- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 09 May 2018 17:32
- Hits: 578
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แรงเทขายหุ้นจากต่างชาติยังมีอยู่ หลังเงินบาทอ่อนค่าเร็วกว่าเพื่อนบ้าน จึงคาด SET Index แกว่งตัวลงในกรอบ 1750-1775 จุด และความเสี่ยงสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯยังกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก ขณะที่อาจเห็น Sell on fact รับงบ 1Q61 ในหุ้น Real sector กลยุทธ์เลือกหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด มี P/E ต่ำกว่า 15 เท่า (QH, EASTW, LH, BBL) และได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (CPF, TU, HANA, GFPT) Top picks QH([email protected]) CPF(FV@B30) ราคาหุ้นยัง laggards มาก
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ …..กลุ่มพลังงาน-สื่อสาร กดตลาดหุ้นดิ่ง 19 จุด
วานนี้ดัชนีแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวันและปิดตลาดที่ 1760.25 จุด ลดลง 19.55 จุด (-1.10%) เป็นการปรับฐานที่รุนแรงอีกครั้งของปีนี้ พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 6.12 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้แรงขายส่วนใหญ่มาจากหุ้นกลุ่ม ปตท. (PTT PTTEP PTTGC) กดดันตลาดเกือบ 10 จุด รวมถึงหุ้นโรงไฟฟ้า GPSC เผชิญแรงขายรับงบ (-4.13%) ตามด้วย กลุ่มสื่อสารฯ (TRUE DTAC ADVANC) แม้ กสทช. เดินหน้าประมูล โดยจะเปิดเผยรายละเอียดการประมูลคลื่น 1800 MHz 15 มิ.ย. นี้ ตรงกันข้ามขนาดใหญ่กลุ่ม ธ.พ. ขนาดใหญ่ปรับตัวขึ้นโดดเด่น (SCB BBL KBANK) ตอบรับข่าวโอกาสเลื่อนใช้ TFRS 9 จากเดิมปี 2562
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัว 1750-1775 จุด เชื่อ fund flow ยังไหลออก โดยมีเงินบาทอ่อนค่าเป็นแรงกดดัน และความเสี่ยงจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ยังมีอยู่
แบงก์พาณิชย์พร้อมใช้ IFRS9 ยกเว้นแบงก์รัฐ
กระแสข่าวจะเลื่อน IFRS9 ดูเหมือนจะมีมากขึ้น หลังจากที่หน่วยงานรัฐเรียกระดมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่จากที่นักวิเคราะห์ ASPS ได้พูดคุยกับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งส่วนใหญ่มีความพร้อม และ ต้องการให้เดินหน้าต่อ สะท้อนจากค่าเฉลี่ย NPL Coverage ratio สูงถึง 142% ยกเว้นเพียง KTB ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และน่าจะเป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เป็นต้น
และตามโดยปกติเมื่อธนาคารฯ มีการตั้งสำรองฯ แล้วจะไม่มีการ reverse รายการกลับเป็นรายได้ แต่เป็นการเตรียมตั้งสำรองส่วนเกิน เมื่อเกิดการด้อยค่าของลูกค้า ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ไม่ต้องตั้งค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ มากเหมือนปัจจุบัน ประกอบกับภายใต้มาตรฐานใหม่ มีข้อกำหนดการตั้งสำรองฯ ที่ชัดเจนมากขึ้น คาด Coverage ratio ที่สูงมากๆ ในช่วงที่ผ่านมา อาจจะไม่ได้เห็นแล้วเมื่อมีการใช้มาตรฐานใหม่ (เพราะสำรองเดิมสูง ส่วนเพิ่มจะน้อยลง)
