- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 26 April 2018 16:22
- Hits: 777
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index ฟื้นตัวช่วงสั้น แต่ยังไม่ผ่าน 1800 จุด แรงหนุนจากตลาดหุ้นต่างประเทศและราคาน้ำมัน รวมทั้งปัจจัยบวกเฉพาะตัว ทั้งยอดผลิตและยอดขายรถยนต์ที่โตต่อเนื่อง ความคืบหน้าการประมูลคลื่น 1800 MHz หนุนหุ้นเป็นรายตัว ขณะที่เงินบาทยังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า ยังคงเป็นบวกต่อหุ้นส่งออก (อาหาร-ชิ้นส่วนฯ) ที่จะเข้าสู่ High Season ตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป โดยงวด 1Q61 กำไรน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว Top picks เลือก HANA(FV@B46), CPF(FV@B30) และ DTAC (FV@B68)
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. ดัชนีฯปิดลบ กลุ่มแบงก์ร่วงต่อ-พลังงานถูกขาย
วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบตลอดวันก่อนจะปิดตลาดที่ 1779.52 จุด ลดลง 8.68 จุด หรือ 0.49% มูลค่าการซื้อขาย 6.5 หมื่นล้านบาท ดัชนีถูกแรงกดดันจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคาหุ้นเต็มมูลค่าพื้นฐานจึงเกิดแรงเทขายทำกำไรออก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม ปตท. (PTT, PTTEP, PTTGC) ตามด้วยการย่อตัวกลุ่มโรงกลั่น (IRPC, TOP, ESSO) ในขณะที่หุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ยังปรับตัวลงต่อเนื่อง (KBANK, SCB, KTB) รวมถึง sell on fact ของ SCC ที่งบ 1Q61 ออกมาต่ำกว่าคาด ตรงข้ามกับกลุ่มอาหารฯ (CPF, TFG, CBG) ปรับตัวขึ้นโดดเด่น ส่วน BLA ราคาปรับขึ้นต่อเนื่องอีก 2.19% รับอานิสงค์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวไทย (10 ปี) ขึ้นแตะระดับ 2.60%
คาดว่าวันนี้ SET Index มีโอกาสรีบาวด์ฟื้นตัวช่วงสั้น แนวรับ 1772 จุด แนวต้าน 1790 จุด โดยคาดหุ้นผู้ให้บริการมือถือน่าจะตอบรับประเด็นความคืบหน้าการประมูลคลื่น 1800 MHz ขณะที่หุ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์น่าจะมีแรงหนุนจากยอดผลิตและยอดขายรถยนต์ที่เติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งการรายงานงบฯ 1Q61 ของภาค Real Sector โดย PTTEP รายงานงบฯ วันนี้
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index ฟื้นตัวช่วงสั้น แต่ยังไม่ผ่าน 1800 จุด แรงหนุนจากตลาดหุ้นต่างประเทศและราคาน้ำมัน รวมทั้งปัจจัยบวกเฉพาะตัว ทั้งยอดผลิตและยอดขายรถยนต์ที่โตต่อเนื่อง ความคืบหน้าการประมูลคลื่น 1800 MHz หนุนหุ้นเป็นรายตัว ขณะที่เงินบาทยังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า ยังคงเป็นบวกต่อหุ้นส่งออก (อาหาร-ชิ้นส่วนฯ) ที่จะเข้าสู่ High Season ตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป โดยงวด 1Q61 กำไรน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว Top picks เลือก HANA(FV@B46), CPF(FV@B30) และ DTAC (FV@B68)
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. ดัชนีฯปิดลบ กลุ่มแบงก์ร่วงต่อ-พลังงานถูกขาย
วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบตลอดวันก่อนจะปิดตลาดที่ 1779.52 จุด ลดลง 8.68 จุด หรือ 0.49% มูลค่าการซื้อขาย 6.5 หมื่นล้านบาท ดัชนีถูกแรงกดดันจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคาหุ้นเต็มมูลค่าพื้นฐานจึงเกิดแรงเทขายทำกำไรออก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม ปตท. (PTT, PTTEP, PTTGC) ตามด้วยการย่อตัวกลุ่มโรงกลั่น (IRPC, TOP, ESSO) ในขณะที่หุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ยังปรับตัวลงต่อเนื่อง (KBANK, SCB, KTB) รวมถึง sell on fact ของ SCC ที่งบ 1Q61 ออกมาต่ำกว่าคาด ตรงข้ามกับกลุ่มอาหารฯ (CPF, TFG, CBG) ปรับตัวขึ้นโดดเด่น ส่วน BLA ราคาปรับขึ้นต่อเนื่องอีก 2.19% รับอานิสงค์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวไทย (10 ปี) ขึ้นแตะระดับ 2.60%
