- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 16 May 2018 17:47
- Hits: 873
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET Index น่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1755-1775 จุด มีแรงหนุนในประเทศหลัง พรบ.EEC มีผลบังคับใช้แล้ว บวกต่อ WHA, AMATA และรับเหมาก่อสร้าง CK, STEC, ITD แต่ถูกกดดันจาก Fund flow ไหลออก และแรงขายรับงบ 1Q61 ยังมีอยู่ กลยุทธ์เน้นเลือกหุ้น Domestic Play 1) ประโยชน์จาก EEC (WHA, EASTW) และ 2) ผันผวนน้อย มี P/E ต่ำ ปันผลสูง (QH, LH, BBL) Top picks WHA([email protected]) และ LH([email protected]) ซึ่ง ASPS เพิ่งปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น สะท้อน margin ที่ดีขึ้น และรับรู้กำไรจากการขายสินทรัพย์ในสหรัฐ
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้…. ขายหุ้นใหญ่ กดดัชนีปิดลบ 6 จุด
วานนี้ดัชนีแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวัน และปิดตลาดที่ 1,766.86 จุด ลดลง 6.24 จุด (-0.35%) พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายกว่า 6.01 หมื่นล้านบาท โดยยังคงมีแรงขายรับงบ 1Q61 ซึ่งน่าจะสิ้นสุดการรายงานในสัปดาห์นี้ หุ้นำลงคือ CPALL, PTT, IVL และ KTC (มีมติแตกพาร์จาก 10 บาท เหลือ 1บาท) ที่อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตามตลาดได้แรงหนุนจากหุ้นรายตัว ที่กำไรดีกว่าคาด เริ่มจาก BDMS กำไรเติบโตสูง 48%yoy เพราะเกิดโรคระบาดและจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ตามด้วยหุ้น CPF มีประเด็นใหม่จากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ คือ ราคาหมูมีแนวโน้มดีขึ้นใน 3-6 เดือนข้างหน้าทั้งในเวียดนาและไทย เพราะปริมาณเลี้ยงที่ลดลง และ หุ้นขนส่ง BEM และ BTS ปรับขึ้น 2 วันติดต่อกัน
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1755-1775 จุด โดยน้ำหนักกับการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง ยืนยันการขึ้นดอกเบี้ยในอีก 1-2 ปีข้างหน้า และหุ้นนิคมฯ น่าจะเดินหน้าต่อ หลังรัฐประกาศใช้ พรบ. EEC อย่างเป็นทางการ ดึงเงินเม็ดเงิน FDI
เศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง หนุนดอกเบี้ยขาขึ้น 1-2 ปี
สหรัฐยังคงรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยเฉพาะฝั่งการบริโภคครัวเรือน ซึ่งคิดเป็นราว 69% ของ GDP ล่าสุด พบว่า ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. ยังเพิ่มติดเป็นเดือน 2 ที่ 0.3%mom หรือ 4.7%yoy (จาก 0.8% mom หรือ 4.6%yoy ในเดือนก่อน มี.ค.) และเช่นเดียวกับดัชนีภาคการผลิต เดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกันอยู่ที่ 20 จุด มากกว่าตลาดคาด 15.5 (จาก 30% mom หรือ 22%yoy เดือน มี.ค.) หนุนความเชื่อมั่นว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อยอีก 2 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ในปีนี้ และขึ้นอีก 3 ครั้งปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 จะทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2563 จะอยู่ที่ 3.5%
อย่างไรก็ตาม สหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาดหรือไม่ ขึ้นกับ แนวโน้มเงินเฟ้อ ล่าสุด พุ่งขึ้นอยู่ที่ 2.5% โดยมีแรงกดดันจาก Demand pull เพราะการจ้างงานเต็มที่ (อัตราการว่างงาน ล่าสุด ต่ำสุด 3.9%) และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น (cost push) โดยรวมเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์ยังเดินหน้าแข็งค่าต่อเนื่องราว 4.2% จากจุดต่ำสุดกลางเดือน เม.ย.61 หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560 ตรงข้ามกับค่าเงินเอเชียที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง คือ เงินบาทซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าเร็วกว่า ล่าสุด 32.13 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่ากว่า 11.73% นับจากปลายปี 2559 หรือกว่า 2 ปี (อยู่ที่ 36.4 บาท เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2558) เช่นเดียวกับริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าลดลงเหลือราว 11.67% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้นรูเปียะห์อินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ยังอ่อนค่าอยู่ น่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61
