- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 11 May 2018 18:16
- Hits: 2152
บล.ยูโอบีเคย์เฮียน : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาดโลกดี ขณะที่หุ้นไทยกำไรกลุ่มโรงกลั่นฉุดตลาด
การรายงานกำไรไตรมาส 1/61 ของบจ.สหรัฐฯ ขนาดใหญ่ออกมาดี ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายเป็นบวก เนื่องจากเงินเฟ้อ หรือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เม.ย.ปรับเพิ่มขึ้น 0.2% น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับลดลง และค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ เริ่มอ่อนค่าลงเป็นบวกต่อ sentiment การลงทุนของโลกโดยรวม
หุ้นไทยระยะสั้นถูกกดดันจากแรงทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มโรงกลั่น ที่กำไรออกมาทรงตัวถึงต่ำกว่าคาด ขณะที่แนวโน้มกำไรถัดจากนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่ TOP มีแผนการปิดซ่อมบำรุงในไตรมาส 2/61 ซึ่งไม่เคยเปิดเผยกับตลาดมาก่อน ภาพกำไรธุรกิจโรงกลั่นที่อ่อนแอ จึงส่งผลกระทบไปยัง PTT ทำให้กำไรออกมาต่ำกว่าที่เราคาดราว 7%
มุมมองการลงทุนในกลุ่มโภคภัฑณ์ของเรายังไม่เปลี่ยนแปลง โดยยังคงชอบกลุ่มปิโตรเคมีมากที่สุดจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ในระดับสูง ตามด้วยกลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้น ขณะที่คงมุมมองเป็นลบและคำแนะนำลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่มโรงกลั่น จากผลการดำเนินงานที่คาดว่าผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว หุ้นที่เราชอบ ได้แก่ IVL, BANPU, PTT
การไหลออกของเงินทุนต่างชาติ อาจทำให้นักลงทุนยังระมัดระวังต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร แต่ในทางพื้นฐานถือว่า risk-reward ของกลุ่มธนาคารอยู่ในระดับที่น่าสนใจ Top pick ทางพื้นฐานคือ BBL, KTB ขณะที่ทางกลยุทธ์ KBANK และ TMB เป็นเป้าหมายเก็งกำไรที่น่าสนใจ
Investment Theme เก็งกำไรแบบตัดขาดทุนในโภคภัณฑ์หรือหุ้นรายตัว // กลุ่มพลังงาน top pick 3 อันดับ 1) IVL 2) IRPC 3) PTTGC 4) BANPU // กลุ่มธนาคาร ชอบได้แก่ BBL, KTB, SCB // หุ้นกลุ่มไฟฟ้า BCPG, BGRIM, GULF*, EA // MSCI รอบใหม่ 14 พ.ค. (มีผล 31
พ.ค.) KTC, GULF, BEAUTY
ภาพรวมกลยุทธ์: ฟื้นตัว แต่การหลุด 1750 สร้างโมเมนตัมเชิงลบต่อการอ่อนตัวลงแถว 1720-1730 ได้ การเก็งกำไรควรเพิ่มความระมัดระวังและกำหนดจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง รวมถึงตั้งจุดขายล็อคกำไร (trailing stop) ในหุ้นที่ถือครอง // หุ้นแนะนำวันนี้ PTT / เก็งกำไร AMANAH* (เป้า 1.85 ตัดขาดทุน 1.68), FSMART* (เป้า 12.00 ตัดขาดทุน 9.50)
แนวรับ 1740 / แนวต้าน : 1766 จุด สัดส่วน : เงินสด 30% : พอร์ตหุ้น 70%
ทิศทางตลาดโลกดี ขณะที่หุ้นไทยกำไรกลุ่มโรงกลั่นฉุดตลาด
การรายงานกำไรไตรมาส 1/61 ของบจ.สหรัฐฯ ขนาดใหญ่ออกมาดี ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายเป็นบวก เนื่องจากเงินเฟ้อ หรือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เม.ย.ปรับเพิ่มขึ้น 0.2% น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับลดลง และค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ เริ่มอ่อนค่าลงเป็นบวกต่อ sentiment การลงทุนของโลกโดยรวม
หุ้นไทยระยะสั้นถูกกดดันจากแรงทำกำไรหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มโรงกลั่น ที่กำไรออกมาทรงตัวถึงต่ำกว่าคาด ขณะที่แนวโน้มกำไรถัดจากนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลง ขณะที่ TOP มีแผนการปิดซ่อมบำรุงในไตรมาส 2/61 ซึ่งไม่เคยเปิดเผยกับตลาดมาก่อน ภาพกำไรธุรกิจโรงกลั่นที่อ่อนแอ จึงส่งผลกระทบไปยัง PTT ทำให้กำไรออกมาต่ำกว่าที่เราคาดราว 7%
มุมมองการลงทุนในกลุ่มโภคภัฑณ์ของเรายังไม่เปลี่ยนแปลง โดยยังคงชอบกลุ่มปิโตรเคมีมากที่สุดจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ในระดับสูง ตามด้วยกลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้น ขณะที่คงมุมมองเป็นลบและคำแนะนำลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่มโรงกลั่น จากผลการดำเนินงานที่คาดว่าผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว หุ้นที่เราชอบ ได้แก่ IVL, BANPU, PTT
การไหลออกของเงินทุนต่างชาติ อาจทำให้นักลงทุนยังระมัดระวังต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร แต่ในทางพื้นฐานถือว่า risk-reward ของกลุ่มธนาคารอยู่ในระดับที่น่าสนใจ Top pick ทางพื้นฐานคือ BBL, KTB ขณะที่ทางกลยุทธ์ KBANK และ TMB เป็นเป้าหมายเก็งกำไรที่น่าสนใจ
