- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 April 2018 20:10
- Hits: 1141
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ราคาน้ำมันดิบใกล้ 70 เหรียญฯ จากปัญหาแหล่งผลิต แต่หุ้นโรงกลั่นจะกระทบจากการปรับสูตรขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น ขณะที่หุ้น PTT น่าจะมีแรงขายวันนี้ ก่อนซื้อขายพาร์ใหม่พรุ่งนี้ ส่วนการรายงานงบ 1Q61 ให้น้ำหนักกลุ่มส่งออก (อาหาร-ชิ้นส่วนฯ) ที่คาดว่างวด 1Q61 จะต่ำสุด แต่จะดีขึ้นในงวดถัดไป จากผลของฤดูกาลและราคาสินค้าไก่-หมูขยับขึ้นเหนือต้นทุน บวกกับเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า เชื่อว่าดัชนีฯวันนี้จะต่ำกว่า 1800 จุด Top picks HANA(FV@B46) และ CPF(FV@B30)
ย้อนรอยหุ้นไทยวันศุกร์ ….. ICT-พลังงาน ดัน SET ทะลุ 1,800 จุด
ศุกร์ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงบ่ายก่อนจะปิดตลาดที่ 1801.28 จุด เพิ่มขึ้น 6.34 จุด หรือ 0.35% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 7.13 หมื่นล้านบาท แรงซื้อยังกระจุกอยู่ในกลุ่มพลังงาน นำโดย PTTEP ทำราคาปิด new high 136.5 บาท (+2.63%) และ PTT (+1.38%) รับเทรดพาร์ใหม่ในวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย.) สวนทางกับกลุ่มโรงกลั่นกอดคอร่วงยกแผง TOP SPRC ESSO BCP ลดลง 2.9%, 3.14%, 2.2% และ 3.31% ตามลำดับ หลัง กบง. มีมติปรับเกณฑ์คำนวณราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นทำให้ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นลดลง ขณะที่กลุ่ม ICT (ADVANC DTAC และ TRUE) ฟื้นตัวกลับมาท้ายตลาด ฯ เพราะข่าว การประมูลคลื่น 1800MHz อาจประมูลตามแผน
คาดวันนี้ SET Index แกว่งตัวและต่ำกว่า 1800 จุด โดยหุ้นน้ำมันน่าจะแกว่งตัว เพราะ PTT แตกพาร์พรุ่งนี้ วันนี้น่าจะเห็นแรงขายทำกำไร จากนี้ให้น้ำหนักกับการรายงานหุ้นมิใช่กลุ่มแบงค์ โดยเฉพาะส่งออกเกษตรและอาหาร เพราะราคาสินค้าทั้งไก่ และ หมูดีขึ้น และเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า
ราคาน้ำมัน 70 เหรียญฯ ... รัฐเปิด TOR ประมูลแหล่งบงกช-เอราวัณ วันนี้
ราคาน้ำมันดิบดูไบยังแกว่งตัว 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ytd 65 เหรียญฯใกล้เคียงสมมติฐานที่ ASPS ประเมินไว้) โดยมีปัจจัยหนุนจากปัญหาจากฝั่ง Supply ในตะวันออกกลางที่ยังมีอยู่ ล่าสุด ในลิเบีย(กำลังการผลิตราว 9.9 แสนบาร์เรล/วันราว 3%ของกลุ่ม OPEC) คือ ท่อส่งน้ำมัน El-Zkout-Es Sider ถูกกลุ่มก่อการร้าย IS วางเพลิงเสียหาย ทำให้ผลผลิตน้ำมันดิบลดลง 70,000-100,000 บาร์เรล/วัน แม้ฝั่งสหรัฐ ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ ( ล่าสุด เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 820 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิต 10.4 ล้านบาร์เรล/วัน) แต่จะถูกหักล้างทำให้อุปทานน้ำมันลดลงได้ในช่วง 2H61
และวันนี้รัฐเปิด TOR แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่กำลังจะครบสัญญาสัมปทานเดิม 2 แห่ง คือ แหล่งเอราวัณ ผลิตขั้นต่ำวันละ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี จากปัจจุบันผู้ผลิต 3 รายคือ CHEVRON, MITSUI OIL Exploration และ PTTEP ถือหุ้น 71.25%, 23.75% และ 5% ตามลำดับ โดยมี CHEVRON โดยมี PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทาน 23 เม.ย. 2565)