คาดกนง. ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำจนถึงสิ้นปีนี้
การประชุม กนง. วันนี้ ASPS คาดยังคงดอกเบี้ยนโยบายตามเดิมที่ 1.5% (ตั้งแต่ เดือนเม.ย.58) เนื่องจากเงินเฟ้อไทยยังต่ำ ล่าสุดเดือน เม.ย.อยู่ที่ 1.07%yoy(เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 0.75%yoy) และ ทั้งปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.55% (ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย 65 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนที่ 33 บาทต่อดอลลาร์) สภาพคล่องในระบบยังสูงราว 6.57 แสนล้านบาท ทำให้ยังไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยฯ คาดอย่างเร็วคือ 4Q61หรือ 1Q62
ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย เริ่มมีการใช้นโยบายการเงินผสมผสาน กล่าวคือ มีบางประเทศใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ คือ อินโดนีเซียและอินเดีย ที่ได้ลดดอกเบี้ย 0.25% ไป 2 ครั้ง และ 1 ครั้ง ตามลำดับ เมื่อปลายปี 2560 เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า และเงินเฟ้อต่ำ ตรงกันข้ามบางประเทศที่ นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน อาทิ ล่าสุด ฟิลิปปินส์ขึ้นดอกเบี้ยฯ(ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) 0.25% เป็น 3.25% ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและ มาเลเซียขึ้นดอกเบี้ยไปเมื่อ ม.ค. 2561(ครั้งแรกในรอบ 3 ปี) แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือน่าจะชะลอการขึ้น เพราะดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับสูงกว่าเงินเฟ้อ
Fund Flow จะไหลออกจากตลาดหุ้นสู่ Bond มากขึ้น
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 434 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 255 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 59 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน), อินโดนีเซีย 83 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 16) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 42 ล้านเหรียญ หรือ 1.33 พันล้านบาท ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิเล็กน้อย 288 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
Fund Flow ยังมีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น อาทิ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เนื่องจากผลตอบแทนที่เริ่มจูงใจมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุด Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐกระโดดขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี ที่ 3.07% ขณะเดียวกัน Bond Yield 10 ปี ของไทยก็ขยับขึ้นตามมาอยู่ที่ 2.73% (สูงสุดในรอบ 1 ปี)
บจ.แจ้งงบ 1Q61 แล้ว 96% โตตามคาด แต่ 2Q61 อาจชะลอ
การประกาศผลประกอบการ 1Q61 จะเสร็จสิ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยจากที่ฝ่ายรวบรวมจนถึงช่วงค่ำวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบแล้ว 491 บริษัท คิดเป็น 96% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.84 แสนล้านบาท หากเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศงบฯ แล้ว พบว่าดีกว่า 1Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.78 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.2%yoy และมากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.50 แสนล้านบาท หรือ 13.6%qoq ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะ Real Sector ทำกำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันได้ 2.18 แสนล้านบาท มากกว่า 1Q60 ที่ 2.13 แสนล้านบาท และดีกว่า 4Q60 ที่ 1.89 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ผลประกอบการ 1Q61 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 26% ของประมาณการกำไรสุทธิตลาดฯ ทั้งปีที่ 1.09 ล้านล้านบาท
