- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 15 May 2018 18:21
- Hits: 881
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Fund flow ยังไหลออก แต่บางลงมาก ขณะที่แรงขายรับงบ 1Q61 บางลงเช่นกัน หลัง บจ.แจ้งงบแล้วกว่า 80% สอดคล้องประมาณของ ASPS วันนี้มีประเด็นหนุนคือ พรบ. EEC มีผลบังคับแล้ว บวกต่อ WHA, AMATA คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 1765-1780 จุด กลยุทธ์เน้นเลือกหุ้น Domestic Play 1) ประโยชน์จาก EEC (WHA, EASTW) และ 2) ผันผวนน้อย มี P/E ต่ำ ปันผลสูง (QH, LH, BBL) Top picks WHA([email protected]) และ LH([email protected]) ซึ่ง ASPS เพิ่งปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น สะท้อน margin ที่ดีขึ้น และรับรู้กำไรจากการขายสินทรัพย์นในสหรัฐ 2Q61
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้…. SET Index ฟื้นตัว หนุนด้วยหุ้นใหญ่พลังงาน, ค้าปลีก และขนส่ง
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนบวกตลอดทั้งวัน และปิดตลาดเพิ่มขึ้น 7.17 จุดมาที่ 1,773.10 จุด (+0.41%) แต่มูลค่าการซื้อขายเพียง 4.79 หมื่นล้านบาท แม้ยังมีแรงขายรับงบ เช่น MINT WORK (กำไรต่ำกว่าคาด) แต่ยังมีการปรับขึ้นรายตัวในหุ้น ธ.พ. เช่น SCB, BBL และ กลุ่มพลังงาน PTT ปิโตรฯ IRPC ยกเว้น PTTEP ลดลง 0.74% กลุ่มค้าปลีก CPALL และ BJC ขานรับกำไรที่เติบโต แม้การแข่งขันในอุตสาหกรรมจะรุนแรงขึ้น และ สุดท้ายกลุ่มขนส่งขยับขึ้นทั้งกลุ่ม JWD +5.33%, BEM +3.23%, BTS +1.07%, และ AOT +0.35%
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1765-1780 จุด โดยยังให้น้ำหนักกับ หุ้นนิคมฯ หลังจากที่ รัฐประกาศใช้ พรบ. EEC อย่างเป็นทางการ ช่วยดึงเงินลงทุน FDI เข้ามาได้ง่ายขึ้น
จีนหนีไม่พ้นผลกระทบหนัก จากสหรัฐฯคว่ำบาตรอิหร่าน
การเตรียมคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่าน มิใช่เพียงกระทบต่อราคาน้ำมันดิบโลก เพราะ supply บางส่วนจากอิหร่านน่าจะหายไปราว 8 แสนบาร์เรลต่อวัน ราว 20% ของการผลิตในอิหร่าน แต่สถานการณ์ที่น้ำมันโลกยังเกินความต้องการ และสหรัฐยังคงผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าไปเพิ่มขึ้น น่าจะลดแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบค่าเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าน่าจะเป็นปัจจัยกดดันให้น้ำมันดิบโลกจะเกิน 70 เหรียญฯไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม การคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่าน อาจกระทบต่อการค้าโลกอีกทางหนึ่ง พิจารณาคู่ค้าหลักของอิหร่านมาจากฝั่งเอเชียถึง 81.24% รองลงมาคือยุโรป 14.36% และอเมริกาใต้ 3.25% และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า จีนคือคู่ค้าหลักของอิหร่าน รองลงมาคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, (ดังรูป) ส่วนไทย สัดส่วนน้อยราว 0.45% ของการค้าของอิหร่าน
การคว่ำบาตรอิหร่านที่จะเกิดในอีก 180 วันข้างหน้า (4 พ.ย.) จึงน่าจะกระทบกับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง โดยสินค้าที่อิหร่านส่งออกไปจีนได้แก่ ปิโตรเลียม 64.2%, พลาสติกโพลิเมอร์ 14%, อะคริลิค 5.7%, แร่เหล็ก 5.6%, ทองแดง 4.6%, ขณะที่สินค้าที่อิหร่านนำเข้าจากจีนได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน 10.2%, โทรศัพท์ 3.4%, ผ้าทอใยสังเคราะห์ 2.1%, เครื่องปรับอากาศ 1.8%, โคมไฟ 1.6% เป็นต้น
