- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 26 April 2018 16:27
- Hits: 1272
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
"เป็นห่วงเรื่อง Fund Flow"
ทิศทางตลาดหุ้นไทย : ประเมิน ดัชนีฯมี rebound หลังร่วงแรง ตลาดต่างประเทศดีดตัว แต่ด้วยความกังวลในเรื่องของ fund Flow ที่จะไหลออก หลัง Bond Yield และค่าเงินดอลล่าร์ ดีดตัวขึ้น จะทำให้ดัชนีฯเดินหน้าไปได้ไม่ไกล และยังมีโอกาสที่ดัชนีฯจะปิดลดลงจากวันก่อน ... ค่าเงินดอลล่าร์บวกต่อ (เช้านี้ Dollar Index 91.1) กลายเป็นแรงกดดันต่อเนื่องจาก US Bond Yield (10y) แตะ 3.0% นอกจากนี้ ปัจจัยในประเทศเอง พลิกกลับมาเป็นลบต่อตัวหุ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น PTT-PTTEP สวนทางราคาน้ำมัน คาดมาจากความกังวลเรื่องคู่แข่งในการประมูลสัมปทานปิโตรเลียมน้ำมันรอบใหม่ และแรงขายหุ้นขนาดใหญ่ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาด
กลยุทธ์การลงทุน: ด้วยการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรสำคัญ คือ Bond Yield และดอลลาร์ มีแนซโน้มที่จะทำให้ดัชนีฯช่วงสั้นๆ กลับมาเป็นขาลงอีกครั้งหนึ่ง ... กลยุทธ์ลงทุน แนะลดพอร์ต(เพิ่มเงินสด) หุ้นที่เสี่ยงลง จะเป็นหุ้นอิงตลาด เช่น ธนาคาร โรงกลั่นน้ำมัน-ปิโตรเคมี โดย switch เข้าหุ้นที่มีความปลอดภัยกว่า อาทิ AOT , BDMS, BLA* , KTC ,CPALL ซึ่งมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว และมีความเสี่ยงต่ำ เหมาะกับสภาวะเช่นนี้ นอกจากนี้ หุ้นในเชิงกลยุทธ์ เราแนะนำ THAI* โดยเรามองว่าการเสนอแผนฟื้นฟูรอบใหม่น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
หุ้นแนะนำทางเทคนิค : SGP , SPVI , AMANAH
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST : ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) BDMS: (ราคาปิด 23.70 บาท)
เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ของ BDMS โดยผู้บริหารมองว่ารายได้ในปี 2018 จะสามารถเติบโตได้ในระดับ 2 เท่าของ GDP ปัจจุบัน ซึ่งเรามองว่ามีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากจำนวนเคสคนไข้โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยช่วง 1Q18 เพิ่มขึ้นถึง 27% YoY ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยงตะวันออกกลางและจีนยังคงเติบโตดีอยู่ ซึ่งเราคาดว่าจะส่งผลดีต่อจำนวนคนไข้ของ BDMS โดยเราคงประมาณการกำไรปกติปี 2018 ที่ 8,845 ล้านบาท เติบโต 10% YoY กลับมาพลิกฟื้นทำสถิติสูงสุดใหม่ ทั้งนี้.... ราคาเหมาะสมโดย BDMS ที่ 25.00 บาท
(+) THAI* : (ราคาปิด 16.60 บาท)
หลังจากมีข่าวว่า 1Q-18 จะมีกำไรออกมาดี (7 พันลบ.) ราคาหุ้นก็ขยับขึ้น อย่างไรก็ตาม เรามองในอีกมุมมองหนึ่ง คือ THAI กำลังอยู่ในช่วงของการปรับโครงสร้างธุรกิจ ในวันที่ 27 เม.ย. เตรียมนำแผนฟื้นฟูใหม่ ที่จะเน้นการบริหารทรัพย์สิน เสนอให้ที่ประ ชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับรัฐวิสาหกิจ (ครน.) พิจารณารายละเอียด หลังแผนฟื้นฟูเดิมได้สิ้นสุดไปเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ต่อจากนั้นจะเสนอแผนฟื้นฟูดังกล่าวให้นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมพิจารณา ในวันที่ 4 พ.ค.นี้ หากเป็นแผนที่ดี จะมีผลบวกต่อ THAI ด้วย
หุ้นมีประเด็น
(-) KTB ภาพรวมของ NPL ยังเพิ่มขึ้นต่อต่อจากกลุ่มโรงสีและมันสำปะหลัง
