- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 09 April 2018 16:30
- Hits: 5347
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ยังผันผวนจากหลายปัจจัยถ่วง”
ทิศทางตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ : ทิศทางตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ : คาดดัชนีฯยังผันผวนในกรอบ 1710-1750 จุด ... ตลาดมีตัวแปรในทางลบเข้ามาทำให้ นักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว อีกทั้ง ดัชนีฯที่หลุด 1750 จุดลงมา สร้างสัญญาณขายให้กับตลาด แม้จะมีโอกาส rebound แต่หากไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาหนุนตลาด ดัชนีฯก็จะเดินหน้าไปได้ไม่ไกลนัก ขณะที่ตัวแปรในทางลบหลายตัว จะจำกัดกรอบการสูงขึ้นของดัชนีฯไว้ .... ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดสัปดาห์นี้ สำคัญที่สุดจะเป็นสงคราการค้าของสหรัฐฯ-จีน ที่เปิดฉากอีกครั้ง (แม้เราจะประเมินว่าน่าจะจบลงด้วยการเจรจาก็ตาม) การประกาศวันเลือกตั้งของไทยที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเลื่อนหรือไม่ และความกังวลต่อข่าวลบ ของแต่ละกลุ่ม อาทิ ธนาคาร โรงกลั่นน้ำมัน และราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง เป็นต้น
กลยุทธ์ลงทุนสัปดาห์นี้ : ด้วยความผันผวนและทิศทางที่ไม่ชัดเจน แม้ดัชนีฯจะอ่อนตัวลงมามาก แต่หุ้นหรือกลุ่มหุ้นที่มีโอกาสเดินหน้าต่อได้มีน้อย การเข้าลงทุนจึงต้องพิจารณาเป็นรายตัว และลงทุนในกรอบเวลาสั้นๆ …. หุ้นขนาดใหญ่ ที่ราคาอ่อนตัวลงมาและมีปัจจัยบวกหนุน เราแนะนำ AOT , CPALL , CPN และหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง LH* (Dividend Yield ปีนี้ 6.2% ; Bloomberg) และหุ้นที่มีปัจจัยบวกอื่นๆ ประกอบด้วย CPF และ TOA*
หุ้นแนะนำเชิงเทคนิค: AOT , MINT , CENTEL
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้นมีประเด็น
(+) Commerce: ดัชนีผู้บริโภคเดือนมีค.ปรับตัวขึ้น บวกต่อการจับจ่ายใช้สอย
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม 2561 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 79.9 หลังจากผู้บริโภคมีความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ได้มีการปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากที่คาดไว้ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.9 การส่งออกของประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 10.26 ราคาพืชผลทางการเกษตรเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการปรับค่าแรงขั้นต่ำส่งผลต่อรายได้ของภาคแรงงาน
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นบวกต่อข่าวดังกล่าว เดิมมีความกังวลเล็กน้อยจากการที่ดัชนีเดือนกพ.ปรับลดลงอยู่ที่ 79.3 จากเดือนมค.ที่ 80 แต่เดือนมีค.สามารถปรับขึ้นมาอยู่ที่ 79.9 เหนือเดือนกพ. แสดงถึงเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวตามการบริโภคจับจ่ายใช้สอย การเติบโตที่ดีของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากจีน รวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อีกทั้งกำลังเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะสามารถทำให้ยอดขายต่อสาขาของผู้ประกอบการสูงขึ้น รวมถึงสามารถขยายสาขาเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง เรายังคงแนะนำ ซื้อหุ้นในกลุ่มพาณิชย์ CPALL ราคาเป้าหมาย (93 บาท), BJC(72 บาท) HMPRO (15.5 บาท) ROBINS(79 บาท) BEAUTY (25บาท), DDD (125 บาท)
