- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 20 April 2018 17:59
- Hits: 358
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อราคาน้ำมันดิบดูไบติดแนวต้าน 70 เหรียญฯ ขณะที่วานนี้ราคาหุ้น PTT-PTTEP พุ่งแรง จึงมีโอกาสย่อตัววันนี้ ส่วนงบแบงก์ 1Q61 ไม่ต่างจากคาดมาก ยังจะมี sell on fact ต่อ โดยคาด SET Index วันนี้แกว่งในกรอบ 1775-1800 จุด...Top picks เลือกหุ้น Growth และ Laggard ได้แก่ PLANB([email protected]) และ BANPU ([email protected]) ซึ่งมีโอกาสปรับมูลค่าเพิ่มราว 19.5% จากราคาถ่านหินที่สูงกว่าประมาณการ
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….เก็งกำไร PTT เตรียมเทรดพาร์ใหม่ หนุน SET Index พุ่ง
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยบวกตัวแรงต่อเนื่อง โดยช่วงเช้าเปิดโดดกว่า 6 จุด และปรับขึ้นได้ต่อเนื่องตลอดวัน ก่อนจะปิดตลาดที่ 1794.94 จุด เพิ่มขึ้น 23.38 จุด หรือ 1.32% พร้อมมูลค่าซื้อขายที่กลับมาหนาแน่นสูงกว่า 8.4 หมื่นล้านบาท กลุ่มพลังงานร้อนแรงสุด ปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกระแสเก็งกำไรการแตกพาร์ของ PTT (มีผล 24 เม.ย. นี้) ทำให้ราคาปิดขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 580 บาท โดยเพิ่มขึ้นถึง 5.45% ตามด้วย PTTEP ราคาปิดสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 133 บาท เพิ่มขึ้นแรงมากถึง 8.57% เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่มที่ปิโตรฯ ที่ปรับตัวเด่น IVL(+2.59%) PTTGC (+4.86%) อีกกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นต่อคือกลุ่มค้าปลีก (CPALL และ BJC)
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวบวกต่อในกรอบ 1775-1800 จุด โดยหุ้นน้ำมันน่าจะย่อตัว เพราะราคาหุ้น PTT, PTTEP ฟื้นตัวเร็วกว่าน้ำมัน และ แรงขายรับงบแบงค์น่าจะเพิ่มมากขึ้น ส่วนปัญหาต่างประเทศยังมีอยู่ต่อเนื่อง แต่น้ำหนักอาจจะไม่มากเหมือนที่ผ่านมา
ตอบโต้การค้าสหรัฐฯ-จีน จะเห็นภาพชัด 15 พ.ค.นี้
ประเด็นสงครามการค้าสหรัฐ-จีนยังมีน้ำหนักกดดันตลาดหุ้นโลก แต่คงเบาบางลง ระหว่างรอผลการทำประชาพิจารณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในสหรัฐ ซึ่งน่าจะทราบผล 15 พ.ค. และหลังจากนั้นอีก 1 เดือนถึงจะมีผลบังคับใช้ ขณะที่จีน 234 รายการราว 5 หมื่นล้านเหรียญฯ หลักๆ คือ ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, รถยนต์ เป็นต้น ยังไม่มีผลบังคับใช้เช่นกัน โดยดูท่าทีสหรัฐอีกครั้ง
นอกจากนี้ประเด็นการจำกัดการเข้ามาลงทุนของจีนในสหรัฐ โดยเฉพาะธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อกันการถ่ายทอดเทคโนโลยี ล่าสุด ประธานาธิบดีทรัมป์สั่งให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเดินหน้าตรวจสอบบริษัทจีนในสหรัฐที่เข้าข่ายเพิ่มเติม หลังจากเริ่มไปแล้วคือ บริษัท ZTE (ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่อันดับ 2 ของจีน) ถูกลงโทษผ่านการห้ามบริษัทในสหรัฐทำธุรกิจร่วมกันเป็นเวลา 7 ปี เนื่องจาก ZTE ลักลอบส่งออกสินค้าให้อิหร่านและเกาหลีเหนือ (ประเทศที่ขัดแย้งการเมืองระหว่างประเทศกับสหรัฐ)
อย่างไรก็ตามฝั่งจีน เริ่มมีท่าทีผ่อนปรนหลังจากในช่วงกลางเดือน เม.ย. สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้ส่งสัญญาณจะลดภาษีนำเข้ารถยนต์(ยังไม่ระบุรายละเอียดจากเดิมราว 25%) รวมถึงสินค้าอื่นๆในปีนี้ และจะผ่อนปรนเกณฑ์การเข้ามาลงทุนของต่างชาติ รวมถึงปรับเพดานการถือหุ้นบริษัทรถยนต์ ต่างชาติในจีนได้เกิน 50%เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี
อย่างไรก็ตามยังเป็นปมปัญหาจะจบตรงไหน แม้ท้ายสุดคาดว่าจะตกลงกันได้แต่อยู่ที่ใครจะยอมถอยมากกว่า ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เชื่อว่ากระทบทั้งฝั่งผู้ผลิตและ ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
DTAC อาการหนักสุด หากประมูลคลื่นเลื่อน
คาดว่าวันนี้ตลาดน่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจาก กลุ่มสื่อสาร หลังจากวานนี้ สนช. ลงมติร่วมกันไม่เดินหน้าขบวนการคัดเลือก กสทช. ชุดใหม่ รอบสุดท้ายให้เหลือ 7 จากที่ 14 คน ที่ผ่านมาคัดกรองรอบแรก 80 คน เนื่องจากให้ความเห็นว่า 8 ใน 14 คน ขาดคุณสมบัติฯ ซึ่งทำให้ต้องถอยกลับไป เข้าสู่ขบวนกลั่นกรองกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม กฎหมาย การสรรหา กสทช จะต้องทำให้เสร็จสิ้นภาย ใน 30 วัน นับจากนี้ และ ในระหว่างที่ยังไม่ กสทช ชุด ใหม่ กสทช. ชุดเดิมยังคงรักษาการต่อไป
ผลกระทบต่อภาพรวม น่าจะทำให้การประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 45 Mhz ที่เป็นของ DTAC ที่จะสิ้นสุดอายุ ก.ย. 61 ต้องเลื่อนออกไป (กสทช. ชุดรักษาการมีความเห็นที่จะยกหน้าที่ให้กับ กสทช. ชุดใหม่) จากเดิมที่ชุดรักษาการกำหนดราวกลางปี 2561 อาจจะเป็นปลายปี 2561 จึงน่าจะกระทบต่อ DTAC มากสุด เพราะเป็นรายเดียวที่ขาดแคลนมากสุด และ ต้องการคลื่นกลับมาทดแทนคลื่นสัมปทานเดิม เพื่อลงทุน 4G ให้มีประสิทธิภาพเทียบเคียงคู่แข่ง และ ลดผลกระทบการเสียลูกค้า ขณะที่เดียวกัน DTAC ยังอยู่ระหว่างเร่งทำสัญญาเช่าใช้คลื่น 2300 MHz จาก TOT มาลงทุน 4G ทดแทนคลื่นสัมปทานเดิม เพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ เชื่อระยะยาว DTAC ยังอยู่รอดได้
ส่วน ADVANC แม้ต้องการคลื่นเพิ่มเช่นกัน เนื่องจากคลื่นต่อลูกค้าที่มีน้อย แต่ภาพรวมผลกระทบต่อทั้ง 2 ราย เชื่อว่ายังจำกัด ทั้งนี้ ส่วน TRUE แม้มีคลื่นมากที่สุดในกลุ่ม แต่ยังเป็นบริษัทที่ประสบปัญหาต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง และยังเชื่อว่ามีแนวโน้มขาดทุน ภาพรวมยังคงชอบ AVANC(FV@B230) มากสุด ส่วน DTAC(FV@B55) โดยทยอยลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว ขณะที่ TRUE([email protected]) ยังให้ Switch
ข่าวดี...ต่างชาติซื้อหุ้นภูมิภาค รวมถึงไทย
Fund Flow เริ่มสลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคบ้าง หลังจากต่างชาติขายติดต่อกันนาน โดยวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 อีกราว 401 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิ 51 ล้านเหรียญ ที่เหลืออีก 4 แห่ง ซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิอีก 210 ล้านเหรียญ (ซื้อเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 175 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 11 วัน), อินโดนีเซีย 15 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 6 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 52 ล้านเหรียญ หรือ 1.61 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน กว่า 9.17 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิสูงถึง 4.61 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 8 วัน ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 1.83 หมื่นล้านบาท)
