- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 08 May 2018 17:29
- Hits: 1696
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนียังคงแกว่งตัวในทิศทางลดลงในกรอบ 1767-1790 จุด ตราบที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าในลักษณะเดียวกับประเทศกำลังพัฒนา สวนทางกับสกุลดอลลาร์ ขณะที่ความเสี่ยงสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯยังกดดันตลาด ขณะที่การรายงานงบ Real sector งวด 1Q61 กลางเดือนนี้จะเห็นแรงขายรับงบ กลยุทธ์เน้นหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด Top picks QH([email protected]) ฐานรายได้และกำไรมั่นคง และ CK(FV@34) ราคาต่ำสุดแล้ว
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้…..แรงขายกลุ่ม รพ.-แบงก์ กดดัน SET Index ปิดตลาดแดนลบ
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งสลับบวกลบตลอดวันก่อนจะย่อตัวลงสู่แดนลบและปิดตลาดที่ 1779.80 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.07 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.49 หมื่นล้านบาท ตลาดยังไร้ปัจจัยบวกเข้ามาหนุน ภาพการเคลื่อนไหวหลายอุตสาหกรรมจึงกระจัดกระจาย โดยกลุ่มที่กดดันตลาดคือ โรงพยาบาล หลังจากหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มฯ (BDMS BH BCH) เผชิญแรงขายต่อเนื่องตั้งแต่เข้าสู่เดือนพฤษภาคม รวมทั้งแรงขายหุ้น ธ.พ. (BBL BAY KKP TISCO) และปัจจัยกดดันเฉพาะตัว (CPF) หลังประกาศลดราคาขายลูกกุ้งและอาหารกุ้ง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-30 มิ.ย. 61 เพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร แต่ผลกระทบต่อกำไรแทบไม่มีนัยฯ อย่างไรก็ตามตลาดยังได้แรงซื้อจากกลุ่ม ICT เข้ามา รวมถึงการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นโรงกลั่น (TOP ESSO SPRC)
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1767-1790 จุด ปัจจัยที่ต้องให้น้ำหนักวันนี้ ยังคงเป็นการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจทำให้ตลาดแกว่งตัวผันผวนได้
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนียังคงแกว่งตัวในทิศทางลดลงในกรอบ 1767-1790 จุด ตราบที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าในลักษณะเดียวกับประเทศกำลังพัฒนา สวนทางกับสกุลดอลลาร์ ขณะที่ความเสี่ยงสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯยังกดดันตลาด ขณะที่การรายงานงบ Real sector งวด 1Q61 กลางเดือนนี้จะเห็นแรงขายรับงบ กลยุทธ์เน้นหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด Top picks QH([email protected]) ฐานรายได้และกำไรมั่นคง และ CK(FV@34) ราคาต่ำสุดแล้ว
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้…..แรงขายกลุ่ม รพ.-แบงก์ กดดัน SET Index ปิดตลาดแดนลบ
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งสลับบวกลบตลอดวันก่อนจะย่อตัวลงสู่แดนลบและปิดตลาดที่ 1779.80 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.07 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.49 หมื่นล้านบาท ตลาดยังไร้ปัจจัยบวกเข้ามาหนุน ภาพการเคลื่อนไหวหลายอุตสาหกรรมจึงกระจัดกระจาย โดยกลุ่มที่กดดันตลาดคือ โรงพยาบาล หลังจากหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มฯ (BDMS BH BCH) เผชิญแรงขายต่อเนื่องตั้งแต่เข้าสู่เดือนพฤษภาคม รวมทั้งแรงขายหุ้น ธ.พ. (BBL BAY KKP TISCO) และปัจจัยกดดันเฉพาะตัว (CPF) หลังประกาศลดราคาขายลูกกุ้งและอาหารกุ้ง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-30 มิ.ย. 61 เพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร แต่ผลกระทบต่อกำไรแทบไม่มีนัยฯ อย่างไรก็ตามตลาดยังได้แรงซื้อจากกลุ่ม ICT เข้ามา รวมถึงการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นโรงกลั่น (TOP ESSO SPRC)
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1767-1790 จุด ปัจจัยที่ต้องให้น้ำหนักวันนี้ ยังคงเป็นการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจทำให้ตลาดแกว่งตัวผันผวนได้
ดอลลาร์แข็งค่าสวนกับทุกสกุลของโลก ตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นแข็งแกร่ง
หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สัปดาห์ที่แล้ว ยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างน้อย 2 ครั้งๆ ละ 0.25% ภายในสิ้นปีนี้ แต่เงินเฟ้อที่ยังสูงกว่าเป้าหมายทำให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยอาจจะมากกว่าคาด และ หนุนดอลลาร์แข็งแกร่งมากที่สุดเมื่อเทียบทุกสกุลของโลก
ขณะที่วันพฤหัสบดีนี้ การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ แม้ตามแผน BOE จะขึ้นดอกเบี้ยฯราว 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% (ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 10 ปีเมื่อเดือน พ.ย. 2560) ขณะที่เงินเฟ้อสูง 2.5% มาก (สูงกว่าเป้าหมาย 2.0%) ทั้งนี้เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว สะท้อน GDP Growth 1Q61 เฉลี่ย 1.2%yoy จาก 1.4% ใน 4Q60 น่าจะหนุนให้เงินปอนด์อ่อนค่าต่อเนื่องหลังจากที่อ่อนค่าราว 5.6% นับจากกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
โดยภาพรวมค่าเงินดอลลาร์ยังเดินหน้าแข็งค่าต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 3 เดือน หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560 ตรงข้ามกับค่าเงินเอเชียที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง คือ เงินบาทซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าเร็วกว่า ล่าสุด 31.82 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่ากว่า 13.46% นับจากปลายปี 2559 หรือกว่า 2 ปี (อยู่ที่ 36.4 บาท เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2558) เช่นเดียวกับริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าลดลงเหลือราว 12.1% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้นรูเปียะห์อินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ยังอ่อนค่าอยู่ น่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61
ต่างชาติยังคงขายหุ้นทั้งภูมิภาค รวมถึงไทย
แม้วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้หยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันเด็ก แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นทุกประเทศในภูมิภาคกว่า 275 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) เริ่มจากไต้หวันขายสุทธิ 176 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 48 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11), ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (หลังซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิอีก 43 ล้านเหรียญ หรือ 1.36 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11 มีมูลค่ารวมกว่า 2.32 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 587 ล้านบาท (หลังขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิ 1.09 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขายมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เม.ย. 61 จนถึงปัจจุบันราว 4.05 หมื่นล้านบาท หนุนให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าถึง 2.25% โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.83 บาท/เหรียญฯ
เข้าสู่ช่วงรายงานงบ 1Q61 คาดเห็นแรงขายรายหุ้น
จนถึงช่วงเย็นวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานผลประกอบการ 1Q61 แล้วราว 46 บริษัท คิดเป็น 29% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.09 แสนล้านบาท (คิดเฉพาะที่ประกาศ)น้อยกว่างวด 1Q60 ที่ทำกำไรสุทธิรวม 1.1 แสนล้านบาท แต่มากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิรวม 9.2 หมื่นล้านบาท และหากนับผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่ากำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 5.6 หมื่นล้านบาท น้อยกว่า 1Q60 ที่ 5.9 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดว่าฐานกำไรสุทธิรวมงวด 1Q61 น่าจะลดลง YoY แต่ทรงตัว QoQ เพราะงวด 1Q60 มีฐานกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นผลมาจากการบันทึกกำไรพิเศษของ PTT และ PTTEP ไม่มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ อีกทั้งกลุ่มปิโตรฯ PTTGC ที่ทำกำไรสูงสุดรายไตรมาสนับตั้งแต่เข้าตลาดฯ (ธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ ที่ spread ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก)