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ KTB เปิดเผยว่า ยังคงเป้าหมายสินเชื่อรวมปีนี้เติบโตที่ 6-7% แม้ว่าผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 1/2561 ออกมาไม่ค่อยดี เนื่องจากพอร์ตสินเชื่อลดลงจากพอร์ตกลุ่มสหกรณ์ปรับตัวลงจากเดิมที่ 120,000 ล้านบาท ลดลงเหลือไม่ถึง 80,000 ล้านบาท เป็นเพราะธนาคารต้องการลดลูกค้ากลุ่มนี้เพราะมีการกระจุกตัวสูง นายผยง กล่าวอีกว่า ผลประกอบการในไตรมาส 1/2561 พบว่า NPL ยังมีปัญหาอยู่ ซึ่งมาจากลูกค้าเก่าอย่างกลุ่มโรงสีข้าว และกลุ่มที่เคยมีปัญหามาก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ก็มีกลุ่มเกษตรอย่างมันสำปะหลังที่ไหลกลับเข้ามาเป็น NPL ส่วน NPL จะดีขึ้นหรือไม่ยังไม่สามารถตอบได้ ถ้าดูประวัติ NPL โตแบบต่อเนื่อง โตแบบช้าๆ (ที่มา: ข่าวหุ้น)
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นลบต่อประเด็นดังกล่าว โดยภาพรวมของสินเชื่อของ KTB ใน 1Q18 ออกมาหดตัว 0.5% YTD จากสินเชื่อสหกรณ์ที่หดตัวลง ทำให้มีโอกาสที่การเติบโตของสินเชื่อจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายทั้งปีที่ 6-7% YoY ได้ ขณะที่ NPL เรายังไม่เห็นแนวโน้มของการลดลง โดย 1Q18 NPL ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 4.33% จาก 4.19% จากสินเชื่อโรงสีข้าวที่เป็นของเดิม และจากสินเชื่อกลุ่มเกษตรที่เป็นมันสำปะหลังเป็นของใหม่ ซึ่งเรามีความกังวลมากขึ้นต่อตัวเลข NPL ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีก ขณะที่ KTB เป็นธนาคารที่มี Coverage Ratio ที่น้อยที่สุดทำให้มีความเสี่ยงในการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นมากที่สุด เราจึงยังคงคำแนะนำ "ถือ" มูลค่าเหมาะสมที่ 18.5 บาท อิง P/BV ที่ 0.85x เทียบเท่า - 1SD ย้อนหลัง 5 ปี
(0) กสทช มีมติเดินหน้าจัดประมูลคลื่น 1800MHz ในวันที่ 4 ส.ค. 61
กสทช มีมติเดินหน้าจัดประมูลคลื่น 1800MHz ในวันที่ 4 ส.ค. 61จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15MHz ราคาเริ่มต้น 3.7 หมื่นล้านบาท ในขณะที่คลื่น 900MHz ชะลอการประมูลไว้ก่อน (ที่มา: ข่าวหุ้น)
ความเห็น: เรามองลบระยะสั้นบวกระยะยาวสำหรับการประมูลคลื่น 1800 โดยระยะสั้นผู้ชนะจำเป็นต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงและการเร่ง cover cost ของผู้ชนะมีโอกาสทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมกลับมารุนแรงอีกครั้ง อย่างไรก็ตามในระยะยาวเป็นการปลดล็อกปัญหาการไม่มีคลื่นให้บริการซึ่งเป็นการลด Operation risk ที่สำคัญ อย่างไรก็ตามระยะสั้นมีโอกาสกลับมาเป็นบวกหลัง กสทช ยังเปิดช่องหากไม่มีผู้ร่วมประมูลทาง กสทช จะแบ่งใบอนุญาตออกเป็น 9 ใบและประมูลกันใหม่ ซึ่งจะทำให้ผู้ชนะไม่ต้องแบกต้นทุนมากและการแข่งขันในอุตสาหกรรมมีแนวโน้มไม่รุนแรง ในขณะที่การเลื่อนประมูล 900MHz เรามองกระทบ DTAC หลังมีความเสี่ยงการขาดคลื่นความถี่ต่ำมากใช้งาน (Spectrum mixed) ซึ่งทำให้ต้องลงทุนโครงข่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ KTBS ยังไม่ได้ทำบทวิเคราะห์กลุ่ม ICT อย่างไรก็ตาม Consensus ประเมินราคาเหมาะสมของ ADVANC ที่ 214.00 บาท DTAC ที่ 51.75 บาท และ TRUE ที่ 7.50 บาท
บทวิเคราะห์วันนี้
(+) ENERGY (Overweight) Spread ของสาย PTA, PET และราคายังอยู่ในระดับสูง
