- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 10 April 2018 17:15
- Hits: 4759
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
น้ำหนักต่อตลาดวันนี้ ยังคงอยู่ที่สงครามการค้าสหรัฐ-จีน หากยังไม่จบ จีนอาจใช้การลดค่าเงินตอบโต้สหรัฐ นำไปสู่สงครามค่าเงิน กดดันค่าเงินเอเซียกลับมาอ่อนค่า เป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออกอาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่หุ้นโลกผ่อนคลายช่วงสั้นหลังปรับฐานแล้ว 10% ปัจจัยบวกในประเทศมาจากราคาหมูพุ่งขึ้นมาที่ 62 บาทต่อ กก. สูงสุดในรอบ 10 เดือน มอง SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1740–1760 จุด…Top Picks เลือก CPF(FV@B30) และ HANA(FV@B46)
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….กลุ่มแบงก์นำ SET Index ฟื้นตัว
วานนี้ SET index ฟื้นตัวขึ้นตามตลาดหุ้นภูมิภาค ปิดที่ 1,751.27 จุด บวก 11.35 จุด หรือ 0.65% ด้วยมูลค่าการซื้อขายราว 5.5 หมื่นล้านบาท หนุนโดยหุ้นธ.พ. และโรงพยาบาล ตามด้วยหุ้นใหญ่กลุ่มพลังงาน PTT เพิ่มขึ้น 1.48% แต่ถูกกดดันจากหุ้นโรงไฟฟ้า EA ราว 12.77% ปิดที่ 30.75 บาท ต่ำสุดในรอบเกือบหนึ่งปี และ RS ลดลง 11.56% กังวลที่ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ขายหุ้นจำนวน 15 ล้านหุ้น และ KTC แม้ราคาขึ้นทำ high ช่วงเช้า แต่เจอแรงขายท้ายตลาด เพราะมีรายใหญ่ขายหุ้นเช่นกัน
วันนี้คาด SET Index ยังแกว่งตัวลง โดยน่าจะติดแนวต้าน 1760 จุด ส่วนแนวรับ 1740 จุด โดยยังให้น้ำหนักต่อการตอบโต้ทางการของจีนต่อสหรัฐ ที่อาจจะหันมาใช้การลดค่าเงิน ขณะที่ราคาหมูในประเทศฟื้นตัวเร็วกว่าคาด หนุนหุ้นอาหารส่งออกรายตัว
กลยุทธ์การลงทุน
น้ำหนักต่อตลาดวันนี้ ยังคงอยู่ที่สงครามการค้าสหรัฐ-จีน หากยังไม่จบ จีนอาจใช้การลดค่าเงินตอบโต้สหรัฐ นำไปสู่สงครามค่าเงิน กดดันค่าเงินเอเซียกลับมาอ่อนค่า เป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออกอาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่หุ้นโลกผ่อนคลายช่วงสั้นหลังปรับฐานแล้ว 10% ปัจจัยบวกในประเทศมาจากราคาหมูพุ่งขึ้นมาที่ 62 บาทต่อ กก. สูงสุดในรอบ 10 เดือน มอง SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1740–1760 จุด…Top Picks เลือก CPF(FV@B30) และ HANA(FV@B46)
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….กลุ่มแบงก์นำ SET Index ฟื้นตัว
วานนี้ SET index ฟื้นตัวขึ้นตามตลาดหุ้นภูมิภาค ปิดที่ 1,751.27 จุด บวก 11.35 จุด หรือ 0.65% ด้วยมูลค่าการซื้อขายราว 5.5 หมื่นล้านบาท หนุนโดยหุ้นธ.พ. และโรงพยาบาล ตามด้วยหุ้นใหญ่กลุ่มพลังงาน PTT เพิ่มขึ้น 1.48% แต่ถูกกดดันจากหุ้นโรงไฟฟ้า EA ราว 12.77% ปิดที่ 30.75 บาท ต่ำสุดในรอบเกือบหนึ่งปี และ RS ลดลง 11.56% กังวลที่ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ขายหุ้นจำนวน 15 ล้านหุ้น และ KTC แม้ราคาขึ้นทำ high ช่วงเช้า แต่เจอแรงขายท้ายตลาด เพราะมีรายใหญ่ขายหุ้นเช่นกัน
วันนี้คาด SET Index ยังแกว่งตัวลง โดยน่าจะติดแนวต้าน 1760 จุด ส่วนแนวรับ 1740 จุด โดยยังให้น้ำหนักต่อการตอบโต้ทางการของจีนต่อสหรัฐ ที่อาจจะหันมาใช้การลดค่าเงิน ขณะที่ราคาหมูในประเทศฟื้นตัวเร็วกว่าคาด หนุนหุ้นอาหารส่งออกรายตัว
สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน หากไม่จบ อาจกลายเป็นสงครามค่าเงิน