อย่างไรก็ตามปัจจัยกดดันที่ยังมีอยู่คือ ผลการดำเนินงาน 2Q61 คาดจะอ่อนตัวลงจาก 1Q61 จาก ผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่หดตัวลงมาก (35% ของรายได้สุทธิของกลุ่มฯ) จากการฟรีค่าธรรมเนียมสำหรับธุรกรรมผ่านช่อง on-line ของ ธ.พ.ใหญ่-กลาง (8% ของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ กลุ่มที่ 35%) โดย ธ.พ. ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบมากสุด คือ KBANK เพราะมีรายได้จากธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็น 6-7% ของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ตามด้วย SCB และ BBL 5% เท่ากัน และ KTB 4% อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรฯ สะท้อนปัจจัยกดดันดังกล่าวไปแล้ว
ฝ่ายวิจัยแนะนำ BBL (FV@B220) คาดผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงน้อยสุด และตั้งสำรองฯ สูงที่สุด รวมถึงสินเชื่อหลักจะถูกขับเคลื่อนจากการเติบโตของสินเชื่อรายใหญ่ (Corporate Loan) จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โครงการ EEC และ SME รวมทั้งภาคเอกชนที่ทยอยเกิดขึ้นนับจากนี้
กลยุทธ์การลงทุน
แรงเทขายหุ้นจากต่างชาติยังมีอยู่ หลังเงินบาทอ่อนค่าเร็วกว่าเพื่อนบ้าน จึงคาด SET Index แกว่งตัวลงในกรอบ 1750-1775 จุด และความเสี่ยงสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯยังกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก ขณะที่อาจเห็น Sell on fact รับงบ 1Q61 ในหุ้น Real sector กลยุทธ์เลือกหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด มี P/E ต่ำกว่า 15 เท่า (QH, EASTW, LH, BBL) และได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (CPF, TU, HANA, GFPT) Top picks QH([email protected]) CPF(FV@B30) ราคาหุ้นยัง laggards มาก
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ …..กลุ่มพลังงาน-สื่อสาร กดตลาดหุ้นดิ่ง 19 จุด
วานนี้ดัชนีแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวันและปิดตลาดที่ 1760.25 จุด ลดลง 19.55 จุด (-1.10%) เป็นการปรับฐานที่รุนแรงอีกครั้งของปีนี้ พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 6.12 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้แรงขายส่วนใหญ่มาจากหุ้นกลุ่ม ปตท. (PTT PTTEP PTTGC) กดดันตลาดเกือบ 10 จุด รวมถึงหุ้นโรงไฟฟ้า GPSC เผชิญแรงขายรับงบ (-4.13%) ตามด้วย กลุ่มสื่อสารฯ (TRUE DTAC ADVANC) แม้ กสทช. เดินหน้าประมูล โดยจะเปิดเผยรายละเอียดการประมูลคลื่น 1800 MHz 15 มิ.ย. นี้ ตรงกันข้ามขนาดใหญ่กลุ่ม ธ.พ. ขนาดใหญ่ปรับตัวขึ้นโดดเด่น (SCB BBL KBANK) ตอบรับข่าวโอกาสเลื่อนใช้ TFRS 9 จากเดิมปี 2562
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัว 1750-1775 จุด เชื่อ fund flow ยังไหลออก โดยมีเงินบาทอ่อนค่าเป็นแรงกดดัน และความเสี่ยงจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ยังมีอยู่
แบงก์พาณิชย์พร้อมใช้ IFRS9 ยกเว้นแบงก์รัฐ
กระแสข่าวจะเลื่อน IFRS9 ดูเหมือนจะมีมากขึ้น หลังจากที่หน่วยงานรัฐเรียกระดมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่จากที่นักวิเคราะห์ ASPS ได้พูดคุยกับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งส่วนใหญ่มีความพร้อม และ ต้องการให้เดินหน้าต่อ สะท้อนจากค่าเฉลี่ย NPL Coverage ratio สูงถึง 142% ยกเว้นเพียง KTB ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และน่าจะเป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เป็นต้น
และตามโดยปกติเมื่อธนาคารฯ มีการตั้งสำรองฯ แล้วจะไม่มีการ reverse รายการกลับเป็นรายได้ แต่เป็นการเตรียมตั้งสำรองส่วนเกิน เมื่อเกิดการด้อยค่าของลูกค้า ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ไม่ต้องตั้งค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ มากเหมือนปัจจุบัน ประกอบกับภายใต้มาตรฐานใหม่ มีข้อกำหนดการตั้งสำรองฯ ที่ชัดเจนมากขึ้น คาด Coverage ratio ที่สูงมากๆ ในช่วงที่ผ่านมา อาจจะไม่ได้เห็นแล้วเมื่อมีการใช้มาตรฐานใหม่ (เพราะสำรองเดิมสูง ส่วนเพิ่มจะน้อยลง)