นอกจากนี้ จีนยังเผชิญกับการกีดกันการค้าจากสหรัฐ เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลประชาพิจารณ์ของผู้ผลิตในสหรัฐ ระหว่าง 15-22 พ.ค. จึงจะทราบผลกระทบด้านภาษีนำเข้า 25% จะกระทบสินค้าประเภทใดบ้าง ทั้งนี้แม้ล่าสุดสหรัฐมีท่าทีผ่อนคลายหลังจากให้บริษัท ZTE(ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่อันดับ 2 ของจีน) กลับมาดำเนินธุรกิจในสหรัฐได้อีกครั้ง (นับจากกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สหรัฐ ลงโทษห้าม ทำธุรกิจร่วมกันเป็นเวลา 7 ปี เนื่องจาก ZTE ลักลอบส่งออกสินค้าให้อิหร่านและเกาหลีเหนือ แต่ต้องจะแลกเปลี่ยน โดยให้จีนยกเลิกการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะถั่วเหลือง เป็นสินค้าที่จีนนำเข้าจากสหรัฐ 11%ของการนำเข้ารวมจากสหรัฐของจีน
กลยุทธ์การลงทุน
Fund flow ยังไหลออก แต่บางลงมาก ขณะที่แรงขายรับงบ 1Q61 บางลงเช่นกัน หลัง บจ.แจ้งงบแล้วกว่า 80% สอดคล้องประมาณของ ASPS วันนี้มีประเด็นหนุนคือ พรบ. EEC มีผลบังคับแล้ว บวกต่อ WHA, AMATA คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 1765-1780 จุด กลยุทธ์เน้นเลือกหุ้น Domestic Play 1) ประโยชน์จาก EEC (WHA, EASTW) และ 2) ผันผวนน้อย มี P/E ต่ำ ปันผลสูง (QH, LH, BBL) Top picks WHA([email protected]) และ LH([email protected]) ซึ่ง ASPS เพิ่งปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น สะท้อน margin ที่ดีขึ้น และรับรู้กำไรจากการขายสินทรัพย์นในสหรัฐ 2Q61
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้…. SET Index ฟื้นตัว หนุนด้วยหุ้นใหญ่พลังงาน, ค้าปลีก และขนส่ง
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนบวกตลอดทั้งวัน และปิดตลาดเพิ่มขึ้น 7.17 จุดมาที่ 1,773.10 จุด (+0.41%) แต่มูลค่าการซื้อขายเพียง 4.79 หมื่นล้านบาท แม้ยังมีแรงขายรับงบ เช่น MINT WORK (กำไรต่ำกว่าคาด) แต่ยังมีการปรับขึ้นรายตัวในหุ้น ธ.พ. เช่น SCB, BBL และ กลุ่มพลังงาน PTT ปิโตรฯ IRPC ยกเว้น PTTEP ลดลง 0.74% กลุ่มค้าปลีก CPALL และ BJC ขานรับกำไรที่เติบโต แม้การแข่งขันในอุตสาหกรรมจะรุนแรงขึ้น และ สุดท้ายกลุ่มขนส่งขยับขึ้นทั้งกลุ่ม JWD +5.33%, BEM +3.23%, BTS +1.07%, และ AOT +0.35%
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1765-1780 จุด โดยยังให้น้ำหนักกับ หุ้นนิคมฯ หลังจากที่ รัฐประกาศใช้ พรบ. EEC อย่างเป็นทางการ ช่วยดึงเงินลงทุน FDI เข้ามาได้ง่ายขึ้น
จีนหนีไม่พ้นผลกระทบหนัก จากสหรัฐฯคว่ำบาตรอิหร่าน
การเตรียมคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่าน มิใช่เพียงกระทบต่อราคาน้ำมันดิบโลก เพราะ supply บางส่วนจากอิหร่านน่าจะหายไปราว 8 แสนบาร์เรลต่อวัน ราว 20% ของการผลิตในอิหร่าน แต่สถานการณ์ที่น้ำมันโลกยังเกินความต้องการ และสหรัฐยังคงผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าไปเพิ่มขึ้น น่าจะลดแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบค่าเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าน่าจะเป็นปัจจัยกดดันให้น้ำมันดิบโลกจะเกิน 70 เหรียญฯไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม การคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่าน อาจกระทบต่อการค้าโลกอีกทางหนึ่ง พิจารณาคู่ค้าหลักของอิหร่านมาจากฝั่งเอเชียถึง 81.24% รองลงมาคือยุโรป 14.36% และอเมริกาใต้ 3.25% และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า จีนคือคู่ค้าหลักของอิหร่าน รองลงมาคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, (ดังรูป) ส่วนไทย สัดส่วนน้อยราว 0.45% ของการค้าของอิหร่าน