นอกจากนี้สังเกตได้ว่า ต่างชาติเดินหน้าขายตราสารหนี้ระยะสั้น (T<1) ตลอด 8 วันที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าสูงถึง 2.64 หมื่นล้านบาท จึงมีความเป็นไปได้ที่เม็ดเงินบางส่วนอาจรอสลับเข้าตลาดหุ้นไทย หลังจากต่างชาติขายหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีมาแล้วกว่า 6.63 หมื่นล้านบาท (ytd)
Sell on fact รับงบ 1Q ยังมี...แบงก์รวมกิจการ เกิดยาก
วานนี้หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทยอยประกาศผลประกอบการออกมาหลายแห่ง โดย ธ.พ. ที่มีกำไรสุทธิ 1Q61 ดีกว่าคาด คือ
TMB ([email protected]) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 2.28 พันล้านบาท สูงกว่าคาด เพิ่มขึ้น 8.7%yoy และ qoq โดยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิชะลอตัวจาก NIM ที่ลดลง เนื่องจากสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อ low yield เช่นเดียวกับรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิ ชะลอตัวเช่นกัน แต่ยังได้ปัจจัยหนุนจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง และมีบันทึกกำไรจาก Fx ส่วนค่าใช้จ่ายสำรองหนี้เพิ่มขึ้นตาม NPL ที่เพิ่มขึ้น แต่ยังสามารถรักษาอัตราการตั้งสำรองยังคงไว้ในระดับสูงที่ 142% โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 14.6%yoy
BAY (FV@B42) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 6.29 พันล้านบาท สูงกว่าคาด เพิ่มขึ้น 10.1%qoq และ 9.4%yoy หลักๆ มาจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิเพิ่มขึ้นตามยอดสินเชื่อที่เติบโต เช่นเดียวกับรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิ เติบโตเช่นกัน ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดเล็กน้อย โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 3.6%yoy
SCB (FV@B156) กำไรสุทธิงวด 1Q61 ดีกว่าคาด อยู่ที่ 1.13 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.5%qoq แต่ลดลง 4.6%yoy หลักๆ มาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงอย่างมีนัยฯ ส่วนอัตราการตั้งสำรองขยับดีขึ้นเป็น 141.9% ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิฯ และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิ ค่อนข้างทรงตัว โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 หดตัวลง 6.5%yoy
BBL (FV@B220) กำไรสุทธิงวด 1Q61 ดีกว่าคาด อยู่ที่ 9.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.0%qoq และ 8.4%yoy หลักๆ มาจากกำไรสุทธิจากเงินลงทุน และค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลง ส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมฯลอตัวลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูงกว่าที่คาดตาม NPL ที่เพิ่มขึ้น แต่อัตราการตั้งสำรองยังคงสูงถึง 159% โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 9.4%yoy
ส่วน ธ.พ. ที่รายงานงบฯ 1Q61 ตามคาด คือ
TCAP (FV@B62) กำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 1.90 พันล้านบาท เติบโต 18.5%yoy แต่ลดลงเล็กน้อย 1.9%qoq โดยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สุทธิ ยังเห็นการเติบโต รวมทั้งค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลงอย่างมีนัยฯ โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 12.5%yoy
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7778