อย่างไรก็ตามปัจจัยกดดันที่ยังมีอยู่คือ ผลการดำเนินงาน 2Q61 คาดจะอ่อนตัวลงจาก 1Q61 จาก ผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่หดตัวลงมาก (35% ของรายได้สุทธิของกลุ่มฯ) จากการฟรีค่าธรรมเนียมสำหรับธุรกรรมผ่านช่อง on-line ของ ธ.พ.ใหญ่-กลาง (8% ของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ กลุ่มที่ 35%) โดย ธ.พ. ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบมากสุด คือ KBANK เพราะมีรายได้จากธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็น 6-7% ของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ตามด้วย SCB และ BBL 5% เท่ากัน และ KTB 4% อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรฯ สะท้อนปัจจัยกดดันดังกล่าวไปแล้ว
ฝ่ายวิจัยแนะนำ BBL (FV@B220) คาดผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงน้อยสุด และตั้งสำรองฯ สูงที่สุด รวมถึงสินเชื่อหลักจะถูกขับเคลื่อนจากการเติบโตของสินเชื่อรายใหญ่ (Corporate Loan) จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โครงการ EEC และ SME รวมทั้งภาคเอกชนที่ทยอยเกิดขึ้นนับจากนี้
สหรัฐฯเตรียมคว่ำบาตรอิหร่าน ไม่กระทบ Supply น้ำมันโลก
สหรัฐเตรียมถอนตัวออกจากข้อตกลงพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านปี 2558 ซึ่งมีการทำสัญญากับอีก 5 ประเทศ คือ จีน, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, รัสเซียและอังกฤษ เพราะพบว่าอิหร่านยังเดินหน้าพัฒนานิวเคลียร์ ผิดข้อตกลง ซึ่งจะนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอิหร่านอีกครั้ง ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นล่าสุดในปี 2555-2558 (3 ปี) สหรัฐห้ามอิหร่านส่งออกน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งอิหร่านมีกำลังการผลิตวันละราว 3.75 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นราว 11.7% ของกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามในรอบนี้แตกต่างจากในอดีตเนื่องจากปัจจุบัน สหรัฐสามารถผลิตน้ำมันดิบทดแทนการนำเข้าได้เกือบทั้งหมด และผลิตได้ล่าสุดวันละ 10.62 ล้านบาร์เรล มากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้ จึงคาดว่าไม่กระทบต่อ supply น้ำมันโลกและ ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่
นอกจากนี้เงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าในระยะกลาง-ยาว ยังกดดันราคาน้ำมันดิบโลก ซึ่งคาดว่าราคาน้ำมันดูไบยังแกว่งอยู่ในกรอบ 70 เหรียญบาร์เรล(ytd 65เหรียญฯ) ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันทุกตัวล้วนมี Upside จำกัดทั้ง PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@B54) จึงแนะนำ Switch ไป BANPU([email protected]) ซึ่งราคายัง laggards