ส่วนแหล่งบงกช ให้ผลิตขั้นต่ำวันละ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี จากผู้ผลิตปัจจุบัน 2 รายคือ PTTEP และ TOTAL ถือหุ้น 66.67% และ 33.33% ตามลำดับ โดยมี PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทานสัญญาแรก 23 เม.ย. 2565 และสัญญาที่ 2 สิ้นสุด 7 มี.ค.2566)
ตามกรอบเวลาหลังจากนึ้คือ จะปิดซองประมูล ปลายเดือน พ.ค.2561 และ พิจารณาระหว่าง มิ.ย.-ก.ค.2561 และจะทราบผลผู้ชนะการประมูลในช่วง ธ.ค. 2561 หลักเกณฑ์ที่รัฐจะใช้พิจารณาคือ ส่วนแบ่งกำไรแก่รัฐ ต้องไม่ต่ำกว่า 50% จากเดิม จ่ายภาษีปิโตรเลียมให้กับภาครัฐ(Loyalty)
คาดว่าผู้ชนะการประมูลรอบใหม่ จะต้องเป็นผู้ที่เสนอประโยชน์ให้แก่ภาครัฐมากที่สุด และน่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมคือ PTTEP ที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือ, บุคลากรและประสบการณ์ที่มีมานานในแหล่งดังกล่าว ทั้งนี้หาก PTTEP ชนะการประมูลคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าหุ้นราว 25 บาทต่อหุ้น จะทำให้ มูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2561 (อิง DCF)ของหุ้น PTTEPจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 162 บาทต่อหุ้น จากปัจจุบัน PTTEP(FV@B137)
เงินเบาทกลับมาอ่อนค่า หนุนหุ้นส่งออก CPF, TU, HANA
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มเห็นค่าเงินกลับมาผันผวนอีกครั้ง โดยดอลลาร์แกว่งตัวขึ้นมาแตะ 90.31 จุด หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560 (สูงสุดที่ 130.2) หรือกว่า 1 ปี ตรงข้ามค่าเงินเอเชียที่เริ่มกลับมาอ่อนค่า คือเงินบาทขึ้นแตะ 31.369 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่าว่า 13.8% นับจากปลายปี 2559 หรือกว่า 2 ปี (อยู่ที่ 36.4 บาท เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2558) และ ริงกิต แข็งค่าราว 13.3% นับจากต้นีป 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้น เงินรูเปียร์ของอินโดนีเซีย และ เงินเปโซ ของฟิลิปปินส์ อ่อนค่าอยู่แล้ว
สถานการณ์นี้น่าจะดีต่อหุ้นส่งออก ในกลุ่มเกษตรและอาหาร รวมถึง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มจาก
กลุ่มเกษตรพบว่า ราคาสุกรหน้าฟาร์มและราคาไก่เป็น ได้ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด 1Q61 และทรงตัว ระดับ 62 บาท/ก.ก. และ 34 บาท/ก.ก. และยังคาดว่าจะจะขยับขึ้นในช่วง 2Q61-3Q61 ที่เป็น High Season และ ซึ่งน่าจะดีต่อผู้ที่มีรายได้จากธุรกิจสุกรในประเทศ ได้แก่ TFG (21% ของรายได้รวม) และ CPF (14% ของรายได้รวม) สำหรับธุรกิจไก่ เป็นผลดีต่อ GFPT, TFG และ CPF ที่มีโครงสร้างรายได้จากธุรกิจไก่ในไทย 80%, 70% และ 10% ตามลำดับ
ขณะที่ต้นทุนอาหารสัตว์ คือ กากถั่วเหลือง และ ข้าวโพด พบว่าราคาตลาดโลกยังปรับตัวลงตั้งแต่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากราคาปัจจุบันของทั้งกากถั่วเหลืองและข้าวโพดยังอยู่ในระดับสูงกว่าปี 2560 ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้ราคานำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงขึ้น (CPF และ GFPT มีสถานะเป็น Net Export จึงทำให้ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท ยกเว้น TFG ที่มีสถานะเป็น Net Import จึงกระทบเชิงลบจากการอ่อนค่าของเงินบาท)
ยังชอบ CPF (FV@B30) และ TFG (FV@B6) ที่ทำธุรกิจครบวงจร ได้ประโยชน์จากราคาสุกรที่ฟื้นตัว และตลาดส่งออกไก่ดีขึ้น นอกจากนี้ แนะนำซื้อ GFPT (FV@B17) จากธุรกิจไก่จะฟื้นตัวตั้งแต่งวด 2Q61 จากแนวโน้มตลาดส่งออกไก่ที่ดีขึ้น