ยังให้น้ำหนักสงครามการค้าสหรัฐ-จีน หลังจากล่าสุดสหรัฐเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากอีก (25% ของยอดนำเข้า) เพิ่มเติม 1 แสนล้านเหรียญฯ รวมเป็น ประมาณ 1.5 แสนล้านเหรียญฯ หรือคิดราว 29.7% ของยอดนำเข้าสินค้าจากจีนของสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ที่เข้าข่ายกีดกันกลุ่มแรกกระจุกตัวในกลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสาร และที่จะถูกเก็บเพิ่มเติมในรอบหลัง น่าจะเป็นกลุ่มเครื่องใช้อุปโภคบริโภค อาทิ เครื่องประดับ, เครื่องสำอาง, เสื้อผ้า และอาหาร, เครื่องดื่ม เป็นต้น
ขณะที่ทางด้านจีน หลังจากตอบโต้ผ่านการขึ้นภาษีนำเข้า 2 รอบอัตรา 25% วงเงินรวม 5.3 หมื่นล้านเหรียญฯ หรือคิดราว 45% ของการนำเข้าจากสหรัฐทั้งหมดของจีน ซึ่งหลักๆ คือ ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, รถยนต์ แต่หลังจากนี้มีความเป็นไปที่จีนจะตอบโต้ผ่านการลดค่าเงินหยวนให้อ่อนค่า เพราะหากพิจารณาเงินหยวนได้แข็งค่าราว 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ จากจุดสูงสุดปลายปี 2559 หรือนับตั้งแต่นายทรัมป์ฯ เข้ารับตำแหน่งประธานธิบดีสหรัฐเป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับเงินบาทแข็งค่าราว 13% แต่ยังน้อยกว่าเงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่า 14% ขณะที่เงินรูปีของอินเดีย แข็งค่า 5% ในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้ยกเว้นเงินเปโซฟิลิปปินส์ และเงินรูเปียะห์อินโดนีเซีย ที่อ่อนค่าสวนทางราว 5% และ 2% ตามลำดับ ซึ่งหลังจากนี้อาจจะกลายเป็นสงครามค่าเงิน
ยังเชื่อว่าการเจรจาการค้าทั้ง 2 ประเทศยังมีอยู่ ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เชื่อว่ากระทบทั้งฝั่งผู้ผลิตและ ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก สะท้อนจากเหตุการณ์สมัยประธานาธิบดี George W. Bush ปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก 30% (สูงกว่าทรัมป์ขึ้น 25%) เป็นเวลาราว 2 ปี ตั้งแต่ มี.ค.2545 -ธ.ค. 2546 กดดันเงินเฟ้อมาที่ 2.3% ในเดือน ต.ค. 2546 จาก 1.1% ในเดือน มี.ค.2545 และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นมาที่ 6.2% จาก 5.2% ในช่วงเดียวกัน ผลที่ตามมาอีก 1 ปี คือ เศรษฐกิจทั่วโลก ชะลอตัว (สะท้อนจาก IMF ปรับลด GDP โลกปี 2546 ลงทุกแห่ง)
ราคาหมูพุ่งสูงสุดในรอบ 10 เดือน ดีต่อ CPF, TFG, GFPT
หากเงินบาทกลับมาอ่อนค่าน่าจะเป็นผลดีต่อหุ้นส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มหมู ไก่ ที่เน้นตลาดยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอาจจะมีจีนเพิ่มขึ้มมา หลังสหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าหมูจากจีน เป็นโอกาสดีต่อหุ้นส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ราคาหุ้นในกลุ่มฯ ปรับลดลงแรงมาตลอดตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะ HANA(FV@B46) ราคาหุ้นลดลงกว่า 40% จากบริเวณ 50 บาท เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว จากความกังวลเรื่องสหรัฐกีดกันการค้าจีน เพราะ HANA มีฐานการผลิตในจีนราว 23% ของกำลังการผลิตรวม (โรงงาน IC และ PBCB ที่เจียซิงประเทศจีน 1273.28 ล้านชิ้นต่อปี และ 63.52 ล้านชิ้น ตามลำดับ) หากมองโลกในแง่ร้าย ถ้าการเจรจาไม่เป็นผลและจีนถูกกีดกันทางการค้าจริง น่าจะกระทบต่อรายได้และกำไรสุทธิของ HANA ให้ลดลงราว 20% จะทำให้กำไรสุทธิปี 2561 เหลือ 1,867 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 2.32 บาท (จากเดิม 2.9 บาท) แต่ปัจจุบัน HANA มีการส่งออกไปตลาดสหรัฐเพียง 11% ของรายได้รวม จึงเชื่อว่าราคาที่ปรับลงแรงดังกล่าวน่าจะสะท้อนข่าวร้ายไปมากพอสมควร จึงแนะนำให้ทยอยสะสม