สหรัฐเตรียมถอนตัวออกจากข้อตกลงพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านปี 2558 ซึ่งมีการทำสัญญากับอีก 5 ประเทศ คือ จีน, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, รัสเซียและอังกฤษ เพราะพบว่าอิหร่านยังเดินหน้าพัฒนานิวเคลียร์ ผิดข้อตกลง ซึ่งจะนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอิหร่านอีกครั้ง ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นล่าสุดในปี 2555-2558 (3 ปี) สหรัฐห้ามอิหร่านส่งออกน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งอิหร่านมีกำลังการผลิตวันละราว 3.75 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นราว 11.7% ของกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามในรอบนี้แตกต่างจากในอดีตเนื่องจากปัจจุบัน สหรัฐสามารถผลิตน้ำมันดิบทดแทนการนำเข้าได้เกือบทั้งหมด และผลิตได้ล่าสุดวันละ 10.62 ล้านบาร์เรล มากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้ จึงคาดว่าไม่กระทบต่อ supply น้ำมันโลกและ ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่
นอกจากนี้เงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าในระยะกลาง-ยาว ยังกดดันราคาน้ำมันดิบโลก ซึ่งคาดว่าราคาน้ำมันดูไบยังแกว่งอยู่ในกรอบ 70 เหรียญบาร์เรล(ytd 65เหรียญฯ) ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันทุกตัวล้วนมี Upside จำกัดทั้ง PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@B54) จึงแนะนำ Switch ไป BANPU([email protected]) ซึ่งราคายัง laggards
เงินบาทอ่อนค่าเร็วและแรง แนะนำหุ้น Laggards CPF, GFPT, TU
สหรัฐยังคงส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง แบบค่อยเป็นค่อยไปและยาวถึงปี 2563 รวมทั้งหมด 8 ครั้งราว 2% จากปัจจุบัน 1.5% (ภายในสิ้นปีนี้จะขึ้น 2 ครั้งและในปี 2562- 2563 ขึ้นอีกปีละ 3 ครั้ง ๆ ละ 0.25%) เพราะเงินเฟ้อยังคงเกินเป้าหมายที่ 2% ทั้งแรงกดดันจาก Demand pull เพราะการจ้างงานเต็มที่ (อัตราการว่างงานต่ำสุด 3.9%) และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น (cost push) หนุนดอลลาร์แข็งแกร่งมากที่สุดเมื่อเทียบทุกสกุลของโลก
ธนาคารกลางยุโรปน่าจะขึ้นดอกเบี้ย เพื่อกำจัดเงินเฟ้อที่เริ่มสูงเช่นกัน เริ่มจากธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) แม้การประชุมวันพฤหัสบดีนี้อาจยืนดอกเบี้ยนฯ ที่ 0.5% แต่มีโอกาสขึ้น 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้เป็น 1% ( เมื่อ พ.ย. ขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 ปี) แต่ยังต่ำกว่าเงินเฟ้อสูง 2.5% (เป้าหมาย 2.0%) แต่เพื่อลดผลกระทบเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว เห็นได้จาก GDP Growth 1Q61 1.2% yoy จาก 1.4% ใน 4Q60 กดดันเงินปอนด์อ่อนค่าต่อเนื่อง (อ่อนค่าแล้ว 5.6% นับจากกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
ตรงข้ามเอเชียยังใช้ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งไทย อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, อินเดีย เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า และ เงินเฟ้อต่ำกว่าดอกเบี้ยฯ (ยกเว้นมาเลเซียขึ้นดอกเบี้ยฯไปเมื่อต้นปีนี้) กดดันเงินเอเชียอ่อนค่า โดยเฉพาะเงินบาทอ่อนตัวอย่างรวดเร็วล่าสุดยืนเหนือ 32 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากแข็งค่า 13.5% ใน 2 ปีที่ผ่านมา (สูงสุด 36.4 บาท เมื่อ ก.ย. 2558) และริงกิตที่กลับมาอ่อนค่า 4% ในช่วงเดียวกัน (หลังจากแข็งค่าราว 12.1% นับจากต้นปี 2560) ซึ่งเป็นปัจจัยกดดัน fund flow ไหลออกทั้งภูมิภาค แต่จะดีต่อหุ้นส่งออกน่าจะได้ประโยชน์ TU, HANA, GFPT, CPF