“ยังผันผวนจากหลายปัจจัยถ่วง”
ทิศทางตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ : ทิศทางตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ : คาดดัชนีฯยังผันผวนในกรอบ 1710-1750 จุด ... ตลาดมีตัวแปรในทางลบเข้ามาทำให้ นักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว อีกทั้ง ดัชนีฯที่หลุด 1750 จุดลงมา สร้างสัญญาณขายให้กับตลาด แม้จะมีโอกาส rebound แต่หากไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาหนุนตลาด ดัชนีฯก็จะเดินหน้าไปได้ไม่ไกลนัก ขณะที่ตัวแปรในทางลบหลายตัว จะจำกัดกรอบการสูงขึ้นของดัชนีฯไว้ .... ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดสัปดาห์นี้ สำคัญที่สุดจะเป็นสงคราการค้าของสหรัฐฯ-จีน ที่เปิดฉากอีกครั้ง (แม้เราจะประเมินว่าน่าจะจบลงด้วยการเจรจาก็ตาม) การประกาศวันเลือกตั้งของไทยที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเลื่อนหรือไม่ และความกังวลต่อข่าวลบ ของแต่ละกลุ่ม อาทิ ธนาคาร โรงกลั่นน้ำมัน และราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง เป็นต้น
กลยุทธ์ลงทุนสัปดาห์นี้ : ด้วยความผันผวนและทิศทางที่ไม่ชัดเจน แม้ดัชนีฯจะอ่อนตัวลงมามาก แต่หุ้นหรือกลุ่มหุ้นที่มีโอกาสเดินหน้าต่อได้มีน้อย การเข้าลงทุนจึงต้องพิจารณาเป็นรายตัว และลงทุนในกรอบเวลาสั้นๆ …. หุ้นขนาดใหญ่ ที่ราคาอ่อนตัวลงมาและมีปัจจัยบวกหนุน เราแนะนำ AOT , CPALL , CPN และหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง LH* (Dividend Yield ปีนี้ 6.2% ; Bloomberg) และหุ้นที่มีปัจจัยบวกอื่นๆ ประกอบด้วย CPF และ TOA*
หุ้นแนะนำเชิงเทคนิค: AOT , MINT , CENTEL
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้นมีประเด็น
(+) Commerce: ดัชนีผู้บริโภคเดือนมีค.ปรับตัวขึ้น บวกต่อการจับจ่ายใช้สอย
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม 2561 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 79.9 หลังจากผู้บริโภคมีความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ได้มีการปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากที่คาดไว้ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.9 การส่งออกของประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 10.26 ราคาพืชผลทางการเกษตรเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการปรับค่าแรงขั้นต่ำส่งผลต่อรายได้ของภาคแรงงาน
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นบวกต่อข่าวดังกล่าว เดิมมีความกังวลเล็กน้อยจากการที่ดัชนีเดือนกพ.ปรับลดลงอยู่ที่ 79.3 จากเดือนมค.ที่ 80 แต่เดือนมีค.สามารถปรับขึ้นมาอยู่ที่ 79.9 เหนือเดือนกพ. แสดงถึงเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวตามการบริโภคจับจ่ายใช้สอย การเติบโตที่ดีของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากจีน รวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อีกทั้งกำลังเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะสามารถทำให้ยอดขายต่อสาขาของผู้ประกอบการสูงขึ้น รวมถึงสามารถขยายสาขาเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง เรายังคงแนะนำ ซื้อหุ้นในกลุ่มพาณิชย์ CPALL ราคาเป้าหมาย (93 บาท), BJC(72 บาท) HMPRO (15.5 บาท) ROBINS(79 บาท) BEAUTY (25บาท), DDD (125 บาท)