คาดว่าวันนี้ SET Index มีโอกาสรีบาวด์ฟื้นตัวช่วงสั้น แนวรับ 1772 จุด แนวต้าน 1790 จุด โดยคาดหุ้นผู้ให้บริการมือถือน่าจะตอบรับประเด็นความคืบหน้าการประมูลคลื่น 1800 MHz ขณะที่หุ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์น่าจะมีแรงหนุนจากยอดผลิตและยอดขายรถยนต์ที่เติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งการรายงานงบฯ 1Q61 ของภาค Real Sector โดย PTTEP รายงานงบฯ วันนี้
เงินบาทยังอ่อนค่า บวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออก HANA, CPF
ความคาดหวังของการขึ้นดอกเบี้ยฯ ของ Fed หลังจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวต่อเนื่อง หนุน Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐทะลุ 3.0% สูงสุดในรอบ 4 ปี และค่าเงินดอลลาร์เดินหน้าแข็งค่าสูงสุดในรอบ 3 เดือน ตรงข้ามกับค่าเงินเอเชียที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง คือ เงินบาทขึ้นแตะ 31.58 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่ากว่า 13.8% นับจากปลายปี 2559 หรือกว่า 2 ปี (อยู่ที่ 36.4 บาท เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2558) และ เงินริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าราว 12.7% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้น เงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ที่ยังอ่อนค่าอยู่
สถานการณ์นี้น่าจะดีต่อหุ้นส่งออกในกลุ่มเกษตรและอาหาร รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยกลุ่มเกษตรชอบ CPF (FV@B30) และ TFG (FV@B6) ที่ทำธุรกิจครบวงจร ได้ประโยชน์จากราคาสุกรที่ฟื้นตัว และตลาดส่งออกไก่ดีขึ้น นอกจากนี้ แนะนำซื้อ GFPT (FV@B17) จากธุรกิจไก่จะฟื้นตัวตั้งแต่งวด 2Q61 จากแนวโน้มตลาดส่งออกไก่ที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มชิ้นส่วน HANA(FV@B46) เนื่องจากรายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 100% ขณะที่ต้นทุนรูปดอลลาร์สหรัฐ 60% โดยยังเห็นคำสั่งซื้อจากกลุ่มยานยนต์ และฉลากอัจฉริยะ (RFID) เติบโตต่อเนื่อง คาดผลการดำเนินงานจะเติบโตในงวด 2Q61-3Q61 จากการเริ่มเข้าช่วงฤดูกาลส่งออก ซึ่งเป็นปกติของอุตสาหกรรมฯ
ขณะที่วันนี้จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่เดิม 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) และวงเงิน QE ที่ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน สิ้นสุด ก.ย. 2561 แต่น่าจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 4Q61 เนื่องจากเงินเฟ้อที่ 1.3% สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย
ราคาน้ำมันโลกฟื้นตัว แต่สะท้อนราคาหุ้นน้ำมันแล้ว เตรียมลดคำแนะนำ PTTEP
ราคาน้ำมันฟื้นตัวช่วงสั้นจากความไม่แน่นอนในเรื่องมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน แม้ว่า EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.17 ล้านบาร์เรล สวนทางตลาดคาดลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ สะท้อนจากหลุมขุดเจาะในสหรัฐเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 820 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐขึ้นมาที่ 10.6 ล้านบาร์เรล/วัน และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้ ทำให้อุปทานน้ำมันที่คาดว่าจะคลี่คลายใน 2H61 อาจจะเลื่อนออกไปปีหน้า
ในระยะสั้นแม้ราคาน้ำมันดิบโลก โดยเฉพาะน้ำมันดูไบยังยืนบริเวณ 70 เหรียญบาร์เรล (ytd 65 เหรียญฯ) กลยุทธ์การลงทุนหุ้นน้ำมันแนะนำ Switch หุ้น PTT(FV@B54) เนื่องจากราคาเกิน Fair value ไปแล้ว ขณะที่ PTTEP (FV@B137) วันนี้จะมีการรายงานงบงวด 1Q61 ในช่วงบ่าย คาดว่าจะออกมาดีตามคาด อย่างไรก็ตามราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมาจนเต็มมูลค่า สะท้อนประเด็นบวกราคาน้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและกำไร 1Q61 ที่ดี ในระยะสั้น แนะนำขายทำกำไร โดยนักวิเคราะห์ ASPS มีคาดจะปรับคำแนะนำเป็น Switch หลังประกาศงบ
