- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 30 March 2018 17:48
- Hits: 3807
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index วันนี้ แกว่งตัวในกรอบ 1765 – 1790 จุด ตลาดยังมีความกังวลผลกระทบหุ้นโรงกลั่น SPRC, ESSO, TOP จากกรณีที่รัฐต้องการให้ราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปถูกลง เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ขณะที่ยังมีควันหลงสงครามฟรีค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์กดดันกลุ่มค้าปลีก เตรียมลดค่าธรรมเนียม Bill Payment กระทบ CPALL, BJC อย่างไรก็ตาม มีแรงหนุนเล็กๆ จากสหรัฐฯ ยอมต่อ GSP สินค้าไทยอีก 2 ปี…Top picks เลือก CPF (FV@B30) และ HANA (FV@B46) จากราคาหุ้นร่วงลงแรงกว่า 35% มากกว่ากำไรจากจีนที่หายไปเพียง 20%
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. แรงขายช่วงบ่าย กด SET Index ร่วงหนัก 28 จุด
วานนี้ SET Index ถูกแรงขายช่วงบ่ายกดดันดัชนีลงลึกกว่า 28 จุด ก่อนจะดีดขึ้นมาปิดที่ 1,766.92 จุด ลดลง 18.07 จุด หรือ 1.01% ภาพรวมทุกกลุ่มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เครือ ปตท. ร่วงนำตลาดฯ ตามด้วยแรงขายต่อเนื่องของกลุ่ม ธ.พ. หลังประกาศฟรีค่าธรรมเนียม โดย TMB ร่วงแรงกว่า 8% ปิดที่ 2.52 บาท ทำนิวโลว์ในรอบกว่า 5 เดือน ประเด็นดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อการขยายธุรกิจ Banking Agent ของ Non Bank อย่าง FSMART และ CPALL ด้วย ส่วนหุ้นกลุ่ม ร.พ. แข็งแกร่งบวกสวนตลาดจากหุ้นใหญ่ของกลุ่มฯ ทั้ง BDMS และ BCH
คาดว่าวันนี้ SET Index ยังแกว่งตัวในกรอบ 1760-1780 จุด โดยน่าจะมีแรงกดดันจากหุ้นโรงกลั่นที่ดูเหมือนรัฐต้องการช่วยเหลือผู้บริโภคให้จ่ายน้ำมันลด และ ควันหลงจากสงครามแข่งขันค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ กดดันให้กลุ่มค้าปลีกลดค่าธรรมเนียมบริการ counter service แต่อย่างไรก็ตามมีปัจจัยหนุนเล็กๆ หลังจากที่สหรัฐกลับมาต่ออายุ GSP สินค้าส่งออกไทย 3400 รายการอีกครั้ง
สหรัฐฯ ต่อ GSP สินค้าส่งออกไทย 3,400 รายการอีกครั้ง
สหรัฐฯ กลับมาต่ออายุสิทธิ GSP ให้กับ 112 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยอีกครั้ง จะมีผลตั้งแต่ 22 เม.ย.2561จนถึง 31 ธ.ค.2563 โดยยกเว้นภาษีส่งออกสินค้าไปสหรัฐราว 3,400 รายการ ปี 2560 ไทยส่งออกไปสหรัฐ 2.65 หมื่นล้านเหรียญฯ คิดราว 11.2% ของตลาดส่งออกไปทั่วโลก ทั้งนี้สินค้าส่งออก 10 อันดับแรก ที่ไทยส่งออกไปสหรัฐคิด 60% ของสินค้าส่งออกทั้งหมดไปสหรัฐ ได้รับสิทธิ GSP มีการขยายตัวต่อเนื่องในปี 2559
ถือว่าลดแรงกดดันต่อหุ้นส่งออกไทย แต่เชื่อว่าส่งออกไทยในปีนี้น่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงเทียบกับปี 2560 โดยให้น้ำหนักต่อผลกระทบจากการที่สหรัฐเดินหน้ากีดกันการค้าต่อจีน ที่จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ สินค้าเทคโนโลยี โทรคมนาคม ราว 25% และให้จีนลดภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐ (ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียด) จากเดิมเก็บ 0-25% (จีนมีการนำเข้ารถยนต์ราว 8.8% ของยอดนำเข้าจากสหรัฐ) ซึ่งจะกระทบต่อไทย เนื่องจากในฐานะที่เป็นผู้ผลิตส่งออกสินค้าวัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบ ให้กับจีน (ไทยส่งออกรถยนต์ไปจีน ราว 4% ของสินค้าทั้งหมด) แต่ผู้ประกอบการในตลาดส่วนใหญ่ เป็นทางอ้อม
