- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 07 May 2018 17:41
- Hits: 1400
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันแรกของสัปดาห์ SET Index น่าจะยังแกว่งตัวในกรอบ 1767-1790 จุด แรงกดดันยังมาจากเงินทุนไหลออก หลังดอลล่าร์ฯแข็งค่าต่อเนื่อง ขณะที่อาร์เจนตินาเผชิญกับค่าเงินอ่อนมากสุดแห่งหนึ่งของโลก ส่วนเจรจาการค้าจีน-สหรัฐฯ ไม่มีความคืบหน้า ด้านงบ Real sector งวด 1Q61 ใกล้สิ้ดสุดกลางเดือนนี้ มีน้ำหนักหนุนดัชนีน้อย กลยุทธ์ เน้น“Domestic Play/Defensive Play” ชอบ QH([email protected]) ฐานรายได้และกำไรมั่นคง และ CK(FV@34) ราคาต่ำสุดแล้ว
ย้อนรอยหุ้นไทยวันศุกร์ ….. เทขายหุ้น Big cap กดตลาดปิดร่วง
วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในทิศทางลงตลอดวันเช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค และ ปิดที่ 1779.87 จุด ลดลง 10.93 จุด หรือ 0.61% มูลค่าการซื้อขาย 5.59 หมื่นล้านบาท แรงขายกดดันตลาดฯ ส่วนใหญ่มาจากหุ้นขนาดใหญ่ในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน PTT PTTGC IVL หุ้นโรงไฟฟ้า IPP อย่าง GLOW ถูกกดดันจากการขึ้น XD ปันผล 4.219 บาท/หุ้น ตามด้วยแรงขายต่อเนื่องในหุ้นกลุ่ม ธ.พ. (BBL KBANK BAY) และหุ้นขนาดใหญ่อื่นๆ SCC CPALL AOT ตรง ข้ามกับกลุ่มอสังหาฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้นมา หลังราคาหุ้นปรับลดลงไปค่อนข้างมาก
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1767-1790 จุด ประเด็นที่ต้องติดตามคือการรายงานผลประกอบการงวด 1Q61 ของ real sector
Dollar ยังแข็งค่า เงินทุนจะไหลออกจากประเทศกำลังพัฒนา,อาร์เจนตินาเงินอ่อนค่าหนัก
Dollar มีแนวโน้มแข็งค่าตามเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง ตอกย้ำดอกเบี้ยขาขึ้น หลังรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน เม.ย. เพิ่มติดต่อกัน 2 เดือน หนุนอัตราการว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 13 ปีที่ 3.9% (จาก 4.1% เดือน มี.ค.) สะท้อนว่าใกล้จุดอิ่มตัว ซึ่งอาจจะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ร้อนแรง (Demand pull) ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบยังคงยืนเหนือ 70 เหรียญฯ น่าจะเป็นปัจจัยกดดันเงินเฟ้อทั้งด้านต้นทุน (cost push) กดดัน Fed ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้
ตรงข้ามกับค่าเงินประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในทิศทางอ่อนค่า โดยเฉพาะที่ประเทศที่มีปัญหาเงินเฟ้อสูงอย่างในอเมริกาใต้ อย่าง อาร์เจนตินา เผชิญกับค่าเงินอ่อนค่าติดต่อกว่า 10 ปี กว่า 542% (จาก 6.5 เปโซต่อดอลลาร์ เป็น 21.86) หรือนับจากที่ประธานาธิบดี Mauricio Macri เข้าบริหารประเทศ 11 ธ.ค. 2558 เงินเปโซอ่อนค่าราว 70% ซึ่งเป็นผลจากปัญหาที่เรื้อรัง (วิกฤติหนี้สินต่างประเทศและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดตั้งปี 2552 เพราะสินค้าส่งออกคือ ธัญญพืช คือ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวสาลี แต่นำเข้า รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์) และค่าครองชีพที่สูงหลังจากรัฐบาลยกเลิกมาตรการช่วยสาธารณูปโภค และ ล่าสุดปัญหาภัยแล้ง ล่าสุดธนาคารกลางจึงขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกัน 3 ครั้ง ภายใน 2 สัปดาห์รวม 12.75% (27 เม.ย. ขึ้น 3% , 3 พ.ค. ขึ้น 3% และ 4 พ.ค. ขึ้น 6.75%) เป็น 40% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อล่าสุดจะอยู่ที่ 25% (สูงกว่าเป้าหมายที่ 15%)