และกลุ่มส่งออกอาหาร น่าจะได้อานิสงส์จากราคาราคาสุกรหน้าฟาร์มขยับขึ้นอีกราว 7% เป็น 62 บาท/ก.ก. และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยนับตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค 61 เป็นผลสืบเนื่องมาจากผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรรายใหญ่ลดการผลิตลง บวกกับประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนทำให้สุกรมีการเติบโตที่ช้าลง ซึ่งน่าจะหนุนราคาสุกรในประเทศฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป ทั้งนี้ราคาสุกรที่ขยับขึ้นสูงกว่าระดับคุ้มทุนของผู้ประกอบการที่ 53 บาท/กก. แล้ว
ขณะที่ประเด็นจีนตอบโต้สหรัฐด้วยเก็บภาษีสินค้านำเข้าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ และเนื้อสุกร หากจีนประสบปัญหาขาดแคลนสุกร อาจจะเป็นโอกาสการส่งออกของไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากสหรัฐ (ก่อนหน้านี้จีนอนุญาตให้นำเข้าไก่จากไทย) ซึ่งน่าจะดีต่อผู้ที่มีรายได้จากธุรกิจสุกรในประเทศ ได้แก่ TFG (21% ของรายได้รวม) และ CPF (14% ของรายได้รวม)
ส่วนราคาไก่เป็นยังทรงตัวที่ 34 บาท/กก. ใกล้ระดับต้นทุนการเลี้ยงไก่ที่ราว 33 บาท/ก.ก. แต่มีโอกาสที่ราคาจะขยับขึ้นในช่วง 2Q61 ที่เป็น High Season เป็นบวกต่อ GFPT, TFG และ CPF ที่มีโครงสร้างรายได้จากธุรกิจไก่ในไทย 80%, 70% และ 10% ตามลำดับ
ฝ่ายวิจัยยังแนะนำ CPF (FV@B30) และ TFG (FV@B6) ที่ทำธุรกิจครบวงจร ได้ประโยชน์จากราคาสุกรที่ฟื้นตัว อาจได้ฐานส่งออกเพิ่มและตลาดส่งออกไก่ดีขึ้น และแนะนำซื้อ GFPT (FV@B17) จากธุรกิจไก่จะฟื้นตัวตั้งแต่งวด 2Q61 จากแนวโน้มตลาดส่งออกไก่ที่ดีขึ้น
ราคาน้ำมันยังแกว่งตัวใกล้ 65 เหรียญฯ แนะสะสมหุ้น PTTEP
ราคาน้ำมันดิบโลกแกว่งตัวขึ้น โดยได้แรงหนุนจากปัญหาด้าน supply จากตะวันออกกลาง โดยซีเรียมีโอกาสถูกสหรัฐคว่ำบาตร เนื่องจากปัญหาการเมืองในประเทศ หลังกองกำลังของซีเรียได้สารเคมีสังหารกลุ่มกบฎ เช่นเดียวกับอิหร่าน ก่อนหน้าจะถุกสหรัฐคว่ำบาตร (อิหร่านผลิตน้ำมันราว 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 12.5% ของกลุ่ม OPEC) ประกอบกับค่าเงิน Dollar Index ที่อ่อนค่าในช่วงสั้น หนุนราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัวขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ 65.8 เหรียญฯต่อบาร์เรล ใกล้เคียงสมมติฐานที่ ASPS ประเมินไว้ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ytd 64 เหรียญฯ) ยังแนะนำสะสมลงทุนระยะยาว PTTEP(FV@B137) เพราะมี Upside 19.3% และมีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีกหุ้นละ 25 บาท โดยแนะนำซื้อเมื่อราคาย่อตัว
ยังให้น้ำหนักสงครามการค้าสหรัฐ-จีน หลังจากล่าสุดสหรัฐเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากอีก (25% ของยอดนำเข้า) เพิ่มเติม 1 แสนล้านเหรียญฯ รวมเป็น ประมาณ 1.5 แสนล้านเหรียญฯ หรือคิดราว 29.7% ของยอดนำเข้าสินค้าจากจีนของสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ที่เข้าข่ายกีดกันกลุ่มแรกกระจุกตัวในกลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสาร และที่จะถูกเก็บเพิ่มเติมในรอบหลัง น่าจะเป็นกลุ่มเครื่องใช้อุปโภคบริโภค อาทิ เครื่องประดับ, เครื่องสำอาง, เสื้อผ้า และอาหาร, เครื่องดื่ม เป็นต้น