กลุ่มโรงกลั่นได้รับผลกระทบจาก กบง. อนุมัติให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่น สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้ใช้เกณฑ์ราคา Euro 4 เป็นฐาน และมีการตัดค่าพรีเมียม ออกไป หุ้นที่ได้รับผลกระทบมากคือหุ้นที่มี EBITDA มาจากโรงกลั่นมาก ขณะที่หุ้นที่ EBITDAจากปิโตรเคมีมาสนับสนุนมาก เช่น PTTGC จะได้รับผลกระทบน้อยสุด อย่างไรก็ตาม จากการที่ค่าการกลั่นเริ่มมีการอ่อนตัว ทำให้หุ้นกลุ่มโรงกลั่นยังคงอ่อนตัวแม้ว่าราคาหุ้นจะปรับตัวลงเพื่อสะท้อนผลกระทบไปบ้างแล้ว ขณะที่ผลิตภัณพ์สาย PTA, PET ได้รับผลกระทบน้อยกว่า และยังอยู่ในระดับสูง IVL จึงเป็นที่น่าสนใจในขณะนี้ เราคาดว่า spread ของ IVL จะอยู่สูงในปี 2018 จากการที่ผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง M&G อยู่ในภาวะล้มลายและอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ เราแนะนำ "ซื้อ" IVL อิงวิธี EV/EBITDA 2018 ที่ 9 เท่า ได้ราคาเหมาะสมที่ 66.00 บาท ขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงเป็นบวกต่อPTTEP รวมถึงโอกาสชนะการประมูลโครงการบงกชและเอราวัณ แนะนำ "ซื้อ" และหาจังหวะซื้อเมื่ออ่อนตัว ราคาเป้าหมาย consensus ที่ 125 บาท
(+) AUTO (Neutral) ยอดผลิตรถยนต์เดือน มี.ค.2018 ยังทำได้ดี เติบโต 9.2% YoY
ส.อ.ท.รายงานยอดผลิตรถยนต์เดือน มี.ค.2018 ทำได้ดีต่อเนื่องที่ 1.95 แสนคัน สูงสุดในรอบ 4 ปี 8 เดือน เพิ่มขึ้น 9.2% YoY โดยได้ผลบวกจากทั้งยอดขายรถยนต์ในประเทศและส่งออกที่เติบโตขึ้น 12.1% YoY และ 4.7% YoY ตามลำดับ และรวมงวดเดือน ม.ค.-มี.ค.2018 ยอดผลิตรถยนต์อยู่ที่ 5.4 แสนคัน เพิ่มขึ้น 11.2% YoY โดยเรายังประเมินยอดผลิตรถยนต์ทั้งปี 2018 จะอยู่ที่ 2.05 - 2.1 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 3% -6% YoY สำหรับภาพรวมกำไรสุทธิ 1Q18 เราคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น YoY ตามยอดการผลิตรถยนต์ที่เติบโต แต่จะลดลง 17% QoQ เนื่องจาก 4Q17 มีกำไรพิเศษค่อนข้างมาก สำหรับทั้งปี 2018 เราประเมินกำไรปกติเติบโต 16.4% YoY โดย AH จะเติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่มที่ 24% YoY จากผลบวกการเข้าลงทุนใน SGAH เรายังให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มยานยนต์เป็น Neutral หุ้น Top Pick ได้แก่ AH ราคาเป้าหมาย 42 บาท และ SAT ราคาเป้าหมาย 23 บาท
(+) SAT (ซื้อ/23.00 บาท) แนวโน้มกำไรเติบโตได้ดี ตามภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ฟื้นตัว
คาดกำไรสุทธิ 1Q18 ยังทำได้ดีที่ 195 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% YoY แต่ลดลง 31% QoQ กำไรสุทธิที่ลดลง QoQ มาก เป็นผลจากในงวด 4Q17 มีกำไรพิศษจากการโอนธุรกิจสปริง (BSK) ไปเป็นบริษัทร่วมทุน ดังนั้น หากไม่รวมกำไรพิเศษ 1Q18 จะมีกำไรปกติเติบโต 15% YoY และ 7% QoQ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกันกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มียอดการผลิตรถยนต์เติบโต 11.2% YoY และ 5.6% QoQ ทั้งนี้ เรามีการปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรปกติปี 2018 ขึ้นจากเดิม 4% เป็น 811 ล้านบาท เติบโต 15% YoY จากภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัว โดยเราปรับคาดการณ์รายได้ดีขึ้นเป็นลดลง 5.8% YoY จากเดิมคาดลดลง 10.5% YoY (รายได้ลดลงเนื่องจากรายได้จากธุรกิจ BSK หายไป โดยไปรับรู้เป็นส่วนแบ่งกำไรแทน) ส่งผลให้เรามีการปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2018 ขึ้นเป็น 23 บาท จากเดิม 22 บาท ยังคงแนะนำ ซื้อ