เชื่อว่าแนวโน้มค่าเงินที่อ่อนค่าน่าจะเป็นปัจจัยกดดันให้ Fund flow ไหลออกจากประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงฝั่ง TIP ทั้งนี้ไทยยมิได้มีปัญหาทั้งเงินเฟ้อ และ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่เผชิญกับการเติบโตล่าช้ากว่าประเทศพัฒนาแล้ว และการเมืองยังเดินไปสู่การเลือกตั้งล่าช้า
กลยุทธ์การลงทุน
วันแรกของสัปดาห์ SET Index น่าจะยังแกว่งตัวในกรอบ 1767-1790 จุด แรงกดดันยังมาจากเงินทุนไหลออก หลังดอลล่าร์ฯแข็งค่าต่อเนื่อง ขณะที่อาร์เจนตินาเผชิญกับค่าเงินอ่อนมากสุดแห่งหนึ่งของโลก ส่วนเจรจาการค้าจีน-สหรัฐฯ ไม่มีความคืบหน้า ด้านงบ Real sector งวด 1Q61 ใกล้สิ้ดสุดกลางเดือนนี้ มีน้ำหนักหนุนดัชนีน้อย กลยุทธ์ เน้น“Domestic Play/Defensive Play” ชอบ QH([email protected]) ฐานรายได้และกำไรมั่นคง และ CK(FV@34) ราคาต่ำสุดแล้ว
ย้อนรอยหุ้นไทยวันศุกร์ ….. เทขายหุ้น Big cap กดตลาดปิดร่วง
วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในทิศทางลงตลอดวันเช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค และ ปิดที่ 1779.87 จุด ลดลง 10.93 จุด หรือ 0.61% มูลค่าการซื้อขาย 5.59 หมื่นล้านบาท แรงขายกดดันตลาดฯ ส่วนใหญ่มาจากหุ้นขนาดใหญ่ในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน PTT PTTGC IVL หุ้นโรงไฟฟ้า IPP อย่าง GLOW ถูกกดดันจากการขึ้น XD ปันผล 4.219 บาท/หุ้น ตามด้วยแรงขายต่อเนื่องในหุ้นกลุ่ม ธ.พ. (BBL KBANK BAY) และหุ้นขนาดใหญ่อื่นๆ SCC CPALL AOT ตรง ข้ามกับกลุ่มอสังหาฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้นมา หลังราคาหุ้นปรับลดลงไปค่อนข้างมาก
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1767-1790 จุด ประเด็นที่ต้องติดตามคือการรายงานผลประกอบการงวด 1Q61 ของ real sector
Dollar ยังแข็งค่า เงินทุนจะไหลออกจากประเทศกำลังพัฒนา,อาร์เจนตินาเงินอ่อนค่าหนัก
Dollar มีแนวโน้มแข็งค่าตามเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง ตอกย้ำดอกเบี้ยขาขึ้น หลังรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน เม.ย. เพิ่มติดต่อกัน 2 เดือน หนุนอัตราการว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 13 ปีที่ 3.9% (จาก 4.1% เดือน มี.ค.) สะท้อนว่าใกล้จุดอิ่มตัว ซึ่งอาจจะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ร้อนแรง (Demand pull) ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบยังคงยืนเหนือ 70 เหรียญฯ น่าจะเป็นปัจจัยกดดันเงินเฟ้อทั้งด้านต้นทุน (cost push) กดดัน Fed ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้
ตรงข้ามกับค่าเงินประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในทิศทางอ่อนค่า โดยเฉพาะที่ประเทศที่มีปัญหาเงินเฟ้อสูงอย่างในอเมริกาใต้ อย่าง อาร์เจนตินา เผชิญกับค่าเงินอ่อนค่าติดต่อกว่า 10 ปี กว่า 542% (จาก 6.5 เปโซต่อดอลลาร์ เป็น 21.86) หรือนับจากที่ประธานาธิบดี Mauricio Macri เข้าบริหารประเทศ 11 ธ.ค. 2558 เงินเปโซอ่อนค่าราว 70% ซึ่งเป็นผลจากปัญหาที่เรื้อรัง (วิกฤติหนี้สินต่างประเทศและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดตั้งปี 2552 เพราะสินค้าส่งออกคือ ธัญญพืช คือ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวสาลี แต่นำเข้า รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์) และค่าครองชีพที่สูงหลังจากรัฐบาลยกเลิกมาตรการช่วยสาธารณูปโภค และ ล่าสุดปัญหาภัยแล้ง ล่าสุดธนาคารกลางจึงขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกัน 3 ครั้ง ภายใน 2 สัปดาห์รวม 12.75% (27 เม.ย. ขึ้น 3% , 3 พ.ค. ขึ้น 3% และ 4 พ.ค. ขึ้น 6.75%) เป็น 40% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อล่าสุดจะอยู่ที่ 25% (สูงกว่าเป้าหมายที่ 15%)