(0) RS : เฮียฮ้อรับซื้อหุ้น RS เพิ่มจากผู้ถือหุ้นอันดับ 2 จำนวน 15 ล้านหุ้น
RS มี Big lot วันที่ 5 เม.ย. 2018 โดยผู้ถือหุ้น อันดับ 2 คุณโสรัตน์ วณิชวรากิจ ขายหุ้นจำนวน 15 ล้านหุ้น ให้คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ (เฮียฮ้อ) ผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ที่ราคาเฉลี่ยที่ 28 บาท รวม 420 ล้านบาท ส่งผลให้เฮียฮ้อถือหุ้นเพิ่มเป็น 33.50% จากเดิมที่ถืออยู่ 32.02% โดยหลังการขายหุ้นครั้งนี้ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ยังคงถือ RS อยู่อีก 100 ล้านหุ้น คิดเป็น 9.9% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
ความเห็น: จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร RS ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ยังคงรักษาสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 9.9% และจะไม่มีการขายหุ้นเพิ่มในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้เป็นการขายเพื่อนำเงินไปใช้ส่วนตัว เรามองว่าการขายหุ้นของผู้ถืออันดับ 2 ในครั้งนี้ไม่กระทบต่อราคาหุ้นของ RS ประกอบกับแนวโน้มการเติบโตของ RS ในปีนี้ยังดีอยู่ เราเชื่อมั่นว่ารายได้จากธุรกิจหลักของบริษัทในปี 2018 ยังคงเติบโตโดดเด่น ทั้งจากการฟื้นตัวของธุรกิจมีเดีย และรายได้จากธุรกิจ Health & Beauty ที่ยังคงเติบโตสูงต่อเนื่องจากการเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อขยายฐานลูกค้า ด้วยศักยภาพของบริษัทฯเราเชื่อมั่นว่าในปี 2018 RS จะสามารถ Deliver robust earnings growth +148% YoY ได้ตามที่เราคาดอยู่ที่ 827 ลบ. เรามองว่า ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาเป็นจังหวะให้เข้า “ซื้อสะสม”หุ้น RS โดยให้ราคาเหมาะสมที่ 35 บาท
RS มี Big lot วันที่ 5 เม.ย. 2018 โดยผู้ถือหุ้น อันดับ 2 คุณโสรัตน์ วณิชวรากิจ ขายหุ้นจำนวน 15 ล้านหุ้น ให้คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ (เฮียฮ้อ) ผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ที่ราคาเฉลี่ยที่ 28 บาท รวม 420 ล้านบาท ส่งผลให้เฮียฮ้อถือหุ้นเพิ่มเป็น 33.50% จากเดิมที่ถืออยู่ 32.02% โดยหลังการขายหุ้นครั้งนี้ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ยังคงถือ RS อยู่อีก 100 ล้านหุ้น คิดเป็น 9.9% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
ความเห็น: จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร RS ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ยังคงรักษาสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 9.9% และจะไม่มีการขายหุ้นเพิ่มในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้เป็นการขายเพื่อนำเงินไปใช้ส่วนตัว เรามองว่าการขายหุ้นของผู้ถืออันดับ 2 ในครั้งนี้ไม่กระทบต่อราคาหุ้นของ RS ประกอบกับแนวโน้มการเติบโตของ RS ในปีนี้ยังดีอยู่ เราเชื่อมั่นว่ารายได้จากธุรกิจหลักของบริษัทในปี 2018 ยังคงเติบโตโดดเด่น ทั้งจากการฟื้นตัวของธุรกิจมีเดีย และรายได้จากธุรกิจ Health & Beauty ที่ยังคงเติบโตสูงต่อเนื่องจากการเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อขยายฐานลูกค้า ด้วยศักยภาพของบริษัทฯเราเชื่อมั่นว่าในปี 2018 RS จะสามารถ Deliver robust earnings growth +148% YoY ได้ตามที่เราคาดอยู่ที่ 827 ลบ. เรามองว่า ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาเป็นจังหวะให้เข้า “ซื้อสะสม”หุ้น RS โดยให้ราคาเหมาะสมที่ 35 บาท