สหรัฐยังคงส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง แบบค่อยเป็นค่อยไปและยาวถึงปี 2563 รวมทั้งหมด 8 ครั้งราว 2% จากปัจจุบัน 1.5% (ภายในสิ้นปีนี้จะขึ้น 2 ครั้งและในปี 2562- 2563 ขึ้นอีกปีละ 3 ครั้ง ๆ ละ 0.25%) เพราะเงินเฟ้อยังคงเกินเป้าหมายที่ 2% ทั้งแรงกดดันจาก Demand pull เพราะการจ้างงานเต็มที่ (อัตราการว่างงานต่ำสุด 3.9%) และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น (cost push) หนุนดอลลาร์แข็งแกร่งมากที่สุดเมื่อเทียบทุกสกุลของโลก
ธนาคารกลางยุโรปน่าจะขึ้นดอกเบี้ย เพื่อกำจัดเงินเฟ้อที่เริ่มสูงเช่นกัน เริ่มจากธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) แม้การประชุมวันพฤหัสบดีนี้อาจยืนดอกเบี้ยนฯ ที่ 0.5% แต่มีโอกาสขึ้น 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้เป็น 1% ( เมื่อ พ.ย. ขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 ปี) แต่ยังต่ำกว่าเงินเฟ้อสูง 2.5% (เป้าหมาย 2.0%) แต่เพื่อลดผลกระทบเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว เห็นได้จาก GDP Growth 1Q61 1.2% yoy จาก 1.4% ใน 4Q60 กดดันเงินปอนด์อ่อนค่าต่อเนื่อง (อ่อนค่าแล้ว 5.6% นับจากกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
ตรงข้ามเอเชียยังใช้ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งไทย อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, อินเดีย เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า และ เงินเฟ้อต่ำกว่าดอกเบี้ยฯ (ยกเว้นมาเลเซียขึ้นดอกเบี้ยฯไปเมื่อต้นปีนี้) กดดันเงินเอเชียอ่อนค่า โดยเฉพาะเงินบาทอ่อนตัวอย่างรวดเร็วล่าสุดยืนเหนือ 32 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากแข็งค่า 13.5% ใน 2 ปีที่ผ่านมา (สูงสุด 36.4 บาท เมื่อ ก.ย. 2558) และริงกิตที่กลับมาอ่อนค่า 4% ในช่วงเดียวกัน (หลังจากแข็งค่าราว 12.1% นับจากต้นปี 2560) ซึ่งเป็นปัจจัยกดดัน fund flow ไหลออกทั้งภูมิภาค แต่จะดีต่อหุ้นส่งออกน่าจะได้ประโยชน์ TU, HANA, GFPT, CPF
Fund Flow ไหลออกจากภูมิภาคติดต่อกัน 6 วัน…ไทย-อินโดฯโดนหนัก 12 วันติด
วานนี้ต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นทุกประเทศในภูมิภาคกว่า 270 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) หากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ไต้หวันขายสุทธิ 111 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 52 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12), ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิกว่า 90 ล้านเหรียญ หรือ 2.87 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12 มีมูลค่ารวมกว่า 2.60 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 2.30 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิ 1.21 พันล้านบาท (เป็นการขายมาตลอด ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เม.ย. 61 จนถึงปัจจุบันราว 4.17 หมื่นล้านบาท) ทั้งแรงขายหุ้นและตราสารหนี้กดดันให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าใกล้แตะระดับ 32 บาท/เหรียญฯ (อ่อนค่าลงมากว่า 2.67% ในช่วงเวลาดังกล่าว) และยังส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นมาสูงสุดในรอบ 11 เดือน อยู่ที่ 2.67%
Sell on fact ช่วงรายงานงบ 1Q61