ส่วนราคาปลาทูน่าเริ่มขยับขึ้น โดยล่าสุดราคาเฉลี่ยเดือน มี.ค. 61 ล่าสุดอยู่ที่ 1.7 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 14.9% mom ยังสอดคล้องกับมุมมองของฝ่ายวิจัยที่ประเมินว่าราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยปี 2561 จะอยู่ที่ราว 1.75 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ขณะที่ราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยงวด 1Q61 ที่อ่อนตัวลง 22.5% qoq และ 3.5% yoy มาอยู่ที่ 1.58 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ส่งผลบวกต่อผลประกอบการของ TU ให้ฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ 2Q61
นอกจากนี้จะดีต่อหุ้นชิ้นส่วน ฯ โดยเฉพาะ HANA(FV@B46) เนื่องจากรายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 100% ขณะที่ต้นทุนรูปดอลลาร์สหรัฐ 60% เทียบกับ SVI ซึ่งมีรายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ70% และต้นทุนดอลลาร์สหรัฐ 50% KCE รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 70% ขณะที่ต้นทุนดอลลาร์สหรัฐ 35% และ DELTA ซึ่งมีรายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 72% และต้นทุนดอลลาร์สหรัฐ 50% จึงเลือก HANA เป็น Top pick
ปรับสูตรขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น กระทบ SPRC
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กบง.มีมติปรับสูตรราคาหน้าโรงกลั่นใหม่ โดยใช้เกณฑ์ราคาน้ำมันยูโร 4 เป็นฐาน จากเดิมที่ใช้ยูโร 3 บวกต้นทุนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้มาตรฐานยูโร 4 (พรีเมี่ยม) พร้อมลดอัตราส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซล ลง เป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งส่งผลให้ราคาขายส่งลดลงราว 60-80 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้แม้รัฐจะปล่อยให้การซื้อขายเป็นไปตามเสรี แต่การปรับสูตรครั้งนี้มีผลทำให้ราคาขายหน้าโรงกลั่นลดลงทันที
ฝ่ายวิจัยจึงยังคงประมาณการกำไรกลุ่มโรงกลั่นเช่นเดิม เพราะการซื้อขายส่วนใหญ่เป็นการทำสัญญาล่วงหน้า 3 เดือน ถึง 1 ปี แต่มีโอกาสที่สัญญาใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะลดลงตามราคาหน้าโรงกลั่นอ้างอิงใหม่ที่ประกาศโดยภาครัฐ จึงยังเป็น sentiment เชิงลบต่อบริษัทที่มีสัดส่วนโรงกลั่นค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะกระทบกับ SPRC (ไม่ได้ coverage) ซึ่งรายได้มาจากโรงกลั่น 100% รองลงมาได้แก่ BCP โรงกลั่น 75%, ESSO และ TOP สัดส่วน 65% ขณะที่ IRPC น้อย 35% (ที่เหลือส่วนใหญ่กระจุกตัว โอเลฟินส์ 35% อะโรเมติกส์ 10% และ สไตรรีนิกซ์ 20%) และ PTTGC น้อยสุด 25% (ส่วน โอเลฟินส์ 50% อะโรเมติกส์ 25%)
ทั้งนี้ทุก ๆ 1 เหรียญฯ ที่ค่าการกลั่นลดลง จะกระทบต่อประมาณการกำไรของหุ้นโรงกลั่นนีป 2561 ราว 18.5%, 13.2%, 5.8% และ 3.4% จากประมาณการกำไรปี 2561 ตามลำดับ ดังนั้นจึงแนะนำ IRPC และ PTTGC ที่ถือว่าปลอดภัยสุด
แนะขาย PTT ก่อนเทรดพาร์ใหม่พรุ่งนี้ ... ราคาเตรียมไหลลง