หุ้นที่รายงานงบ 1Q61 วานนี้สรุปดังนี้
TU([email protected]) กำไรสุทธิ 869 ล้านบาท ใกล้เคียงคาด โดยลดลง 39.7% qoq และ 39.3% yoy (คิดเป็นราว 16% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2561) หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและ เงินลงทุน จะมีกำไรจากการดำเนินงานเพียง 139 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดถึง 58% และลดลงถึง 86.4% qoq และ 82.8%yoy หลักๆ กดดันจากธุรกิจทูน่าที่อ่อนตัวลง แต่แนวโน้มจะดีขึ้นในงวดถัดไป เพราะ เข้าช่วงฤดูกาลส่งออกทูน่ากระป๋องและกุ้ง (ต้นทุนวัตถุดิบทูน่าที่อ่อนตัวลงแล้วในช่วง 1Q61)
IRPC([email protected]) กำไรสุทธิ 2.75 พันล้านบาท ลดลง 39.0%qoq เพราะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันที่ลดลง และ ไม่มีกำไรพิเศษเช่นใน 4Q60 แต่หากตัดรายการพิเศษออก กำไรปกติ ยังเติบโตตามคาด 22.2%qoq แต่ใน 2Q61 จะทรงตัวจากงวด 1Q61 เพราะธุรกิจปิโตรเลียม คาด crude premium เฉลี่ยในงวด 2Q61 จะลดลงจาก 1Q61 ทำให้ต้นทุนของโรงกลั่นลดลง แต่ปริมาณขายในประเทศ จะเพิ่ม จากโรงกลั่น BCP หยุดซ่อมบำรุงตามแผน ขณะปิโตรเคมี spread ยังทรงตัวใกล้เคียง 1Q61
GGC([email protected]) กำไรสุทธิ 63.9 ล้านบาท ลดลงถึง 74.5%qoq เพราะบันทึกขาดทุนจากสต็อกวัตถุดิบ (ตามราคาน้ำมันปาล์มที่ลดลง) แต่หากพิจารณาเฉพาะกำไรปกติพบว่ายังสอดคล้องกับที่คาดคือ 323.6 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มกำไรปกติงวด 2Q61 จะทรงตัวใกล้เคียง 1Q61 เพราะปริมาณขายเมทิลเอสเทอร์ (ME สัดส่วน 45% ของรายได้ ใช้ผสมน้ำมันดีเซล) และแฟตตี้แอลกอฮอลส์ (FA ราว 30% ผลิตของใช้เช่น สบู่ เป็นต้น) ยังทรงตัว อีกทั้งคาดราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) และ เมล็ดในปาล์ม (CPKO) ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แนวโน้มบันทึกขาดทุนสต็อกวัตถุดิบในช่วงที่เหลือของปีน้อยลง
TPIPP([email protected]) กำไรสุทธิ 753.9 ล้านบาท เติบโต 27.1%qoq เป็นผลจากการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น หลังติดตั้ง boiler ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ Fx gains ส่วนแนวโน้มกำไรงวด 2Q61 จะเติบโตอย่างมีนัยฯ จากการเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าที่ TG6 กำลังการผลิต 70 เมกะวัตต์ ในเดือน เม.ย ที่ผ่านมา (กำลังการผลิตรวม 220 เมกะวัตต์) และ ใน 2Q61 จะ COD โรงไฟฟ้าอีก 2 แห่ง คือ TG7 และ TG8 รวมกันอีก 220 เมกะวัตต์ ซึ่งได้รวมไว้ในประมาณการปี 2561 แล้ว (หากไม่สามารถผลิตตามแผนกระทบมูลค่าหุ้นราว 0.52 และ 2.31 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ)
ดัชนียังต่ำกว่า 1800 จุด เลือกหุ้นผันผวนน้อย P/E ต่ำและเงินปันผลสูง
เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังขาดแรงหนุน โดยหลังการรายงานงบ 1Q61 เสร็จสิ้นกลางเดือนนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ตอกย้ำ Fund Flow ที่ไหลออกอย่างต่อเนื่อง และหากพิจารณาดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2560 ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวก ถือว่า outperform ตลาดหุ้นเพื่อนหลายแห่ง คือ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ด้านพื้นฐานตลาดหุ้นไทย แม้จะมีระดับ P/E ปี 2561 16.21 เท่า (ภายใต้สมมติฐาน EPS Growth ที่ 12.13%) แต่ใกล้เคียงกับภูมิภาค แต่หากพิจารณาที่ PEG พบว่าหุ้นไทย อยู่ที่ 1.34 เท่า ซึ่งแพงกว่า เวียดนาม 1.05 เท่า, อินโดนีเซีย 1.12 เท่า และจีน 0.99 เท่า ค่อนข้างมาก จึงทำให้คงเห็นแกว่งขึ้นของดัชนีหุ้นไทยในกรอบจำกัด
ภายใต้ภาวะตลาดผันผวน แนะนำกลยุทธ์ Defensive Play เลือกหุ้นที่เข้าเกณฑ์ ASP Score ในเกณฑ์ดีมากขึ้นไป (มากกว่า 6), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ QH, SC, INTUCH, SCC, RATCH, TVO วันนี้เลือก QH([email protected]) เป็น Top pick
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8506
หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สัปดาห์ที่แล้ว ยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างน้อย 2 ครั้งๆ ละ 0.25% ภายในสิ้นปีนี้ แต่เงินเฟ้อที่ยังสูงกว่าเป้าหมายทำให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยอาจจะมากกว่าคาด และ หนุนดอลลาร์แข็งแกร่งมากที่สุดเมื่อเทียบทุกสกุลของโลก
ขณะที่วันพฤหัสบดีนี้ การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ แม้ตามแผน BOE จะขึ้นดอกเบี้ยฯราว 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% (ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 10 ปีเมื่อเดือน พ.ย. 2560) ขณะที่เงินเฟ้อสูง 2.5% มาก (สูงกว่าเป้าหมาย 2.0%) ทั้งนี้เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว สะท้อน GDP Growth 1Q61 เฉลี่ย 1.2%yoy จาก 1.4% ใน 4Q60 น่าจะหนุนให้เงินปอนด์อ่อนค่าต่อเนื่องหลังจากที่อ่อนค่าราว 5.6% นับจากกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
โดยภาพรวมค่าเงินดอลลาร์ยังเดินหน้าแข็งค่าต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 3 เดือน หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560 ตรงข้ามกับค่าเงินเอเชียที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง คือ เงินบาทซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าเร็วกว่า ล่าสุด 31.82 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่ากว่า 13.46% นับจากปลายปี 2559 หรือกว่า 2 ปี (อยู่ที่ 36.4 บาท เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2558) เช่นเดียวกับริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าลดลงเหลือราว 12.1% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้นรูเปียะห์อินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ยังอ่อนค่าอยู่ น่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61
ต่างชาติยังคงขายหุ้นทั้งภูมิภาค รวมถึงไทย
แม้วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้หยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันเด็ก แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นทุกประเทศในภูมิภาคกว่า 275 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) เริ่มจากไต้หวันขายสุทธิ 176 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 48 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11), ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (หลังซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิอีก 43 ล้านเหรียญ หรือ 1.36 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11 มีมูลค่ารวมกว่า 2.32 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 587 ล้านบาท (หลังขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิ 1.09 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขายมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เม.ย. 61 จนถึงปัจจุบันราว 4.05 หมื่นล้านบาท หนุนให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าถึง 2.25% โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.83 บาท/เหรียญฯ
เข้าสู่ช่วงรายงานงบ 1Q61 คาดเห็นแรงขายรายหุ้น
จนถึงช่วงเย็นวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานผลประกอบการ 1Q61 แล้วราว 46 บริษัท คิดเป็น 29% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.09 แสนล้านบาท (คิดเฉพาะที่ประกาศ)น้อยกว่างวด 1Q60 ที่ทำกำไรสุทธิรวม 1.1 แสนล้านบาท แต่มากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิรวม 9.2 หมื่นล้านบาท และหากนับผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่ากำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 5.6 หมื่นล้านบาท น้อยกว่า 1Q60 ที่ 5.9 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดว่าฐานกำไรสุทธิรวมงวด 1Q61 น่าจะลดลง YoY แต่ทรงตัว QoQ เพราะงวด 1Q60 มีฐานกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นผลมาจากการบันทึกกำไรพิเศษของ PTT และ PTTEP ไม่มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ อีกทั้งกลุ่มปิโตรฯ PTTGC ที่ทำกำไรสูงสุดรายไตรมาสนับตั้งแต่เข้าตลาดฯ (ธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ ที่ spread ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก)