ความคาดหวังของการขึ้นดอกเบี้ยฯ ของ Fed หลังจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวต่อเนื่อง หนุน Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐทะลุ 3.0% สูงสุดในรอบ 4 ปี และค่าเงินดอลลาร์เดินหน้าแข็งค่าสูงสุดในรอบ 3 เดือน ตรงข้ามกับค่าเงินเอเชียที่เริ่มกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง คือ เงินบาทขึ้นแตะ 31.58 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่ากว่า 13.8% นับจากปลายปี 2559 หรือกว่า 2 ปี (อยู่ที่ 36.4 บาท เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2558) และ เงินริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าราว 12.7% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้น เงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ที่ยังอ่อนค่าอยู่
สถานการณ์นี้น่าจะดีต่อหุ้นส่งออกในกลุ่มเกษตรและอาหาร รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยกลุ่มเกษตรชอบ CPF (FV@B30) และ TFG (FV@B6) ที่ทำธุรกิจครบวงจร ได้ประโยชน์จากราคาสุกรที่ฟื้นตัว และตลาดส่งออกไก่ดีขึ้น นอกจากนี้ แนะนำซื้อ GFPT (FV@B17) จากธุรกิจไก่จะฟื้นตัวตั้งแต่งวด 2Q61 จากแนวโน้มตลาดส่งออกไก่ที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มชิ้นส่วน HANA(FV@B46) เนื่องจากรายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 100% ขณะที่ต้นทุนรูปดอลลาร์สหรัฐ 60% โดยยังเห็นคำสั่งซื้อจากกลุ่มยานยนต์ และฉลากอัจฉริยะ (RFID) เติบโตต่อเนื่อง คาดผลการดำเนินงานจะเติบโตในงวด 2Q61-3Q61 จากการเริ่มเข้าช่วงฤดูกาลส่งออก ซึ่งเป็นปกติของอุตสาหกรรมฯ
ขณะที่วันนี้จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่เดิม 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) และวงเงิน QE ที่ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน สิ้นสุด ก.ย. 2561 แต่น่าจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 4Q61 เนื่องจากเงินเฟ้อที่ 1.3% สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย
ราคาน้ำมันโลกฟื้นตัว แต่สะท้อนราคาหุ้นน้ำมันแล้ว เตรียมลดคำแนะนำ PTTEP
ราคาน้ำมันฟื้นตัวช่วงสั้นจากความไม่แน่นอนในเรื่องมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน แม้ว่า EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.17 ล้านบาร์เรล สวนทางตลาดคาดลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ สะท้อนจากหลุมขุดเจาะในสหรัฐเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 820 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐขึ้นมาที่ 10.6 ล้านบาร์เรล/วัน และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้ ทำให้อุปทานน้ำมันที่คาดว่าจะคลี่คลายใน 2H61 อาจจะเลื่อนออกไปปีหน้า
ในระยะสั้นแม้ราคาน้ำมันดิบโลก โดยเฉพาะน้ำมันดูไบยังยืนบริเวณ 70 เหรียญบาร์เรล (ytd 65 เหรียญฯ) กลยุทธ์การลงทุนหุ้นน้ำมันแนะนำ Switch หุ้น PTT(FV@B54) เนื่องจากราคาเกิน Fair value ไปแล้ว ขณะที่ PTTEP (FV@B137) วันนี้จะมีการรายงานงบงวด 1Q61 ในช่วงบ่าย คาดว่าจะออกมาดีตามคาด อย่างไรก็ตามราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมาจนเต็มมูลค่า สะท้อนประเด็นบวกราคาน้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและกำไร 1Q61 ที่ดี ในระยะสั้น แนะนำขายทำกำไร โดยนักวิเคราะห์ ASPS มีคาดจะปรับคำแนะนำเป็น Switch หลังประกาศงบ
เดินหน้าประมูล 1800 MHz ต่อ คาดแข่งไม่ดุเดือด
วานนี้ กสทช. ชุดรักษาการ มีมติให้จัดประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 45 MHz ของ DTAC ที่จะหมดอายุ ก.ย. นี้ ในวันที่ 4 ส.ค. นี้ แบ่งเป็น 3 ใบอนุญาต ใบละ 15 MHz ราคาตั้งต้น 3.7 หมื่นล้านบาท เท่าราคาสุดท้ายรอบก่อนที่ 4.0 หมื่นล้านบาท แต่มีอายุ 18 ปี และสร้างเงื่อนไขการแข่งขันโดยกำหนดเกณฑ์ N-1 ขณะที่ตัดสิทธิ์ JAS ไม่ให้เข้าร่วมประมูล ทั้งนี้ แม้เป็นคลื่นเดิมที่ DTAC ใช้ให้บริการ 2G และ 4G แต่หลังจาก DTAC ได้คลื่น 2300 MHz ซึ่งพัฒนาเป็น 4G ได้ ความจำเป็นการได้คลื่นดังกล่าวจึงลดลงไปมาก จึงน่าจะกลายเป็น ADVANC ที่มีลูกค้าใช้งานต่อคลื่นหนาแน่นสุด (0.7 ล้านรายต่อ 1 MHz ส่วน DTAC อยู่ที่ 0.2 ล้านรายต่อ 1 MHz TRUE อยู่ที่ 0.5 ล้านรายต่อ 1 MHz) ที่ต้องการคลื่นมากกว่า รองมาคือ DTAC ส่วน TRUE ต้องการเพื่อรักษาศักยภาพแข่งขัน