กลยุทธ์การลงทุน
SET Index น่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1755-1775 จุด มีแรงหนุนในประเทศหลัง พรบ.EEC มีผลบังคับใช้แล้ว บวกต่อ WHA, AMATA และรับเหมาก่อสร้าง CK, STEC, ITD แต่ถูกกดดันจาก Fund flow ไหลออก และแรงขายรับงบ 1Q61 ยังมีอยู่ กลยุทธ์เน้นเลือกหุ้น Domestic Play 1) ประโยชน์จาก EEC (WHA, EASTW) และ 2) ผันผวนน้อย มี P/E ต่ำ ปันผลสูง (QH, LH, BBL) Top picks WHA([email protected]) และ LH([email protected]) ซึ่ง ASPS เพิ่งปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น สะท้อน margin ที่ดีขึ้น และรับรู้กำไรจากการขายสินทรัพย์ในสหรัฐ
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้…. ขายหุ้นใหญ่ กดดัชนีปิดลบ 6 จุด
วานนี้ดัชนีแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวัน และปิดตลาดที่ 1,766.86 จุด ลดลง 6.24 จุด (-0.35%) พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายกว่า 6.01 หมื่นล้านบาท โดยยังคงมีแรงขายรับงบ 1Q61 ซึ่งน่าจะสิ้นสุดการรายงานในสัปดาห์นี้ หุ้นำลงคือ CPALL, PTT, IVL และ KTC (มีมติแตกพาร์จาก 10 บาท เหลือ 1บาท) ที่อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตามตลาดได้แรงหนุนจากหุ้นรายตัว ที่กำไรดีกว่าคาด เริ่มจาก BDMS กำไรเติบโตสูง 48%yoy เพราะเกิดโรคระบาดและจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ตามด้วยหุ้น CPF มีประเด็นใหม่จากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ คือ ราคาหมูมีแนวโน้มดีขึ้นใน 3-6 เดือนข้างหน้าทั้งในเวียดนาและไทย เพราะปริมาณเลี้ยงที่ลดลง และ หุ้นขนส่ง BEM และ BTS ปรับขึ้น 2 วันติดต่อกัน
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1755-1775 จุด โดยน้ำหนักกับการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง ยืนยันการขึ้นดอกเบี้ยในอีก 1-2 ปีข้างหน้า และหุ้นนิคมฯ น่าจะเดินหน้าต่อ หลังรัฐประกาศใช้ พรบ. EEC อย่างเป็นทางการ ดึงเงินเม็ดเงิน FDI
เศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง หนุนดอกเบี้ยขาขึ้น 1-2 ปี
สหรัฐยังคงรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยเฉพาะฝั่งการบริโภคครัวเรือน ซึ่งคิดเป็นราว 69% ของ GDP ล่าสุด พบว่า ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. ยังเพิ่มติดเป็นเดือน 2 ที่ 0.3%mom หรือ 4.7%yoy (จาก 0.8% mom หรือ 4.6%yoy ในเดือนก่อน มี.ค.) และเช่นเดียวกับดัชนีภาคการผลิต เดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกันอยู่ที่ 20 จุด มากกว่าตลาดคาด 15.5 (จาก 30% mom หรือ 22%yoy เดือน มี.ค.) หนุนความเชื่อมั่นว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อยอีก 2 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ในปีนี้ และขึ้นอีก 3 ครั้งปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 จะทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2563 จะอยู่ที่ 3.5%
อย่างไรก็ตาม สหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาดหรือไม่ ขึ้นกับ แนวโน้มเงินเฟ้อ ล่าสุด พุ่งขึ้นอยู่ที่ 2.5% โดยมีแรงกดดันจาก Demand pull เพราะการจ้างงานเต็มที่ (อัตราการว่างงาน ล่าสุด ต่ำสุด 3.9%) และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น (cost push) โดยรวมเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์ยังเดินหน้าแข็งค่าต่อเนื่องราว 4.2% จากจุดต่ำสุดกลางเดือน เม.ย.61 หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560 ตรงข้ามกับค่าเงินเอเชียที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง คือ เงินบาทซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าเร็วกว่า ล่าสุด 32.13 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่ากว่า 11.73% นับจากปลายปี 2559 หรือกว่า 2 ปี (อยู่ที่ 36.4 บาท เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2558) เช่นเดียวกับริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าลดลงเหลือราว 11.67% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้นรูเปียะห์อินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ยังอ่อนค่าอยู่ น่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61