การคว่ำบาตรอิหร่านที่จะเกิดในอีก 180 วันข้างหน้า (4 พ.ย.) จึงน่าจะกระทบกับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง โดยสินค้าที่อิหร่านส่งออกไปจีนได้แก่ ปิโตรเลียม 64.2%, พลาสติกโพลิเมอร์ 14%, อะคริลิค 5.7%, แร่เหล็ก 5.6%, ทองแดง 4.6%, ขณะที่สินค้าที่อิหร่านนำเข้าจากจีนได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน 10.2%, โทรศัพท์ 3.4%, ผ้าทอใยสังเคราะห์ 2.1%, เครื่องปรับอากาศ 1.8%, โคมไฟ 1.6% เป็นต้น
นอกจากนี้ จีนยังเผชิญกับการกีดกันการค้าจากสหรัฐ เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลประชาพิจารณ์ของผู้ผลิตในสหรัฐ ระหว่าง 15-22 พ.ค. จึงจะทราบผลกระทบด้านภาษีนำเข้า 25% จะกระทบสินค้าประเภทใดบ้าง ทั้งนี้แม้ล่าสุดสหรัฐมีท่าทีผ่อนคลายหลังจากให้บริษัท ZTE(ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่อันดับ 2 ของจีน) กลับมาดำเนินธุรกิจในสหรัฐได้อีกครั้ง (นับจากกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สหรัฐ ลงโทษห้าม ทำธุรกิจร่วมกันเป็นเวลา 7 ปี เนื่องจาก ZTE ลักลอบส่งออกสินค้าให้อิหร่านและเกาหลีเหนือ แต่ต้องจะแลกเปลี่ยน โดยให้จีนยกเลิกการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะถั่วเหลือง เป็นสินค้าที่จีนนำเข้าจากสหรัฐ 11%ของการนำเข้ารวมจากสหรัฐของจีน
หุ้นนิคมฯตีปีก พรบ. อีอีซี บังคับใช้วันนี้...AMATA-WHA เด่น
พ.ร.บ. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ประกาศใช้และมีผลตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. นี้ เป็นต้นไป สาระสำคัญของกฎหมาย คือ
1) ให้พื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมถึงพื้นที่อื่นที่จะประกาศเพิ่มเต็มเป็นเขตพัฒนาพิเศษ โดยพื้นที่ดังกล่าวต้องครอบคลุม 10 อุตสาหกรรม S Curve
2) สิทธิพิเศษ ที่เด่นชัดได้แก่ การให้สิทธิคนต่างด้าวถือครองที่ดินและอาคารชุด, การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ได้นาน 50 ปี และต่ออายุได้อีก 49 ปี เป็นต้น
ความคืบหน้านี้น่าจะกระตุ้นให้เห็นการเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร และ ดึงเม็ดเงินโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เป็นต้น ถือว่าเอื้อประโยชน์ต่อหุ้นนิคมอุตสาหกรรม ที่ครอบครองที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวรายละกว่า 1 หมี่นไร่คือ AMATA และ WHA ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น และหนุน NAV ของนิคมฯ โดย Fair value ของ AMATA อยู่ที่หุ้นละ 35.70 บาท ส่วน WHA ราว 4.89 บาท ส่วน TICON ([email protected]) ได้รับประโยชน์น้อยเพราะโรงงานให้เช่า กระจายในหลายจังหวัด
กลุ่มรับเหมาฯ น่าจะได้ประโยชน์ในการเข้าไปรับงานโครงสร้างพื้นฐาน โดยเน้นไปที่ ผู้รับเหมาฯ ใหญ่ 4 รายได้แก่ CK, STEC, ITD และ UNIQ รวมถึงผู้รับเหมางานฐานรากอย่าง SEAFCO และ PYLON เป็นต้น
ต่างชาติซื้อหุ้นไต้หวันที่เดียว ประเทศอื่นยังถูกขาย
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 223 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อเฉพาะตลาดหุ้นไต้หวันเพียงแห่งเดียว 379 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศ ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 133 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ เพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 15 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 15) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 8 ล้านเหรียญ หรือ 262 ล้านบาท ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.91 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 1.62 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 5 วัน) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 751 ล้านบาท
MSCI Play: ชื่นชอบ LH มากที่สุด