(0) SCB ผลกระทบยกเว้น fee 1 พันล้านบาท แต่ NPL จาก SME ยังเพิ่มขึ้นบ้าง
SCB เปิดเผยว่า รายได้ของธนาคารได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากโปรโมชั่นฟรีค่าธรรมเนียมธุรกรรมออนไลน์ คิดเป็นผลกระทบต่อรายได้ประมาณ 1 พันล้านบาท ขณะที่ธนาคารมั่นใจว่าปีนี้จะสามารถคุม NPL ตามเป้าหมายไม่เกิน 3% จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ระดับ 2.8% แม้ลูกค้าสินเชื่อ SME และสินเชื่อบ้านมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนลูกหนี้รายใหญ่อย่างกรณี PACE ยังมีสถานะเป็นลูกหนี้ปกติและมียอดโอนโครงการมหานครเข้ามาแล้วราว 60% ของยอดขาย ขณะที่ลูกหนี้รายใหญ่อย่าง SSI นั้น ธนาคารจะได้รับคืนหนี้จาก SSI ราว 8 พันล้านบาทภายใน 12 ปี ซึ่งคิดเป็น 40% ของยอดหนี้รวม 2.2 หมื่นล้านบาท โดยล่าสุดได้ชำระคืนมาแล้ว 1.24 พันล้านบาท ด้าน Bloomberg รายงานว่า SCB เตรียมลดต้นทุนลง 30% จากการลดสาขาลง หลังจากที่คนใช้ออนไลน์มากขึ้น (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, Bloomberg)
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อข่าวดังกล่าวต่อ SCB โดยเราคาดว่า รายได้ค่าธรรมเนียมที่หายไปจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมในปีนี้ราว 2 พันล้านบาท เพราะเชื่อว่า คนจะหันมาใช้บริการออนไลน์ได้มากกว่าที่คาดไว้ ขณะที่แนวโน้ม NPL เดิมเราคาดว่าจะลดลง แต่ SCB ยังคงกังวลหนี้เสียจาก SME ที่ยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นประเด็นที่เรากลับมากังวลเรื่องหนี้เสียอีกครั้ง ส่วน PACE นั้น เรายังคงกังวลเรื่องการเป็นหนี้เสียอยู่ แม้ว่าปัจจุบันจะมียอดโอนแล้ว 60% ก็ตาม ขณะที่ SSI แม้ว่าจะได้รับคืนหนี้เข้ามาราว 8 พันล้านบาท แต่ยังคงต้องใช้เวลายาวนานถึง 12 ปี ซึ่งหักจากเงินที่ชำระมาแล้วที่ 1.24 พันล้านบาท จะทำให้ SCB ได้รับเงินเข้ามาเพียง 563 ล้านบาท คิดเป็นเพียง 1% ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่ได้มีนยสำคัญต่อประมาณการของเรา ขณะที่การลดต้นทุนลง 30% เราเชื่อว่า ต้องใช้เวลาราว 2-3 ปี ในการลดจำนวนพนักงานลง ซึ่งเรายังไม่ได้นำการลดต้นทุนมารวมในประมาณการของเรา โดยเรายังคงคำแนะน ถือ ราคาเป้าหมายที่ 148 บาท
SCB เปิดเผยว่า รายได้ของธนาคารได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากโปรโมชั่นฟรีค่าธรรมเนียมธุรกรรมออนไลน์ คิดเป็นผลกระทบต่อรายได้ประมาณ 1 พันล้านบาท ขณะที่ธนาคารมั่นใจว่าปีนี้จะสามารถคุม NPL ตามเป้าหมายไม่เกิน 3% จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ระดับ 2.8% แม้ลูกค้าสินเชื่อ SME และสินเชื่อบ้านมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนลูกหนี้รายใหญ่อย่างกรณี PACE ยังมีสถานะเป็นลูกหนี้ปกติและมียอดโอนโครงการมหานครเข้ามาแล้วราว 60% ของยอดขาย ขณะที่ลูกหนี้รายใหญ่อย่าง SSI นั้น ธนาคารจะได้รับคืนหนี้จาก SSI ราว 8 พันล้านบาทภายใน 12 ปี ซึ่งคิดเป็น 40% ของยอดหนี้รวม 2.2 หมื่นล้านบาท โดยล่าสุดได้ชำระคืนมาแล้ว 1.24 พันล้านบาท ด้าน Bloomberg รายงานว่า SCB เตรียมลดต้นทุนลง 30% จากการลดสาขาลง หลังจากที่คนใช้ออนไลน์มากขึ้น (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, Bloomberg)