ขณะที่ทางด้านจีน หลังจากตอบโต้ผ่านการขึ้นภาษีนำเข้า 2 รอบอัตรา 25% วงเงินรวม 5.3 หมื่นล้านเหรียญฯ หรือคิดราว 45% ของการนำเข้าจากสหรัฐทั้งหมดของจีน ซึ่งหลักๆ คือ ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, รถยนต์ แต่หลังจากนี้มีความเป็นไปที่จีนจะตอบโต้ผ่านการลดค่าเงินหยวนให้อ่อนค่า เพราะหากพิจารณาเงินหยวนได้แข็งค่าราว 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ จากจุดสูงสุดปลายปี 2559 หรือนับตั้งแต่นายทรัมป์ฯ เข้ารับตำแหน่งประธานธิบดีสหรัฐเป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับเงินบาทแข็งค่าราว 13% แต่ยังน้อยกว่าเงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่า 14% ขณะที่เงินรูปีของอินเดีย แข็งค่า 5% ในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้ยกเว้นเงินเปโซฟิลิปปินส์ และเงินรูเปียะห์อินโดนีเซีย ที่อ่อนค่าสวนทางราว 5% และ 2% ตามลำดับ ซึ่งหลังจากนี้อาจจะกลายเป็นสงครามค่าเงิน
ยังเชื่อว่าการเจรจาการค้าทั้ง 2 ประเทศยังมีอยู่ ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เชื่อว่ากระทบทั้งฝั่งผู้ผลิตและ ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก สะท้อนจากเหตุการณ์สมัยประธานาธิบดี George W. Bush ปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก 30% (สูงกว่าทรัมป์ขึ้น 25%) เป็นเวลาราว 2 ปี ตั้งแต่ มี.ค.2545 -ธ.ค. 2546 กดดันเงินเฟ้อมาที่ 2.3% ในเดือน ต.ค. 2546 จาก 1.1% ในเดือน มี.ค.2545 และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นมาที่ 6.2% จาก 5.2% ในช่วงเดียวกัน ผลที่ตามมาอีก 1 ปี คือ เศรษฐกิจทั่วโลก ชะลอตัว (สะท้อนจาก IMF ปรับลด GDP โลกปี 2546 ลงทุกแห่ง)
ราคาหมูพุ่งสูงสุดในรอบ 10 เดือน ดีต่อ CPF, TFG, GFPT
หากเงินบาทกลับมาอ่อนค่าน่าจะเป็นผลดีต่อหุ้นส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มหมู ไก่ ที่เน้นตลาดยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอาจจะมีจีนเพิ่มขึ้มมา หลังสหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าหมูจากจีน เป็นโอกาสดีต่อหุ้นส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ราคาหุ้นในกลุ่มฯ ปรับลดลงแรงมาตลอดตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะ HANA(FV@B46) ราคาหุ้นลดลงกว่า 40% จากบริเวณ 50 บาท เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว จากความกังวลเรื่องสหรัฐกีดกันการค้าจีน เพราะ HANA มีฐานการผลิตในจีนราว 23% ของกำลังการผลิตรวม (โรงงาน IC และ PBCB ที่เจียซิงประเทศจีน 1273.28 ล้านชิ้นต่อปี และ 63.52 ล้านชิ้น ตามลำดับ) หากมองโลกในแง่ร้าย ถ้าการเจรจาไม่เป็นผลและจีนถูกกีดกันทางการค้าจริง น่าจะกระทบต่อรายได้และกำไรสุทธิของ HANA ให้ลดลงราว 20% จะทำให้กำไรสุทธิปี 2561 เหลือ 1,867 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 2.32 บาท (จากเดิม 2.9 บาท) แต่ปัจจุบัน HANA มีการส่งออกไปตลาดสหรัฐเพียง 11% ของรายได้รวม จึงเชื่อว่าราคาที่ปรับลงแรงดังกล่าวน่าจะสะท้อนข่าวร้ายไปมากพอสมควร จึงแนะนำให้ทยอยสะสม
และกลุ่มส่งออกอาหาร น่าจะได้อานิสงส์จากราคาราคาสุกรหน้าฟาร์มขยับขึ้นอีกราว 7% เป็น 62 บาท/ก.ก. และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยนับตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค 61 เป็นผลสืบเนื่องมาจากผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรรายใหญ่ลดการผลิตลง บวกกับประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนทำให้สุกรมีการเติบโตที่ช้าลง ซึ่งน่าจะหนุนราคาสุกรในประเทศฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป ทั้งนี้ราคาสุกรที่ขยับขึ้นสูงกว่าระดับคุ้มทุนของผู้ประกอบการที่ 53 บาท/กก. แล้ว