เป็นที่สังเกตว่าหุ้นชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยที่เน้นผลิตและขายแก่ผู้ประกอบการในประเทศ อาจจะเผชิญกับผลกระทบทางอ้อม แต่เชื่อว่าราคาตลาดน่าจะตอบรับด้านลบไปแล้ว ยังชอบหุ้น AH (FV@B43) ถัดมาคือหุ้นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ HANA(FV@B46) ราคาหุ้นลดลงกว่า 36% จากระดับสูงสุด 50 บาท เนื่องจากบริษัทมีฐานการผลิตในจีนราว 20% ของกำลังการผลิตรวม (โรงงาน IC ที่เจียซิงประเทศจีน 1273.28 ล้านชิ้นต่อปี และ โรงงาน PBCB ที่เจียซิง 63.52 ล้านชิ้น หากมองโลกในแง่ร้าย หากจีนถูกกีดกันทางการค้าและรายได้และกำไรสุทธิส่วนนี้ของ HANA(FV@B46) หายไป 20% จะทำให้กำไรสุทธิปี 2561 เหลือ 1,867 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 2.32 บาท (จากปัจจุบัน 2.9 บาท) ทำให้ราคาหุ้นปัจจุบันมี P/E 14.0 เท่า (จากเดิมประมาณ 11 เท่า) น่าจะสะท้อนข่าวร้ายไปมากพอสมควร
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index วันนี้ แกว่งตัวในกรอบ 1765 – 1790 จุด ตลาดยังมีความกังวลผลกระทบหุ้นโรงกลั่น SPRC, ESSO, TOP จากกรณีที่รัฐต้องการให้ราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปถูกลง เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ขณะที่ยังมีควันหลงสงครามฟรีค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์กดดันกลุ่มค้าปลีก เตรียมลดค่าธรรมเนียม Bill Payment กระทบ CPALL, BJC อย่างไรก็ตาม มีแรงหนุนเล็กๆ จากสหรัฐฯ ยอมต่อ GSP สินค้าไทยอีก 2 ปี…Top picks เลือก CPF (FV@B30) และ HANA (FV@B46) จากราคาหุ้นร่วงลงแรงกว่า 35% มากกว่ากำไรจากจีนที่หายไปเพียง 20%
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. แรงขายช่วงบ่าย กด SET Index ร่วงหนัก 28 จุด
วานนี้ SET Index ถูกแรงขายช่วงบ่ายกดดันดัชนีลงลึกกว่า 28 จุด ก่อนจะดีดขึ้นมาปิดที่ 1,766.92 จุด ลดลง 18.07 จุด หรือ 1.01% ภาพรวมทุกกลุ่มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เครือ ปตท. ร่วงนำตลาดฯ ตามด้วยแรงขายต่อเนื่องของกลุ่ม ธ.พ. หลังประกาศฟรีค่าธรรมเนียม โดย TMB ร่วงแรงกว่า 8% ปิดที่ 2.52 บาท ทำนิวโลว์ในรอบกว่า 5 เดือน ประเด็นดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อการขยายธุรกิจ Banking Agent ของ Non Bank อย่าง FSMART และ CPALL ด้วย ส่วนหุ้นกลุ่ม ร.พ. แข็งแกร่งบวกสวนตลาดจากหุ้นใหญ่ของกลุ่มฯ ทั้ง BDMS และ BCH
คาดว่าวันนี้ SET Index ยังแกว่งตัวในกรอบ 1760-1780 จุด โดยน่าจะมีแรงกดดันจากหุ้นโรงกลั่นที่ดูเหมือนรัฐต้องการช่วยเหลือผู้บริโภคให้จ่ายน้ำมันลด และ ควันหลงจากสงครามแข่งขันค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ กดดันให้กลุ่มค้าปลีกลดค่าธรรมเนียมบริการ counter service แต่อย่างไรก็ตามมีปัจจัยหนุนเล็กๆ หลังจากที่สหรัฐกลับมาต่ออายุ GSP สินค้าส่งออกไทย 3400 รายการอีกครั้ง
สหรัฐฯ ต่อ GSP สินค้าส่งออกไทย 3,400 รายการอีกครั้ง
สหรัฐฯ กลับมาต่ออายุสิทธิ GSP ให้กับ 112 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยอีกครั้ง จะมีผลตั้งแต่ 22 เม.ย.2561จนถึง 31 ธ.ค.2563 โดยยกเว้นภาษีส่งออกสินค้าไปสหรัฐราว 3,400 รายการ ปี 2560 ไทยส่งออกไปสหรัฐ 2.65 หมื่นล้านเหรียญฯ คิดราว 11.2% ของตลาดส่งออกไปทั่วโลก ทั้งนี้สินค้าส่งออก 10 อันดับแรก ที่ไทยส่งออกไปสหรัฐคิด 60% ของสินค้าส่งออกทั้งหมดไปสหรัฐ ได้รับสิทธิ GSP มีการขยายตัวต่อเนื่องในปี 2559
ถือว่าลดแรงกดดันต่อหุ้นส่งออกไทย แต่เชื่อว่าส่งออกไทยในปีนี้น่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงเทียบกับปี 2560 โดยให้น้ำหนักต่อผลกระทบจากการที่สหรัฐเดินหน้ากีดกันการค้าต่อจีน ที่จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ สินค้าเทคโนโลยี โทรคมนาคม ราว 25% และให้จีนลดภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐ (ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียด) จากเดิมเก็บ 0-25% (จีนมีการนำเข้ารถยนต์ราว 8.8% ของยอดนำเข้าจากสหรัฐ) ซึ่งจะกระทบต่อไทย เนื่องจากในฐานะที่เป็นผู้ผลิตส่งออกสินค้าวัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบ ให้กับจีน (ไทยส่งออกรถยนต์ไปจีน ราว 4% ของสินค้าทั้งหมด) แต่ผู้ประกอบการในตลาดส่วนใหญ่ เป็นทางอ้อม