เชื่อว่าแนวโน้มค่าเงินที่อ่อนค่าน่าจะเป็นปัจจัยกดดันให้ Fund flow ไหลออกจากประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงฝั่ง TIP ทั้งนี้ไทยยมิได้มีปัญหาทั้งเงินเฟ้อ และ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่เผชิญกับการเติบโตล่าช้ากว่าประเทศพัฒนาแล้ว และการเมืองยังเดินไปสู่การเลือกตั้งล่าช้า
เลือกตั้งในประเทศ อาจเกิดขึ้นใน 2Q62 vs ยังคุมเข้มกิจกรรมทางการเมือง
คาดการเลือกตั้งเริ่มเห็นกำหนดการที่ชัดเจนขึ้น หลังศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัย ว่าร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับ คือ ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.ฯ และ ส.ส.ฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ 23 พ.ค. 2561 ทั้งนี้หากผลการวินิจฉัยออกมาว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะเริ่มกระบวนการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในราวต้นเดือน มิ.ย.2561 หลังจากนั้นภายใน 90 วัน หรือราว ก.ย. 2561 ก็น่าจะมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ว.ฯ จะมีผลบังคับทันที่ ส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จะมีผลบังคับในอีก 90 วันข้างหน้า หรือ ธ.ค.2561 ซึ่งหลังจากนี้อีก 150 วันจึงจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ คือราว 2Q62
ขณะที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองดูเหมือนจะยังจำกัด กล่าวคือ การเคลื่อนไหวพรรคการเมืองเปิดโอกาสให้ผู้สนใจจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่มีเวลา 180 วัน เริ่ม 1 มี.ค.61
ส่วนพรรคการเมืองเดิม มีเวลา 30 วัน เริ่มจาก 1 เม.ย. 2561 โดยให้สมาชิกพรรคยืนยันการเป็นสมาชิกและชำระค่าบำรุงพรรค ซึ่งพบว่ามีจำนวนสมาชิกพรรคที่มายืนยันราว 10% ของฐานจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ซึ่งถือว่าน้อยมาก ส่วนผู้ที่ไม่มายืนยันถือว่าขาดจากความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดิม และสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นได้ เมื่อ คสช. เปิดให้ดำเนินการ
ขณะที่การเคลื่อนไหวของภาคประชาชน เริ่มเห็นการชุมนุมของ กลุ่มคนเลือกตั้ง เมื่อ 5 พ.ค. ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งเดือน พ.ย. 2561 และ มีแผนจะไปชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 22 พ.ค.2561 ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น