หุ้นที่รายงานงบ 1Q61 วานนี้สรุปดังนี้
TU([email protected]) กำไรสุทธิ 869 ล้านบาท ใกล้เคียงคาด โดยลดลง 39.7% qoq และ 39.3% yoy (คิดเป็นราว 16% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2561) หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและ เงินลงทุน จะมีกำไรจากการดำเนินงานเพียง 139 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดถึง 58% และลดลงถึง 86.4% qoq และ 82.8%yoy หลักๆ กดดันจากธุรกิจทูน่าที่อ่อนตัวลง แต่แนวโน้มจะดีขึ้นในงวดถัดไป เพราะ เข้าช่วงฤดูกาลส่งออกทูน่ากระป๋องและกุ้ง (ต้นทุนวัตถุดิบทูน่าที่อ่อนตัวลงแล้วในช่วง 1Q61)
IRPC([email protected]) กำไรสุทธิ 2.75 พันล้านบาท ลดลง 39.0%qoq เพราะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันที่ลดลง และ ไม่มีกำไรพิเศษเช่นใน 4Q60 แต่หากตัดรายการพิเศษออก กำไรปกติ ยังเติบโตตามคาด 22.2%qoq แต่ใน 2Q61 จะทรงตัวจากงวด 1Q61 เพราะธุรกิจปิโตรเลียม คาด crude premium เฉลี่ยในงวด 2Q61 จะลดลงจาก 1Q61 ทำให้ต้นทุนของโรงกลั่นลดลง แต่ปริมาณขายในประเทศ จะเพิ่ม จากโรงกลั่น BCP หยุดซ่อมบำรุงตามแผน ขณะปิโตรเคมี spread ยังทรงตัวใกล้เคียง 1Q61
GGC([email protected]) กำไรสุทธิ 63.9 ล้านบาท ลดลงถึง 74.5%qoq เพราะบันทึกขาดทุนจากสต็อกวัตถุดิบ (ตามราคาน้ำมันปาล์มที่ลดลง) แต่หากพิจารณาเฉพาะกำไรปกติพบว่ายังสอดคล้องกับที่คาดคือ 323.6 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มกำไรปกติงวด 2Q61 จะทรงตัวใกล้เคียง 1Q61 เพราะปริมาณขายเมทิลเอสเทอร์ (ME สัดส่วน 45% ของรายได้ ใช้ผสมน้ำมันดีเซล) และแฟตตี้แอลกอฮอลส์ (FA ราว 30% ผลิตของใช้เช่น สบู่ เป็นต้น) ยังทรงตัว อีกทั้งคาดราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) และ เมล็ดในปาล์ม (CPKO) ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แนวโน้มบันทึกขาดทุนสต็อกวัตถุดิบในช่วงที่เหลือของปีน้อยลง
TPIPP([email protected]) กำไรสุทธิ 753.9 ล้านบาท เติบโต 27.1%qoq เป็นผลจากการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น หลังติดตั้ง boiler ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ Fx gains ส่วนแนวโน้มกำไรงวด 2Q61 จะเติบโตอย่างมีนัยฯ จากการเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าที่ TG6 กำลังการผลิต 70 เมกะวัตต์ ในเดือน เม.ย ที่ผ่านมา (กำลังการผลิตรวม 220 เมกะวัตต์) และ ใน 2Q61 จะ COD โรงไฟฟ้าอีก 2 แห่ง คือ TG7 และ TG8 รวมกันอีก 220 เมกะวัตต์ ซึ่งได้รวมไว้ในประมาณการปี 2561 แล้ว (หากไม่สามารถผลิตตามแผนกระทบมูลค่าหุ้นราว 0.52 และ 2.31 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ)
ดัชนียังต่ำกว่า 1800 จุด เลือกหุ้นผันผวนน้อย P/E ต่ำและเงินปันผลสูง
เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังขาดแรงหนุน โดยหลังการรายงานงบ 1Q61 เสร็จสิ้นกลางเดือนนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ตอกย้ำ Fund Flow ที่ไหลออกอย่างต่อเนื่อง และหากพิจารณาดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2560 ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวก ถือว่า outperform ตลาดหุ้นเพื่อนหลายแห่ง คือ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ด้านพื้นฐานตลาดหุ้นไทย แม้จะมีระดับ P/E ปี 2561 16.21 เท่า (ภายใต้สมมติฐาน EPS Growth ที่ 12.13%) แต่ใกล้เคียงกับภูมิภาค แต่หากพิจารณาที่ PEG พบว่าหุ้นไทย อยู่ที่ 1.34 เท่า ซึ่งแพงกว่า เวียดนาม 1.05 เท่า, อินโดนีเซีย 1.12 เท่า และจีน 0.99 เท่า ค่อนข้างมาก จึงทำให้คงเห็นแกว่งขึ้นของดัชนีหุ้นไทยในกรอบจำกัด
ภายใต้ภาวะตลาดผันผวน แนะนำกลยุทธ์ Defensive Play เลือกหุ้นที่เข้าเกณฑ์ ASP Score ในเกณฑ์ดีมากขึ้นไป (มากกว่า 6), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ QH, SC, INTUCH, SCC, RATCH, TVO วันนี้เลือก QH([email protected]) เป็น Top pick
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8506