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อข่าวดังกล่าวต่อ SCB โดยเราคาดว่า รายได้ค่าธรรมเนียมที่หายไปจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมในปีนี้ราว 2 พันล้านบาท เพราะเชื่อว่า คนจะหันมาใช้บริการออนไลน์ได้มากกว่าที่คาดไว้ ขณะที่แนวโน้ม NPL เดิมเราคาดว่าจะลดลง แต่ SCB ยังคงกังวลหนี้เสียจาก SME ที่ยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นประเด็นที่เรากลับมากังวลเรื่องหนี้เสียอีกครั้ง ส่วน PACE นั้น เรายังคงกังวลเรื่องการเป็นหนี้เสียอยู่ แม้ว่าปัจจุบันจะมียอดโอนแล้ว 60% ก็ตาม ขณะที่ SSI แม้ว่าจะได้รับคืนหนี้เข้ามาราว 8 พันล้านบาท แต่ยังคงต้องใช้เวลายาวนานถึง 12 ปี ซึ่งหักจากเงินที่ชำระมาแล้วที่ 1.24 พันล้านบาท จะทำให้ SCB ได้รับเงินเข้ามาเพียง 563 ล้านบาท คิดเป็นเพียง 1% ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่ได้มีนยสำคัญต่อประมาณการของเรา ขณะที่การลดต้นทุนลง 30% เราเชื่อว่า ต้องใช้เวลาราว 2-3 ปี ในการลดจำนวนพนักงานลง ซึ่งเรายังไม่ได้นำการลดต้นทุนมารวมในประมาณการของเรา โดยเรายังคงคำแนะน ถือ ราคาเป้าหมายที่ 148 บาท
บทวิเคราะห์วันนี้
(+) THANI (ซื้อ/8.20 บาท) คาดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น YoY และ QoQ จากยอดจดทะเบียนรถเพิ่มขึ้นสูง
คาดกำไรสุทธิ 1Q18 ของ THANI ที่ 338 ล้านบาท ขยายตัว 38% YoY และ 6% QoQ จากการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อที่ประมาณ 5%YTD โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกใหม่ที่เรามองว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลงตามการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม นอกจากนี้เรามองว่าผลการดำเนินงานในปี 2018 บริษัทจะยังคงขยายตัวจากความต้องการใช้รถบรรทุกที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการขยายสินเชื่อเช่าซื้อเชิงรุก รวมทั้งบริษัทจะยังตั้งสำรองส่วนเกินเพียงพอต่อ TFRS9 โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2018 ที่ 1.5 พันล้านบาท ขยายตัว 30% เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 8.20 บาท (อิง PBV 3.4x) จากเดิมที่ 12.50 บาท (อิง PBV 4.9x) โดยเป็นผลกระทบจาก dilution effect ของหุ้นปันผล (4 หุ้นเก่า:1 หุ้นใหม่) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมา และการปรับลด PBV multiplier ลงจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากการควบคุมของกระทรวงการคลังโดย อย่างไรก็ตามเรามองว่าสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทจะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเรามองว่าราคาหุ้นที่ปรับลดลงมาสะท้อนความเสี่ยงจากการบังคับในอนาคตแล้ว จึงเป็นโอกาสให้ ”ซื้อ”
(+) THANI (ซื้อ/8.20 บาท) คาดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น YoY และ QoQ จากยอดจดทะเบียนรถเพิ่มขึ้นสูง
