบาล, ขนส่ง, ยานยนต์, เหล็ก, เกษตร
กลุ่มที่กำไรเติบโต yoy แต่หดตัว qoq คือ ค้าปลีก, ปิโตรฯ, ท่องเที่ยว
กลุ่มที่กำไรเติบโต qoq แต่หดตัว yoy คือ ICT, วัสดุก่อสร้าง, รับเหมาฯ, อาหาร, บันเทิง
กลุ่มที่กำไรหดตัวทั้ง yoy และ qoq คือ อสังหาฯ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ 2Q61 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง qoq เนื่องจากหลายกลุ่มฯ ที่มี Market Cap ใหญ่ มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ชะลอตัวลง อาทิ
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (ผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง รวมทั้งการตั้งสำรองหนี้ฯ ใน ธ.พ. ที่ยังมีภาระเหลืออยู่ รวมทั้งการเร่งตัวของค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนด้านระบบ IT ที่เพิ่มขึ้น),
กลุ่มค้าปลีก (ภาวะการแข่งขันสูงในกลุ่มร้านค้าปลีกรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตที่จัดแคมเปญลดราคา), กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม (เข้าสู่ช่วง low season ของฤดูกาลท่องเที่ยว)
สายการบิน (เข้าสู่ช่วง low season ของฤดูกาลท่องเที่ยว และถูกกดดันจากต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้น)
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง-รับเหมาก่อสร้าง (เป็นช่วง low season เนื่องจากมีช่วงวันหยุดเทศกาลต่อเนื่องหลายวัน)
ยกเว้นเพียง กลุ่ม ICT ที่คาดผลการดำเนินงานทรงตัว หรืออาจดีขึ้นเล็กน้อย, กลุ่มพลังงาน ที่น่าจะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันดิบโลกไตรมาส 2 ที่ทรงตัวในระดับสูง และกลุ่มส่งออก (ชิ้นส่วนฯ และอาหาร) ที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลส่งออก และได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่า
อย่างไรก็ตาม แม้คาดผลประกอบการ 2Q61 อาจไม่สดใสดังกล่าว แต่กำไรฯ 1Q61 ที่ออกมาคิดเป็นสัดส่วนกว่า 26% ของประมาณการฯ ทั้งปีที่ 1.09 ล้านล้านบาท จึงยังคงประมาณการฯ ไว้ก่อน ขณะที่ระดับดัชนีปัจจุบัน มี Expected P/E อยู่ที่ราว 16 เท่า ต่ำกว่าตลาดหุ้นภูมิภาคอย่าง มาเลเซียที่ 16.53 เท่า, ฟิลิปปินส์ 17.80 เท่า แต่สูงกว่าอินเดีย 15.60 เท่า อินโดนีเซีย 14.93 เท่า และสูงกว่าจีนค่อนข้างมาก 12.56 เท่า บวกกับการที่หุ้นจีนถูกเข้าคำนวณใน MSCI จำนวนมาก จึงทำให้ความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทยดูน้อยลงไป
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
OO8905