คาดกนง. ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำจนถึงสิ้นปีนี้
การประชุม กนง. วันนี้ ASPS คาดยังคงดอกเบี้ยนโยบายตามเดิมที่ 1.5% (ตั้งแต่ เดือนเม.ย.58) เนื่องจากเงินเฟ้อไทยยังต่ำ ล่าสุดเดือน เม.ย.อยู่ที่ 1.07%yoy(เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 0.75%yoy) และ ทั้งปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.55% (ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย 65 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนที่ 33 บาทต่อดอลลาร์) สภาพคล่องในระบบยังสูงราว 6.57 แสนล้านบาท ทำให้ยังไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยฯ คาดอย่างเร็วคือ 4Q61หรือ 1Q62
ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย เริ่มมีการใช้นโยบายการเงินผสมผสาน กล่าวคือ มีบางประเทศใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ คือ อินโดนีเซียและอินเดีย ที่ได้ลดดอกเบี้ย 0.25% ไป 2 ครั้ง และ 1 ครั้ง ตามลำดับ เมื่อปลายปี 2560 เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า และเงินเฟ้อต่ำ ตรงกันข้ามบางประเทศที่ นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน อาทิ ล่าสุด ฟิลิปปินส์ขึ้นดอกเบี้ยฯ(ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) 0.25% เป็น 3.25% ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและ มาเลเซียขึ้นดอกเบี้ยไปเมื่อ ม.ค. 2561(ครั้งแรกในรอบ 3 ปี) แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือน่าจะชะลอการขึ้น เพราะดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับสูงกว่าเงินเฟ้อ
Fund Flow จะไหลออกจากตลาดหุ้นสู่ Bond มากขึ้น
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 434 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 255 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 59 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน), อินโดนีเซีย 83 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 16) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 42 ล้านเหรียญ หรือ 1.33 พันล้านบาท ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิเล็กน้อย 288 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
Fund Flow ยังมีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น อาทิ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เนื่องจากผลตอบแทนที่เริ่มจูงใจมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุด Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐกระโดดขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี ที่ 3.07% ขณะเดียวกัน Bond Yield 10 ปี ของไทยก็ขยับขึ้นตามมาอยู่ที่ 2.73% (สูงสุดในรอบ 1 ปี)
บจ.แจ้งงบ 1Q61 แล้ว 96% โตตามคาด แต่ 2Q61 อาจชะลอ
การประกาศผลประกอบการ 1Q61 จะเสร็จสิ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยจากที่ฝ่ายรวบรวมจนถึงช่วงค่ำวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบแล้ว 491 บริษัท คิดเป็น 96% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.84 แสนล้านบาท หากเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศงบฯ แล้ว พบว่าดีกว่า 1Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.78 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.2%yoy และมากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.50 แสนล้านบาท หรือ 13.6%qoq ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะ Real Sector ทำกำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันได้ 2.18 แสนล้านบาท มากกว่า 1Q60 ที่ 2.13 แสนล้านบาท และดีกว่า 4Q60 ที่ 1.89 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ผลประกอบการ 1Q61 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 26% ของประมาณการกำไรสุทธิตลาดฯ ทั้งปีที่ 1.09 ล้านล้านบาท
เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มฯ (เฉพาะ real sector) สามารถสรุปภาพรวมของผลการดำเนินงานได้ดังนี้
กลุ่มฯ ที่ผลประกอบการเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ
กลุ่มพลังงาน เติบโต 7.4%yoy และ 24.0%qoq หลักๆ มาจากการบันทึกกำไรพิเศษของ EGCO กว่า 1.8 หมื่นล้านบาท รวมทั้งกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นทั้ง yoy และ qoq ของ PTTEP, GLOW และ EA
กลุ่มโรงพยาบาล เติบโต 38.9%yoy และ 19.4%qoq หลักๆ มาจากกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นมากของ BDMS และ ร.พ. ขนาดเล็ก
กลุ่มขนส่ง เติบโต 20.6%yoy และ 0.5%qoq มาจากกำไรที่เพิ่มขึ้นของ AOT และ AAV
กลุ่มฯ ที่ผลประกอบการเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ
กลุ่มพลังงาน เติบโต 7.4%yoy และ 24.0%qoq หลักๆ มาจากการบันทึกกำไรพิเศษของ EGCO กว่า 1.8 หมื่นล้านบาท รวมทั้งกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นทั้ง yoy และ qoq ของ PTTEP, GLOW และ EA
กลุ่มโรงพยาบาล เติบโต 38.9%yoy และ 19.4%qoq หลักๆ มาจากกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นมากของ BDMS และ ร.พ. ขนาดเล็ก
กลุ่มขนส่ง เติบโต 20.6%yoy และ 0.5%qoq มาจากกำไรที่เพิ่มขึ้นของ AOT และ AAV
ส่วนกลุ่มที่กำไรเติบโต yoy แต่หดตัว qoq คือ
กลุ่มค้าปลีก เติบโต 16.7%yoy แต่หดตัว 5.5%qoq โดยหุ้นที่โตเด่น yoy เช่น BEAUTY, COM7, BJC, MEGA
กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ เติบโต 21.6%yoy แต่หดตัว 0.2%qoq โดยหุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ AH (77.2%yoy, 5.6%qoq) และ PCSGH (33.1%yoy, 25.9%qoq)
กลุ่มอสังหาฯ เติบโต 26.5%yoy แต่หดตัว 31.1%qoq หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ LH (39%yoy, 26.1%qoq)
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม เติบโต 28.8%yoy แต่หดตัว 7.0%qoq หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ CENTEL (12.8%yoy, 100%qoq) และ ERW (37.5%yoy, 77.3%qoq)
กลุ่มปิโตรเคมี เติบโต 2.5%yoy แต่หดตัว 6.8%qoq
กลุ่มที่กำไรเติบโต qoq แต่หดตัว yoy คือ
กลุ่มส่งออกอาหาร เติบโต 18.6%qoq แต่หดตัว 23.8%yoy หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ SAPPE (140.5%yoy, 51.7%qoq), TVO (111.9%yoy, 8.7%qoq) และ M (14.3%yoy, 15.8%qoq)
กลุ่ม ICT เติบโต 32.9%qoq แต่หดตัว 9.3%yoy หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ DTAC (474%yoy, 142.4%qoq) และ INTUCH (16.7%yoy, 107.5%qoq)
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เติบโต 103.4%qoq แต่หดตัว 39.8%yoy หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ PYLON (27.2%yoy, 192.3%qoq)
กลุ่มค้าปลีก เติบโต 16.7%yoy แต่หดตัว 5.5%qoq โดยหุ้นที่โตเด่น yoy เช่น BEAUTY, COM7, BJC, MEGA
กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ เติบโต 21.6%yoy แต่หดตัว 0.2%qoq โดยหุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ AH (77.2%yoy, 5.6%qoq) และ PCSGH (33.1%yoy, 25.9%qoq)
กลุ่มอสังหาฯ เติบโต 26.5%yoy แต่หดตัว 31.1%qoq หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ LH (39%yoy, 26.1%qoq)
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม เติบโต 28.8%yoy แต่หดตัว 7.0%qoq หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ CENTEL (12.8%yoy, 100%qoq) และ ERW (37.5%yoy, 77.3%qoq)
กลุ่มปิโตรเคมี เติบโต 2.5%yoy แต่หดตัว 6.8%qoq
กลุ่มที่กำไรเติบโต qoq แต่หดตัว yoy คือ
กลุ่มส่งออกอาหาร เติบโต 18.6%qoq แต่หดตัว 23.8%yoy หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ SAPPE (140.5%yoy, 51.7%qoq), TVO (111.9%yoy, 8.7%qoq) และ M (14.3%yoy, 15.8%qoq)