เป็นที่สังเกตว่าหุ้นชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยที่เน้นผลิตและขายแก่ผู้ประกอบการในประเทศ อาจจะเผชิญกับผลกระทบทางอ้อม แต่เชื่อว่าราคาตลาดน่าจะตอบรับด้านลบไปแล้ว ยังชอบหุ้น AH (FV@B43) ถัดมาคือหุ้นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ HANA(FV@B46) ราคาหุ้นลดลงกว่า 36% จากระดับสูงสุด 50 บาท เนื่องจากบริษัทมีฐานการผลิตในจีนราว 20% ของกำลังการผลิตรวม (โรงงาน IC ที่เจียซิงประเทศจีน 1273.28 ล้านชิ้นต่อปี และ โรงงาน PBCB ที่เจียซิง 63.52 ล้านชิ้น หากมองโลกในแง่ร้าย หากจีนถูกกีดกันทางการค้าและรายได้และกำไรสุทธิส่วนนี้ของ HANA(FV@B46) หายไป 20% จะทำให้กำไรสุทธิปี 2561 เหลือ 1,867 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 2.32 บาท (จากปัจจุบัน 2.9 บาท) ทำให้ราคาหุ้นปัจจุบันมี P/E 14.0 เท่า (จากเดิมประมาณ 11 เท่า) น่าจะสะท้อนข่าวร้ายไปมากพอสมควร
โรงกลั่นเจออุปสรรค รัฐต้องการลดราคาขายน้ำมัน ช่วยเหลือผู้บริโภค
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีแนวคิดที่จะปรับสูตร การคำนวณค่าการกลั่นที่หน้าโรงงาน จากเดิมที่อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ และบวกค่าพรีเมี่ยม (เป็นค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้เป็นไปตามมาตรฐาน Euro5 และรวมต้นทุนอื่น ๆ นอกเหนือจากน้ำมัน ค่าขนส่ง ภาษีสรรพสามิต, เงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน, ค่าการตลาด, ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น) โดย กบง. จะยกเลิกค่าพรีเมียม และหันมาใช้สูตรราคาใหม่ที่อ้างอิงราคาตลาดโลกอย่างเดียว เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภค
ฝ่ายวิจัยเชื่อว่ากลุ่มโรงกลั่นจะยังได้ sentiment เชิงลบกดดันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแนวโน้มค่าการกลั่นปี 2561 จะอ่อนตัวลงจากปี 2560 บาร์เรล โดยในปี 2561 นอกจากแรงกดดันจากกำลังการผลิต โรงกลั่นใหม่ที่เพิ่มในภูมิภาคเอเชีย 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อรวมกับความต้องการใช้น้ำมันส่วนเพิ่มอยู่ที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ supply น้ำมันส่วนเพิ่มอยู่ราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จึงยังทำให้มีปัญหา oversupply อยู่ในระยะสั้น จึงเป็นประเด็นที่กดดันค่าการกลั่นอีกด้านหนึ่ง
หุ้นที่คาดว่าได้รับผลกระทบในภาวะนี้คือ ผู้ที่มีรายได้กระจุกตัวในโรงกลั่น คือ SRPC ที่มีโรงกลั่น 100% รองลงมาคือ BCP 70%, ESSO 65% และ TOP 65% ส่วน IRPC และ PTTGC อยู่ที่ 35% และ 25% ตามลำดับ แม้ราคาหุ้นวานนี้ของกลุ่มปิโตรฯ ได้ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากแล้ว แต่เชื่อว่าแรงกดดันยังมีอยู่ จึงแนะนำชะลอการลงทุน หรือลงทุนในหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อย IVL ด้วยธุรกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการ M&A มูลค่าเหมาะสม 64 บาท upside ที่เปิดกว้างราว 12%
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีแนวคิดที่จะปรับสูตร การคำนวณค่าการกลั่นที่หน้าโรงงาน จากเดิมที่อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ และบวกค่าพรีเมี่ยม (เป็นค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้เป็นไปตามมาตรฐาน Euro5 และรวมต้นทุนอื่น ๆ นอกเหนือจากน้ำมัน ค่าขนส่ง ภาษีสรรพสามิต, เงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน, ค่าการตลาด, ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น) โดย กบง. จะยกเลิกค่าพรีเมียม และหันมาใช้สูตรราคาใหม่ที่อ้างอิงราคาตลาดโลกอย่างเดียว เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภค
ฝ่ายวิจัยเชื่อว่ากลุ่มโรงกลั่นจะยังได้ sentiment เชิงลบกดดันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแนวโน้มค่าการกลั่นปี 2561 จะอ่อนตัวลงจากปี 2560 บาร์เรล โดยในปี 2561 นอกจากแรงกดดันจากกำลังการผลิต โรงกลั่นใหม่ที่เพิ่มในภูมิภาคเอเชีย 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อรวมกับความต้องการใช้น้ำมันส่วนเพิ่มอยู่ที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ supply น้ำมันส่วนเพิ่มอยู่ราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จึงยังทำให้มีปัญหา oversupply อยู่ในระยะสั้น จึงเป็นประเด็นที่กดดันค่าการกลั่นอีกด้านหนึ่ง
หุ้นที่คาดว่าได้รับผลกระทบในภาวะนี้คือ ผู้ที่มีรายได้กระจุกตัวในโรงกลั่น คือ SRPC ที่มีโรงกลั่น 100% รองลงมาคือ BCP 70%, ESSO 65% และ TOP 65% ส่วน IRPC และ PTTGC อยู่ที่ 35% และ 25% ตามลำดับ แม้ราคาหุ้นวานนี้ของกลุ่มปิโตรฯ ได้ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากแล้ว แต่เชื่อว่าแรงกดดันยังมีอยู่ จึงแนะนำชะลอการลงทุน หรือลงทุนในหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อย IVL ด้วยธุรกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการ M&A มูลค่าเหมาะสม 64 บาท upside ที่เปิดกว้างราว 12%
ควันหลงสงครามฟรีค่าธรรมเนียม ลามถึงผู้ค้าปลีก CPALL, BJC
ควันหลังจากสงครามแข่งขันค่าธรรมเนียมบริการโอนเงิน, จ่ายบิลสินค้า, เติมเงินมือถือ ผ่านระบบ Online หรือ Application ของธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ที่ทยอยประกาศล่าสุด ได้กดดันผู้ค้าปลีก ที่ให้บริการบางส่วนที่คาบเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ เช่น จ่ายบิลสินค้า เติมเงินมือถือ ผ่าน online รวมถึงทำให้โอกาสการขยายตัวทำธุรกิจใหม่ยากขึ้นโดยเฉพาะการโอนเงินหรือ Banking Agent ซึ่งปัจจุบันมีเพียง FSMART รายเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ดำเนินการ
ด้วยเหตุนี้ทำให้ ผู้ค้าปลีกประกาศแผนที่จะลดค่าธรรมเนียมเช่นกัน ได้แก่ CPALL, BJC (ดำเนินธุรกิจผ่าน BIGC) แต่เนื่องจาก CPALL มีสัดส่วนรายได้จาก การจ่ายบินสินค้า ราว 1% ของรายได้รวม หรือ 5% ของกำไรสุทธิ ถือว่าสัดส่วนมากกว่าคู่แข่งขันรายอื่น ๆ จึงคาดว่า CPALL น่าจะกระทบมากสุด และเมื่อวานนี้นี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดคำแนะนำจากเดิมซื้อให้เป็น Switch ติดตามอ่านรายละเอียดได้ใน Equity Talk 29 มี.ค. 2561 แต่ยังคงแนะนำซื้อ BJC คาดว่าได้รับผลกระทบน้อยกว่า และยังมีธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยและเวียดนาม หนุนการเติบโตในระยะยาว
ต่างชาติยังขายหุ้นไทย สลับไปพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้นแทน
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการเนื่องจากเป็นวัน “Holy Thursday” แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมพบว่า ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นภูมิภาคเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่าอีก 797 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นอินโดนีเซียถูกสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 8.1 แสนเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 3 แห่ง ต่างชาติขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 472 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 272 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 54 ล้านเหรียญ หรือ 1.70 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) มิหนำซ้ำยังเปิดสถานะ Short Sell สัญญา SET50 Futures กว่า 2.65 หมื่นสัญญา (มากสุดเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่ต้นปี) เช่นเดียวสถาบันฯที่ขายสุทธิหนัก 4.43 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