คาดการเลือกตั้งเริ่มเห็นกำหนดการที่ชัดเจนขึ้น หลังศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัย ว่าร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับ คือ ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.ฯ และ ส.ส.ฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ 23 พ.ค. 2561 ทั้งนี้หากผลการวินิจฉัยออกมาว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะเริ่มกระบวนการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในราวต้นเดือน มิ.ย.2561 หลังจากนั้นภายใน 90 วัน หรือราว ก.ย. 2561 ก็น่าจะมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ว.ฯ จะมีผลบังคับทันที่ ส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จะมีผลบังคับในอีก 90 วันข้างหน้า หรือ ธ.ค.2561 ซึ่งหลังจากนี้อีก 150 วันจึงจะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้ คือราว 2Q62
ขณะที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองดูเหมือนจะยังจำกัด กล่าวคือ การเคลื่อนไหวพรรคการเมืองเปิดโอกาสให้ผู้สนใจจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่มีเวลา 180 วัน เริ่ม 1 มี.ค.61
ส่วนพรรคการเมืองเดิม มีเวลา 30 วัน เริ่มจาก 1 เม.ย. 2561 โดยให้สมาชิกพรรคยืนยันการเป็นสมาชิกและชำระค่าบำรุงพรรค ซึ่งพบว่ามีจำนวนสมาชิกพรรคที่มายืนยันราว 10% ของฐานจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ซึ่งถือว่าน้อยมาก ส่วนผู้ที่ไม่มายืนยันถือว่าขาดจากความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดิม และสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นได้ เมื่อ คสช. เปิดให้ดำเนินการ
ขณะที่การเคลื่อนไหวของภาคประชาชน เริ่มเห็นการชุมนุมของ กลุ่มคนเลือกตั้ง เมื่อ 5 พ.ค. ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งเดือน พ.ย. 2561 และ มีแผนจะไปชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 22 พ.ค.2561 ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น
ต่างชาติขายหุ้นไทยติดต่อกัน 10 วันแล้ว
วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่า 347 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงฟิลิปปินส์ที่ถูกสลับมาซื้อสุทธิ 10 ล้านเหรียญ (หลังขายติดต่อกัน 10 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติยังขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิ 130 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 60 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10), เกาหลีใต้ 36 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิมากสุดในภูมิภาค 131 ล้านเหรียญ หรือ 4.14 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 ด้วยมูลค่ารวมกว่า 2.18 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.38 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 1.64 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ของไทยยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.63%
ฤดูการแจ้งงบ 1Q61 ใกล้จบ หมดข่าวดีหุ้นรายตัว
นับถึงเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่ามีการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน 33 บริษัท คิดเป็นเพียง 24% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ซึ่งภาพรวมกำไรสุทธิอยู่ที่ 9.2 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับงวด 1Q60 ที่ 9.15 หมื่นล้านบาท และหากนับผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว พบว่ามีกำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.7%yoy และ 63.0%qoq
ทั้งนี้นับตั้งแต่ปลายสัปดาห์นี้ ถึงกลางสัปดาห์หน้า (นับจากสิ้นไตรมาสแรก ไป 45 วัน) บริษัทจดทะเบียนจะทยอยประกาศงบฯ ออกมา ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดว่าฐานกำไรสุทธิรวมงวด 1Q61 น่าจะลดลง YoY แต่ทรงตัว QoQ เพราะงวด 1Q60 มีฐานกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากการบันทึก Stock Gain จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นมาก
วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่า 347 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงฟิลิปปินส์ที่ถูกสลับมาซื้อสุทธิ 10 ล้านเหรียญ (หลังขายติดต่อกัน 10 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติยังขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิ 130 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 60 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10), เกาหลีใต้ 36 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิมากสุดในภูมิภาค 131 ล้านเหรียญ หรือ 4.14 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 ด้วยมูลค่ารวมกว่า 2.18 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.38 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 1.64 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ของไทยยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.63%
ฤดูการแจ้งงบ 1Q61 ใกล้จบ หมดข่าวดีหุ้นรายตัว
นับถึงเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่ามีการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน 33 บริษัท คิดเป็นเพียง 24% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ซึ่งภาพรวมกำไรสุทธิอยู่ที่ 9.2 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับงวด 1Q60 ที่ 9.15 หมื่นล้านบาท และหากนับผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว พบว่ามีกำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.7%yoy และ 63.0%qoq
ทั้งนี้นับตั้งแต่ปลายสัปดาห์นี้ ถึงกลางสัปดาห์หน้า (นับจากสิ้นไตรมาสแรก ไป 45 วัน) บริษัทจดทะเบียนจะทยอยประกาศงบฯ ออกมา ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดว่าฐานกำไรสุทธิรวมงวด 1Q61 น่าจะลดลง YoY แต่ทรงตัว QoQ เพราะงวด 1Q60 มีฐานกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากการบันทึก Stock Gain จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นมาก
ส่วนการทำ Earnings preview มีดังนี้
BR ([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 เท่ากับ 115 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดเดิม 18% โดยลดลงถึง 31.5% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 23.3% yoy) ฉุดจากธุรกิจเป็ดในเนเธอร์แลนด์ที่เป็นช่วง low season และธุรกิจเป็ดในไทยแต่คาดแนวโน้มกำไรจะทยอยดีขึ้นในงวด 2Q61 จากการหยุดส่งออกเป็ดย่างไปยุโรปชั่วคราว (ซึ่งเป็นสินค้าที่มี margin ต่ำมาก) เนื่องจากอยู่ระหว่างการย้ายไปผลิตโรงงานอาหารสำเร็จรูปที่จ. ปทุมธานีในงวด 4Q61(การใช้เครื่องจักรใหม่มากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้การทำกำไรของธุรกิจเป็ดย่างดีขึ้น) ส่วนธุรกิจเป็ดในเนเธอร์แลนด์ยังดีต่อเนื่องจากงวด 1Q61
SC ([email protected]) คาดกำไรปกติ 1Q61 เป็นจุดต่ำสุดของปี เท่ากับ 188 ล้านบาท เติบโตสูง 150% yoy (แต่ลดลง 71% qoq เพราะงวดก่อนมีฐานรายได้สูง) โดยเติบโตจากยอดโอนราบแนวเป็นหลัก ขณะที่คอนโดจะเริ่มมากขึ้นตั้งแต่ 2Q61 จากกำหนดการโอน 2 โครงการใหม่ (Saladaeng One และ Beatnig) รวมถึงแผนเปิดตัวโครงการแนวราบที่เพิ่มขึ้น คาดจะหนุน Presale และรายได้ไตรมาสที่เหลือให้สูงขึ้น