กลุ่ม ICT เติบโต 32.9%qoq แต่หดตัว 9.3%yoy หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ DTAC (474%yoy, 142.4%qoq) และ INTUCH (16.7%yoy, 107.5%qoq)
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เติบโต 103.4%qoq แต่หดตัว 39.8%yoy หุ้นที่โดดเด่นกว่ากลุ่มฯ คือ PYLON (27.2%yoy, 192.3%qoq)
กลุ่มที่กำไรหดตัวทั้ง yoy และ qoq คือ
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หดตัว 29.9%yoy และ 9.5%qoq
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง หดตัว 29.9%yoy และ 1.4%qoq
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หดตัว 29.9%yoy และ 9.5%qoq
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง หดตัว 29.9%yoy และ 1.4%qoq
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ 2Q61 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง qoq เนื่องจาก
กลุ่มพลังงาน: แม้ราคาหุ้นในกลุ่มฯ มี upside จำกัด แต่อานิสงส์จากราคาน้ำมันดิบโลกไตรมาส 2 ที่ทรงตัวในระดับสูง เฉลี่ย 69.97 เหรียญ (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 49.33 เหรียญ) ทำให้ฝ่ายวิจัยมีโอกาสการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันขึ้น จากที่ทำไว้ปี 2561 ที่ 65 เหรียญ และ 70 เหรียญในปี 2562 อันเนื่องมาจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง ที่ช่วยลดความกังวลอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด ขณะที่กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ กำไรจะเริ่มชะลอลงจากปัจจัยฤดูกาล และกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน คาดอัตราการเติบโตลดลง หลังกระทรวงพลังงานเปลี่ยนข้อกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้า
กลุ่มธนาคารพาณิชย์: ผลประกอบการในช่วงถัดจากนี้ มีโอกาสทรง-ชะลอตัวจากทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง และต้นทุนที่สูงขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต รวมถึงมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 ที่อาจส่งผลกระทบต่อการธุรกิจสินเชื่อ หลังมาตราการเริ่มมีการบังคับใช้
กลุ่ม ICT: แม้แรงกดดันต้นทุนจากการแย่งประมูลคลื่นฯ จะผ่อนคลายลง แต่โอกาสเห็นกำไรฟื้นตัวแบบก้าวกระโดดค่อนข้างลำบาก ยกเว้น DTAC เพราะหลังเซ็นสัญญาใช้คลื่น 2300 MHz กับ TOT ทำให้ลดความจำเป็นในการประมูลคลื่นสัมปทาน 1800 MHz ที่มีราคาประมูลสูงเกินไป และน่าจะช่วยลดต้นทุนได้ปีละ 2.0 หมื่นล้านบาท หลังสัมปทานสิ้นสุด (หยุดรับรู้ค่าตัดจำหน่ายอุปกรณ์สัมปทานและส่วนแบ่งรายได้ลดลงเหลือ 3.5%-4% จากปัจจุบันที่จ่าย 11.8%)
กลุ่มส่งออก: ทิศทางค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เริ่มกลับมาอ่อนค่า คาดหนุนกำไรงวด 2Q61 ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาสแรก นอกจากนี้ ไตรมาส 2 ยังเป็นการเข้าช่วง high season ของกลุ่มส่งออกชิ้นส่วน ขณะที่กลุ่มอาหาร รับผลบวกจากราคาหมูและไก่ที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม: โดยปกติผลประกอบการรายไตรมาสกลุ่มนี้มักมีความผันผวน โดยจะ Peak ในงวด 1Q และ 4Q ตามฤดูกาลท่องเที่ยว แต่จะอ่อนตัวลงแรงในงวด 2Q-3Q ซึ่งเป็นช่วง Low Season อย่างไรก็ตามในปี 2561 นี้ น่าจะได้เห็นผลประกอบการช่วง Low Season ที่ดีขึ้น เป็นผลจากมาตราการกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรอง (ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.61 โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้)
โดยรวมยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ที่ 1.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากปี 2560 ที่ 9.82 แสนล้านบาท จึงยังคงประมาณการเดิมไว้ก่อน ขณะที่ดัชนีตลาดอยู่ที่ 1766 จุด เท่ากับมีค่า Expected P/E ปี 2561 ที่ 16.09 เท่า ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับ เพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียที่ 16.53 เท่า ฟิลิปปินส์ 17.80 เท่า แต่สูงกว่า อินเดีย 15.60 เท่า อินโดนีเซีย 14.93 เท่า และสูงกว่าจีนค่อนข้างมาก 12.56 เท่า