หลังประกาศแตกพาร์เมื่อ 20 ก.พ. 61 (จะมีกำหนดวันแตกพาร์คือ 24 เม.ย. นี้) พบว่าราคาหุ้น PTT จนถึงปัจจุบัน ปรับขึ้นกว่า 22.5% แต่เป็นที่สังเกตว่า ราคาหุ้น PTT ให้ผลตอบแทนสูงเกินกว่า ค่าเฉลี่ยของหุ้นขนาดใหญ่ที่ประกาศแตกพาร์ในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือให้ผลตอบแทนเพียง 14.09% เท่านั้น อาทิ CPN (แตกพาร์ พ.ค.56), BDMS(แตกพาร์ เม.ย.57) และ AOT(แตกพาร์ ก.พ.60) เพิ่มขึ้น 17%, 11% และ 3% ตามลำดับ อีกทั้งสถิติในอดีตยังชี้ให้เห็นว่า ราคาหุ้นหลังแตกพาร์มักปรับตัวลดลงในช่วงสัปดาห์แรกหลังมีผลบังคับเฉลี่ยราว 1% แม้มีโอกาสฟื้นตัวอีก 2 สัปดาห์ถัดจากวันแตกพาร์ แต่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกไม่ถึง 40%
นอกจากนี้ตั้งแต่ต้นปีราคาน้ำมันดิบ Dubai เพิ่มขึ้นมาเพียง 11.3% (ytd) เท่านั้น ขณะที่ราคาหุ้น PTT ปรับตัวขึ้นแรงถึง 33.6% (ytd) อยู่ที่ 588 บาท และยังเกินมูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยฯประเมินไว้ที่ 540 บาท ในสถานการณ์นี้จึงแนะนำขายทำกำไร PTT
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ราคาน้ำมันดิบใกล้ 70 เหรียญฯ จากปัญหาแหล่งผลิต แต่หุ้นโรงกลั่นจะกระทบจากการปรับสูตรขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น ขณะที่หุ้น PTT น่าจะมีแรงขายวันนี้ ก่อนซื้อขายพาร์ใหม่พรุ่งนี้ ส่วนการรายงานงบ 1Q61 ให้น้ำหนักกลุ่มส่งออก (อาหาร-ชิ้นส่วนฯ) ที่คาดว่างวด 1Q61 จะต่ำสุด แต่จะดีขึ้นในงวดถัดไป จากผลของฤดูกาลและราคาสินค้าไก่-หมูขยับขึ้นเหนือต้นทุน บวกกับเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า เชื่อว่าดัชนีฯวันนี้จะต่ำกว่า 1800 จุด Top picks HANA(FV@B46) และ CPF(FV@B30)
ย้อนรอยหุ้นไทยวันศุกร์ ….. ICT-พลังงาน ดัน SET ทะลุ 1,800 จุด
ศุกร์ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงบ่ายก่อนจะปิดตลาดที่ 1801.28 จุด เพิ่มขึ้น 6.34 จุด หรือ 0.35% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 7.13 หมื่นล้านบาท แรงซื้อยังกระจุกอยู่ในกลุ่มพลังงาน นำโดย PTTEP ทำราคาปิด new high 136.5 บาท (+2.63%) และ PTT (+1.38%) รับเทรดพาร์ใหม่ในวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย.) สวนทางกับกลุ่มโรงกลั่นกอดคอร่วงยกแผง TOP SPRC ESSO BCP ลดลง 2.9%, 3.14%, 2.2% และ 3.31% ตามลำดับ หลัง กบง. มีมติปรับเกณฑ์คำนวณราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นทำให้ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นลดลง ขณะที่กลุ่ม ICT (ADVANC DTAC และ TRUE) ฟื้นตัวกลับมาท้ายตลาด ฯ เพราะข่าว การประมูลคลื่น 1800MHz อาจประมูลตามแผน
คาดวันนี้ SET Index แกว่งตัวและต่ำกว่า 1800 จุด โดยหุ้นน้ำมันน่าจะแกว่งตัว เพราะ PTT แตกพาร์พรุ่งนี้ วันนี้น่าจะเห็นแรงขายทำกำไร จากนี้ให้น้ำหนักกับการรายงานหุ้นมิใช่กลุ่มแบงค์ โดยเฉพาะส่งออกเกษตรและอาหาร เพราะราคาสินค้าทั้งไก่ และ หมูดีขึ้น และเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า
ราคาน้ำมัน 70 เหรียญฯ ... รัฐเปิด TOR ประมูลแหล่งบงกช-เอราวัณ วันนี้
ราคาน้ำมันดิบดูไบยังแกว่งตัว 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ytd 65 เหรียญฯใกล้เคียงสมมติฐานที่ ASPS ประเมินไว้) โดยมีปัจจัยหนุนจากปัญหาจากฝั่ง Supply ในตะวันออกกลางที่ยังมีอยู่ ล่าสุด ในลิเบีย(กำลังการผลิตราว 9.9 แสนบาร์เรล/วันราว 3%ของกลุ่ม OPEC) คือ ท่อส่งน้ำมัน El-Zkout-Es Sider ถูกกลุ่มก่อการร้าย IS วางเพลิงเสียหาย ทำให้ผลผลิตน้ำมันดิบลดลง 70,000-100,000 บาร์เรล/วัน แม้ฝั่งสหรัฐ ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ ( ล่าสุด เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 820 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิต 10.4 ล้านบาร์เรล/วัน) แต่จะถูกหักล้างทำให้อุปทานน้ำมันลดลงได้ในช่วง 2H61
