- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 02 May 2018 17:16
- Hits: 2454
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings and Laggard Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งตัว Sideways ตามเนื่องจากไร้ปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระตุ้น โดยนักลงทุนต่างจับตาดูปัจจัยสำคัญในสัปดาห์นี้ทั้งการประชุม FOMC รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการ ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลยังคงถูกเทขายหนักต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นหนาแน่นเป็นวันที่ 7 อีก 2.7 พันลบ. (และ Net Short ใน Index Futures อีก 3.3 พันสัญญา) ขณะที่สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.1 พันลบ.
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะยังคงแกว่งตัว Sideways เนื่องจากยังต้องติดตามผลการประชุม FOMC และ GDP 1Q18 ของยูโรโซนคืนนี้ ขณะที่ล่าสุดตัวเลขเงินเฟ้อ PCE เดือนมี.ค. สหรัฐฯอยู่ที่ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวของ FED ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยเกิน 3 ครั้งในปีนี้ ส่วนภาพเดือน พ.ค. เราคาดว่ามีโอกาสเกิด Sell in May จึงมองว่าหุ้นที่ยัง Laggard ตลาดและคาดมีกำไร 1Q18 แข็งแกร่งน่าจะมีโอกาส Outperform
กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีกำไร 1Q18 แข็งแกร่งและยัง Laggard
หุ้นเด่นเดือน พ.ค. : BEM, CHG, EA, SC, THANI
Fund Flow เมื่อวันจันทร์ กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$78ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$238ล้าน ขณะที่ไหลออกจากไทย US$86ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคหลัง 10Y US Bond Yield พุ่งขึ้นเหนือ 3% อีกครั้งก่อนการประชุม Fed จะสิ้นสุดในวันนี้
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> CHG <<
แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท
เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรทั้งใน 1Q18 ที่คาดเติบโตดีจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นตามโรคระบาด และทั้งปี 2018 ที่คาด +15% Y-Y เป็น 650 ลบ. จากรายได้ที่โตในอัตราเร่งและ Margin ที่จะขยายตัวหลังจากผ่านช่วงลงทุนใหญ่ไปแล้ว
ราคาหุ้น Outperform กลุ่มตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา แต่ยัง laggard เมื่อเทียบตั้งแต่ต้นปี โดย -7% YTD กลุ่ม +4% YTD
กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings and Laggard Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งตัว Sideways ตามเนื่องจากไร้ปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระตุ้น โดยนักลงทุนต่างจับตาดูปัจจัยสำคัญในสัปดาห์นี้ทั้งการประชุม FOMC รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการ ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลยังคงถูกเทขายหนักต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นหนาแน่นเป็นวันที่ 7 อีก 2.7 พันลบ. (และ Net Short ใน Index Futures อีก 3.3 พันสัญญา) ขณะที่สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.1 พันลบ.
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะยังคงแกว่งตัว Sideways เนื่องจากยังต้องติดตามผลการประชุม FOMC และ GDP 1Q18 ของยูโรโซนคืนนี้ ขณะที่ล่าสุดตัวเลขเงินเฟ้อ PCE เดือนมี.ค. สหรัฐฯอยู่ที่ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวของ FED ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยเกิน 3 ครั้งในปีนี้ ส่วนภาพเดือน พ.ค. เราคาดว่ามีโอกาสเกิด Sell in May จึงมองว่าหุ้นที่ยัง Laggard ตลาดและคาดมีกำไร 1Q18 แข็งแกร่งน่าจะมีโอกาส Outperform
กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีกำไร 1Q18 แข็งแกร่งและยัง Laggard
หุ้นเด่นเดือน พ.ค. : BEM, CHG, EA, SC, THANI
Fund Flow เมื่อวันจันทร์ กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$78ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$238ล้าน ขณะที่ไหลออกจากไทย US$86ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคหลัง 10Y US Bond Yield พุ่งขึ้นเหนือ 3% อีกครั้งก่อนการประชุม Fed จะสิ้นสุดในวันนี้
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> CHG <<
แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท
เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรทั้งใน 1Q18 ที่คาดเติบโตดีจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นตามโรคระบาด และทั้งปี 2018 ที่คาด +15% Y-Y เป็น 650 ลบ. จากรายได้ที่โตในอัตราเร่งและ Margin ที่จะขยายตัวหลังจากผ่านช่วงลงทุนใหญ่ไปแล้ว
ราคาหุ้น Outperform กลุ่มตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา แต่ยัง laggard เมื่อเทียบตั้งแต่ต้นปี โดย -7% YTD กลุ่ม +4% YTD
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) มุมมองการลงทุนเดือน พ.ค. ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงเกิด Sell in May สาเหตุหลักมาจากปัจจัยต่างประเทศ ส่วนในประเทศไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ แม้กำไร 1Q18 จะดี แต่เชื่อว่าเป็นการดีตามคาด ปัจจัยกดดันตลาดในเดือนนี้ได้แก่ความกังวลว่า Fed อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้เกิน 3 ครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดยังไม่ได้ price in และโอกาสที่ Bond yield สหรัฐจะขยับขึ้นเกิน 3% ซึ่งเป็นระดับที่อาจทำให้ต่างชาติปรับพอร์ตอีกครั้ง แต่ราคาน้ำมันที่ได้แรงหนุนจากสถานการณ์ตึงเครียดเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน และปริมาณการผลิตน้ำมันจากเวเนซุเอลาที่ลดไปกว่า 40% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นอานิสงส์ต่อกลุ่มพลังงานต้นน้ำและปิโตรเคมี มองการปรับลงในเดือนนี้ไม่ต่ำไปกว่าเดือนก่อน และตลาดหุ้นจะขยับขึ้นได้ในครึ่งปีหลังเพราะยังไม่ได้คำนึงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ เดือนนี้เราแนะนำ BEM, CHG, EA, SC, THANI
(+) เศรษฐกิจเดือน มี.ค. ขยายตัวต่อเนื่อง จากการขยายตัวของการส่งออกและท่องเที่ยว ขณะที่การจับจ่ายภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องในเกือบทุกหมวดสินค้า เหลือเพียงการลงทุนโดยเฉพาะภาคก่อสร้างที่ยังหดตัวเล็กน้อย โดยรวมแล้วเศรษฐกิจไทยใน 1Q18 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เราคาดว่าน่าจะเห็นการเติบโตในระดับ 4% Y-Y ใน 1Q18 ทั้งนี้ สภาพัฒน์ฯจะรายงาน GDP วันที่ 21 พ.ค.
(-) ITEL เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2018-2022 ลงเฉลี่ยปีละ 20% จากประมาณการเดิม เพื่อสะท้อนอัตรากำไรขั้นต้นที่มีแนวโน้มทำได้แย่กว่าคาด จากงานรับเหมาติดตั้งโครงข่าย ที่บริษัทไม่สามารถสร้างอัตรากำไรได้ตามที่เราคาดหวัง และเราได้ปรับผลกระทบจากการออก ITEL-W1 ให้เป็น Fully Dilute ส่งผลให้ราคาเป้าหมายปี 2018 ตามวิธี DCF ลดลงจาก 7.70 บาท เหลือ 5.40 บาท แต่เรายังคงแนะนำซื้อ เพราะที่ราคาหุ้นปัจจุบันคิดเป็น PE2018 ที่ 27 เท่า และเมื่อคิดเป็น PEG อิงการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2019-2021 ที่ 27% ต่อปี จะอยู่ที่ 1 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม ICT ที่ 1.4 เท่า อีกทั้ง เราคาดว่ากำไรสุทธิ 1Q18 จะโตโดดเด่นถึง 68% Y-Y อยู่ที่ 31 ลบ.