Investment Theme เก็งกำไรแบบตัดขาดทุนในโภคภัณฑ์หรือหุ้นรายตัว // กลุ่มพลังงาน top pick 3 อันดับ 1) IVL 2) IRPC 3) PTTGC 4) BANPU // กลุ่มธนาคาร ชอบได้แก่ BBL, KTB, SCB // หุ้นกลุ่มไฟฟ้า BCPG, BGRIM, GULF*, EA // MSCI รอบใหม่ 14 พ.ค. (มีผล 31
พ.ค.) KTC, GULF, BEAUTY
ภาพรวมกลยุทธ์: ฟื้นตัว แต่การหลุด 1750 สร้างโมเมนตัมเชิงลบต่อการอ่อนตัวลงแถว 1720-1730 ได้ การเก็งกำไรควรเพิ่มความระมัดระวังและกำหนดจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง รวมถึงตั้งจุดขายล็อคกำไร (trailing stop) ในหุ้นที่ถือครอง // หุ้นแนะนำวันนี้ PTT / เก็งกำไร AMANAH* (เป้า 1.85 ตัดขาดทุน 1.68), FSMART* (เป้า 12.00 ตัดขาดทุน 9.50)
แนวรับ 1740 / แนวต้าน : 1766 จุด สัดส่วน : เงินสด 30% : พอร์ตหุ้น 70%
ประเด็นการลงทุน
เงินเฟ้อสหรัฐฯ ไม่สร้างแรงหนุนเชิงบวกต่อผลตอบแทนพันธบัตร - ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน เม.ย.ขยายตัว 0.2%mom ต่ำกว่าคาดที่ 0.3% และขยายตัว 2.5%yoy สูงสุดในรอบกว่า 1 ปี ตามคาด ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ขยายตัว 2.1%yoy ต่ำกว่าคาดที่ 2.2% ด้วยตัวเลขบ่งชี้เงินเฟ้อที่ชะลอกว่าคาดและไม่สร้าง positive surprise เป็นเหตุให้ค่าเงินเหรียญฯและผลตอบแทนพันธบัตรชะลอตัวระยะสั้น
BOE คงดอกเบี้ย พร้อมลดคาดการณ์เศรษฐกิจ - ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ตามคาด จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา (GDP ไตรมาส 1/61 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี) พร้อมปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 61 จาก 1.8% เหลือ 1.4%
ส.อ.ท.เผยตัวเลขอุตสาหกรรม - ส.อ.ท.เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. อยู่ที่ 89.1 ลดลงจากเดือน มี.ค.ที่ 90.7 เนื่องจากวำทำงานที่น้อยกว่าปกติในช่วงหยุดสงกรานต์ // ขณะที่ยอดการผลิตรถยนต์โต 11.87%mom ตามการขยายตัวของยอดขายภายในประเทศและการส่งออก
สมคิดมั่นใจเศรษฐกิจไทยปีนี้โตเกิน 4% – รองนายกฯสมคิดมั่นใจเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตเกิน 4% ครั้งแรกในรอบทศวรรษ หลังพบสัญญาณความเชื่อมั่นต่างๆชี้ไปในทิศบวก อาทิ การบริโภค การลงทุน ขณะที่มองการปรับตัวลงของตลาดหุ้นเกิดจากปัจจัยภายนอก
ประเด็นติดตาม: 16 พ.ค. – ประชุมกนง. / 14 พ.ค. – MSCI Review / 23 พ.ค. – ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาพ.ร.บ.คัดเลือก ส.ส. ส.ว. / 12
มิ.ย. – การหารือทรัมป์-คิม จอง อึน
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)
เงินเฟ้อสหรัฐฯ ไม่สร้างแรงหนุนเชิงบวกต่อผลตอบแทนพันธบัตร - ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน เม.ย.ขยายตัว 0.2%mom ต่ำกว่าคาดที่ 0.3% และขยายตัว 2.5%yoy สูงสุดในรอบกว่า 1 ปี ตามคาด ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ขยายตัว 2.1%yoy ต่ำกว่าคาดที่ 2.2% ด้วยตัวเลขบ่งชี้เงินเฟ้อที่ชะลอกว่าคาดและไม่สร้าง positive surprise เป็นเหตุให้ค่าเงินเหรียญฯและผลตอบแทนพันธบัตรชะลอตัวระยะสั้น
BOE คงดอกเบี้ย พร้อมลดคาดการณ์เศรษฐกิจ - ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ตามคาด จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา (GDP ไตรมาส 1/61 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี) พร้อมปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 61 จาก 1.8% เหลือ 1.4%
ส.อ.ท.เผยตัวเลขอุตสาหกรรม - ส.อ.ท.เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. อยู่ที่ 89.1 ลดลงจากเดือน มี.ค.ที่ 90.7 เนื่องจากวำทำงานที่น้อยกว่าปกติในช่วงหยุดสงกรานต์ // ขณะที่ยอดการผลิตรถยนต์โต 11.87%mom ตามการขยายตัวของยอดขายภายในประเทศและการส่งออก
สมคิดมั่นใจเศรษฐกิจไทยปีนี้โตเกิน 4% – รองนายกฯสมคิดมั่นใจเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตเกิน 4% ครั้งแรกในรอบทศวรรษ หลังพบสัญญาณความเชื่อมั่นต่างๆชี้ไปในทิศบวก อาทิ การบริโภค การลงทุน ขณะที่มองการปรับตัวลงของตลาดหุ้นเกิดจากปัจจัยภายนอก
ประเด็นติดตาม: 16 พ.ค. – ประชุมกนง. / 14 พ.ค. – MSCI Review / 23 พ.ค. – ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาพ.ร.บ.คัดเลือก ส.ส. ส.ว. / 12
มิ.ย. – การหารือทรัมป์-คิม จอง อึน
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)