และวันนี้รัฐเปิด TOR แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่กำลังจะครบสัญญาสัมปทานเดิม 2 แห่ง คือ แหล่งเอราวัณ ผลิตขั้นต่ำวันละ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี จากปัจจุบันผู้ผลิต 3 รายคือ CHEVRON, MITSUI OIL Exploration และ PTTEP ถือหุ้น 71.25%, 23.75% และ 5% ตามลำดับ โดยมี CHEVRON โดยมี PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทาน 23 เม.ย. 2565)
ส่วนแหล่งบงกช ให้ผลิตขั้นต่ำวันละ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี จากผู้ผลิตปัจจุบัน 2 รายคือ PTTEP และ TOTAL ถือหุ้น 66.67% และ 33.33% ตามลำดับ โดยมี PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทานสัญญาแรก 23 เม.ย. 2565 และสัญญาที่ 2 สิ้นสุด 7 มี.ค.2566)
ตามกรอบเวลาหลังจากนึ้คือ จะปิดซองประมูล ปลายเดือน พ.ค.2561 และ พิจารณาระหว่าง มิ.ย.-ก.ค.2561 และจะทราบผลผู้ชนะการประมูลในช่วง ธ.ค. 2561 หลักเกณฑ์ที่รัฐจะใช้พิจารณาคือ ส่วนแบ่งกำไรแก่รัฐ ต้องไม่ต่ำกว่า 50% จากเดิม จ่ายภาษีปิโตรเลียมให้กับภาครัฐ(Loyalty)
คาดว่าผู้ชนะการประมูลรอบใหม่ จะต้องเป็นผู้ที่เสนอประโยชน์ให้แก่ภาครัฐมากที่สุด และน่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมคือ PTTEP ที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือ, บุคลากรและประสบการณ์ที่มีมานานในแหล่งดังกล่าว ทั้งนี้หาก PTTEP ชนะการประมูลคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าหุ้นราว 25 บาทต่อหุ้น จะทำให้ มูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2561 (อิง DCF)ของหุ้น PTTEPจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 162 บาทต่อหุ้น จากปัจจุบัน PTTEP(FV@B137)
เงินเบาทกลับมาอ่อนค่า หนุนหุ้นส่งออก CPF, TU, HANA
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มเห็นค่าเงินกลับมาผันผวนอีกครั้ง โดยดอลลาร์แกว่งตัวขึ้นมาแตะ 90.31 จุด หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560 (สูงสุดที่ 130.2) หรือกว่า 1 ปี ตรงข้ามค่าเงินเอเชียที่เริ่มกลับมาอ่อนค่า คือเงินบาทขึ้นแตะ 31.369 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเงินบาทแข็งค่าว่า 13.8% นับจากปลายปี 2559 หรือกว่า 2 ปี (อยู่ที่ 36.4 บาท เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2558) และ ริงกิต แข็งค่าราว 13.3% นับจากต้นีป 2560 หรือกว่า 1 ปี ยกเว้น เงินรูเปียร์ของอินโดนีเซีย และ เงินเปโซ ของฟิลิปปินส์ อ่อนค่าอยู่แล้ว
สถานการณ์นี้น่าจะดีต่อหุ้นส่งออก ในกลุ่มเกษตรและอาหาร รวมถึง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มจาก
กลุ่มเกษตรพบว่า ราคาสุกรหน้าฟาร์มและราคาไก่เป็น ได้ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด 1Q61 และทรงตัว ระดับ 62 บาท/ก.ก. และ 34 บาท/ก.ก. และยังคาดว่าจะจะขยับขึ้นในช่วง 2Q61-3Q61 ที่เป็น High Season และ ซึ่งน่าจะดีต่อผู้ที่มีรายได้จากธุรกิจสุกรในประเทศ ได้แก่ TFG (21% ของรายได้รวม) และ CPF (14% ของรายได้รวม) สำหรับธุรกิจไก่ เป็นผลดีต่อ GFPT, TFG และ CPF ที่มีโครงสร้างรายได้จากธุรกิจไก่ในไทย 80%, 70% และ 10% ตามลำดับ