JWD ([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 46 ล้านบาท -18.1%qoq แต่เติบโต +15.4%yoy เป็นผลจากธุรกิจรับฝากรถยนต์ที่ขยายตัวจากการกระตุ้นยอดขายของค่ายรถยนต์ชั้นนำจากญี่ปุ่น และธุรกิจคลังเย็นที่ยังเติบโตได้ดี แต่ธุรกิจคลังแห้งและคลังสินค้าอันตรายจะชะลอตัวลงตามปัจจัยฤดูกาล อย่างไรก็ตามแม้ JWD จะซื้อกิจการมา 2 ดีล (Ocean Air และ Adib Cold) และ Long Feng Food ในช่วง 4Q60-1Q61 แต่อาจใช้เวลานานจึงจะเห็นผลกำไร เพราะทั้ง 2 ฝ่ายมีระบบการทำงานที่ต่างกันทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว รวมทั้งอัตราการใช้พื้นที่คลังแห้งลดลง ทำให้ฝ่ายวิจัยปรับประมาณการกำไรปี 2561-62 ลง 25.4% และ 23.9% ตามลำดับ แต่ยังเห็นการเติบโตระดับสูง อีกทั้งในระยะสั้น (ช่วง 2H61) อาจเห็นการซื้อกิจการ 2-3 ดีล สร้าง Sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้น
หุ้นก่อสร้าง P/E ต่ำมาก สะสม CK, STEC
ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นนับจากต้นปีและ ทำสถิติสูงสุดที่ 1852 จุด เมื่อ 27 ก.พ. แต่หลังจากนี้ปรับฐาน ต่อเนื่อง และ ยังคง แกว่งตัวต่ำกว่า 1800 จุด หรือเท่ากับปรับฐานจากจุดสูงสุด 3.5% แต่ยังคงเพิ่มขึ้น 2% จากปลายปี 2560 นับว่ายังคง outperform ตลาดเพื่อนบ้าน (รายละเอียดดังภาพถัดไป) หากพิจารณารายกลุ่ม พบว่ากลุ่มรับเหมาฯ ลดลงมากสุด 19% จากปี 2560 รองลงมาคือชิ้นส่วนอิเล็กฯ และ ธนาคาร เกษตร เหล็ก และ อาหาร ลดลง 13%, 10%, 10%, 9% และ 9% ตามลำดับ
ทั้งนี้เชื่อว่าปัจจัยกดดันกลุ่มรับเหมาฯ น่าจะเกิดจากการประมูลงานที่ล่าช้า ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลของนักวิเคราะห์ ASPS คาดว่าจะมีงานประมูลในปี 2561 ราว 8.2 แสนล้านบาท แต่ที่จะเห็นการประมูลในนี้มีอยู่ 2 โครงการคือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินราว 2.24 แสนล้านบาท และ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท สัมปทาน 30 ปี (1 ใน โครงการ EEC)
ขณะที่หุ้นรับเหมาก่อสร้าง ASPS วิเคราะห์ 10 บริษัทคาดจะมีกำไร 6,149 ล้านบาท ปีนี้ เพิ่มขึ้น 619% จากปี 2560 ตามยอดรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้น 10% จาก backlog ที่มีรวมกันสูงกว่า 4.5 แสนล้านบาท บวก กับหลายบริษัทมีผลขาดทุนหนักในปี 2560 เช่น STEC ,STPI, BJCHI กลับมามีผลประกอบกำไที่ดีขึ้นในปีนี้ เช่น STEC (มี Backlog สูงถึง 1.2 แสนล้านบาท) จะ Turnaround จากขาดทุน 611 ล้านบาท ในปี 2560 พลิกมามีกำไร 1,318 ล้านบาท รวมไปถึงหุ้นในกลุ่มเสาเข็มเช่น SEAFCO และ PYLON ซึ่งเป็นผู้ได้ประโยชน์อันดับแรกจากการลงทุนภาครัฐ จะทำกำไรได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ขณะที่ P/E กลุ่มรับเหมาในปี 2561 คาดว่าจะลดลงจาก 157 เท่าในปี 2560 ที่มีฐานกำไรต่ำกว่าปกติมาอยู่ที่ 21.9 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่เคยอยู่สูงกว่า 25-30 เท่า ชื่นชอบ STEC (FV@B 25.0) คาดว่าจะฟื้นตัวแรง และ CK(FV@B34) ธุรกิจน่าจะมั่นคงจากการมีรายได้หลากหลาย
ชอบ QH เป็นหุ้น Defensive Play รับตลาดหุ้นผันผวน
ภายใต้ภาวะตลาดผันผวน แนะนำกลยุทธ์ Defensive Play เลือกหุ้นที่เข้าเกณฑ์ ASP Score ในเกณฑ์ดีมากขึ้นไป (มากกว่า 6), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ QH, SC, INTUCH, SCC, RATCH, TVO วันเลือก QH([email protected]) เป็น Top pick