เชื่อว่าแรงกดดันต้นทุนกลุ่ม น่าจะผ่อนคลายลง ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเชื่อว่าการแข่งขันราคาประมูลจะลดลง ทั้งนี้ เชื่อว่าราคาประมูลจะใกล้เคียงราคาตั้งต้นเช่นเดียวกับในสมมติฐาน ซึ่งฐานะการเงินทั้ง 3 รายรองรับได้ โดย ADVANC, DTAC และ TRUE มีเงินสดในมือ 1.0, 2.9 และ 1.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่มี CFO ปีละ 6.0, 2.4 และราว 1.5 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ จึงยังเชื่อว่าทั้ง 3 รายจะได้คลื่นไปคนละใบ
ขณะที่การนำคลื่นดังกล่าวไปเพิ่มกำลังให้บริการ 4G คาดงบลงทุนช่วงถัดไป จึงอยู่ในกรอบปกติ ต้นทุนใหม่จึงมีค่าตัดจ่ายคลื่นใหม่ปีละ 2.4 พันล้านบาท เชื่อว่า ADVANC จะชดเชยได้จากการเติบโตแหล่งรายได้ใหม่จากบริการดิจิตอลที่เริ่มพัฒนา 2-3 ปีแล้ว ส่วน DTAC เป็นรายเดียวที่ลงทุนบนสัมปทาน จึงต้องกลับไปเช่าใช้สินทรัพย์ที่โอนให้ CAT ซึ่งคาดส่งผลมีต้นทุนเพิ่มปีละ 1.0 หมื่นล้านบาท บวกกับ ค่าตัดจ่ายคลื่น 2.4 พันล้านบาท รวม 1.2 หมื่นล้านบาท แต่เชื่อว่าชดเชยได้จากต้นทุนค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์โครงข่ายสัมปทานที่จะหยุดรับรู้หลังสัมปทานสิ้นสุด ปีละ 1.6 หมื่นล้านบาท หนุนผลประกอบการ ส่วน TRUE เป็นรายเดียวที่ต้นทุนเพิ่มมากกว่ารายอื่น จากภาระที่ต้องกลับไปเช่าใช้โครงข่ายที่ขายเพิ่มเติมให้ DIF จึงยังมีแนวโน้มขาดทุนปกติ ภาพรวมยังแนะนำ ซื้อ DTAC(FV@B68), ADVANC(FV@B230) และ Switch ออกจาก TRUE([email protected])
วานนี้ กสทช. ชุดรักษาการ มีมติให้จัดประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 45 MHz ของ DTAC ที่จะหมดอายุ ก.ย. นี้ ในวันที่ 4 ส.ค. นี้ แบ่งเป็น 3 ใบอนุญาต ใบละ 15 MHz ราคาตั้งต้น 3.7 หมื่นล้านบาท เท่าราคาสุดท้ายรอบก่อนที่ 4.0 หมื่นล้านบาท แต่มีอายุ 18 ปี และสร้างเงื่อนไขการแข่งขันโดยกำหนดเกณฑ์ N-1 ขณะที่ตัดสิทธิ์ JAS ไม่ให้เข้าร่วมประมูล ทั้งนี้ แม้เป็นคลื่นเดิมที่ DTAC ใช้ให้บริการ 2G และ 4G แต่หลังจาก DTAC ได้คลื่น 2300 MHz ซึ่งพัฒนาเป็น 4G ได้ ความจำเป็นการได้คลื่นดังกล่าวจึงลดลงไปมาก จึงน่าจะกลายเป็น ADVANC ที่มีลูกค้าใช้งานต่อคลื่นหนาแน่นสุด (0.7 ล้านรายต่อ 1 MHz ส่วน DTAC อยู่ที่ 0.2 ล้านรายต่อ 1 MHz TRUE อยู่ที่ 0.5 ล้านรายต่อ 1 MHz) ที่ต้องการคลื่นมากกว่า รองมาคือ DTAC ส่วน TRUE ต้องการเพื่อรักษาศักยภาพแข่งขัน
เชื่อว่าแรงกดดันต้นทุนกลุ่ม น่าจะผ่อนคลายลง ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเชื่อว่าการแข่งขันราคาประมูลจะลดลง ทั้งนี้ เชื่อว่าราคาประมูลจะใกล้เคียงราคาตั้งต้นเช่นเดียวกับในสมมติฐาน ซึ่งฐานะการเงินทั้ง 3 รายรองรับได้ โดย ADVANC, DTAC และ TRUE มีเงินสดในมือ 1.0, 2.9 และ 1.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่มี CFO ปีละ 6.0, 2.4 และราว 1.5 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ จึงยังเชื่อว่าทั้ง 3 รายจะได้คลื่นไปคนละใบ
ขณะที่การนำคลื่นดังกล่าวไปเพิ่มกำลังให้บริการ 4G คาดงบลงทุนช่วงถัดไป จึงอยู่ในกรอบปกติ ต้นทุนใหม่จึงมีค่าตัดจ่ายคลื่นใหม่ปีละ 2.4 พันล้านบาท เชื่อว่า ADVANC จะชดเชยได้จากการเติบโตแหล่งรายได้ใหม่จากบริการดิจิตอลที่เริ่มพัฒนา 2-3 ปีแล้ว ส่วน DTAC เป็นรายเดียวที่ลงทุนบนสัมปทาน จึงต้องกลับไปเช่าใช้สินทรัพย์ที่โอนให้ CAT ซึ่งคาดส่งผลมีต้นทุนเพิ่มปีละ 1.0 หมื่นล้านบาท บวกกับ ค่าตัดจ่ายคลื่น 2.4 พันล้านบาท รวม 1.2 หมื่นล้านบาท แต่เชื่อว่าชดเชยได้จากต้นทุนค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์โครงข่ายสัมปทานที่จะหยุดรับรู้หลังสัมปทานสิ้นสุด ปีละ 1.6 หมื่นล้านบาท หนุนผลประกอบการ ส่วน TRUE เป็นรายเดียวที่ต้นทุนเพิ่มมากกว่ารายอื่น จากภาระที่ต้องกลับไปเช่าใช้โครงข่ายที่ขายเพิ่มเติมให้ DIF จึงยังมีแนวโน้มขาดทุนปกติ ภาพรวมยังแนะนำ ซื้อ DTAC(FV@B68), ADVANC(FV@B230) และ Switch ออกจาก TRUE([email protected])