จนถึงช่วงเย็นวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานผลประกอบการ 1Q61 แล้วราว 66 บริษัท (เป็นหุ้นขนาดใหญ่ใน SET50 จำนวน 20 บริษัท) คิดเป็น 30% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.12 แสนล้านบาท (คิดเฉพาะที่ประกาศ)น้อยกว่างวด 1Q60 ที่ทำกำไรสุทธิรวม 1.14 แสนล้านบาท แต่มากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิรวม 9.65 หมื่นล้านบาท และหากนับผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่ากำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท มากกว่า 1Q60 ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดว่าฐานกำไรสุทธิรวมงวด 1Q61 น่าจะลดลง YoY แต่ทรงตัว QoQ เพราะงวด 1Q60 มีฐานกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นผลมาจากการบันทึกกำไรพิเศษของ PTT และ PTTEP ไม่มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ อีกทั้งกลุ่มปิโตรฯ PTTGC ที่ทำกำไรสูงสุดรายไตรมาสนับตั้งแต่เข้าตลาดฯ (ธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ ที่ spread ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก)
หุ้นที่รายงานงบ 1Q61 วานนี้สรุปดังนี้
PTTGC (FV@B108) กำไรสุทธิงวด 1Q61 ใกล้เคียงคาด ที่ 1.24 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.6% qoq จากราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นของทุกผลิตภัณฑ์ในสายโอเลฟินส์ ส่วนต้นทุนหลักคือ ก๊าซฯ ยังทรงตัว และท่ามกลางราคาน้ำมันเป็นขาขึ้น จึงหนุน spread ได้ดี แต่ถูกกดดันจากธุรกิจอะโรเมติกส์และโรงกลั่น สำหรับแนวโน้ม 2Q61 จะทรงตัวใกล้เคียง 1Q61 จาก spread ที่แข็งแกร่ง (สายโอเลฟินส์ และอะโรเมติกส์) แต่ Spread จะอ่อนตัวลงใน 2H61 เพราะ supply ใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนค่าการกลั่น (คิดเป็น 30% ของรายได้) ยังดีใน 2Q61 เพราะ โรงกลั่นหลายแห่งทั่วโลกปิดซ่อม บำรุง และราคาน้ำมันดิบดูไบยืนเหนือ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะทำให้มีกำไรจากสต๊อกงวด 2Q61
GPSC(Switch: FV@B64) กำไรสุทธิ 1Q61 เท่ากับ 922.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.8%qoq รับรู้รายได้ขายไฟจากโรงไฟฟ้า IRPC-CP เฟส 2 กำลังการผลิต 99.5 เมกะวัตต์เต็มไตรมาสเป็นครั้งแรก และรายได้จากโรงไฟฟ้า IPP ศรีราชาที่เพิ่ม (เพราะไม่มีแผนการปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าเช่นที่เกิดในงวด 4Q60 และความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง) ส่วนแนวโน้มกำไรปกติ 2Q61 ยังทรงตัวระดับสูง QoQ และเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนทุกโครงการในมือที่จะทยอย COD ในอนาคตไปแล้ว (COD 3 โครงการ ได้แก่ โครงการ CUP Expansion กำลังการผลิต 45 MW (Equity), โครงการน้ำลิก 1 กำลังการผลิต 25.9 MW (Equity) และโครงการ XPCL กำลังการผลิต 321.3 MW) ขณะที่ธุรกิจใหม่โรงงานผลิตแบตเตอรี่ กำลังการผลิต 100 MWh คาดไม่มีนัยฯ ต่อประมาณการกำไร
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8556
วานนี้ต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นทุกประเทศในภูมิภาคกว่า 270 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) หากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ไต้หวันขายสุทธิ 111 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 52 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12), ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิกว่า 90 ล้านเหรียญ หรือ 2.87 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12 มีมูลค่ารวมกว่า 2.60 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 2.30 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิ 1.21 พันล้านบาท (เป็นการขายมาตลอด ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เม.ย. 61 จนถึงปัจจุบันราว 4.17 หมื่นล้านบาท) ทั้งแรงขายหุ้นและตราสารหนี้กดดันให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าใกล้แตะระดับ 32 บาท/เหรียญฯ (อ่อนค่าลงมากว่า 2.67% ในช่วงเวลาดังกล่าว) และยังส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นมาสูงสุดในรอบ 11 เดือน อยู่ที่ 2.67%