นอกจากนี้ภาพ Fund Flow ในไทยยังเป็นลักษณะขายหุ้นแล้วสลับมาเข้าตราสารหนี้ระยะสั้นแทน สังเกตได้จากในสัปดาห์นี้ ต่างชาติสลับมาพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุ < 1 ปี) ไปแล้วกว่า 1.21 หมื่นล้านบาท (wtd) แต่กลับขายตราสารหนี้ระยะยาว (อายุ > 1 ปี) 1.05 หมื่นล้านบาท (wtd) ทำให้ต่างชาติยังซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยทั้งสิ้น 1.64 พันล้านบาท (wtd) กดดันบาทยังอยู่ในโซนแข็งค่า 31.23 บาท/เหรียญ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ควันหลังจากสงครามแข่งขันค่าธรรมเนียมบริการโอนเงิน, จ่ายบิลสินค้า, เติมเงินมือถือ ผ่านระบบ Online หรือ Application ของธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ที่ทยอยประกาศล่าสุด ได้กดดันผู้ค้าปลีก ที่ให้บริการบางส่วนที่คาบเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ เช่น จ่ายบิลสินค้า เติมเงินมือถือ ผ่าน online รวมถึงทำให้โอกาสการขยายตัวทำธุรกิจใหม่ยากขึ้นโดยเฉพาะการโอนเงินหรือ Banking Agent ซึ่งปัจจุบันมีเพียง FSMART รายเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ดำเนินการ
ด้วยเหตุนี้ทำให้ ผู้ค้าปลีกประกาศแผนที่จะลดค่าธรรมเนียมเช่นกัน ได้แก่ CPALL, BJC (ดำเนินธุรกิจผ่าน BIGC) แต่เนื่องจาก CPALL มีสัดส่วนรายได้จาก การจ่ายบินสินค้า ราว 1% ของรายได้รวม หรือ 5% ของกำไรสุทธิ ถือว่าสัดส่วนมากกว่าคู่แข่งขันรายอื่น ๆ จึงคาดว่า CPALL น่าจะกระทบมากสุด และเมื่อวานนี้นี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดคำแนะนำจากเดิมซื้อให้เป็น Switch ติดตามอ่านรายละเอียดได้ใน Equity Talk 29 มี.ค. 2561 แต่ยังคงแนะนำซื้อ BJC คาดว่าได้รับผลกระทบน้อยกว่า และยังมีธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยและเวียดนาม หนุนการเติบโตในระยะยาว
ต่างชาติยังขายหุ้นไทย สลับไปพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้นแทน
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการเนื่องจากเป็นวัน “Holy Thursday” แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมพบว่า ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นภูมิภาคเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่าอีก 797 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นอินโดนีเซียถูกสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 8.1 แสนเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 3 แห่ง ต่างชาติขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 472 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 272 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 54 ล้านเหรียญ หรือ 1.70 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) มิหนำซ้ำยังเปิดสถานะ Short Sell สัญญา SET50 Futures กว่า 2.65 หมื่นสัญญา (มากสุดเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่ต้นปี) เช่นเดียวสถาบันฯที่ขายสุทธิหนัก 4.43 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
นอกจากนี้ภาพ Fund Flow ในไทยยังเป็นลักษณะขายหุ้นแล้วสลับมาเข้าตราสารหนี้ระยะสั้นแทน สังเกตได้จากในสัปดาห์นี้ ต่างชาติสลับมาพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุ < 1 ปี) ไปแล้วกว่า 1.21 หมื่นล้านบาท (wtd) แต่กลับขายตราสารหนี้ระยะยาว (อายุ > 1 ปี) 1.05 หมื่นล้านบาท (wtd) ทำให้ต่างชาติยังซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยทั้งสิ้น 1.64 พันล้านบาท (wtd) กดดันบาทยังอยู่ในโซนแข็งค่า 31.23 บาท/เหรียญ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7296