(0) DELTA กำไรสุทธิ 1Q18 อยู่ที่ 1,058 ลบ. (-20.5% Q-Q, -21.5% Y-Y) ใกล้เคียงคาด หากไม่รวมขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จะมีกำไรปกติ 1,106 ลบ. (-33.5% Q-Q, -16.4% Y-Y) เป็นกำไรที่ไม่ดีนัก เพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า และค่าเงินอินเดียรูปีอ่อนค่า ทำให้ต้นทุนของธุรกิจที่อินเดียปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งยังเผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบรุนแรงขึ้น แนวโน้มกำไร 2Q18 น่าจะยังไม่ฟื้นเพราะปัญหาขาดแคลวัตถุดิบยังมีอยู่ และเงินบาทยังคงแข็งค่า เราคาดหวังการกลับมาฟื้นตัวของผลประกอบการใน 2H18 คงราคาเป้าหมาย 71 บาท แนะนำถือ ทั้งนี้ ให้ระวังหุ้นในกลุ่มทั้ง KCE SVI ที่อาจออกมาไม่ดีเหมือนกัน แต่ HANA อาจไม่แย่เท่า
(-) มุมมองการลงทุนเดือน พ.ค. ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงเกิด Sell in May สาเหตุหลักมาจากปัจจัยต่างประเทศ ส่วนในประเทศไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ แม้กำไร 1Q18 จะดี แต่เชื่อว่าเป็นการดีตามคาด ปัจจัยกดดันตลาดในเดือนนี้ได้แก่ความกังวลว่า Fed อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้เกิน 3 ครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดยังไม่ได้ price in และโอกาสที่ Bond yield สหรัฐจะขยับขึ้นเกิน 3% ซึ่งเป็นระดับที่อาจทำให้ต่างชาติปรับพอร์ตอีกครั้ง แต่ราคาน้ำมันที่ได้แรงหนุนจากสถานการณ์ตึงเครียดเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน และปริมาณการผลิตน้ำมันจากเวเนซุเอลาที่ลดไปกว่า 40% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นอานิสงส์ต่อกลุ่มพลังงานต้นน้ำและปิโตรเคมี มองการปรับลงในเดือนนี้ไม่ต่ำไปกว่าเดือนก่อน และตลาดหุ้นจะขยับขึ้นได้ในครึ่งปีหลังเพราะยังไม่ได้คำนึงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ เดือนนี้เราแนะนำ BEM, CHG, EA, SC, THANI
(+) เศรษฐกิจเดือน มี.ค. ขยายตัวต่อเนื่อง จากการขยายตัวของการส่งออกและท่องเที่ยว ขณะที่การจับจ่ายภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องในเกือบทุกหมวดสินค้า เหลือเพียงการลงทุนโดยเฉพาะภาคก่อสร้างที่ยังหดตัวเล็กน้อย โดยรวมแล้วเศรษฐกิจไทยใน 1Q18 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เราคาดว่าน่าจะเห็นการเติบโตในระดับ 4% Y-Y ใน 1Q18 ทั้งนี้ สภาพัฒน์ฯจะรายงาน GDP วันที่ 21 พ.ค.
(-) ITEL เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2018-2022 ลงเฉลี่ยปีละ 20% จากประมาณการเดิม เพื่อสะท้อนอัตรากำไรขั้นต้นที่มีแนวโน้มทำได้แย่กว่าคาด จากงานรับเหมาติดตั้งโครงข่าย ที่บริษัทไม่สามารถสร้างอัตรากำไรได้ตามที่เราคาดหวัง และเราได้ปรับผลกระทบจากการออก ITEL-W1 ให้เป็น Fully Dilute ส่งผลให้ราคาเป้าหมายปี 2018 ตามวิธี DCF ลดลงจาก 7.70 บาท เหลือ 5.40 บาท แต่เรายังคงแนะนำซื้อ เพราะที่ราคาหุ้นปัจจุบันคิดเป็น PE2018 ที่ 27 เท่า และเมื่อคิดเป็น PEG อิงการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2019-2021 ที่ 27% ต่อปี จะอยู่ที่ 1 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม ICT ที่ 1.4 เท่า อีกทั้ง เราคาดว่ากำไรสุทธิ 1Q18 จะโตโดดเด่นถึง 68% Y-Y อยู่ที่ 31 ลบ.