ขณะที่ต้นทุนอาหารสัตว์ คือ กากถั่วเหลือง และ ข้าวโพด พบว่าราคาตลาดโลกยังปรับตัวลงตั้งแต่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากราคาปัจจุบันของทั้งกากถั่วเหลืองและข้าวโพดยังอยู่ในระดับสูงกว่าปี 2560 ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้ราคานำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงขึ้น (CPF และ GFPT มีสถานะเป็น Net Export จึงทำให้ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท ยกเว้น TFG ที่มีสถานะเป็น Net Import จึงกระทบเชิงลบจากการอ่อนค่าของเงินบาท)
ยังชอบ CPF (FV@B30) และ TFG (FV@B6) ที่ทำธุรกิจครบวงจร ได้ประโยชน์จากราคาสุกรที่ฟื้นตัว และตลาดส่งออกไก่ดีขึ้น นอกจากนี้ แนะนำซื้อ GFPT (FV@B17) จากธุรกิจไก่จะฟื้นตัวตั้งแต่งวด 2Q61 จากแนวโน้มตลาดส่งออกไก่ที่ดีขึ้น
ส่วนราคาปลาทูน่าเริ่มขยับขึ้น โดยล่าสุดราคาเฉลี่ยเดือน มี.ค. 61 ล่าสุดอยู่ที่ 1.7 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 14.9% mom ยังสอดคล้องกับมุมมองของฝ่ายวิจัยที่ประเมินว่าราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยปี 2561 จะอยู่ที่ราว 1.75 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ขณะที่ราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยงวด 1Q61 ที่อ่อนตัวลง 22.5% qoq และ 3.5% yoy มาอยู่ที่ 1.58 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ส่งผลบวกต่อผลประกอบการของ TU ให้ฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ 2Q61
นอกจากนี้จะดีต่อหุ้นชิ้นส่วน ฯ โดยเฉพาะ HANA(FV@B46) เนื่องจากรายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 100% ขณะที่ต้นทุนรูปดอลลาร์สหรัฐ 60% เทียบกับ SVI ซึ่งมีรายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ70% และต้นทุนดอลลาร์สหรัฐ 50% KCE รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 70% ขณะที่ต้นทุนดอลลาร์สหรัฐ 35% และ DELTA ซึ่งมีรายได้อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 72% และต้นทุนดอลลาร์สหรัฐ 50% จึงเลือก HANA เป็น Top pick
ปรับสูตรขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น กระทบ SPRC
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กบง.มีมติปรับสูตรราคาหน้าโรงกลั่นใหม่ โดยใช้เกณฑ์ราคาน้ำมันยูโร 4 เป็นฐาน จากเดิมที่ใช้ยูโร 3 บวกต้นทุนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้มาตรฐานยูโร 4 (พรีเมี่ยม) พร้อมลดอัตราส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซล ลง เป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งส่งผลให้ราคาขายส่งลดลงราว 60-80 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้แม้รัฐจะปล่อยให้การซื้อขายเป็นไปตามเสรี แต่การปรับสูตรครั้งนี้มีผลทำให้ราคาขายหน้าโรงกลั่นลดลงทันที
ฝ่ายวิจัยจึงยังคงประมาณการกำไรกลุ่มโรงกลั่นเช่นเดิม เพราะการซื้อขายส่วนใหญ่เป็นการทำสัญญาล่วงหน้า 3 เดือน ถึง 1 ปี แต่มีโอกาสที่สัญญาใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะลดลงตามราคาหน้าโรงกลั่นอ้างอิงใหม่ที่ประกาศโดยภาครัฐ จึงยังเป็น sentiment เชิงลบต่อบริษัทที่มีสัดส่วนโรงกลั่นค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะกระทบกับ SPRC (ไม่ได้ coverage) ซึ่งรายได้มาจากโรงกลั่น 100% รองลงมาได้แก่ BCP โรงกลั่น 75%, ESSO และ TOP สัดส่วน 65% ขณะที่ IRPC น้อย 35% (ที่เหลือส่วนใหญ่กระจุกตัว โอเลฟินส์ 35% อะโรเมติกส์ 10% และ สไตรรีนิกซ์ 20%) และ PTTGC น้อยสุด 25% (ส่วน โอเลฟินส์ 50% อะโรเมติกส์ 25%)