(-) AMATA (ซื้อ/24.00 บาท) ยอดโอนที่ดินต่ำยังกดดันผลการดำเนินงาน 1Q18
เราประมาณการกำไรสุทธิของ AMATA 1Q18 ที่ 310 ล้านบาท (+24% YoY, -2% QoQ) จากยอดโอนที่ดินที่เราคาดไว้ที่74 ไร่ สูงกว่ายอดโอนใน 1Q17 35 ไร่ แต่ต่ำกว่า 4Q17 ที่ 146 ไร่ เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2018 อยู่ที่ 1.5 พันล้านบาท ลดลงจากเดิม 12% จากการปรับลดยอดโอนที่ดินที่คาดจะอยู่ที่ 407 ไร่จากเดิม 511 ไร่ คงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 24.00 บาท จากเดิม 28.00 บาท จากการปรับลดกำไรลง เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม โดยเรามองว่า พรบ. EEC ที่คาดว่าจะออกภายใน 2Q18 จะส่งผลให้ยอดขายที่ดินจะดีขึ้นตั้งแต่ 2H18 นอกจากนี้เรามองว่าส่วนแบ่งรายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้า และรายได้จากการขายน้ำจะเพิ่มขึ้นตามการทยอยเปิดดำเนินงานของโรงไฟฟ้าจำนวน 3 โรงในปี 2018
(+) BEAUTY (ซื้อ/25.00 บาท) คาดกำไรสุทธิ1Q18 โตโดดเด่น
เราคาดกำไรสุทธิ1Q18 เติบโตโดดเด่นอยู่ที่ 361 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81% YoY แต่ลดลง 12% QoQ ตามฤดูกาล ทั้งนี้เราคาดว่ารายได้จะเติบโตทุกช่องทางส่งผลให้รายได้รวมอยู่ที่ 1,004 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47% YoY แต่ลดลง 8% QoQ หนุนโดย 1) SSSG ที่เราคาดว่าจะอยู่ที่16% 2) การขยายสาขาในประเทศเป็น 349 สาขา 3)รายได้จาก Consumer products, รายได้จากต่างประเทศที่คาดว่าจะเติบโตสูงต่อเนื่อง 4) Margin expansion ทั้งนี้เรามองว่าจะได้เห็นการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องใน 2Q18 ทั้งจากรายได้จาก Cross - border e-commerce ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือนเมย.ซึ้งเราคาดว่าจะมีรายได้ขั้นต่ำประมาณ 20 ล้านบาทต่อเดือน และ SSSG ที่เราคาดว่าจะยังคงเติบโตสูงอยู่ที่ double digits เราคงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเป้าหมาย 25 บาท ปัจจุบัน BEAUTY มี PEG 1.1x ปี2018 ซึ่งต่ำกวาอุตสาหกรรมที่อยู่ที่ PER 1.5x ทั้งนี้เรายังไม่ได้รวมรายได้ของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบซองผ่าน 7-11 ซึ่งเราคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ 3Q18 ในการประเมินราคาหุ้น
(+) THANI (ซื้อ/9.00 บาท) Alibaba และ E-commerce ช่วยผลักดันสินเชื่อให้เติบโตต่อเนื่อง
จากการเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ (25 เม.ษ. 2018) ผู้บริหาร THANI มีความเชื่อมั่นต่อผลการดำเนินงานในปี 2018 โดยมองว่าสินเชื่อจะสามารถขยายตัวได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยบวกต่างๆเช่น การเข้ามาของ Alibaba และ E-Commerce ที่จะเพิ่มความต้องการรถบรรทุก 6 ล้อ เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2018 ที่ 1.5 พันล้านบาท (+36% YoY) จากการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มขึ้นที่ 15% และต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากการ refinance หุ้นกู้ที่จะครบกำหนด ทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลงมาอยู่ที่ 2.5% แม้เรามองว่าบริษัทมีการตั้งสำรองที่เพียงพอต่อ TFRS9 แต่จากความระมัดระวังเราคาดว่าบริษัทจะยังคงตั้งสำรองส่วนเกิน เราคงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเป้าหมาย 9.00 บาท (อิง PBV 3.7x) โดยกำไรสุทธิปี 2018-2020 ยังขยายตัวคิดเป็น CAGR เฉลี่ยที่ 19% โดยเรามองว่าสินเชื่อของบริษัทจะยังคงสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และจากการเข้ามาลงทุนของ Alibaba จะทำให้ e-commerce ของไทยขยายตัวเร็วขึ้น ที่จะเพิ่มความต้องการรถบรรทุก 6 ล้อ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร
ข่าวประจำวัน
ข่าวเศรษฐกิจ, ตลาด, และ การเมือง
SET ปิดที่ระดับ 1,779.52 จุด ลดลง 8.68 จุด (-0.49%) มูลค่าการซื้อขาย 65,018.58 ล้านบาท ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลงแนวเดียวกับตลาดต่างประเทศ ทั้งตลาดภูมิภาค-ดาวโจนส์-ตลาดในยุโรปที่ต่างติดลบกันทั่วหน้า รับผลจาก Bond Yield สหรัฐฯพุ่งแรงทะลุ 3% ขึ้นไป เป็นผลจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯดี และกำไรของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯก็ดีด้วย ทำให้ไปกดดันตลาด Emerging Market บ้าง ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี โดยเฉพาะหุ้น PTT ที่เทรดพาร์ใหม่แล้วคงจะต้องปรับฐานบ้าง และงบฯ SCC ก็ออกมาต่ำกว่าตลาดฯคาดไว้
ตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (25 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งรวมถึงโบอิ้ง และคอมแคสต์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงติดต่อกัน 5 วันทำการที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงกังวลว่า การพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐนั้น จะเป็นแรงผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทเอกชนและกลุ่มผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,083.83 จุด เพิ่มขึ้น 59.70 จุด หรือ +0.25% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,639.40 จุด เพิ่มขึ้น 4.84 จุด หรือ +0.18% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,003.74 จุด ลดลง 3.61 จุด หรือ -0.05%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (25 เม.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น อาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทเอกชนและกลุ่มผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นด้วย
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (25 เม.ย.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน โดยสัญญาน้ำมันดิบได้รับปัจจัยหนุนจากมุมมองที่ว่า หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ชาติมหาอำนาจทำไว้กับอิหร่านนั้น ก็จะปูทางให้สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐได้จำกัดแรงบวกของสัญญาน้ำมันดิบ
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 35 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 68.05 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (25 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่า การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อาจผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังลดความน่าดึงดูดของทองคำเช่นกัน
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 10.20 ดอลลาร์ หรือ 0.77% ปิดที่ 1322.80 ดอลลาร์/ออนซ์
Analyst : Mongkol Puangpetra
License No: 001937
+662 648 1123
[email protected]
OO8029