ยอดขายรถในประเทศมี.ค.โตต่อเนื่อง 15 เดือน หนุน AH
ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน มี.ค. 2561 จำนวน 9.5 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 12% YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศรวมถึงการจัดโปรโมชั้นของค่ายรถยนต์และธนาคารพาณิชย์ ด้านตลาดส่งออกรถยนต์เติบโต 5% yoy อยู่ที่ 1.1 แสนคัน เพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาดคู่ค้า ภาพรวมส่งให้ยอดผลิตรถยนต์เดือน มี.ค. ขยายตัว 9% yoy เท่ากับ 1.95 แสนคัน สูงสุดในรอบ 56 เดือน เมื่อรวมกับยอดผลิตรถยนต์ 2M61 ที่สูงขึ้น 12% yoy จำนวน 3.44 แสนคัน ส่งให้ยอดผลิตรถยนต์ 1Q61 เท่ากับ 5.4 แสนคัน เติบโต 6% QoQ และ 11% yoy ด้วยยอดผลิตรถยนต์ 1Q61 เติบโต QoQ และ YoY ย่อมหนุนต่อยอดขายบริษัทในกลุ่มฯ ขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิด Economy of Scales เมื่อรวมกับการควบคุมต้นทุนการผลิตอย่างเข้มงวด ผ่านการลดของเสียในการผลิต คาดหนุนให้ Gross Margin สูงกว่า 14.6% ช่วงปีก่อน ผลักดันกำไรกลุ่มฯ 1Q61 มีโอกาสเติบโตทั้ง QoQ และ YoY ขณะที่ปี 2561 คาดขยายตัว 10% yoy เท่ากับ 5,154 ล้านบาท คงน้ำหนักลงทุน “เท่ากับตลาด” สำหรับกลุ่มฯ โดยเลือกหุ้นเด่นอย่าง AH ([email protected]) ราคามี Upside 20% และมี PER ซื้อขาย 9 เท่า และ STANLY (FV@B299) ราคามี Upside 27%
ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน มี.ค. 2561 จำนวน 9.5 หมื่นคัน เพิ่มขึ้น 12% YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศรวมถึงการจัดโปรโมชั้นของค่ายรถยนต์และธนาคารพาณิชย์ ด้านตลาดส่งออกรถยนต์เติบโต 5% yoy อยู่ที่ 1.1 แสนคัน เพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาดคู่ค้า ภาพรวมส่งให้ยอดผลิตรถยนต์เดือน มี.ค. ขยายตัว 9% yoy เท่ากับ 1.95 แสนคัน สูงสุดในรอบ 56 เดือน เมื่อรวมกับยอดผลิตรถยนต์ 2M61 ที่สูงขึ้น 12% yoy จำนวน 3.44 แสนคัน ส่งให้ยอดผลิตรถยนต์ 1Q61 เท่ากับ 5.4 แสนคัน เติบโต 6% QoQ และ 11% yoy ด้วยยอดผลิตรถยนต์ 1Q61 เติบโต QoQ และ YoY ย่อมหนุนต่อยอดขายบริษัทในกลุ่มฯ ขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิด Economy of Scales เมื่อรวมกับการควบคุมต้นทุนการผลิตอย่างเข้มงวด ผ่านการลดของเสียในการผลิต คาดหนุนให้ Gross Margin สูงกว่า 14.6% ช่วงปีก่อน ผลักดันกำไรกลุ่มฯ 1Q61 มีโอกาสเติบโตทั้ง QoQ และ YoY ขณะที่ปี 2561 คาดขยายตัว 10% yoy เท่ากับ 5,154 ล้านบาท คงน้ำหนักลงทุน “เท่ากับตลาด” สำหรับกลุ่มฯ โดยเลือกหุ้นเด่นอย่าง AH ([email protected]) ราคามี Upside 20% และมี PER ซื้อขาย 9 เท่า และ STANLY (FV@B299) ราคามี Upside 27%
CPF/CPALL ไม่กระทบจากการแปลงสภาพหุ้นกู้อนุพันธ์
CPF แจ้งว่าหุ้นกู้อนุพันธ์ (exchangeable Bonds) มูลค่า 300 ล้านเหรียญฯ ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2564 ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี ออกที่ตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปร์ โดย C.P. Foods Holdings Limited (CPFH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย (CPF ถือ 100%) เมื่อ 20 เมษายน ที่ผ่านมา มีผู้ถือหุ้นกู้ ฯ มาขอใช้สิทธิแปลงภาพ จำนวน 30.20 ล้านเหรียญฯ หรือราว 10% ของหุ้นกู้ทั้งหมด ซึ่งหุ้นกู้อนุพันธ์ กำหนดให้แปลงหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของ CPALL (ที่ CPF ถืออยู่ 34.3%) ที่ราคาหุ้นละ 77.35 บาท ดังนั้นการแปลงสภาพ 10% เท่ากับผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์จะได้หุ้น CPALL 13.5 ล้านหุ้น ซึ่งจะทำให้ CPF ถือหุ้นใน CPALL เหลือ 34% ใกล้เคียงเดิม ทั้งนี้ ผลต่องบการเงินของ CPF มีดังนี้
1) งบดุล : ทำให้เงินลงทุน (สินทรัพย์) ใน CPALL ลดลง 1 พันล้านบาท ขณะเดียวกันจะทำให้หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายของ CPF ลดลง 1 พันล้านบาทเช่นเดียวกัน