MSCI รายงานหุ้นเอเชีย ที่ถูกคัดเข้าคำนวณในดัชนี MSCI รอบ พ.ค. 2561 ดังนี้
1. MSCIGlobal Standard ทั้งหมด 324 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นหุ้นจีนสูงถึง 302 บริษัท ที่เหลือเป็นหุ้นไทย 1 บริษัท ตรงกันข้ามหุ้นถูกคัดออกมีเพียง 22 บริษัท และ หุ้นไทย 2 บริษัท
2. ดัชนี MSCI Global Small Cap มีหุ้นในแถบเอเชียถูกคัดเข้าคำนวณทั้งหมด 189 บริษัท เป็นหุ้นญี่ปุ่นมากสุด 52 บริษัท ส่วนไทย 6 บริษัท ตรงกันข้ามหุ้นถูกคัดออกทั้งหมดมี 210 บริษัท เป็นหุ้นจีนมากสุด 116 บริษัท และหุ้นไทยออก 9 บริษัท
แม้วันนี้ราคาเปิดของหุ้นที่เข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Standard มีโอกาสกระโดดขึ้นแรง แต่จากการศึกษาข้อมูลในอดีต พบว่า ราคาหุ้นยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ต่อเนื่องจนถึงก่อนการเข้าคำนวณ โดยลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด คือ ซื้อในวันประกาศและขายวันที่มีผลบังคับใช้ โดยหุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี MSCI ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 5.5% ด้วยความน่าจะเป็น 77% แต่ ราคาหุ้นจะค่อยๆ ลดลงหลังถูกนำเข้าคำนวณดัชนีแล้ว ส่วนหุ้นที่ถูกคัดออกแนะนำหลีกเลี่ยงตั้งแต่เป็นข่าว
ส่วนหุ้นที่ถูกคัดเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Small Cap มักให้ผลตอบแทนเฉลี่ยน้อยกว่าอยู่ที่ 2.3% โอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวก 58% แต่ช่วงหลังนักลงทุนให้ความสำคัญหุ้นกลุ่มหลังมากขึ้น สังเกต 3 ครั้งหลังสุด หุ้นที่เข้าคำนวณดัชนีให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 7.4% ด้วยความน่าจะเป็น 71%
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณในดัชนี MSCI ในวันที่ประกาศ และขายทำกำไรในวันที่มีผลบังคับใช้ (1 มิ.ย. 61) Top pick เลือก LH([email protected]) นอกจากประเด็นบวกนี้แล้ว วันนี้ ฝ่ายวิจัยฯเพิ่งปรับเพิ่มกำไรปี 2561 สะท้อนกำไรจากการขาย Apartment แห่งในสหรัฐราว 975 ล้านบาท ใน 2Q61 และ margin ที่ดีขึ้น ได้มูลค่าพื้นฐานใหม่ปี 2561 ที่ 13.40 บาท (เดิม 13.00 บาท)
พ.ร.บ. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ประกาศใช้และมีผลตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. นี้ เป็นต้นไป สาระสำคัญของกฎหมาย คือ
1) ให้พื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมถึงพื้นที่อื่นที่จะประกาศเพิ่มเต็มเป็นเขตพัฒนาพิเศษ โดยพื้นที่ดังกล่าวต้องครอบคลุม 10 อุตสาหกรรม S Curve
2) สิทธิพิเศษ ที่เด่นชัดได้แก่ การให้สิทธิคนต่างด้าวถือครองที่ดินและอาคารชุด, การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ได้นาน 50 ปี และต่ออายุได้อีก 49 ปี เป็นต้น
ความคืบหน้านี้น่าจะกระตุ้นให้เห็นการเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร และ ดึงเม็ดเงินโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เป็นต้น ถือว่าเอื้อประโยชน์ต่อหุ้นนิคมอุตสาหกรรม ที่ครอบครองที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวรายละกว่า 1 หมี่นไร่คือ AMATA และ WHA ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น และหนุน NAV ของนิคมฯ โดย Fair value ของ AMATA อยู่ที่หุ้นละ 35.70 บาท ส่วน WHA ราว 4.89 บาท ส่วน TICON ([email protected]) ได้รับประโยชน์น้อยเพราะโรงงานให้เช่า กระจายในหลายจังหวัด
กลุ่มรับเหมาฯ น่าจะได้ประโยชน์ในการเข้าไปรับงานโครงสร้างพื้นฐาน โดยเน้นไปที่ ผู้รับเหมาฯ ใหญ่ 4 รายได้แก่ CK, STEC, ITD และ UNIQ รวมถึงผู้รับเหมางานฐานรากอย่าง SEAFCO และ PYLON เป็นต้น