ทั้งนี้ทุก ๆ 1 เหรียญฯ ที่ค่าการกลั่นลดลง จะกระทบต่อประมาณการกำไรของหุ้นโรงกลั่นนีป 2561 ราว 18.5%, 13.2%, 5.8% และ 3.4% จากประมาณการกำไรปี 2561 ตามลำดับ ดังนั้นจึงแนะนำ IRPC และ PTTGC ที่ถือว่าปลอดภัยสุด
แนะขาย PTT ก่อนเทรดพาร์ใหม่พรุ่งนี้ ... ราคาเตรียมไหลลง
หลังประกาศแตกพาร์เมื่อ 20 ก.พ. 61 (จะมีกำหนดวันแตกพาร์คือ 24 เม.ย. นี้) พบว่าราคาหุ้น PTT จนถึงปัจจุบัน ปรับขึ้นกว่า 22.5% แต่เป็นที่สังเกตว่า ราคาหุ้น PTT ให้ผลตอบแทนสูงเกินกว่า ค่าเฉลี่ยของหุ้นขนาดใหญ่ที่ประกาศแตกพาร์ในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือให้ผลตอบแทนเพียง 14.09% เท่านั้น อาทิ CPN (แตกพาร์ พ.ค.56), BDMS(แตกพาร์ เม.ย.57) และ AOT(แตกพาร์ ก.พ.60) เพิ่มขึ้น 17%, 11% และ 3% ตามลำดับ อีกทั้งสถิติในอดีตยังชี้ให้เห็นว่า ราคาหุ้นหลังแตกพาร์มักปรับตัวลดลงในช่วงสัปดาห์แรกหลังมีผลบังคับเฉลี่ยราว 1% แม้มีโอกาสฟื้นตัวอีก 2 สัปดาห์ถัดจากวันแตกพาร์ แต่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกไม่ถึง 40%
นอกจากนี้ตั้งแต่ต้นปีราคาน้ำมันดิบ Dubai เพิ่มขึ้นมาเพียง 11.3% (ytd) เท่านั้น ขณะที่ราคาหุ้น PTT ปรับตัวขึ้นแรงถึง 33.6% (ytd) อยู่ที่ 588 บาท และยังเกินมูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยฯประเมินไว้ที่ 540 บาท ในสถานการณ์นี้จึงแนะนำขายทำกำไร PTT
ธ.พ. รายงานงบ 1Q61 ดีกว่าคาด SCB, KTB สำรองฯ น้อยกว่าคาด
วันศุกร์ที่ผ่านมา ธ.พ. 10 แห่งรายงานกำไรสุทธิใน 1Q61 5.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.7% ดีกว่าคาด เพราะตั้งสำรองฯ ที่น้อยกว่าคาด โดยเฉพาะ SCB, KTB ยกเว้น BAY, TCAP, KKP, TISCO, LHBANK ที่เร่งสำรองมากกว่าคาด และ มีการบันทึกรายได้อื่น ๆ เพิ่มเช่น กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจาก FX และเงินปันผลรับ เป็นต้น
KBANK (FV@B227) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 1.07 หมื่นล้านบาท ดีกว่าคาด เพิ่มขึ้น 5.8%yoy และ 88.6%qoq หลักๆ มาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงอย่างมีนัยฯ ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิทรงตัว โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 8.5%yoy
KKP (FV@B90) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 1.51 พันล้านบาท เป็นไปตามคาด ทรงตัวyoy และเติบโต 16%qoq ทั้งนี้เกิดจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิเพิ่มขึ้น เงินปันผลรับจากบริษัทย่อย และมีกำไรจาก Fx ขณะที่มีการตั้งค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น โดยรวมกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 13.2%yoy
KTB ([email protected]) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 6.79 พันล้านบาท ต่ำกว่าคาด ลดลง 20.5%yoy แต่เติบโต 41%qoq แม้รายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิ จะเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง แต่ถูกหักล้างรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่ลดลง โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 12.7%yoy