ขณะที่ประเด็นจีนตอบโต้สหรัฐด้วยเก็บภาษีสินค้านำเข้าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ และเนื้อสุกร หากจีนประสบปัญหาขาดแคลนสุกร อาจจะเป็นโอกาสการส่งออกของไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากสหรัฐ (ก่อนหน้านี้จีนอนุญาตให้นำเข้าไก่จากไทย) ซึ่งน่าจะดีต่อผู้ที่มีรายได้จากธุรกิจสุกรในประเทศ ได้แก่ TFG (21% ของรายได้รวม) และ CPF (14% ของรายได้รวม)
ส่วนราคาไก่เป็นยังทรงตัวที่ 34 บาท/กก. ใกล้ระดับต้นทุนการเลี้ยงไก่ที่ราว 33 บาท/ก.ก. แต่มีโอกาสที่ราคาจะขยับขึ้นในช่วง 2Q61 ที่เป็น High Season เป็นบวกต่อ GFPT, TFG และ CPF ที่มีโครงสร้างรายได้จากธุรกิจไก่ในไทย 80%, 70% และ 10% ตามลำดับ
ฝ่ายวิจัยยังแนะนำ CPF (FV@B30) และ TFG (FV@B6) ที่ทำธุรกิจครบวงจร ได้ประโยชน์จากราคาสุกรที่ฟื้นตัว อาจได้ฐานส่งออกเพิ่มและตลาดส่งออกไก่ดีขึ้น และแนะนำซื้อ GFPT (FV@B17) จากธุรกิจไก่จะฟื้นตัวตั้งแต่งวด 2Q61 จากแนวโน้มตลาดส่งออกไก่ที่ดีขึ้น
ราคาน้ำมันยังแกว่งตัวใกล้ 65 เหรียญฯ แนะสะสมหุ้น PTTEP
ราคาน้ำมันดิบโลกแกว่งตัวขึ้น โดยได้แรงหนุนจากปัญหาด้าน supply จากตะวันออกกลาง โดยซีเรียมีโอกาสถูกสหรัฐคว่ำบาตร เนื่องจากปัญหาการเมืองในประเทศ หลังกองกำลังของซีเรียได้สารเคมีสังหารกลุ่มกบฎ เช่นเดียวกับอิหร่าน ก่อนหน้าจะถุกสหรัฐคว่ำบาตร (อิหร่านผลิตน้ำมันราว 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 12.5% ของกลุ่ม OPEC) ประกอบกับค่าเงิน Dollar Index ที่อ่อนค่าในช่วงสั้น หนุนราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัวขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ 65.8 เหรียญฯต่อบาร์เรล ใกล้เคียงสมมติฐานที่ ASPS ประเมินไว้ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ytd 64 เหรียญฯ) ยังแนะนำสะสมลงทุนระยะยาว PTTEP(FV@B137) เพราะมี Upside 19.3% และมีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีกหุ้นละ 25 บาท โดยแนะนำซื้อเมื่อราคาย่อตัว
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทย แต่ภาพรวมยังขายหุ้นในภูมิภาค
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีก 54 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 51 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 43 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 8 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 47 ล้านเหรียญ หรือ 1.48 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) เช่นเดียวกับสถาบันฯในประเทศที่ซื้อสุทธิ 3.34 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.80 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 2.30 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7336
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีก 54 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 51 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 43 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 8 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 47 ล้านเหรียญ หรือ 1.48 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) เช่นเดียวกับสถาบันฯในประเทศที่ซื้อสุทธิ 3.34 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.80 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 2.30 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7336