ต่างชาติซื้อหุ้นไต้หวันที่เดียว ประเทศอื่นยังถูกขาย
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 223 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อเฉพาะตลาดหุ้นไต้หวันเพียงแห่งเดียว 379 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศ ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 133 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ เพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 15 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 15) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 8 ล้านเหรียญ หรือ 262 ล้านบาท ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.91 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 1.62 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 5 วัน) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 751 ล้านบาท
MSCI Play: ชื่นชอบ LH มากที่สุด
MSCI รายงานหุ้นเอเชีย ที่ถูกคัดเข้าคำนวณในดัชนี MSCI รอบ พ.ค. 2561 ดังนี้
1. MSCIGlobal Standard ทั้งหมด 324 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นหุ้นจีนสูงถึง 302 บริษัท ที่เหลือเป็นหุ้นไทย 1 บริษัท ตรงกันข้ามหุ้นถูกคัดออกมีเพียง 22 บริษัท และ หุ้นไทย 2 บริษัท
2. ดัชนี MSCI Global Small Cap มีหุ้นในแถบเอเชียถูกคัดเข้าคำนวณทั้งหมด 189 บริษัท เป็นหุ้นญี่ปุ่นมากสุด 52 บริษัท ส่วนไทย 6 บริษัท ตรงกันข้ามหุ้นถูกคัดออกทั้งหมดมี 210 บริษัท เป็นหุ้นจีนมากสุด 116 บริษัท และหุ้นไทยออก 9 บริษัท
แม้วันนี้ราคาเปิดของหุ้นที่เข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Standard มีโอกาสกระโดดขึ้นแรง แต่จากการศึกษาข้อมูลในอดีต พบว่า ราคาหุ้นยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ต่อเนื่องจนถึงก่อนการเข้าคำนวณ โดยลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด คือ ซื้อในวันประกาศและขายวันที่มีผลบังคับใช้ โดยหุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี MSCI ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 5.5% ด้วยความน่าจะเป็น 77% แต่ ราคาหุ้นจะค่อยๆ ลดลงหลังถูกนำเข้าคำนวณดัชนีแล้ว ส่วนหุ้นที่ถูกคัดออกแนะนำหลีกเลี่ยงตั้งแต่เป็นข่าว
ส่วนหุ้นที่ถูกคัดเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Small Cap มักให้ผลตอบแทนเฉลี่ยน้อยกว่าอยู่ที่ 2.3% โอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวก 58% แต่ช่วงหลังนักลงทุนให้ความสำคัญหุ้นกลุ่มหลังมากขึ้น สังเกต 3 ครั้งหลังสุด หุ้นที่เข้าคำนวณดัชนีให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 7.4% ด้วยความน่าจะเป็น 71%
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณในดัชนี MSCI ในวันที่ประกาศ และขายทำกำไรในวันที่มีผลบังคับใช้ (1 มิ.ย. 61) Top pick เลือก LH([email protected]) นอกจากประเด็นบวกนี้แล้ว วันนี้ ฝ่ายวิจัยฯเพิ่งปรับเพิ่มกำไรปี 2561 สะท้อนกำไรจากการขาย Apartment แห่งในสหรัฐราว 975 ล้านบาท ใน 2Q61 และ margin ที่ดีขึ้น ได้มูลค่าพื้นฐานใหม่ปี 2561 ที่ 13.40 บาท (เดิม 13.00 บาท)
กำไรบจ. 1Q61 เพิ่มจาก 1Q60 ใกล้เคียงประมาณการ
ช่วงโค้งสุดท้ายของการประกาศผลประกอบการ 1Q61 จากที่รวบรวมจนถึงช่วงค่ำวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบแล้วราว 81% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.64 แสนล้านบาท หากเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศงบฯ แล้ว พบว่าดีกว่า 1Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.59 แสนล้านบาท หรือ 2.2%yoy และมากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.28 แสนล้านบาท หรือ 15.9%qoq
ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะ Real Sector ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ กำไรสุทธิ 1Q61 ทำได้แล้ว 1.99 แสนล้านบาท มากกว่า 1Q60 ที่ 1.94 แสนล้านบาท และดีกว่า 4Q60 ที่ 1.75 แสนล้านบาท ซึ่งหากประกาศมาครบ คาดว่างวด 1Q61 น่าจะมีกำไรสุทธิสูงกว่า 2.5 แสนล้านบาท (คิดเป็น 1 ใน 4 ที่คาดไว้ทั้งปีทั้งปีที่ 1.09 ล้านล้านบาท) อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการไตรมาสแรกซึ่งมักจะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี
ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายกลุ่มฯ (เฉพาะ real sector) เบื้องต้นพบว่า
กลุ่มฯ ที่ผลประกอบการเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ
กลุ่มพลังงาน เติบโต 8.4%yoy และ 24.8%qoq หลักๆ มาจาก PTTEP และการบันทึกกำไรพิเศษของ EGCO
กลุ่มโรงพยาบาล เติบโต 25%yoy และ 4.8%qoq มาจาก BDMS
กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ เติบโต 23.2%yoy และ 2.5%qoq มาจาก AH
ส่วนกลุ่มที่กำไรเติบโต yoy แต่หดตัว qoq คือ กลุ่มปิโตรเคมี, กลุ่มค้าปลีก, กลุ่มอสังหาฯ, กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม, กลุ่มขนส่ง
กลุ่มที่กำไรเติบโต qoq แต่หดตัว yoy คือ กลุ่มส่งออกอาหาร, กลุ่ม ICT
และ กลุ่มที่กำไรหดตัวทั้ง yoy และ qoq คือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเหล็ก
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8777
ช่วงโค้งสุดท้ายของการประกาศผลประกอบการ 1Q61 จากที่รวบรวมจนถึงช่วงค่ำวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบแล้วราว 81% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.64 แสนล้านบาท หากเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศงบฯ แล้ว พบว่าดีกว่า 1Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.59 แสนล้านบาท หรือ 2.2%yoy และมากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 2.28 แสนล้านบาท หรือ 15.9%qoq
ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะ Real Sector ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ กำไรสุทธิ 1Q61 ทำได้แล้ว 1.99 แสนล้านบาท มากกว่า 1Q60 ที่ 1.94 แสนล้านบาท และดีกว่า 4Q60 ที่ 1.75 แสนล้านบาท ซึ่งหากประกาศมาครบ คาดว่างวด 1Q61 น่าจะมีกำไรสุทธิสูงกว่า 2.5 แสนล้านบาท (คิดเป็น 1 ใน 4 ที่คาดไว้ทั้งปีทั้งปีที่ 1.09 ล้านล้านบาท) อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการไตรมาสแรกซึ่งมักจะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี
ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายกลุ่มฯ (เฉพาะ real sector) เบื้องต้นพบว่า
กลุ่มฯ ที่ผลประกอบการเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ
กลุ่มพลังงาน เติบโต 8.4%yoy และ 24.8%qoq หลักๆ มาจาก PTTEP และการบันทึกกำไรพิเศษของ EGCO
กลุ่มโรงพยาบาล เติบโต 25%yoy และ 4.8%qoq มาจาก BDMS
กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ เติบโต 23.2%yoy และ 2.5%qoq มาจาก AH
ส่วนกลุ่มที่กำไรเติบโต yoy แต่หดตัว qoq คือ กลุ่มปิโตรเคมี, กลุ่มค้าปลีก, กลุ่มอสังหาฯ, กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม, กลุ่มขนส่ง
กลุ่มที่กำไรเติบโต qoq แต่หดตัว yoy คือ กลุ่มส่งออกอาหาร, กลุ่ม ICT
และ กลุ่มที่กำไรหดตัวทั้ง yoy และ qoq คือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเหล็ก
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8777