คาดกำไรสุทธิ 1Q18 ของ THANI ที่ 338 ล้านบาท ขยายตัว 38% YoY และ 6% QoQ จากการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อที่ประมาณ 5%YTD โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกใหม่ที่เรามองว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลงตามการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม นอกจากนี้เรามองว่าผลการดำเนินงานในปี 2018 บริษัทจะยังคงขยายตัวจากความต้องการใช้รถบรรทุกที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการขยายสินเชื่อเช่าซื้อเชิงรุก รวมทั้งบริษัทจะยังตั้งสำรองส่วนเกินเพียงพอต่อ TFRS9 โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2018 ที่ 1.5 พันล้านบาท ขยายตัว 30% เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 8.20 บาท (อิง PBV 3.4x) จากเดิมที่ 12.50 บาท (อิง PBV 4.9x) โดยเป็นผลกระทบจาก dilution effect ของหุ้นปันผล (4 หุ้นเก่า:1 หุ้นใหม่) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมา และการปรับลด PBV multiplier ลงจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากการควบคุมของกระทรวงการคลังโดย อย่างไรก็ตามเรามองว่าสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทจะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเรามองว่าราคาหุ้นที่ปรับลดลงมาสะท้อนความเสี่ยงจากการบังคับในอนาคตแล้ว จึงเป็นโอกาสให้ ”ซื้อ”
(0) SVI (ถือ/4.70 บาท) คาดกำไรปกติ 1Q18 ลดลง YoY และ QoQ ต้องรออีก 2 ไตรมาส
เราคาดกำไรปกติของ SVI ใน 1Q18 อยู่ที่ 77 ล้านบาท ลดลง 65% YoY และ 27% QoQ โดยการลดลงของกำไรปกติมาจากปัญหาเรื่องของวัตถุดิบขาดแคลน ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จึงทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดต่ำลง อย่างไรก็ตามเรายังคงประมาณการกำไรปกติของ SVI ในปี 2018 เท่าเดิมที่ 682 ล้านบาท เติบโต 30% YoY โดยคาดว่าจะเห็นการเติบโตของกำไรตั้งแต่ 2Q18 เป็นต้นไป แต่จะเห็นชัดเจนใน 3Q18 จากปัญหาวัตถุดิบที่จะหมดไป การบริหารงานในยุโรปดีขึ้น และ backlog ที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งจะเปิดดำเนินงานโรงงานที่กัมพูชาในสิ้นเดือน มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ เรายังคงราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 4.70 บาท (วิธี PER ที่ 15.6x) และยังคงคำแนะนำ “ถือ”
เราคาดกำไรปกติของ SVI ใน 1Q18 อยู่ที่ 77 ล้านบาท ลดลง 65% YoY และ 27% QoQ โดยการลดลงของกำไรปกติมาจากปัญหาเรื่องของวัตถุดิบขาดแคลน ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จึงทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดต่ำลง อย่างไรก็ตามเรายังคงประมาณการกำไรปกติของ SVI ในปี 2018 เท่าเดิมที่ 682 ล้านบาท เติบโต 30% YoY โดยคาดว่าจะเห็นการเติบโตของกำไรตั้งแต่ 2Q18 เป็นต้นไป แต่จะเห็นชัดเจนใน 3Q18 จากปัญหาวัตถุดิบที่จะหมดไป การบริหารงานในยุโรปดีขึ้น และ backlog ที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งจะเปิดดำเนินงานโรงงานที่กัมพูชาในสิ้นเดือน มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ เรายังคงราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 4.70 บาท (วิธี PER ที่ 15.6x) และยังคงคำแนะนำ “ถือ”
Analysts: Mongkol Puangpetra
OO7258
OO7258