(0) DELTA กำไรสุทธิ 1Q18 อยู่ที่ 1,058 ลบ. (-20.5% Q-Q, -21.5% Y-Y) ใกล้เคียงคาด หากไม่รวมขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จะมีกำไรปกติ 1,106 ลบ. (-33.5% Q-Q, -16.4% Y-Y) เป็นกำไรที่ไม่ดีนัก เพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า และค่าเงินอินเดียรูปีอ่อนค่า ทำให้ต้นทุนของธุรกิจที่อินเดียปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งยังเผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบรุนแรงขึ้น แนวโน้มกำไร 2Q18 น่าจะยังไม่ฟื้นเพราะปัญหาขาดแคลวัตถุดิบยังมีอยู่ และเงินบาทยังคงแข็งค่า เราคาดหวังการกลับมาฟื้นตัวของผลประกอบการใน 2H18 คงราคาเป้าหมาย 71 บาท แนะนำถือ ทั้งนี้ ให้ระวังหุ้นในกลุ่มทั้ง KCE SVI ที่อาจออกมาไม่ดีเหมือนกัน แต่ HANA อาจไม่แย่เท่า
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
2 พ.ค.- สหรัฐฯ: ประชุม FOMC
- ยูโรโซน: 1Q18 GDP (ครั้งที่ 1)
3 พ.ค.- ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)
- สหรัฐฯ: ดุลการค้า (มี.ค.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
4 พ.ค.- สหรัฐฯ: ยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (เม.ย.)
7 พ.ค.- อินโดนีเซีย: 1Q18 GDP
8 พ.ค.- จีน: ดุลการค้า
(0) ตลาดสหรัฐปิดผสมผสาน แม้ว่าหุ้นแอปเปิ้ลจะปรับตัวขึ้นหลังจากประกาศผลประกอบการณ์ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด แต่นักลงทุนยังคงกังวลกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในสัปดาห์นี้
(0) ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปิดทำการเนื่องจากวันแรงงาน
(0) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวผสมผสาน โดยตลาดยังคงรอดูตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะทยอยประกาศออกมา เช่น ดัชนี PMI ของเกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน และมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีตัวเลข CPI ของอินโดนีเซียและตัวเลขการจ้างงานของนิวซีแลนด์
() ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากนักลงทุนเริ่มคาดการณ์ว่า FED อาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ทำให้ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.65-31.75 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ลดลง 1.32 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 67.25 ดอลลาร์/บาเรลล์ หลังจาก EIA ระบุว่าตัวเลขการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ร่วงลง 12.40 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,306.80 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอย่างมาก
Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530
Tel: 02-646-9966
www.fnsyrus.com
FB : FINNANSIA SYRUS SECURITIES LINE : @fnsyrus
OO8215
2 พ.ค.- สหรัฐฯ: ประชุม FOMC
- ยูโรโซน: 1Q18 GDP (ครั้งที่ 1)
3 พ.ค.- ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)
- สหรัฐฯ: ดุลการค้า (มี.ค.)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
4 พ.ค.- สหรัฐฯ: ยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (เม.ย.)
7 พ.ค.- อินโดนีเซีย: 1Q18 GDP
8 พ.ค.- จีน: ดุลการค้า
(0) ตลาดสหรัฐปิดผสมผสาน แม้ว่าหุ้นแอปเปิ้ลจะปรับตัวขึ้นหลังจากประกาศผลประกอบการณ์ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด แต่นักลงทุนยังคงกังวลกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในสัปดาห์นี้
(0) ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปิดทำการเนื่องจากวันแรงงาน
(0) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวผสมผสาน โดยตลาดยังคงรอดูตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะทยอยประกาศออกมา เช่น ดัชนี PMI ของเกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน และมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีตัวเลข CPI ของอินโดนีเซียและตัวเลขการจ้างงานของนิวซีแลนด์
() ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากนักลงทุนเริ่มคาดการณ์ว่า FED อาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ทำให้ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.65-31.75 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ลดลง 1.32 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 67.25 ดอลลาร์/บาเรลล์ หลังจาก EIA ระบุว่าตัวเลขการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ร่วงลง 12.40 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,306.80 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอย่างมาก
Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530
Tel: 02-646-9966
www.fnsyrus.com
FB : FINNANSIA SYRUS SECURITIES LINE : @fnsyrus
OO8215