QH เป็นหุ้นที่มีฐานรายการกระจายตัว เช่น แม้เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย แต่มีเพื่อเช่าด้วย ตั้งแต่อาคารสำนักงาน และโรงแรม รวมถึงการลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวในบริษัทร่วม เช่น LHFG, HMPRO เป็นต้น ซึ่งกำไรที่เกิดจากธุรกิจให้เช่า และเงินลงทุนคิดเป็น 40% ของกำไรปกติ ที่เหลือ 60% เป็นกำไรจากอสังหาริมทรัพย์
แต่อย่างไรก็ตามผลกำไรของบริษัทอาจจะไม่เติบโตมากนัก โดยเฉลี่ยราว 8% ในปี 2561-2562 โดยปี 2561 คาดกำไรปกติราว 3.72 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 8% จากปี 2560 โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะมี presale ราว 1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% ซึ่งขับเคลื่อนด้วยโครางการแนวราบ 15 แห่ง มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท ขณะที่มูลค่าหุ้นประเมินโดยอิง SOTP ปี 2561 4.3 บาท แยกเป็นมูลค่าหุ้นจากบริษัทร่วม 3 บาท และอีก 1.3 บาท เป็นมูลค่าของ QH และยังมีปันผลสูงเฉลี่ย 7% ต่อปี
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8438
BR ([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 เท่ากับ 115 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดเดิม 18% โดยลดลงถึง 31.5% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 23.3% yoy) ฉุดจากธุรกิจเป็ดในเนเธอร์แลนด์ที่เป็นช่วง low season และธุรกิจเป็ดในไทยแต่คาดแนวโน้มกำไรจะทยอยดีขึ้นในงวด 2Q61 จากการหยุดส่งออกเป็ดย่างไปยุโรปชั่วคราว (ซึ่งเป็นสินค้าที่มี margin ต่ำมาก) เนื่องจากอยู่ระหว่างการย้ายไปผลิตโรงงานอาหารสำเร็จรูปที่จ. ปทุมธานีในงวด 4Q61(การใช้เครื่องจักรใหม่มากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้การทำกำไรของธุรกิจเป็ดย่างดีขึ้น) ส่วนธุรกิจเป็ดในเนเธอร์แลนด์ยังดีต่อเนื่องจากงวด 1Q61
SC ([email protected]) คาดกำไรปกติ 1Q61 เป็นจุดต่ำสุดของปี เท่ากับ 188 ล้านบาท เติบโตสูง 150% yoy (แต่ลดลง 71% qoq เพราะงวดก่อนมีฐานรายได้สูง) โดยเติบโตจากยอดโอนราบแนวเป็นหลัก ขณะที่คอนโดจะเริ่มมากขึ้นตั้งแต่ 2Q61 จากกำหนดการโอน 2 โครงการใหม่ (Saladaeng One และ Beatnig) รวมถึงแผนเปิดตัวโครงการแนวราบที่เพิ่มขึ้น คาดจะหนุน Presale และรายได้ไตรมาสที่เหลือให้สูงขึ้น
JWD ([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 46 ล้านบาท -18.1%qoq แต่เติบโต +15.4%yoy เป็นผลจากธุรกิจรับฝากรถยนต์ที่ขยายตัวจากการกระตุ้นยอดขายของค่ายรถยนต์ชั้นนำจากญี่ปุ่น และธุรกิจคลังเย็นที่ยังเติบโตได้ดี แต่ธุรกิจคลังแห้งและคลังสินค้าอันตรายจะชะลอตัวลงตามปัจจัยฤดูกาล อย่างไรก็ตามแม้ JWD จะซื้อกิจการมา 2 ดีล (Ocean Air และ Adib Cold) และ Long Feng Food ในช่วง 4Q60-1Q61 แต่อาจใช้เวลานานจึงจะเห็นผลกำไร เพราะทั้ง 2 ฝ่ายมีระบบการทำงานที่ต่างกันทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว รวมทั้งอัตราการใช้พื้นที่คลังแห้งลดลง ทำให้ฝ่ายวิจัยปรับประมาณการกำไรปี 2561-62 ลง 25.4% และ 23.9% ตามลำดับ แต่ยังเห็นการเติบโตระดับสูง อีกทั้งในระยะสั้น (ช่วง 2H61) อาจเห็นการซื้อกิจการ 2-3 ดีล สร้าง Sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้น
หุ้นก่อสร้าง P/E ต่ำมาก สะสม CK, STEC
ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นนับจากต้นปีและ ทำสถิติสูงสุดที่ 1852 จุด เมื่อ 27 ก.พ. แต่หลังจากนี้ปรับฐาน ต่อเนื่อง และ ยังคง แกว่งตัวต่ำกว่า 1800 จุด หรือเท่ากับปรับฐานจากจุดสูงสุด 3.5% แต่ยังคงเพิ่มขึ้น 2% จากปลายปี 2560 นับว่ายังคง outperform ตลาดเพื่อนบ้าน (รายละเอียดดังภาพถัดไป) หากพิจารณารายกลุ่ม พบว่ากลุ่มรับเหมาฯ ลดลงมากสุด 19% จากปี 2560 รองลงมาคือชิ้นส่วนอิเล็กฯ และ ธนาคาร เกษตร เหล็ก และ อาหาร ลดลง 13%, 10%, 10%, 9% และ 9% ตามลำดับ
ทั้งนี้เชื่อว่าปัจจัยกดดันกลุ่มรับเหมาฯ น่าจะเกิดจากการประมูลงานที่ล่าช้า ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลของนักวิเคราะห์ ASPS คาดว่าจะมีงานประมูลในปี 2561 ราว 8.2 แสนล้านบาท แต่ที่จะเห็นการประมูลในนี้มีอยู่ 2 โครงการคือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินราว 2.24 แสนล้านบาท และ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท สัมปทาน 30 ปี (1 ใน โครงการ EEC)
ขณะที่หุ้นรับเหมาก่อสร้าง ASPS วิเคราะห์ 10 บริษัทคาดจะมีกำไร 6,149 ล้านบาท ปีนี้ เพิ่มขึ้น 619% จากปี 2560 ตามยอดรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้น 10% จาก backlog ที่มีรวมกันสูงกว่า 4.5 แสนล้านบาท บวก กับหลายบริษัทมีผลขาดทุนหนักในปี 2560 เช่น STEC ,STPI, BJCHI กลับมามีผลประกอบกำไที่ดีขึ้นในปีนี้ เช่น STEC (มี Backlog สูงถึง 1.2 แสนล้านบาท) จะ Turnaround จากขาดทุน 611 ล้านบาท ในปี 2560 พลิกมามีกำไร 1,318 ล้านบาท รวมไปถึงหุ้นในกลุ่มเสาเข็มเช่น SEAFCO และ PYLON ซึ่งเป็นผู้ได้ประโยชน์อันดับแรกจากการลงทุนภาครัฐ จะทำกำไรได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ขณะที่ P/E กลุ่มรับเหมาในปี 2561 คาดว่าจะลดลงจาก 157 เท่าในปี 2560 ที่มีฐานกำไรต่ำกว่าปกติมาอยู่ที่ 21.9 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่เคยอยู่สูงกว่า 25-30 เท่า ชื่นชอบ STEC (FV@B 25.0) คาดว่าจะฟื้นตัวแรง และ CK(FV@B34) ธุรกิจน่าจะมั่นคงจากการมีรายได้หลากหลาย
ชอบ QH เป็นหุ้น Defensive Play รับตลาดหุ้นผันผวน
ภายใต้ภาวะตลาดผันผวน แนะนำกลยุทธ์ Defensive Play เลือกหุ้นที่เข้าเกณฑ์ ASP Score ในเกณฑ์ดีมากขึ้นไป (มากกว่า 6), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ QH, SC, INTUCH, SCC, RATCH, TVO วันเลือก QH([email protected]) เป็น Top pick
QH เป็นหุ้นที่มีฐานรายการกระจายตัว เช่น แม้เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย แต่มีเพื่อเช่าด้วย ตั้งแต่อาคารสำนักงาน และโรงแรม รวมถึงการลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวในบริษัทร่วม เช่น LHFG, HMPRO เป็นต้น ซึ่งกำไรที่เกิดจากธุรกิจให้เช่า และเงินลงทุนคิดเป็น 40% ของกำไรปกติ ที่เหลือ 60% เป็นกำไรจากอสังหาริมทรัพย์
แต่อย่างไรก็ตามผลกำไรของบริษัทอาจจะไม่เติบโตมากนัก โดยเฉลี่ยราว 8% ในปี 2561-2562 โดยปี 2561 คาดกำไรปกติราว 3.72 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 8% จากปี 2560 โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะมี presale ราว 1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% ซึ่งขับเคลื่อนด้วยโครางการแนวราบ 15 แห่ง มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท ขณะที่มูลค่าหุ้นประเมินโดยอิง SOTP ปี 2561 4.3 บาท แยกเป็นมูลค่าหุ้นจากบริษัทร่วม 3 บาท และอีก 1.3 บาท เป็นมูลค่าของ QH และยังมีปันผลสูงเฉลี่ย 7% ต่อปี
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8438