ทั้งนี้การที่หุ้นจีนเข้าคำนวณใน MSCI จำนวนมากดังกล่าววานนี้ คาดว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของจีน ในการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น จึงน่าจะทำให้ตลาดหุ้นจีน กลับมา Outperform กว่าตลาดอื่นได้หลังจากนี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กลุ่มพลังงาน: แม้ราคาหุ้นในกลุ่มฯ มี upside จำกัด แต่อานิสงส์จากราคาน้ำมันดิบโลกไตรมาส 2 ที่ทรงตัวในระดับสูง เฉลี่ย 69.97 เหรียญ (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 49.33 เหรียญ) ทำให้ฝ่ายวิจัยมีโอกาสการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันขึ้น จากที่ทำไว้ปี 2561 ที่ 65 เหรียญ และ 70 เหรียญในปี 2562 อันเนื่องมาจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง ที่ช่วยลดความกังวลอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด ขณะที่กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ กำไรจะเริ่มชะลอลงจากปัจจัยฤดูกาล และกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน คาดอัตราการเติบโตลดลง หลังกระทรวงพลังงานเปลี่ยนข้อกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้า
กลุ่มธนาคารพาณิชย์: ผลประกอบการในช่วงถัดจากนี้ มีโอกาสทรง-ชะลอตัวจากทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง และต้นทุนที่สูงขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต รวมถึงมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 ที่อาจส่งผลกระทบต่อการธุรกิจสินเชื่อ หลังมาตราการเริ่มมีการบังคับใช้
กลุ่ม ICT: แม้แรงกดดันต้นทุนจากการแย่งประมูลคลื่นฯ จะผ่อนคลายลง แต่โอกาสเห็นกำไรฟื้นตัวแบบก้าวกระโดดค่อนข้างลำบาก ยกเว้น DTAC เพราะหลังเซ็นสัญญาใช้คลื่น 2300 MHz กับ TOT ทำให้ลดความจำเป็นในการประมูลคลื่นสัมปทาน 1800 MHz ที่มีราคาประมูลสูงเกินไป และน่าจะช่วยลดต้นทุนได้ปีละ 2.0 หมื่นล้านบาท หลังสัมปทานสิ้นสุด (หยุดรับรู้ค่าตัดจำหน่ายอุปกรณ์สัมปทานและส่วนแบ่งรายได้ลดลงเหลือ 3.5%-4% จากปัจจุบันที่จ่าย 11.8%)
กลุ่มส่งออก: ทิศทางค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เริ่มกลับมาอ่อนค่า คาดหนุนกำไรงวด 2Q61 ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาสแรก นอกจากนี้ ไตรมาส 2 ยังเป็นการเข้าช่วง high season ของกลุ่มส่งออกชิ้นส่วน ขณะที่กลุ่มอาหาร รับผลบวกจากราคาหมูและไก่ที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม: โดยปกติผลประกอบการรายไตรมาสกลุ่มนี้มักมีความผันผวน โดยจะ Peak ในงวด 1Q และ 4Q ตามฤดูกาลท่องเที่ยว แต่จะอ่อนตัวลงแรงในงวด 2Q-3Q ซึ่งเป็นช่วง Low Season อย่างไรก็ตามในปี 2561 นี้ น่าจะได้เห็นผลประกอบการช่วง Low Season ที่ดีขึ้น เป็นผลจากมาตราการกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรอง (ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.61 โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้)
โดยรวมยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ที่ 1.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากปี 2560 ที่ 9.82 แสนล้านบาท จึงยังคงประมาณการเดิมไว้ก่อน ขณะที่ดัชนีตลาดอยู่ที่ 1766 จุด เท่ากับมีค่า Expected P/E ปี 2561 ที่ 16.09 เท่า ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับ เพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียที่ 16.53 เท่า ฟิลิปปินส์ 17.80 เท่า แต่สูงกว่า อินเดีย 15.60 เท่า อินโดนีเซีย 14.93 เท่า และสูงกว่าจีนค่อนข้างมาก 12.56 เท่า
ทั้งนี้การที่หุ้นจีนเข้าคำนวณใน MSCI จำนวนมากดังกล่าววานนี้ คาดว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของจีน ในการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น จึงน่าจะทำให้ตลาดหุ้นจีน กลับมา Outperform กว่าตลาดอื่นได้หลังจากนี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
OO8831