2) งบกำไรขาดทุน : คาด CPF จะบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุน CPALL มาในงวด 2Q61 ราว 700 ล้านบาท (คำนวณจากราคาแปลงสภาพหุ้น 77.35 บาท – ต้นทุนหุ้น CPALL ของ CPF คาดว่าราว 25 บาท จำนวน 13.5 ล้านหุ้น) ทั้งนี้ ปกติ CPF มีการจำหน่ายเงินลงทุนหุ้น CPALL เป็นประจำทุกไตรมาสอยู่แล้ว และรับรู้เป็นกำไรจากเงินลงทุนราว 2-3 พันล้าน/ไตรมาส
โดยสรุป CPF ไม่มีผลกระทบกับการแปลงสภาพหุ้นกู้อนุพันธ์ในครั้งนี้ ขณะที่หุ้น CPALL ไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะเป็นการนำหุ้นเดิมที่ CPF ถืออยู่มาแปลงสภาพ
CPF แจ้งว่าหุ้นกู้อนุพันธ์ (exchangeable Bonds) มูลค่า 300 ล้านเหรียญฯ ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2564 ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี ออกที่ตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปร์ โดย C.P. Foods Holdings Limited (CPFH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย (CPF ถือ 100%) เมื่อ 20 เมษายน ที่ผ่านมา มีผู้ถือหุ้นกู้ ฯ มาขอใช้สิทธิแปลงภาพ จำนวน 30.20 ล้านเหรียญฯ หรือราว 10% ของหุ้นกู้ทั้งหมด ซึ่งหุ้นกู้อนุพันธ์ กำหนดให้แปลงหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของ CPALL (ที่ CPF ถืออยู่ 34.3%) ที่ราคาหุ้นละ 77.35 บาท ดังนั้นการแปลงสภาพ 10% เท่ากับผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์จะได้หุ้น CPALL 13.5 ล้านหุ้น ซึ่งจะทำให้ CPF ถือหุ้นใน CPALL เหลือ 34% ใกล้เคียงเดิม ทั้งนี้ ผลต่องบการเงินของ CPF มีดังนี้
1) งบดุล : ทำให้เงินลงทุน (สินทรัพย์) ใน CPALL ลดลง 1 พันล้านบาท ขณะเดียวกันจะทำให้หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายของ CPF ลดลง 1 พันล้านบาทเช่นเดียวกัน
2) งบกำไรขาดทุน : คาด CPF จะบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุน CPALL มาในงวด 2Q61 ราว 700 ล้านบาท (คำนวณจากราคาแปลงสภาพหุ้น 77.35 บาท – ต้นทุนหุ้น CPALL ของ CPF คาดว่าราว 25 บาท จำนวน 13.5 ล้านหุ้น) ทั้งนี้ ปกติ CPF มีการจำหน่ายเงินลงทุนหุ้น CPALL เป็นประจำทุกไตรมาสอยู่แล้ว และรับรู้เป็นกำไรจากเงินลงทุนราว 2-3 พันล้าน/ไตรมาส
โดยสรุป CPF ไม่มีผลกระทบกับการแปลงสภาพหุ้นกู้อนุพันธ์ในครั้งนี้ ขณะที่หุ้น CPALL ไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะเป็นการนำหุ้นเดิมที่ CPF ถืออยู่มาแปลงสภาพ
SCC กำไรต่ำกว่าคาด...Earning Preview คาด IRPC กำไรอ่อนตัวใน 1Q61
วานนี้ SCC (FV@B600) รายงานผลประกอบการงวด 1Q61 กำไรอยู่ที่ 12,406 ล้านบาท (-1.3%QoQ, -28.6%YoY) ต่ำกว่าคาด 5.9% กดดันจากธุรกิจปิโตรเคมี แต่หนุนจากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง รวมถึงธุรกิจ Packaging สำหรับแนวโน้ม 2Q61 คาดว่ากลับมาเติบโตได้ดีทั้ง QoQ และ YoY โดยเชื่อว่า Spread ปิโตรเคมีสาย Olefins ที่ทรงตัวในระดับสูงจะส่งผลบวกเต็มที่ต่อ SCC ในงวดนี้
ตามด้วย AEONTS(Switch: FV@B178) กำไรสุทธิ 4Q60/61 ทำ new high เกินคาด 9% เท่ากับ 928 ล้านบาท ด้วยการเติบโตอย่างมีนัยฯ ถึง 23.8% qoq และ 11.2% yoy เนื่องจากมีการบันทึกรายได้พิเศษจากการขายลูกหนี้ หากไม่รวมรายการดังกล่าว พบว่าธุรกิจหลักเติบโตได้ดีใกล้เคียงคาด จากปัจจัยด้านฤดูกาลในช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปี และผลบวกจากการเพิ่มวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลให้แก่ลูกหนี้เดิมและลูกหนี้ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพมากขึ้น ส่วนแนวโน้มกำไรปี 2561/62-63 คาดจะเติบโตแผ่วลงจากฐานที่สูง ขณะที่ธุรกิจหลักยังเติบโตได้แข็งแกร่งต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นปัจจุบันใกล้เคียงมูลค่าพื้นฐาน รวม div yields เฉลี่ยราว 3% p.a. มองว่าผลตอบแทนยังไม่จูงใจให้เข้ามาลงทุนในช่วงสั้น
ขณะที่หุ้นกลุ่ม Real sector ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ทยอยทำ Earnings preview ออกมาเพิ่มเติมมีดังนี้