Sell on fact ช่วงรายงานงบ 1Q61
จนถึงช่วงเย็นวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานผลประกอบการ 1Q61 แล้วราว 66 บริษัท (เป็นหุ้นขนาดใหญ่ใน SET50 จำนวน 20 บริษัท) คิดเป็น 30% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.12 แสนล้านบาท (คิดเฉพาะที่ประกาศ)น้อยกว่างวด 1Q60 ที่ทำกำไรสุทธิรวม 1.14 แสนล้านบาท แต่มากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิรวม 9.65 หมื่นล้านบาท และหากนับผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่ากำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท มากกว่า 1Q60 ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดว่าฐานกำไรสุทธิรวมงวด 1Q61 น่าจะลดลง YoY แต่ทรงตัว QoQ เพราะงวด 1Q60 มีฐานกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นผลมาจากการบันทึกกำไรพิเศษของ PTT และ PTTEP ไม่มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ อีกทั้งกลุ่มปิโตรฯ PTTGC ที่ทำกำไรสูงสุดรายไตรมาสนับตั้งแต่เข้าตลาดฯ (ธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ ที่ spread ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก)
หุ้นที่รายงานงบ 1Q61 วานนี้สรุปดังนี้
PTTGC (FV@B108) กำไรสุทธิงวด 1Q61 ใกล้เคียงคาด ที่ 1.24 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.6% qoq จากราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นของทุกผลิตภัณฑ์ในสายโอเลฟินส์ ส่วนต้นทุนหลักคือ ก๊าซฯ ยังทรงตัว และท่ามกลางราคาน้ำมันเป็นขาขึ้น จึงหนุน spread ได้ดี แต่ถูกกดดันจากธุรกิจอะโรเมติกส์และโรงกลั่น สำหรับแนวโน้ม 2Q61 จะทรงตัวใกล้เคียง 1Q61 จาก spread ที่แข็งแกร่ง (สายโอเลฟินส์ และอะโรเมติกส์) แต่ Spread จะอ่อนตัวลงใน 2H61 เพราะ supply ใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนค่าการกลั่น (คิดเป็น 30% ของรายได้) ยังดีใน 2Q61 เพราะ โรงกลั่นหลายแห่งทั่วโลกปิดซ่อม บำรุง และราคาน้ำมันดิบดูไบยืนเหนือ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะทำให้มีกำไรจากสต๊อกงวด 2Q61
GPSC(Switch: FV@B64) กำไรสุทธิ 1Q61 เท่ากับ 922.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.8%qoq รับรู้รายได้ขายไฟจากโรงไฟฟ้า IRPC-CP เฟส 2 กำลังการผลิต 99.5 เมกะวัตต์เต็มไตรมาสเป็นครั้งแรก และรายได้จากโรงไฟฟ้า IPP ศรีราชาที่เพิ่ม (เพราะไม่มีแผนการปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าเช่นที่เกิดในงวด 4Q60 และความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง) ส่วนแนวโน้มกำไรปกติ 2Q61 ยังทรงตัวระดับสูง QoQ และเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนทุกโครงการในมือที่จะทยอย COD ในอนาคตไปแล้ว (COD 3 โครงการ ได้แก่ โครงการ CUP Expansion กำลังการผลิต 45 MW (Equity), โครงการน้ำลิก 1 กำลังการผลิต 25.9 MW (Equity) และโครงการ XPCL กำลังการผลิต 321.3 MW) ขณะที่ธุรกิจใหม่โรงงานผลิตแบตเตอรี่ กำลังการผลิต 100 MWh คาดไม่มีนัยฯ ต่อประมาณการกำไร
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8556