ต่างชาติขายหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค รวมถึงไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคด้วยมูลค่าสูงถึง 1.28 พันล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวันขายสุทธิ 735 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 450 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน), อินโดนีเซีย 16 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 68 ล้านเหรียญ หรือ 2.14 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 870 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 9 วัน ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 1.91 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.48 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อย 740 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7838
วันศุกร์ที่ผ่านมา ธ.พ. 10 แห่งรายงานกำไรสุทธิใน 1Q61 5.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.7% ดีกว่าคาด เพราะตั้งสำรองฯ ที่น้อยกว่าคาด โดยเฉพาะ SCB, KTB ยกเว้น BAY, TCAP, KKP, TISCO, LHBANK ที่เร่งสำรองมากกว่าคาด และ มีการบันทึกรายได้อื่น ๆ เพิ่มเช่น กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจาก FX และเงินปันผลรับ เป็นต้น
KBANK (FV@B227) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 1.07 หมื่นล้านบาท ดีกว่าคาด เพิ่มขึ้น 5.8%yoy และ 88.6%qoq หลักๆ มาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงอย่างมีนัยฯ ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิทรงตัว โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 8.5%yoy
KKP (FV@B90) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 1.51 พันล้านบาท เป็นไปตามคาด ทรงตัวyoy และเติบโต 16%qoq ทั้งนี้เกิดจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิเพิ่มขึ้น เงินปันผลรับจากบริษัทย่อย และมีกำไรจาก Fx ขณะที่มีการตั้งค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น โดยรวมกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 13.2%yoy
KTB ([email protected]) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 6.79 พันล้านบาท ต่ำกว่าคาด ลดลง 20.5%yoy แต่เติบโต 41%qoq แม้รายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิ จะเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง แต่ถูกหักล้างรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่ลดลง โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 12.7%yoy
ต่างชาติขายหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค รวมถึงไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคด้วยมูลค่าสูงถึง 1.28 พันล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวันขายสุทธิ 735 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 450 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน), อินโดนีเซีย 16 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 68 ล้านเหรียญ หรือ 2.14 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 870 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 9 วัน ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 1.91 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.48 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อย 740 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7838