PYLON ([email protected]) คาดกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 189%QoQ จากการรับรู้รายได้หลายโครงการใหญ่พร้อมๆกัน สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ 2Q61 อาจชะลอตัวลงจาก 1Q61เนื่องจากยังไม่มีการรับงานโครงการใหญ่เข้ามา ส่งผลให้ Backlog ลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่าธุรกิจฟื้นกลับในช่วง 2H61 เป็นต้นไป จากโครงการประมูลภาครัฐที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
SEAFCO (FV@B12) คาด 1Q61 กำไรสุทธิ 53 ล้านบาท ลดลง 12%YoY เนื่องจากไม่มีกำไรพิเศษจากการขายเครื่องจักรเก่า อย่างไรก็ตามคาดว่ายอดการรับรู้รายได้ที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป จากการรับรู้รายได้หลายโครงการใหญ่ เช่น The One Bangkok, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม, งานสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู และ Office ของไทยออยล์ในเมียนมาร์ ขณะเดียวกัน SEAFCO ยังมีความพร้อมสูงทั้งด้าน Backlog บุคลากร และเครื่องจักร สามารถรองรับการสร้างรายได้ไปถึงปี 2562
AMATA ([email protected]) คาดกำไรงวด 1Q61 อยู่ที่ 284 ล้านบาท เติบโต 13% YoY หนุนด้วยยอดโอนที่ดินนิคมฯโต 74 ไร่ ส่วนแนวโน้มธุรกิจมีปัจจัยบวกจาก พ.ร.บ. EEC และ การลงทุนของ Alibaba ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุน นอกจากนี้การได้รับอนุญาตพัฒนาพื้นที่เพิ่มเติม 4.4 พันไร่ จากรัฐบาลเวียดนาม ช่วยหนุนกำไรเติบโตในระยะยาว
IRPC ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ 1Q61 เท่ากับ 2.8 พันล้านบาท ลดลง 38.6%qoq จากกำไรสต็อกน้ำมันที่ลดลง นอกจากนี้คาดในงวดนี้ไม่มีการบันทึกกำไรพิเศษ แต่หากพิจารณาเฉพาะกำไรปกติ 1Q61 พบว่าเพิ่มขึ้น 22.5%qoq มาอยู่ราว 2.4 พันล้านบาท จากการเดินเครื่องของโรงกลั่นที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ Market GIM ลดลงเพียงเล็กน้อย ส่วนแนวโน้มกำไรปกติงวด 2Q61 ทรงตัวใกล้เคียง 1Q61 โดยรวมกำไรปกติปี 2561 คาดเติบโตถึง 60.5%yoy หนุนจาก Market GIM และ utilization rate ที่คาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 โดยราคาหุ้นที่มีการปรับฐานช่วงสั้น เพิ่มความน่าสนใจทั้ง upside ที่เพิ่มขึ้นเป็น 20% และ Dividend Yield สูงกว่า 4.5% ต่อปี จึงถือเป็นโอกาสทยอยซื้อลงทุน
วานนี้ SCC (FV@B600) รายงานผลประกอบการงวด 1Q61 กำไรอยู่ที่ 12,406 ล้านบาท (-1.3%QoQ, -28.6%YoY) ต่ำกว่าคาด 5.9% กดดันจากธุรกิจปิโตรเคมี แต่หนุนจากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง รวมถึงธุรกิจ Packaging สำหรับแนวโน้ม 2Q61 คาดว่ากลับมาเติบโตได้ดีทั้ง QoQ และ YoY โดยเชื่อว่า Spread ปิโตรเคมีสาย Olefins ที่ทรงตัวในระดับสูงจะส่งผลบวกเต็มที่ต่อ SCC ในงวดนี้
ตามด้วย AEONTS(Switch: FV@B178) กำไรสุทธิ 4Q60/61 ทำ new high เกินคาด 9% เท่ากับ 928 ล้านบาท ด้วยการเติบโตอย่างมีนัยฯ ถึง 23.8% qoq และ 11.2% yoy เนื่องจากมีการบันทึกรายได้พิเศษจากการขายลูกหนี้ หากไม่รวมรายการดังกล่าว พบว่าธุรกิจหลักเติบโตได้ดีใกล้เคียงคาด จากปัจจัยด้านฤดูกาลในช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปี และผลบวกจากการเพิ่มวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลให้แก่ลูกหนี้เดิมและลูกหนี้ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพมากขึ้น ส่วนแนวโน้มกำไรปี 2561/62-63 คาดจะเติบโตแผ่วลงจากฐานที่สูง ขณะที่ธุรกิจหลักยังเติบโตได้แข็งแกร่งต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นปัจจุบันใกล้เคียงมูลค่าพื้นฐาน รวม div yields เฉลี่ยราว 3% p.a. มองว่าผลตอบแทนยังไม่จูงใจให้เข้ามาลงทุนในช่วงสั้น
ขณะที่หุ้นกลุ่ม Real sector ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ทยอยทำ Earnings preview ออกมาเพิ่มเติมมีดังนี้
PYLON ([email protected]) คาดกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 189%QoQ จากการรับรู้รายได้หลายโครงการใหญ่พร้อมๆกัน สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ 2Q61 อาจชะลอตัวลงจาก 1Q61เนื่องจากยังไม่มีการรับงานโครงการใหญ่เข้ามา ส่งผลให้ Backlog ลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่าธุรกิจฟื้นกลับในช่วง 2H61 เป็นต้นไป จากโครงการประมูลภาครัฐที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
SEAFCO (FV@B12) คาด 1Q61 กำไรสุทธิ 53 ล้านบาท ลดลง 12%YoY เนื่องจากไม่มีกำไรพิเศษจากการขายเครื่องจักรเก่า อย่างไรก็ตามคาดว่ายอดการรับรู้รายได้ที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป จากการรับรู้รายได้หลายโครงการใหญ่ เช่น The One Bangkok, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม, งานสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู และ Office ของไทยออยล์ในเมียนมาร์ ขณะเดียวกัน SEAFCO ยังมีความพร้อมสูงทั้งด้าน Backlog บุคลากร และเครื่องจักร สามารถรองรับการสร้างรายได้ไปถึงปี 2562
AMATA ([email protected]) คาดกำไรงวด 1Q61 อยู่ที่ 284 ล้านบาท เติบโต 13% YoY หนุนด้วยยอดโอนที่ดินนิคมฯโต 74 ไร่ ส่วนแนวโน้มธุรกิจมีปัจจัยบวกจาก พ.ร.บ. EEC และ การลงทุนของ Alibaba ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุน นอกจากนี้การได้รับอนุญาตพัฒนาพื้นที่เพิ่มเติม 4.4 พันไร่ จากรัฐบาลเวียดนาม ช่วยหนุนกำไรเติบโตในระยะยาว
IRPC ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ 1Q61 เท่ากับ 2.8 พันล้านบาท ลดลง 38.6%qoq จากกำไรสต็อกน้ำมันที่ลดลง นอกจากนี้คาดในงวดนี้ไม่มีการบันทึกกำไรพิเศษ แต่หากพิจารณาเฉพาะกำไรปกติ 1Q61 พบว่าเพิ่มขึ้น 22.5%qoq มาอยู่ราว 2.4 พันล้านบาท จากการเดินเครื่องของโรงกลั่นที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ Market GIM ลดลงเพียงเล็กน้อย ส่วนแนวโน้มกำไรปกติงวด 2Q61 ทรงตัวใกล้เคียง 1Q61 โดยรวมกำไรปกติปี 2561 คาดเติบโตถึง 60.5%yoy หนุนจาก Market GIM และ utilization rate ที่คาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 โดยราคาหุ้นที่มีการปรับฐานช่วงสั้น เพิ่มความน่าสนใจทั้ง upside ที่เพิ่มขึ้นเป็น 20% และ Dividend Yield สูงกว่า 4.5% ต่อปี จึงถือเป็นโอกาสทยอยซื้อลงทุน
Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นทุกแห่งในภูมิภาคตลอด 4 วันที่ผ่านมา
วานนี้ต่างชาติยังคงขายหุ้นในภูมิภาคด้วยมูลค่าสูงถึง 1.21 พันล้านเหรียญ (เป็นการขายสุทธิทุกประเทศตลอด 4 วันที่ผ่านมา) ได้แก่ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 794 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยไต้หวัน 226 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 141 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิ 42 ล้านเหรียญ หรือ 1.32 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 3.75 พันล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิอีก 527 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) หนุนให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นตาม Bond Yield สหรัฐฯ ที่กล่าวไว้ข้างต้น มาอยู่ 2.60% (สูงสุดในรอบ 10 เดือน)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8026
วานนี้ต่างชาติยังคงขายหุ้นในภูมิภาคด้วยมูลค่าสูงถึง 1.21 พันล้านเหรียญ (เป็นการขายสุทธิทุกประเทศตลอด 4 วันที่ผ่านมา) ได้แก่ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 794 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยไต้หวัน 226 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 141 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิ 42 ล้านเหรียญ หรือ 1.32 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 3.75 พันล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิอีก 527 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) หนุนให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นตาม Bond Yield สหรัฐฯ ที่กล่าวไว้ข้างต้น มาอยู่ 2.60% (สูงสุดในรอบ 10 เดือน)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8026